โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
ชื่อผู้แต่ง: ชาติชาย คะมา | ปีที่พิมพ์: 28/01/2548
ที่มา: มติชนรายวัน
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: ชุมพล บัวแย้ม | ปีที่พิมพ์: 8/4/2546
ที่มา: มติชนรายวัน
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: วายร้ายสีแดง | ปีที่พิมพ์: ปีที่ 2 ฉบับที่ 19 พฤษภาคม 2548
ที่มา: แก้จน
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: ประสิทธิ์ ตั้งประเสริฐ | ปีที่พิมพ์: 04/09/2551
ที่มา: ข่าวสด
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 31-07-2550 (หน้า 38);31-07-2007
ที่มา: ผู้จัดการรายวัน
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: ณัฐพงศ์ (ศุภชัย) อรชร | ปีที่พิมพ์: 20 ก.ค. 2557;20-07-2014
ที่มา: หนังสือพิมพ์บ้านเมือง
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 21 กรกฎาคม 2557
ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 4 ส.ค. 2556;06-08-2013
ที่มา: ผู้จัดการออนไลน์
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 08 ธันวาคม 2557
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยทีมงานและสมาชิก
รีวิวของพิพิธภัณฑ์ไม้กลายเป็นหิน
ในช่วงปีพ.ศ.2537 ผศ.ดร.ประเทือง จินตสกุล ผอ.สถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินและทรัพยากรธรณีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบคนงานกำลังขนไม้กลายเป็นหินเข้าไปในตู้คอนเทนเนอร์ เพื่อส่งออกไปยังต่างประเทศ ท่านจึงเข้าไปสอบถามและได้ใช้เงินส่วนตัวจำนวนหนึ่ง เพื่อรักษาไม้กลายเป็นหินท่อนนั้นเก็บไว้ และไม้กลายเป็นหินท่อนดังกล่าวตั้งแสดงอยู่ด้านหน้าทางเข้าพิพิธภัณฑ์ไม้กลายเป็นหินในเวลานี้เรื่องราวความเป็นมาทั้งเบื้องหน้าเบื้องลึก ผู้ถ่ายทอดเรื่องราวคือ อาจารย์จรูญ ด้วงกระยอม นักวิจัยที่ทำงานร่วมกับอาจารย์ประเทืองมาหลายปี พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เริ่มก่อตั้งขึ้นในราวปีพ.ศ.2537 ช่วงเวลานั้นอาจารย์ประเทืองยังเป็นอาจารย์อยู่ที่ภาควิชาภูมิศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา อาจารย์ได้พานักศึกษาไปออกภาคสนาม แล้วเริ่มพบว่าไม้กลายเป็นหินในประเทศไทยอยู่ในช่วงวิกฤติ มีการขนส่งไปขายนอกประเทศเป็นจำนวนมาก เนื่องจากในตอนนั้นยังไม่มีกฎหมายห้ามส่งออก ดังนั้นจึงได้เกิดโครงการอนุรักษ์ไม้กลายเป็นหินขึ้น
พิพิธภัณฑ์ไม้กลายเป็นหินแต่เดิมหน่วยงานที่รับผิดชอบคือกรมทรัพยากรธรณี ในเวลาต่อมาได้ย้ายมาเป็นหน่วยงานในการกำกับดูแลของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ปัจจุบันมีอาคารจัดแสดง 3 อาคาร ได้แก่ อาคารแรกคือไม้กลายเป็นหิน อาคารที่สองคือช้างดึกดำบรรพ์ และอาคารที่สามคือไดโนเสาร์
พิพิธภัณฑ์เปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2551 โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิด
ในอาคารไม้กลายเป็นหิน เมื่อเดินเข้าไปอันดับแรกเราจะได้พบกับห้องฉายภาพยนตร์แสดงเรื่องราวกำเนิดโลกและวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ผู้ที่นั่งชมจะได้รับความตื่นเต้นจากการที่พื้นที่นั่งชมสามารถเลื่อนขยับได้เวลาที่เปลือกโลกมีความเคลื่อนไหว
ถัดจากนั้นเป็นห้องจัดแสดงไม้กลายเป็นหิน บนผนังจะมีวีดีโอสั้นๆ อธิบายถึงการเกิดไม้กลายเป็นหิน ซึ่งเกิดจากสารละลายซิลิกาเข้าไปแทนที่เนื้อไม้อย่างช้าๆ คือแทนที่โมเลกุลต่อโมเลกุล จนกระทั่งแทนที่ทั้งหมด โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างและโครงสร้าง อายุของพรรณไม้ดึกดำบรรพ์ขนาดใหญ่เหล่านี้ อายุประมาณ 800,000 - 333,000,000 ปี ส่วนต้นไม้ที่กลายเป็นหินที่พบมีอยู่ด้วยกันหลายชนิด เช่น ต้นตะแบก ต้นมะค่าโมง ต้นปาล์ม เป็นต้น
ตรงกลางห้องของส่วนจัดแสดง ไม้กลายเป็นหินชิ้นขนาดเท่าฝ่ามือที่อยู่ในตู้กระจก ซึ่งเป็นไม้กลายเป็นหินที่หายาก เป็นประเภทสวยงามจากการกลายเป็นอัญมณีอย่างเช่น โอปอ ซิลิเกต คาเนเลี่ยน เป็นต้น
ในธรรมชาติของการค้นพบไม้กลายเป็นหิน จะพบที่บริเวณเนินกรวด ไม้กลายเป็นหินเหล่านี้ได้ถูกกระแสน้ำที่ค่อนข้างรุนแรงพัดพามารวมกัน จากนั้นเมื่อเวลาผ่านไปอย่างยาวนานนับแสนนับล้านปี สภาพภูมิศาสตร์บริเวณนั้นได้เปลี่ยนแปลงไป เส้นทางแม่น้ำโบราณเหล่านั้นได้เปลี่ยนแปลงไป เปลือกโลกมีการยกตัวกลายเป็นเนินอย่างที่เห็นกัน ในภาคอีสานนี้พบไม้กลายเป็นหินเกือบทุกจังหวัด
ไม้กลายเป็นหินท่อนใหญ่สมบูรณ์จัดแสดงได้เพียงภาพถ่าย เนื่องจากไม้ดึกดำบรรพ์ท่อนนั้นได้ถูกส่งออกไปขายยังต่างประเทศแล้ว ถึงอย่างนั้นในเวลานี้ พิพิธภัณฑ์ไม้กลายเป็นหินที่ได้เกิดขึ้นมาที่นี่เป็น 1 ใน 7 แห่งของโลกที่มีการเก็บรักษาและจัดแสดง
การจัดแสดงในอาคารที่สองก็มีความน่าสนใจไม่แพ้กัน การเชื่อมตัวอาคารจะเป็นการเดินผ่านถ้ำซึ่งเปรียบเสมือนการย้อนกาลเวลาไปยังยุคดึกดำบรรพ์ในสมัยที่มีช้างโบราณ ที่นี่มีฟอสซิลของช้างสี่งา ช้างงาจอบ ช้างงาเสียม สิ่งที่น่าฉงนคือ ช้างดึกดำบรรพ์นั้นมีหลายสายพันธุ์มาก รูปร่างหน้าตาก็แปลกแตกต่างจากช้างที่เราเห็นกันในปัจจุบัน แล้วเราจะได้รู้ว่าช้างที่ค้นพบทั่วโลกมีถึง 42 สกุล การค้นพบของที่นี่มี 8 สกุล ส่วนช้างปัจจุบันนั้นเหลือเพียง 2 สกุลเท่านั้น ในอาคารนี้มีรูปจำลองช้างดึกดำบรรพ์ตัวโตมากอยู่ที่ผนังด้านหนึ่ง ส่วนอีกด้านหนึ่งที่เห็นเป็นโครงกระดูกช้าง อันนี้เป็นของจริงของช้างยุคปัจจุบัน เจ้าของโครงกระดูกชื่อพลายยีราฟ
การค้นพบฟอสซิลของช้างดึกดำบรรพ์ อาจารย์จรูญเล่าว่าพบมากที่บ่อทรายที่มีการดูดทรายเอาไปขายแถวริมแม่น้ำมูล การพบจะอยู่ลึกลงไปประมาณ 5-40 เมตร โดยพบต่อเนื่องไปตั้งแต่อำเภอเฉลิมพระเกียรติ อำเภอพิมาย ไปจนถึงอำเภอชุมพวง ที่พบมากอยู่ที่อำเภอเฉลิมพระเกียรติ การได้ฟอสซิลเป็นชิ้นส่วนมามีทั้งการบริจาค การซื้อมาจากคนงานที่พบ เหตุที่พบมากบริเวณบ่อทรายก็เนื่องมาจากฟอสซิลชิ้นส่วนโครงกระดูกได้ถูกน้ำพัดพามารวมกันในบริเวณที่ต่ำ อายุของฟอสซิลเหล่านี้อยู่ที่ 16 – 5 ล้านปี เมื่อได้มาแล้วการจำแนกว่าฟอสซิลที่ค้นพบเป็นช้างในตระกูลใดในช่วงเวลาไหน ชิ้นส่วนสำคัญที่ทำให้จำแนกได้คือส่วนของฟันกราม นอกจากนี้เรายังจะได้ทราบถึงวิวัฒนาการของช้าง การกระจายตัวของช้างดึกดำบรรพ์ในทวีปต่างๆ รู้จักกับช้างแมมมอธ ช้างมาสโตดอน ช้างโคราช นอกจากช้างยังมีการค้นพบซากดึกดำบรรพ์สัตว์ชนิดอื่นๆ ด้วยอย่างเช่น แรดโบราณ ม้าโบราณ 3 นิ้ว เสือเขี้ยวดาบ ยีราฟคอสั้น เต่ายักษ์ เป็นต้น
จากตัวอาคารนี้ไปอาคารที่สาม เราจะได้ผ่านโพรงถ้ำที่มีไดโนเสาร์จำลอง คนที่ไม่ได้ตั้งตัวอาจตกใจว่ามีตัวอะไรซุ่มอยู่ ที่นี่มีฟอสซิลไดโนเสาร์โคราชได้แก่พวก อิกัวโนกอนต์ อัลโลซอร์ ภายในอาคารนี้ มีไดโนเสาร์จำลองตัวโตสามตัว เมื่อเดินเข้าไปใกล้เจ้าสามตัวนี้จะขยับเขยื้อนส่งเสียงราวกับมีชีวิต ถ้าอยากรู้ว่าสามตัวนี้มาทำอะไร เกี่ยวข้องกันอย่างไร ให้ผู้เข้าชมรีบจับจองที่นั่งในห้องฉายวีดีทัศน์ 360 องศา เพื่อจะได้พบกับความตื่นเต้นตื่นตาตื่นใจ สำหรับเรื่องราวและฟอสซิลไดโนเสาร์พันธุ์ต่างๆ ภายในอาคารนี้มีรายละเอียดไม่แพ้พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ที่อื่น สำหรับเด็ก ๆ ที่เกิดแรงบันดาลใจอยากเป็นนักสำรวจ ในนี้มีมุมให้ถ่ายรูปโดยยื่นหน้าเข้าไปเพื่อตัวเราจะกลายเป็นไดโนเสาร์ หรืออยากจะเล่นทรายก็มีมุมที่มีอุปกรณ์การขุดให้ลองทำดู
การมาเที่ยวชมพิพิธภัณฑ์ไม้กลายเป็นหินที่โคราช เป็นความบันเทิงที่ให้ความรู้กับคนทุกวัย ในแต่ละวันมีผู้คนจากหลายจังหวัดทั้งใกล้และไกลพาครอบครัวมาเที่ยว นับว่าที่นี่ประสบความสำเร็จในการสร้างพิพิธภัณฑ์ให้มีชีวิต พร้อมกับการได้อนุรักษ์ไม้กลายเป็นหินให้อยู่ในประเทศไทย
สาวิตรี ตลับแป้น / ผู้เขียน / ถ่ายภาพ
ข้อมูลจาก : สำรวจภาคสนามเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2551
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสื่อออนไลน์
มหัศจรรย์ “ไม้กลายเป็นหิน” ของดีถิ่นอีสาน
“ภาคอีสาน” ถือเป็นดินแดนที่มีการขุดค้นพบซากสัตว์ในสมัยโบราณที่มีอายุนับร้อยล้านปีเป็นจำนวนมาก จนได้ขึ้นชื่อว่าเป็น “ถิ่นไดโนเสาร์” ไม่เพียงแต่ซากสัตว์เท่านั้น ที่นี่ยังมีการค้นพบซากพืชที่ฝังตัวอยู่ใต้ดินนับร้อยล้านปีอย่าง “ไม้กลายเป็นหิน” ที่จังหวัดนครราชสีมา ก็เป็นจังหวัดหนึ่งที่พบไม้กลายเป็นหินอายุในพื้นที่เกือบ 20 อำเภอ และไม่เพียงแต่ไม้กลายเป็นหินเท่านั้น แต่ที่นี่ยังพบฟอสซิลของสัตว์ดึกดำบรรพ์และกระดูกไดโนเสาร์เป็นจำนวนมาก จนทำให้มีการก่อตั้ง “พิพิธภัณฑ์ไม้กลายเป็นหินและทรัพยากรธรณีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ” ขึ้นเที่ยวชมพิพิธภัณฑ์ไม้กลายเป็นหิน
พิพิธภัณฑ์ไม้กลายเป็นหิน ตั้งอยู่ที่บ้านโกรกเดือนห้า ต.สุรนารี อ.เมืองนครราชสีมา จ.นครราชสีมา มีพื้นที่ทั้งหมด 80.5 ไร่ เปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2551 โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดําเนินทรงเป็นองค์ประธานในพิธีเปิด ชื่อเต็มของสถานที่แห่งนี้ คือ “สถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหิน และทรัพยากรธรณีภาคตะวันออกเฉียงเหนือเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา” เป็นพิพิธภัณฑ์ไม้กลายเป็นหินแห่งแรกของประเทศไทยโคราชมหัศจรรย์ "พิพิธภัณฑ์ไม้กลายเป็นหิน"
ดินแดนอีสานถือว่าเป็นถิ่นไดโนเสาร์ เพราะบนแผ่นดินที่ราบสูงอีสานซึ่งมีอายุเก่าแก่นับร้อยล้านปีมาแล้วนั้น เคยเป็นแหล่งอาศัยของสัตว์ดึกดำบรรพ์อย่างไดโนเสาร์ และสัตว์โบราณต่างๆ ซึ่งซากเหล่านั้นสามารถบอกเล่าเรื่องราวในอดีตที่ผ่านมาหลายร้อยล้านปีได้ ไม่เพียงแต่ซากดึกดำบรรพ์สัตว์ประเภทโครงกระดูกไดโนเสาร์เท่านั้นที่พบเจอในดินแดนแถบนี้ แต่อีสานยังมีซากดึกดำบรรพ์พืชอย่าง 'ไม้กลายเป็นหิน" ของแปลกมหัศจรรย์ที่พบได้มากในแถบอีสานเช่นกัน เชื่อว่าหลายคนคงเกิดคำถามขึ้นมาว่า ไม้กลายเป็นหินคืออะไร? และกลายเป็นหินได้อย่างไร?แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยบล็อก
ทริปหลังบ้าน : พิพิธภัณฑ์ไม้กลายเป็นหิน, ช้างดึกดำบรรพ์ และไดโนเสาร์ (โคราช)
หยุดวันแรงงานที่ผ่าน ผู้ใช้แรงงานอย่างเราเลยมีโอกาสพาหลานไปเที่ยวพิพิธภัณฑ์ไม้กลายเป็นหินมาค่ะ อยู่ใกล้บ้านมากๆ แต่ไม่เคยแวะไปซักที เนื่องจากคุณหลานชอบไดโนเสาร์มาก โหะๆ เลยจะพาไปดูตัวหย่ายๆ หากใครมาโคราชช่วงนี้น่าจะเห็นป้ายแนะนำที่ท่องเที่ยวของโคราชที่แนะนำพิพิธภัณฑ์ไม้กลายเป็นหินนะคะ หากมาจาก กทม ก็สามารถแวะเที่ยวก่อนเข้าเมืองได้เลย u-turn ตรงโคกกรวดผ่านตรงที่ขายต้นไม้เยอะๆไปเลย ไม่ไกลค่ะ เส้นทางนี้สามารถไปถึงสวนสัตว์นครราชสีมาได้ด้วยค่ะแนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสารานุกรมไทย
ธรรมชาติวิทยา แร่ หิน ฟอสซิล ไดโนเสาร์ อัญมณี ไม้กลายเป็นหิน
พิพิธภัณฑ์กองพันทหารสื่อสารที่ 22
จ. นครราชสีมา
พิพิธภัณฑ์กำลังเอก
จ. นครราชสีมา
พิพิธภัณฑ์วัดธรรมจักรเสมาราม
จ. นครราชสีมา