โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 11/4/2545
ที่มา: เดลินิวส์
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: ศรัณย์ ทองปาน | ปีที่พิมพ์: ปีที่ 30 ฉบับที่ 1(ม.ค.-มี.ค.)2547
ที่มา: วารสารเมืองโบราณ
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: ปัญญา วารปรีดี และคณะ | ปีที่พิมพ์: 2550
ที่มา: นครนายก: ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: ยุภาพร ธัญวิวัฒน์กุล | ปีที่พิมพ์: 2551;2008
ที่มา: รายงานทุนสนับสนุนการวิจัยสำหรับพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น โครงการเทศกาลพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นครั้งที่ 1/2551
แหล่งค้นคว้า:
โดย: ศมส.
วันที่: 11 พฤศจิกายน 2556
ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 14 พ.ค.2556;14-05-2013
ที่มา: หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 26 มีนาคม 2558
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยทีมงานและสมาชิก
รีวิวของพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดฝั่งคลอง (ไทยพวน)
จังหวัดนครนายกเป็นจังหวัดหนึ่งที่มีคนไทยเชื้อสายพวนอาศัยอยู่จำนวนมาก บรรพบุรุษของคนเหล่านี้อพยพเข้ามาเมื่อครั้งสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ยกทัพไปตีเวียงจันทน์ และกวาดต้อนผู้คนทั้งชาวเวียงจันทน์และชาวพวนเชียงขวาง ซำเหนือ เข้ามาตั้งภูมิลำเนาอยู่ตามหัวเมืองชั้นใน อาทิ ลพบรี สระบุรี นครนายก และฉะเชิงเทรา เป็นต้น สันนิษฐานว่าชาวพวนที่อำเภอปากพลี นครนายก อพยพเข้ามาราวปี พ.ศ. 2321-2322 โดยหมู่บ้านที่มีชาวพวนอาศัยอยู่มาก เช่น บ้านท่าแดง บ้านฝั่งคลอง บ้านหนองแสง บ้านเกาะหวาย บ้านหนองหัวลิงปัจจุบันวิถีชีวิตพื้นบ้านแบบไทยพวนค่อย ๆ สูญหายและถูกกลืนไปกันสังคมไทยสมัยใหม่ หากแต่ยังมีกลุ่มคนที่พยายามอนุรักษ์และสืบสาวประวัติความเป็นมา ประเพณีวัฒนธรรมของคนพวนในพื้นที่ของนครนายกเอาไว้ หนึ่งในนั้นคือ พระครูวิริยานุโยค(สมบัติ บุญประเสริฐ) เจ้าอาวาสวัดฝั่งคลอง ในปี พ.ศ.2541 หลังจากที่ท่านมีโอกาสเข้าร่วมประชุมสัมมนาศึกษาดูงาน ตามโครงการของกรมศิลปากร เรื่องการดูแลทรัพย์สินทางศิลปวัฒนธรรมของชาติ ในส่วนของพระสังฆาธิการ และตระเวนศึกษาดูงานและพร้อมกับได้รับคำแนะนำจากกรมศิลปากร รวมทั้งได้รวบรวมของเก่าที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์มาเก็บไว้จำนวหนึ่ง ท่านจึงตัดสินใจก่อตั้งพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดฝั่งคลอง (ไทยพวน) ขึ้นเพื่อจัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับไทยพวน โดยปรับพื้นที่บริเวณชั้นล่างของหอฉันเป็นสถานที่จัดแสดง
วัดฝั่งคลองตั้งอยู่ริมถนนสายนครนายก-ปราจีนบรี เป็นวัดสังกัดมหานิกาย เดิมเรียกกันว่า "วัดฮิมคลอง" ซึ่งเป็นสำเนียงไทยพวน เพราะตั้งอยู่ริมคลองท่าแดง ผู้สร้างวัดมาจากชาวบ้าน 12 ครัวเรือน ที่แยกออกมาจากบ้านท่าแดง แล้วอพยพมาตั้งบ้านเรือนขึ้นชื่อบ้านฝั่งคลอง และได้สร้างวัดโดยมีพระอาจารย์อุน กับพระอาจารย์สิม เป็นหัวหน้าจัดสร้าง และเรียกวัดที่สร้างขึ้นใหม่นี้ว่า "วัดฝั่งคลอง" ตามชื่อหมู่บ้าน พิพิธภัณฑ์เปิดมาแล้ว 9 ปี มีการปรับปรุงพื้นที่และการจัดแสดงมาแล้ว 3 ครั้ง ปรับปรุงล่าสุดในเดือนมิถุนายน 2550 เมื่อครั้งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้นำนักเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ชั้นปีที่ 4 มาศึกษาวิถีวัฒนธรรมของชาวไทยพวนอำเภอปากพลี ณ พิพิธภัณฑ์ เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2550
ทั้งนี้ทางวัดได้รับความช่วยเหลือจากโรงเรียนอำเภอปากพลีในการจัดทำป้ายคำบรรยายที่มีทั้งตัวอักษรพวนและไทย รวมถึงช่วยออกแบบการจัดแสดงทั้งหมด โดยระดมเงินทุนจากหลายฝ่าย ได้แก่ เงินบริจาคจากผู้มีจิตศรัทธา งบช่วยเหลือจากเทศบาล และองค์การบริหารส่วนจังหวัด
ภายในพิพิธภัณฑ์ประกอบด้วยพื้นที่ใช้งาน 3 ส่วนหลัก คือ พื้นที่จัดแสดง ห้องประชุม และมุมห้องสมุด ซึ่งเปิดให้ประชาชนที่สนใจเข้ามาศึกษาค้นคว้า บริเวณส่วนจัดแสดงเป็นห้องโถงยาว ด้านหนึ่งคือ “เฮือนไทยพวน” ที่จำลองบ้านและเครื่องใช้ไม้สอยภายในครัวเรือนของชาวไทยพวน มีส่วนนิทรรศการและข้าวของต่าง ๆ จัดแสดงในหัวเรื่อง “อยู่ดี กินดี มีสุข สวยงาม” นำเสนอถึงวิถีชีวิตของไทยพวนตั้งแต่ การสร้างบ้าน ที่อยู่อาศัย(อยู่ดี) , การทำมาหากิน อาหาร (กินดี) , การละเล่นนางด้ง นางสุ่ม การร้องรำทำเพลง (มีสุข) ,เครื่องแต่งกาย ผ้าทอ ซิ่น (สวยงาม) ผ่านข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ อาทิ สมุดข่อยโบราณ เครื่องทองเหลือง เชี่ยนหมาก ขัน พาน เครื่องจักสานประเภทกระบุง ตะกร้า ถ้วยชามกระเบื้อง กบไสไม้ ตะเกียง โม่ กระต่ายขูดมะพร้าว หีบใส่ผ้า เตารีดใส่ถ่าน โอ่ง ไหดินเผา หม้อน้ำดินเผา กี่ทอผ้า เครื่องมือทำนา เครื่องมือจับปลา แคน ปั้นชา หม้อกาแฟ
ของจัดแสดงส่วนใหญ่มีป้ายชื่อเรียกทั้งภาษาไทยและพวน อักษรพวน วิธีใช้ และประโยชน์การใช้งาน ความสนใจต่อวิถีชีวิตดั้งเดิมของไทยพวนของท่านเจ้าอาวาส จุดประกายให้ท่านตั้งคณะทำงานเข้าไปทำความรู้จักและสอบถามข้อมูลพี่น้องไทยพวน ถึงในแขวงเชียงขวาง สปป.ลาว และการที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จมาที่พิพิธภัณฑ์ไทยพวนแห่งนี้ ทำให้คนไทยเชื้อสายพวนในจังหวัดอื่น ๆ เริ่มสนใจและพยายามสร้างเครือข่ายการแลกเปลี่ยนข่าวสารข้อมูลกันมากขึ้น การพยายามตามหารากเหง้าของตนเองจึงยังคงดำเนินต่อไปภายใต้ความหลากหลายของชาติพันธุ์บนโลกใบนี้
ข้อมูลจาก:
สำรวจภาคสนามวันที่ 19 ตุลาคม 2550
ปัญญา วารปรีดี และคณะ. บันทึก...วิถีวัฒนธรรมและการดำรงอยู่ของไทยพวนอำเภอปากพลี พ.ศ. 2550 จังหวัดนครนายก. นครนายก: ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก, 2550.
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสื่อออนไลน์
พิพิธภัณฑ์วัดฝั่งคลอง
วัดฝั่งคลอง ตั้งอยู่ริมถนนนครนายก – ปราจีนบุรี การขยายถนนเมื่อไม่นานมานี้ ทำให้ถนนเบียดเข้ามาจนประชิดติดกับกำแพงแก้วรอบอุโบสถ เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน คือพระครูวิริยานุโยค (สมบัติ บุญประเสริฐ) เดิมเป็นชาวบางคล้า ฉะเชิงเทรา ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสมาตั้งแต่ ปี พ.ศ.2520 ท่านมีความสนใจในประวัติความเป็นมา และชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านในชุมชน ซึ่งเป็นชาวพวน จึงได้เริ่มรวบรวมวัตถุต่างๆ ไว้เป็นหลักฐาน ต่อมา จึงได้ก่อตั้ง “หอพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดฝั่งคลอง (ไทยพวน)“ ขึ้นในปี พ.ศ.2541 โดยความร่วมมือจากกรมศิลปากรแหล่งเรียนรู้ศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราช ปลุกคนไทยรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์
ไปเยือน ศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราชวัดฝั่งคลอง จ.นครนายก กับ นายสนธยา คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม(วธ.) นางปริศนา พงษ์ทัดศิริกุล ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ซึ่งที่นี่ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) ได้ส่งเสริมให้เป็นศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราชแห่งแรก ในพื้นที่ภาคกลาง และของจังหวัดนครนายก ตอนแรกเมื่อมาถึงวัด ก็รู้สึกว่า เป็นวัดทั่วไปธรรมดาเหมือน ๆ กับที่อื่น แต่พอเดินเข้าไปที่พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดฝั่งคลองก็รู้สึกประทับใจไม่น้อยแนะนำพิพิธภัณฑ์โดยบล็อก
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสารานุกรมไทย
วิถีชีวิตท้องถิ่นและภูมิปัญญา ชาติพันธุ์ กลุ่มชาติพันธุ์ วัดฝั่งคลอง ลาวพวน
ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดนครนายก โรงเรียนนครนายกวิทยาคม
จ. นครนายก
พิพิธภัณฑ์ภูมิปัญญาชาวบ้าน โรงเรียนวัดเลขธรรมกิตติ์
จ. นครนายก
พิพิธภัณฑ์ทหาร อาคารโรงเรียนจปร.100 ปี
จ. นครนายก