ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ


ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนฯ ได้รับการสภาปนาจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2522 มีรูปแบบการบริหารจัดการในลักษณะบูรณาการร่วมกันระหว่างส่วนราชการ โดยมีกรมพัฒนาที่ดิน เป็นหน่วยงานหลักในการประสานการดำเนินงาน โดยทุกหน่วยงานสามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ดำเนินการศึกษาทดลอง วิจัย โดยนำผลสำเร็จที่ได้ขยายผลไปสู่เกษตรกร เพื่อการพัฒนาอาชีพของตนเองให้มีผลผลิตเพิ่มขึ้น ช่วยให้ราษฎรมีฐานะความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น นอกจากนั้นยังเปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไปที่สนใจเข้ามาเยี่ยมชม ศึกษาเรียนรู้ และฝึกอบรมในด้านการเกษตรซึ่งความรู้ที่ได้จากการอบรมสามารถนำไปปฏิบัติได้จริงในพื้นที่ของตนเอง

ที่อยู่:
เลขที่ 7 หมู่ 2 ตำบลเขาหินซ้อน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา 24120
โทรศัพท์:
038554982, 0816860639
วันและเวลาทำการ:
วันจันทร์ - วันศุกร์ ในเวลาราชการ 8.30-16.30 น.
ค่าเข้าชม:
ไม่เสียค่าเข้าชม
เว็บไซต์:
อีเมล:
rdsckhs@gmail.com
ปีที่ก่อตั้ง:
2522
จัดการโดย:

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน อันเนื่องมาจากพระราชด...

โดย:

วันที่: 05 กรกฎาคม 2564

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน อันเนื่องมาจากพระราชด...

โดย:

วันที่: 05 กรกฎาคม 2564

ไม่มีข้อมูล

เที่ยวตามรอยพระบาม...พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติเขาหินซ้อน

ชื่อผู้แต่ง: เที่ยวสวนชมไร่ | ปีที่พิมพ์: 10/13/2545

ที่มา: เดลินิวส์

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

ประวัติศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ

ชื่อผู้แต่ง: ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ | ปีที่พิมพ์:

ที่มา: ฉะเชิงเทรา: ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 05 กรกฎาคม 2564

ดูลิงค์ต้นฉบับ

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ


ไม่มีข้อมูล

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้รับการสภาปนาจากพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2522 ในคราวเสด็จพระราชดำเนินมาเปิดศาลพระบวรราชานุสาวรีย์ของพระบามสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ ตำบลเขาหินซ้อน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา ณ ที่นั้น ราษฎร 7 ราย ได้น้อมเกล้าฯ ถวายที่ดินบริเวณหมู่ 2 ตำบลเขาหินซ้อน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 264 ไร่ เพื่อต้องการให้สร้างพระตำหนัก ด้วยเห็นว่าพระเจ้าอยู่หัวเสด็จไปที่ไหนก็พยายามที่จะพัฒนาทำให้ที่ดินเจริญขึ้น เนื่องจากผืนดินเสื่อมโทรมไม่สามารถทำการเกษตรได้ ดังพระราชดำรัส

”…ประวัติมีว่า ตอนแรกมีที่ดิน 264 ไร่ ที่ผู้ใหญ่บ้านให้เพื่อสร้างพระตำหนักในปี 2522 ที่เชิงเขาหินซ้อนใกล้วัดเขาหินซ้อน ตอนแรกก็ต้องค้นคว้าว่าที่ตรงนั้นคือตรงไหน ก็พยายามสืบถาม ก็ได้พบบนแผนที่พอดีอยู่มุมบนของระวางของแผนที่ จึงต้องต่อแผนที่ 4 ระวาง สำหรับให้ได้ทราบว่าสถานที่ตรงนั้น อยู่ตรงไหน ก็เลยถามผู้ที่ให้นั้นนะ ถ้าหากไม่สร้างตำหนัก แต่ว่าสร้างเป็นสถานที่จะศึกษาเกี่ยวกับการเกษตรจะเอาไหม เขาก็บอกยินดีก็เลยเริ่มทำในที่นั้น”

พื้นที่บริเวณดังกล่าวมีสภาพเสื่อมโทรม ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ เนื้อดินเป็นทราย มีการชะล้างการพังทลายของดินสูง ดินรองรับน้ำได้เพียง 30 มิลลิเมตร มีการปลูกพืชชนิดเดียว (มันสำปะหลัง) ติดต่อกันเป็นเวลานาน โดยไม่มีการปรับปรุงบำรุงดิน ผลผลิตพืชที่ได้รับต่ำ ดังพระราชดำรัส

”…ปัญหาที่ 1.ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา : 2522 …มีการตัดป่า แล้วปลูกพืชไร่ เช่น ข้าวโพด และมันสำปะหลัง ซึ่งทำให้ดินจืดและกลายเป็นดินทราย มีแร่ธาตุน้อย ในฤดูแล้งจะมีการชะล้างเนื่องจากลมพัด (Wind Erosion) ในฤดูฝนจะมีการชะล้างเนื่องจากน้ำเซาะ (Water Erosion) … “

และ”... ตอนศึกษาดูพื้นที่นั้นพัฒนายากมากเพราะว่ามีแต่หิน แล้วก็เขาปลูกมันสำปะหลัง ก็เลยนึกว่าอาจจะสาธิตการปลูกมันสำปะหลัง มันสำปะหลังนั้นแม้จะไม่มีน้ำ ก็ยังพอปลูกได้โดยง่าย แต่ที่นี่เขาปลูกมันสำปะหลังไม่ขึ้น หมายความว่าอะไร ปุ๋ยไม่มี น้ำไม่มี มีแต่ทราย ก็เลยว่าจะต้องพัฒนาที่นี่ให้เป็นที่ที่สามารถปลูกแม้แต่มันสำปะหลังอย่างนี้ การปลูกมันสำปะหลังก็ต้องรู้การสร้างดิน ไม่ใช่ทราย มีแต่ทราย แล้วก็สร้างน้ำ เพื่อที่จะให้มีความชุ่มชื้นหน่อย มันสำปะหลังนี้เขาเข้มแข็งมาก ไม่ต้องน้ำเท่าไร แต่ที่นั่นมันไม่ขึ้น ก็ถามกำนันคนที่ให้ ที่เขายอมรับว่าเขาให้เพราะเขาทำไม่ได้ เพราะเขาปลูกมันสำปหลังไม่ได้ มหัศจรรย์ แต่เขาก็ยินดีถวาย แล้วก็ 264 ไร่ ก็เห็นว่าน้อยเกินไป ก็เลยบอกว่าที่ตรงนั้นขอซื้อเพิ่มเติมหน่อยได้ไหม เขาก็ขาย ขายตรงนั้น เขาเตรียมสำหรับปลูกมันสำปะหลังแล้ว แต่ว่าเขาไม่ได้ปลูก...”

เมื่อทำการสำรวจสภาพปัญหาของพื้นที่ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรได้ พระราชทานข้อเท็จจริงแก่เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง ณ ศาลาดุสิดาลัย เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2531 ความตอนหนึ่งว่า

”...อันแรกก็ได้ให้กรมชลประทานได้สร้างเป็นอ่างเก็บน้ำ ซึ่งดูๆไปแล้วก็แปลก เพราะว่าอ่างเก็บน้ำนั้นเท่ากับกินที่ของที่ที่ได้มาเกือบทั้งหมดจะเหลือเพียงไม่กี่ไร่ที่จะใช้สำหรับการเพาะปลูก โดยใช้น้ำชลประทานก็เริ่มต้นอย่างนั้นคือ ไม่ถือว่าผิดหลักวิชา ความจริงก็ผิดหลักวิชา มีที่เท่าไรก็มาใช้ ส่วนใหญ่เป็นอ่างเก็บน้ำ แล้วก็มาใช้ประโยชน์สำหรับการเพาะปลูกเพียงไม่กี่ไร แต่ถือว่าทำเป็นตัวอย่างแล้ว ผลประโยชน์ที่จะได้ก็ไม่ใช่เฉพาะในที่ของเรา เป็นในที่ที่ลงไป ข้างล่างคงได้รับประโยชน์สำหรับสถานที่ก่อสร้างนั้น...”

และ ”...ก่อนอื่นได้สร้างเขื่อนกั้นห้วยเจ๊ก ซึ่งมีน้ำซับ (พิกัด QR.715208) เมื่อไปทำพิธีเปิดพระบรมรูปสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ที่วัดเขาหินซ้อน ได้ไปสำรวจพื้นที่และกำหนดที่ทำเขื่อน (8 สิงหาคม 2522) ต่อจากนั้นได้สร้างอ่างเก็บน้ำเพิ่มเติม (นอกเขต) คือ อ่างห้วยสำโรงเหนือ และห้วยสำโรงใต้...”

และ”...เมื่อพัฒนาน้ำขึ้นมาบ้างแล้ว ก็เริ่มปลูกพืชไร่และเลี้ยงปลาในที่ลุ่ม ส่วนที่อยู่บนเนินก็เลี้ยงปศุสัตว์ ปลูกหญ้า และต้นไม้ผลและป่า การเลี้ยงปศุสัตว์ ปลูกหญ้าและต้นไม้นี้ จะทำให้ดินมีคุภาพดีขึ้น ในที่สุดจะใช้ดินได้ทั้งหมด กรรมวิธีนี้อาจต้องใช้เวลานาน จะสามารถเปลี่ยนจากกระบวนการที่ไปทางเสื่อมมาเป็นทางพัฒนาให้เป็นพื้นที่สมบูรณ์ เมื่อจำแนกชั้นสมรรถนะของดินสำหรับพืชไร่ และการปลูกป่าแล้วก็สมควรที่จะมีการปลูกพันธุ์ไม้ ซึ่งนอกจากจะเป็นประโยชน์ต่อการรักษาผิวดินและความชุ่มชื้นของอากศแล้ว ยังมีประโยชน์ต่อการใช้ในครัวเรือน อาทิ ไม้เพื่อทำฟืน ไม้เพื่อทำบ้าน และไม้ผล เป็นต้น...”

ทรงพระราชทานพระราชดำริในการจัดตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนา อันเนื่องมาจากพระราชดำริ กล่าวคือ”…ด้านหนึ่งก็เป็นจุดประสงค์ของศูนย์ศึกษาก็เป็นสถานที่สำหรับค้นคว้าวิจัยในท้องที่ เพราะว่าแต่ละท้องที่สภาพฝนฟ้าอากาศและประชาชนในท้องที่ต่างๆก็มีลักษณะแตกต่างกันมากเหมือนกัน...”

และ”...เป็นการสาธิตการพัฒนาเบ็ดเสร็จ หมายถึง ทุกสิ่ง ทุกอย่าง ทุกด้านของชีวิต ประชาชนจะหาเลี้ยงชีพในท้องที่ จะทำอย่างไร และได้เห็นวิทยาการแผนใหม่ จะสามารถที่จะหาดูวิธีการจะทำมาหากินให้มีประสิทธิภาพ...”

ที่สำคัญคือ ”...ศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯเป็นศูนย์ที่รวบรวมกำลังทั้งหมดของเจ้าหน้าที่ทุกกรมกองทั้งในด้านการเกษตรหรือในด้านสังคม ทั้งในด้านหางานการส่งเสริมการศึกษามาอยู่ด้วยกัน ก็หมายความว่าประชาชนซึ่งจะต้องการทั้งหลายก็สามารถที่จะมาดู ส่วนเจ้าหน้าที่จะให้ความอนุเคราะห์แก่ประชาชน ก็มาอยู่พร้อมกันในที่เดียวกันซึ่งเป็นสองด้าน ก็หมายความถึงว่า สำคัญปลายทาง คือ ประชาชนจะได้รับประโยชน์ และต้นทางของผู้เป็นเจ้าหน้าที่จะให้ประโยชน์”

การพัฒนาดิน การวางแผนปลูกพืช และเลี้ยงสัตว์ที่เกษตรกร และผู้สนใจสามารถเข้ามาชมศึกษาค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมและนำไปปฏิบัติตามได้ เพื่อพัฒนาอาชีพและพื้นที่ทำกินของตนให้เพิ่มผลผลิตมีฐานะความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น พร้อมทั้งส่งเสริมงานศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านเป็นอาชีพเสริมเพิ่มฐานะความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เพิ่มรายได้จากอาชีพหลักอีกทางหนึ่งพัฒนาพื้นที่รอบนอกศูนย์ศึกษาฯบริเวณลุ่มน้ำโจนให้มีความเจริญขึ้น เป็นตัวอย่างแก่การพัฒนาพื้นที่อื่นๆต่อไปให้นำวิธีการที่ได้ผลมาแล้วถูกต้อง ประหยัด และเกิดประโชน์สูงสุดมาดำเนินการ

ต่อมาราษฎรได้น้อมเกล้าฯถวายที่ดินเพิ่มเติมอีก 497 ไร่ ผนวกกับที่ดินบริเวณสวนรุกขชาติและสวนพฤกษศาสตร์ และได้ทรงซื้อที่ดินที่อยู่ติดกับศูนย์ฯ เพิ่มเติมเพื่อจัดทำโครงการพัฒนาส่วนพระองค์เขาหินซ้อน เนื้อที่ 655 ไร่ รวมเนื้อที่ทั้งหมดของศูนย์ 1,895 ไร่ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ชื่อว่า “ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ” นับเป็นศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมากจากพะราชดำริแห่งแรกในจำนวน 6 ศูนย์ทั่วประเทศ

9 มหามงคล ของศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้แก่

1. ต้นโพธิ์ศรีมหาโพธิ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงปลูกต้นโพธิ์ศรีมหาโพธิ ต้นไม้ต้นแรกที่หยั่งรากลงในพื้นที่ เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2523

2. อ่างเก็บน้ำห้วยเจ๊ก พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระราชทานเงินที่ราษฎรน้อมเกล้าฯ ถวายคราวเสด็จศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริครั้งแรก เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2522 โปรดให้จัดสร้างอ่างเก็บน้ำบนพื้นที่ซึ่งเดิมเคยเป็นที่ดินปลูกผักของเจ๊ก เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2522

3. สวนป่าสมุนไพรเขาหินซ้อน พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โปรดเกล้าฯ พระราชทาน พระบรมราชานุญาตเมื่อปี พ.ศ.2523 ให้จัดตั้งสวนป่าสมุนไพรเขาหินซ้อนบริเวณสวนพฤษศาสตร์ภาคตะวันออก (เขาหินซ้อน)

4. ศาลาเทิดพระเกียรติ จังหวัดฉะเชิงเทราสร้างถวายเพื่อเป็นศาลาทรงงานของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร คราวเสด็จ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2522

5. พระตำหนักสามจั่ว พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์สร้างบ้านพักรับรองเป็นบ้านไม้สองชั้นมีใต้ถุนสูง ทรงออกแบบด้วยพระองค์เอง ให้ชื่อว่า “บ้านสามจั่ว” ก่อสร้างโดย บริษัทศรีมหาราชา จำกัด เมื่อปี พ.ศ. 2525

6. พลับพลาพระราม ราษฎรชาวอำเภอพนมสารคาม สร้างถวายโดยการนำของนายวิเชียร ตันเจริญ เพื่อเป็นอาคารรับเสด็จฯ ทรงเรียกว่า “พลับพลาพระราม”

7. โรงสีข้าวพระราชทาน บริษัท ซาทาเก้ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด ประเทศญี่ปุ่น น้อมเกล้าฯ ถวายเครื่องสีข้าวซาทาเก้ รุ่น 1070 เมื่อปี พ.ศ.2526 ทรงพระราชทานให้ติดตั้งที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เริ่มให้บริการสีข้าวแก่ราษฎร เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2527

8. หญ้าแฝก พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงมีพระราชดำริเรื่องหญ้าแฝก เป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2534 ความว่า “…ให้ศึกษาทดลองการปลูกหญ้าแฝกเพื่อป้องกันการชะล้างพังทลายของดินในพื้นที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาและพื้นที่อื่น ๆ ที่เหมาะสมอย่างกว้างขวางโดยเฉพาะศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริและศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ...”

9. ทฤษฎีใหม่ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระราชทานแนวทางการจัดการที่ดินและน้ำสำหรับทำการเกษตรในพื้นที่ถือครองขนาดเล็กเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด มีการจัดแบ่งที่ดินเป็นสัดส่วน วางแผนการเพาะปลูกพืชและคำนวณน้ำกักเก็บให้เพียงพอใช้ เกษตรกรส่วนใหญ่ในปัจจุบันมีพื้นที่ถือครองเฉลี่ยครอบครัวละ 15 ไร่ หรือต่ำกว่า ให้แบ่งพื้นที่ออกเป็น 4 ส่วน แหล่งน้ำ:นาข้าว:พืชผสมผสาน:โครงสร้างพื้นฐาน อัตราส่วน 30:30:30:10


ชื่อผู้แต่ง:
ดวงใจ วัยเจริญ