หอวัฒนธรรมอุบลนิทัศน์ ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมกาญจนาภิเษก


ที่อยู่:
เลขที่ 2 ถ.แจ้งสนิท อ.เมือง จ.อุบลราชธานี 34000
โทรศัพท์:
0-4535-2000-29 ต่อ 1122
วันและเวลาทำการ:
เปิดทุกวัน 8.30 - 16.30 น. (ปิดวันนักขัตฤกษ์)
ค่าเข้าชม:
ไม่เสียค่าเข้าชม
ปีที่ก่อตั้ง:
2545
จัดการโดย:
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

เล่าขานตำนานเทียน

ชื่อผู้แต่ง: สมคิด สอนอาจ | ปีที่พิมพ์: 2548

ที่มา: อุบลราชธานี: ศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาไทย จังหวัดอุบลราชธานี

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

บันทึกอีสานผ่านเลนส์

ชื่อผู้แต่ง: วิโรฒ ศรีสุโร | ปีที่พิมพ์: 2547

ที่มา: ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

ผ้าทอเมืองอุบล

ชื่อผู้แต่ง: สุนัย ณ อุบล และ สมชาย นิลอาธิ | ปีที่พิมพ์: ปีที่ 13, ฉบับที่ 9 (ก.ค. 2535) : หน้า 136-159 / ปีที่ 13, ฉบับที่ 10 (ส.ค. 2535) : หน้า 188-197

ที่มา: ศิลปวัฒนธรรม

แหล่งค้นคว้า: มศก. วังท่าพระ

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

ผ้าทอเมืองอุบลของสุนัย ณ อุบล

ชื่อผู้แต่ง: พิทยาธรี | ปีที่พิมพ์: ปีที่ 6, ฉบับที่ 71 (ก.ค. 2540) : หน้า 138-142

ที่มา: Life & Decor.

แหล่งค้นคว้า: มศก. วังท่าพระ

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

ผ้าทอเมืองอุบลฯ

ชื่อผู้แต่ง: ลำดวน-นวลเสงี่ยม สุขพันธ์ | ปีที่พิมพ์: ปีที่ 10, ฉบับที่ 12 (ต.ค. 2532) : หน้า 36-40

ที่มา: ศิลปวัฒนธรรม.

แหล่งค้นคว้า: มศก. วังท่าพระ

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

หอวัฒนธรรมอุบลนิทัศน์

ชื่อผู้แต่ง: ศรัณย์ ทองปาน | ปีที่พิมพ์:

ที่มา: เมืองโบราณ

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555


ไม่มีข้อมูล

รีวิวของหอวัฒนธรรมอุบลนิทัศน์ ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมกาญจนาภิเษก

หอวัฒนธรรมอุบลนิทัศน์มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี  สร้างขึ้นเพื่อสนองนโยบายของรัฐบาล มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญเพื่อเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ท้องถิ่นของชุมชนอุบลราชธานีและจังหวัดใกล้เคียงในภาคอีสาน เป็นศูนย์สร้างเสริมสำนึกท้องถิ่นในด้านภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ การศึกษา ศาสนา ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น และเป็นศูนย์กลางที่จะนำไปสู่ความภาคภูมิใจ ความสมัครสมานสามัคคี อันเป็นพลังที่จะช่วยให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็ง           
หอวัฒนธรรมอุบลนิทัศน์ เป็นห้องนิทรรศการถาวร ที่รวบรวมเรื่องราวความรู้ต่าง ๆ ของเมืองอุบลฯ มาจัดแสดงไว้ในสถานที่แห่งเดียวอย่างครบถ้วน โดยอยู่ที่ชั้นที่ 1 ของอาคารศูนย์ศิลปวัฒนธรรมกาญจนาภิเษกจำนวน 4 ห้อง  และอยู่บนชั้นที่ 2 อีก 1 ห้อง รวมเป็นห้องนิทรรศการทั้งหมด 5 ห้อง ได้แก่ 1. ห้องภูมิเมือง (Geography)  2. ห้องภูมิราชธานี  (History) 3. ห้องภูมิธรรม (Religion) 4. ห้องภูมิปัญญา (Way of Wisdom) 5. ห้องภูมิราชภัฏ (Rajabhat Institute)
 
ห้องภูมิเมือง จัดแสดงเรื่องภูมิศาสตร์/ธรณีวิทยา/ทรัพยากรธรรมชาติ ของพื้นที่อุบลราชธานี ส่วนนี้มีเนื้อที่น้อยที่สุดในสี่เรื่อง 
 
ห้องภูมิราชธานี ว่าด้วยความเป็นมาของบ้านเมือง นับแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ไล่เรียงลำดับมาสู่สมัยประวัติศาสตร์ การสร้างบ้านแปงเมือง เจ้าเมืองในยุคต่างๆ การถูกผนวกรวมเข้าสู่ราชอาณาจักรสยาม กบฎ “ผู้มีบุญ” กระทั่งถึงสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรคนสำคัญของเมืองอุบล นอกจากนั้นก็ยัง มีหัวข้อย่อยๆ เช่นประเพณีการสร้างนกหัสดีลิงค์เพื่อใช้ในการปลงศพพระเถระและเจ้าเมือง ซึ่งมีพ่อบำเพ็ญ ณ อุบล มาเล่าเรื่องให้ฟัง 
 
ห้องภูมิปัญญา ส่วนนี้ได้รับเนื้อที่พอๆ กับภูมิราชธานี ว่าด้วยเรื่องวิถีชีวิตของชาวอีสาน ทั้งเรื่องอาหารการกิน ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค ดนตรี ภาษา ประเพณีในรอบปีหรือ “ฮีตสิบสอง” รวมถึงประวัติของ “คนดีศรีอุบล” หรือปราชญ์เมืองอุบลในฝ่ายฆราวาส
 
ห้องภูมิธรรม เป็นหัวข้อว่าด้วยเรื่องราวทางพุทธศาสนา โดยจำลองบรรยากาศของวัดหนองป่าพง พร้อมด้วยรูป เหมือนของหลวงพ่อชา ทั้งยังมีประวัติปราชญ์เมืองอุบลในฝ่ายสงฆ์ ทั้งสายวิปัสสนาธุระ (ปฏิบัติ) และคันถธุระ (ปริยัติ) กับมีวัตถุทางศาสนาเช่นคันทวย อาคารจำลอง มาจัดแสดงไว้ด้วย
 
อาคารชั้นที่ 2 ห้องภูมิราชภัฏ จัดแสดงเรื่องราวในด้านต่างๆของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี 
หอวัฒนธรรมอุบลนิทัศน์ เปิดให้เข้าชมมาตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2545 โดยมิได้มุ่งเน้นที่จะนำเสนอโบราณวัตถุชิ้นสำคัญ (ซึ่งก็สามารถเสริมได้ด้วยวัตถุจัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี)  แต่เน้นหนักในการนำเสนอด้วยรูปแบบสารพัด ทั้งภาพถ่าย/หุ่นจำลอง/หุ่นขี้ผึ้ง/วิดีโอ ฯลฯ เนื้อหานับว่าสามารถครอบคลุมประเด็นได้หลายหลาก และนำเสนอได้อย่างน่าสนใจยิ่ง อย่างไรก็ดี อุปกรณ์อันซับซ้อนเหล่านี้ย่อมต้องการการบำรุงรักษาอย่างมาก และหลังจากเปิดมาหลายปีก็คงกลายปัญหาให้แก่ทางสำนักศิลปะและวัฒนธรรม ของ มรภ. อุบลฯ (ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบโดยตรง) อยู่ไม่น้อย  ซ้ำร้าย การมีห้องโถงจัดแสดงขนาดใหญ่เช่นนี้ ยังกลายเป็น “หลุมดำ” ดึงดูดวัตถุซึ่งไม่มีใครต้องการ (หรือไม่มีใครรู้ว่าจะเอาไปไว้ที่ไหน) อีก  ดังจะเห็นซากของผลงานที่ส่งเข้าประกวดเทียนพรรษานานาชาติขนาดสูงท่วมหัว ตั้งซุกอยู่แทบทุกมุมห้อง 
 
ข้อมูลจาก: 
http://www.ubru.ac.th/ccu/culture.html [accessed 20090304]
ศรัณย์ ทองปาน.หอวัฒนธรรมอุบลนิทัศน์ วารสารเมืองโบราณ Online Avilable at http://www.muangboranjournal.com/modules.php?name=News&file=article&sid=1318 [accessed 20090304]
ชื่อผู้แต่ง:
-