พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี จัดแสดงศิลปะโบราณคดีในประเทศไทย ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์จนถึงสมัยประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะหลักฐานสำคัญที่ได้จากการสำรวจ ขุดค้นแหล่งโบราณคดี และเมืองโบราณต่างๆในภาคตะวันออก เช่น เมืองศรีมโหสถ เมืองนครนายก เป็นต้น เพื่อแสดงถึงพัฒนาการทางวัฒนธรรมของกลุ่มชนกลุ่มต่างๆ โดยมีอิทธิพลวัฒนธรรมทวาราวดีและวัฒนธรรมเขมร เป็นสำคัญในภูมิภาคนี้ ตลอดจนจัดแสดงเรื่องเครื่องถ้วยในประเทศไทย และโบราณคดีใต้น้ำ
โดย:
วันที่: 02 กรกฎาคม 2564
โดย:
วันที่: 02 กรกฎาคม 2564
ชื่อผู้แต่ง: ศรัณย์ ทองปาน | ปีที่พิมพ์: ปีที่ 39 ฉบับที่ 1 มกราคม-มีนาคม 2556;vol. 39 No.1 January-March 2013
ที่มา: วารสารเมืองโบราณ
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 20 มิถุนายน 2557
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยทีมงานและสมาชิก
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี เป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติระดับภาคในความดูแลของกรมศิลปากร จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ที่จัดแสดง เผยแพร่ความรู้ ข้อมูล ด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี และประวัติศาสตร์ศิลปะ ตลอดจนโบราณวัตถุที่ค้นพบในภูมิภาคตะวันออก ประกอบด้วยพื้นที่ในเขตจังหวัดปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด รวมถึงจังหวัดนครนายก ซึ่งมีอายุสมัยที่เก่าแก่ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ จนถึงพุทธศตวรรษที่ 18
ตั้งแต่ พ.ศ.2508 กองโบราณคดี กรมศิลปากรได้เริ่มการสำรวจขุดแต่งโบราณสถาน ในจังหวัดปราจีนบุรี และจังหวัดใกล้เคียง พบศิลปะโบราณวัตถุที่สำคัญเป็นจำนวนมาก มีอายุก่อนสมัยทวารวดีจนถึงสมัยลพบุรี ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาประวัติศาสตร์ และโบราณคดี กรมศิลปากรจึงได้ดำริจัดสร้างพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติในภาคตะวันออกขึ้นที่จังหวัดปราจีนบุรี เพื่อเป็นที่รวบรวมและจัดแสดงศิลปะโบราณวัตถุต่างๆ ที่ได้ค้นพบ ในภูมิภาคนี้
ในปีพ.ศ. 2515 น.อ. สมภพ ภิรมย์ ร.น. อธิบดีกรมศิลปากรในสมัยนั้น ได้หารือกับจังหวัดปราจีนบุรีในการจัดตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติส่วนภูมิภาคตะวันออกที่จังหวัดปราจีนบุรี ทางจังหวัดได้เสนอแนะให้จัดสร้างในที่ดินราชพัสดุติดกับศาลจังหวัดปราจีนบุรีทางทิศเหนือ และได้รับความร่วมมือจากกรมอาชีวศึกษาได้แบ่งที่ดินบริเวณดังกล่าวเพิ่มเติม มีเนื้อที่ประมาณ 11 ไร่เศษ กรมศิลปากรจึงได้ดำเนินโครงการก่อสร้างพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรีขึ้น มีการดำเนินงานตามโครงการออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้
ระยะที่ 1 ระหว่าง พ.ศ. 2518 - 2520 ทำการถมดินและก่อสร้างอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กสูง 2 ชั้น
ระยะที่ 2 ระหว่าง พ.ศ. 2522 - 2525 สร้างอาคารบ้านพักข้าราชการ บ้านพักเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย ติดตั้งระบบสาธารณูปโภค ครุภัณฑ์สำหรับการจัดแสดง
ระยะที่ 3 ระหว่าง พ.ศ. 2526 - 2528 ก่อสร้างอาคารเพิ่มเติม มีห้องบรรยายและห้องอเนกประสงค์ ปรับปรุงบริเวณลานจอดรถ
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรีเปิดอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2528 โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานในการประกอบพิธีเปิดอาคารพิพิธภัณฑ์
นายเมธี คันธโร สถาปนิก7 กองสถาปัตยกรรมเป็นผู้ออกแบบและควบคุมการก่อสร้างอาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี นางอัจฉรา สุยะพันธุ์ มัณฑนากร4 กองสถาปัตยกรรมออกแบบครุภัณฑ์ นายเสรี นิลประพันธุ์ นายช่างศิลปกรรม6 และนางบุษกร ลิมจิตติ มัณฑนากร4 กองพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ออกแบบการจัดแสดงร่วมกับงานช่างทั่วไป นางสมลักษณ์ เจริญพจน์ นางวิสันธนี โพธิสุนทร ภัณฑารักษ์งานวิชาการดำเนินการจัดแสดงและจัดทำคำบรรยาย นางเพ็ญพรรษ์ ดำรงศิริและนางวิสันธนี โพธิสุนทร จัดทำหนังสือนำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี ฉบับปฐมฤกษ์
ต่อมาในปี พ.ศ. 2560 – 2561 กรมศิลปากรได้จัดสรรงบประมาณเพื่อการปรับปรุงการจัดแสดงนิทรรศการถาวรภายในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี ซึ่งยังคงการจัดแสดงและเผยแพร่ศิลปะ ประวัติศาสตร์ และโบราณคดีในภาคตะวันออก เป็นสำคัญ โดยเน้นการจัดแสดงโบราณวัตถุชิ้นสำคัญให้เด่นเป็นสง่า ภายใต้การควบคุมบรรยากาศ และระบบไฟส่องสว่างที่ดูทันสมัยตามมาตรฐานสากล ประกอบสื่อการจัดแสดงต่างๆ เช่น สื่อวีดีทัศน์ และสื่อ Interactive และที่สำคัญ คือ การเคลื่อนย้ายพระคเณศอันมีถิ่นพบจากเมืองมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรี กลับมาจัดแสดง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี สอดรับกับวัตถุประสงค์การเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่รวบรวมและจัดแสดงมรดกทางศิลปวัฒนธรรมที่พบจากภูมิภาคตะวันออกอย่างสมบูรณ์
ต่อมาในปี พ.ศ. 2562 - 2563 ได้มีการปรับปรุงและพัฒนาภูมิทัศน์และพัฒนาส่วนต้อนรับและพื้นที่อเนกประสงค์
การจัดแสดงนิทรรศการถาวรของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี แบ่งเป็นส่วนต่างๆ ดังนี้
1.ห้องประวัติศาสตร์และโบราณคดีภาคตะวันออก
เรียนรู้ประวัติศาสตร์และโบราณคดีในภาคตะวันออก ด้วยสภาพภูมิประเทศที่อุดมสมบูรณ์ ทำให้เหมาะแก่การตั้งถิ่นฐานของชุมชน ดังปรากฏหลักฐานทางโบราณคดีตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์จนถึงสมัยประวัติศาสตร์ พร้อมชมวีดิทัศน์ “ร่องรอยวัฒนธรรมลุ่มน้ำบางปะกงและภูมิภาคตะวันออก”
2.ห้องชุมชนโบราณในภาคตะวันออก
จัดแสดงเนื้อหาเกี่ยวกับชุมชนโบราณสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในภูมิภาคตะวันออกที่สำคัญ ได้แก่ ชุมชนโคกพนมดี ราว 3,500 – 4,000 ปีมาแล้ว และชุมชนหนองโน ราว 2,700 – 4,500 ปีมาแล้ว ผ่านหลุมศพจำลองเจ้าแม่โคกพนมดีและโบราณวัตถุที่พบจากแหล่งโบราณคดีโคกพนมดีและหนองโน จังหวัดชลบุรี
3.ห้องพัฒนาการของชุมชนและเมืองโบราณในภาคตะวันออก
จัดแสดงพัฒนาการของชุมชนและเมืองโบราณในภาคตะวันออก เริ่มต้นจากความสัมพันธ์กับดินแดนโพ้นทะเล เข้าสู่ช่วงรับวัฒนธรรมทวารวดีและวัฒนธรรมเขมรโบราณในภาคตะวันออก โบราณวัตถุชิ้นสำคัญที่พบในภาคตะวันออก ได้แก่ ทับหลังจากปราสาทเขาน้อยสีชมพู ทับหลังจากปราสาทสด๊กก็อกธม รวมถึงจารึกที่พบจากปราสาททั้ง 2 แห่งดังกล่าว
4.ห้องวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำบางปะกง
จัดแสดงเรื่องราวของชุมชนในบริเวณลุ่มแม่น้ำบางปะกง ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์จนเข้าสู่วัฒนธรรมทวารวดี ผ่านผนังสื่อมัลติมีเดียโปรเจคเตอร์ทัชที่ทุกท่านสามารถสัมผัสเพื่อรับชมเนื้อหา
5.ห้องเมืองศรีมโหสถ นครรัฐแรกเริ่มแห่งลุ่มน้ำบางปะกง
เมืองโบราณศรีมโหสถกำเนิดขึ้นร่วมสมัยกับอาณาจักรฟูนันตอนปลายและพัฒนาเข้าสู่วัฒนธรรมทวารวดีในพุทธศตวรรษที่ 12 – 16 ก่อนที่วัฒนธรรมเขมรจะเข้ามาในราวพุทธศตวรรษที่ 17 – 18 พบโบราณวัตถุชิ้นสำคัญ ได้แก่ พระคเณศ พระวิษณุจตุรภุช พระพุทธรูปปางสมาธิ รวมถึงเครื่องสำริดประกอบพิธีกรรมที่มีจารึกภาษาเขมรกล่าวถึงพระเจ้าชัยวรมันที่ 7
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสื่อออนไลน์
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี
พิพิธภัณฑ์แห่งนี้มีประวัติศาสตร์ย้อนไปกว่า ๔๐ ปีตั้งแต่สมัยที่อธิบดีกรมศิลปากรคือ พล.ร.ต.สมภพ ภิรมย์ ร.น. แต่แรกที่วางแผนกะการณ์กันเมื่อปี ๒๕๑๕ ทางจังหวัดเสนอให้ใช้ที่ดินราชพัสดุในปริมณฑลของศาลากลางจังหวัด แวดล้อมด้วยสถานที่ตั้งหน่วยราชการต่างๆ ตลอดจนโรงเรียนประจำจังหวัดทั้งชายหญิง การก่อสร้างและงานตกแต่งภายในกับการจัดแสดงแล้วเสร็จจนมีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการในเดือนเมษายนปี ๒๕๒๘แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยบล็อก
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสารานุกรมไทย
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เครื่องปั้นดินเผา เมืองศรีมโหสถ
พิพิธภัณฑ์เหมืองทองคำบ้านบ่อทอง
จ. ปราจีนบุรี
พิพิธภัณฑ์วัดแก้วพิจิตร
จ. ปราจีนบุรี
พิพิธภัณฑ์พระครูอุทัยธรรมธารี (เส็ง สุขิโต)
จ. ปราจีนบุรี