พิพิธภัณฑ์ผ้าไหม


ที่อยู่:
สถานีทดลองหม่อนไหมสุรินทร์ หมู่ 4 ต.คอโค อ.เมือง จ.สุรินทร์ 32000
โทรศัพท์:
0-4451-1393
วันและเวลาทำการ:
เปิดทุกวัน 8.00-16.30 น.
ค่าเข้าชม:
ไม่เก็บค่าเข้าชม
จัดการโดย:
เนื้อหา:
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

การศึกษาคำศัพท์ภาษาเขมรสุรินทร์ในการทอผ้าพื้นเมือง

ชื่อผู้แต่ง: ดวงเด่น บุญปก. | ปีที่พิมพ์: 2540

ที่มา: วิทยานิพนธ์ สาขาวิชาเขมรศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร

แหล่งค้นคว้า: มศก. วังท่าพระ

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555


ไม่มีข้อมูล

รีวิวของพิพิธภัณฑ์ผ้าไหม

ศูนย์บริการวิชาการด้านพืชและปัจจัยการผลิตสุรินทร์ ตั้งอยู่ภายในสถานีวิจัยหม่อนไหมสุรินทร์ โดยเป็นโครงการส่งเสริมพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ด้านการเกษตร เน้นการท่องเที่ยวเชิงเกษตรกรรม ในรูปแบบของ " ห้องสมุดธรรมชาติ" ภายในพื้นที่ 5 ไร่ ในบริเวณสถานี ฯ เพื่อใหผู้ชมได้สัมผัสและเรียนรู้ขั้นตอนการปลูกหม่อนและเลี้ยงไหมครบวงจรแบบพื้นบ้าน ซึ่งมีการจัดแสดงให้ชม การสาวไหม เพื่อให้ได้เส้นไหมพื้นเมืองคุณภาพการย้อมเส้นไหมด้วยสีจากธรรมชาติ ไปจนถึงการทอผ้าไหม ด้วยภูมิปัญญาพื้นบ้านของจังหวัดสุรินทร์ โดยกลุ่มเกษตรกรและกลุ่มแม่บ้าน 
         
พื้นที่ในการให้ความรู้แบ่งเป็น 5 ส่วน ได้แก่

1. แปลงปลูกหม่อนสาธิต 
ตั้งอยู่ด้านหลังที่ทำการ เป็นแปลงสาธิตการปลูกหม่อนบนพื้นที่ประมาณ 2 ไร่ หากนักท่องเที่ยวสนใจจะได้ความรู้ในเรื่องการปลูกหม่อนเพื่อให้ได้หม่อนคุณภาพดีนับตั้งแต่ การเลือกหม่อนพันธุ์ดี การเลือกพื้นที่ปลูก การเตรียมดิน การเตรียมกิ่งพันธุ์ การปลูก การบำรุงดูแลรักษา การตัดแต่งหม่อนด้วยวิธีต่าง ๆ จนถึงการเก็บเกี่ยวใบหม่อน ซึ่งมีเทคนิควิธีต่าง ๆ กันสำหรับนำไปเลี้ยงหนอนไหมในแต่ละวัย หม่อนเป็นพืชยืนต้นจำพวกไม้พุ่ม ใบใช้เป็นอาหารของหนอนไหมได้ดีที่สุดนอกจากนั้นส่วนต่าง ๆ ยังใช้ประโยชน์ด้านเภสัชกรรมและด้านอื่น ๆ อีกด้วย หม่อนสามารถเจริญเติบโตได้ดีทั้งในเขตร้อนและเขตหนาว ชอบดินร่วนปนทราย มีความอุดมสมบูรณ์ ระบายน้ำได้ดี 

2. โรงเรือนเลี้ยงไหม
ตั้งอยู่ใกล้กับแปลงปลูกหม่อนเป็นโรงเรือนเปิดโล่งนักท่องเที่ยวจะได้ชมการเลี้ยงตัวหนอนไหมพันธุ์พื้นบ้านในรูปแบบการเลี้ยงตามวิถีชีวิตจริงของชาวบ้าน ดังนั้นจึงจะได้เห็นขั้นตอนการเลี้ยงตัวหนอนไหม นับตั้งแต่การเตรียมอาหารให้ตัวหนอนไหมในวัยต่าง ๆ การให้อาหารตัวหนอนไหมในวันต่าง ๆ การเจริญเติบโตของตัวหนอนไหมในวัยต่าง ๆ ตั้งแต่ที่เป็นตัวหนอนไหมวัยอ่อน ตัวหนอนไหมวัยแก่ จนถึงวัยสร้างรังไหม ก่อนที่จะนำออกมาทำเส้นใจไหมซึ่งให้คุณภาพเส้นใยไหมที่มีคุณภาพแตกต่างจากเส้นใยไหมสายพันธุ์ต่างประเทศ คือเส้นใยมีคุณสมบัติดีเยี่ยมในการระบายอากาศ ทำให้สวมใส่สบาย และไม่ยับง่าย 

3. อาคารแสดงการสาวไหมและทอผ้า
ตั้งอยู่ติดกับโรงเรือนเลี้ยงไหม เป็นจุดแสดงการนำรังไหมมาปั่นเป็นเส้นไหม ที่เรียกว่า การสาวไหม และการทอผ้าไหม โดยเฉพาะผ้าไหมลายดั้งเดิมของจังหวัดสุรินทร์ จึงจะได้พบกิจกรรมนับตั้งแต่การสาวไหมอย่างไรให้ได้เส้นไหมคุณภาพ ไหมไทย ที่แตกต่างและมีคุณสมบัติพิเศษเฉพาะแตกต่างจากไหมสายพันธุ์อื่น การเตรียมเส้นไหมเพื่อทอผ้าไหมคุณภาพ การสร้างลวดลายบนผ้าไหมด้วยการมัดหมี่ จนถึงการทอผืนผ้าไหม ในส่วนการสาธิตการทอผ้า เป็นการแสดงถึงภูมิปัญญาท้องถิ่นในการทอผ้าไหมพื้นเมืองของจังหวัดสุรินทร์โดยเฉพาะเช่น ผ้าอัมปรม ผ้าโฮล เป็นต้น 

4. อาคารแสดงการย้อมสีธรรมชาติ
ตั้งอยู่ด้านหน้าของอาคารแสดงการสาวไหมและทอผ้า เป็นอาคารใหม่ ซึ่งเป็นที่รวบรวมกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการย้อมเส้นไหมด้วยสีจากธรรมชาติ ที่ได้จากส่วนต่าง ๆ ของต้นไม้บางชนิด กิจกรรมนี้ได้แก่ การฟอกเส้นไหม การสกัดสีจากธรรมชาติ และการย้อมเส้นไหมด้วยสีจากธรรมชาติ ซึ่งเป็นเทคนิคการย้อมสีแต่ครั้งโบราณของผ้าไทย การสาธิตการย้อมสี แสดงทั้งเทคนิคการย้อมสีธรรมชาติสำหรับผ้าไหมพื้นเมืองดั้งเดิมของจังหวัดสุรินทร์และผ้าไหมที่ประยุกต์ขึ้นมาในภายหลัง 

5. พิพิธภัณฑ์ผ้าไหม
ตั้งอยู่ด้านหน้าของอาคารแสดงการย้อมสีธรรมชาติ เป็นอาคารแสดงนิทรรศการการทอผ้าไหม และการย้อมสีธรรมชาติในการทอผ้าไหมพื้นเมืองของจังหวัดสุรินทร์ มีการจัดแสดงผ้าไหมพื้นเมืองของจังหวัดสุรินทร์ ได้แก่ ผ้าอัมปรม ผ้าโฮล ผ้าลายสาคู ผ้าสระมอ และผ้าอันลูนเสียม ซึ่งผู้เข้าชมจะได้เห็นลักษณะอันโดดเด่นเฉพาะของผ้าไหมที่มีชื่อเสียงแต่ละชนิด นอกจากนั้นยังเป็นที่รวบรวมลวดลายผ้าทอ ทั้งผ้าไหมมัดหมี่ และลวดลายผ้าทอต่าง ๆ ของจังหวัดสุรินทร์ และลวดลายผ้าไหมที่เป็นเอกลักษณ์ท้องถิ่นไทยทั่วประเทศ 
 
ข้อมูลจาก: http://www.doa.go.th/leka/agrosurin.html
ชื่อผู้แต่ง:
-