โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
ชื่อผู้แต่ง: พลาดิศัย สิทธิธัญกิจ | ปีที่พิมพ์: 10 กรกฎาคม 2554
ที่มา: แนวหน้า
แหล่งค้นคว้า:
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยทีมงานและสมาชิก
รีวิวของศูนย์เรียนรู้ประจำชุมชนริมน้ำจันทบูร บ้านเลขที่ 69
ย้อนอดีตไปกว่า 300 ปี ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยา ชุมชนริมน้ำจันทบูร คือชุมชนริมน้ำที่มีความเจริญรุ่งเรือง ด้วยเป็นศูนย์กลางการค้า มีท่าเรือสำหรับการคมนาคมขนส่ง ผู้คนประกอบอาชีพค้าขาย ทำประมง ทำพลอย ตีเหล็ก ทอเสื่อ ทำอาหารและขนมต่างๆ คนในชุมชนส่วนใหญ่เป็นกลุ่มคนจีนและคนญวนที่นับถือศาสนาคริสต์นิกายคาทอลิกย่านท่าหลวงเป็นชุมชนเก่าแก่ริมน้ำจันทบุรีด้านตะวันตก แต่เดิมรู้จักกันในชื่อ “บ้านลุ่ม”มีจุดเริ่มต้นจากเชิงสะพานวัดจันทร์ ผ่านบ้านท่าหลวง ยาวเป็นแนวไปตลอดจนถึงชุมชนตลาดล่าง บริเวณที่เรียกว่าท่าเรือจ้าง อาคารส่วนใหญ่เป็นที่พักอาศัย และร้านค้าของชุมชน สร้างมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 มีลักษณะเป็นตึกแถวโบราณ มีลวดลายไม้จำหลักอ่อนช้อยงดงาม อยู่ตามบานประตูหน้าต่างและมุมอาคาร พบรูปแบบเรือนขนมปังขิงปะปนอยู่ด้วย เพราะชาวจันทบุรีได้รับอิทธิพลจากการติดต่อค้าขายกับชาวต่างประเทศเมื่อสมัย ร.5 ลักษณะการฉลุลายของช่างฝีมือชาวจันทบุรีมีเอกลักษณ์ตรงที่การจำหลักฉลุช่องลม เป็นภาพจำหลักนูนรูปหัวพยัคฆ์สอดแทรก อยู่ตามกิ่งเครือเถาหรือความคมเฉียบของลายที่แฝงไปด้วยความอ่อนช้อยของลายจำหลัก
ชุมชนแห่งนี้มีการรวมกลุ่มเพื่อการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมชุมชนโบราณ เริ่มขึ้นในปี พ.ศ.2553 โดยใช้ชื่อกลุ่มว่า “ชมรมพัฒนาชุมชนริมน้ำจันทบูร”ประธานกลุ่มคือ คุณประภาพรรณ ฉัตรมาลัย ศูนย์กลางอยู่ที่เรือนไม้บ้านเลขที่ 69 หลังนี้ “บ้านเรียนรู้ชุมชนริมน้ำจันทบูร”เดิมเป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้ เป็นบ้านของขุนอนุสรสมบัติ อายุกว่า 100 ปี พ.อ.หญิงบุญพริ้ม ปฏิรูปานุสร เจ้าของบ้านได้กรุณาให้ใช้ประโยชน์เพื่องานชุมชน
การจัดแสดงเน้นที่ภาพนิทรรศการ เป็นภาพถ่ายขนาดใหญ่ที่คัดมาบางส่วนจากงานประกวดภาพถ่ายหัวข้อเรื่อง “วันนี้ของวันวาน...ที่ริมน้ำจันทบูร”จัดโดยสำนักงานพานิชย์จังหวัดจันทบุรี ร่วมกับชุมชนริมน้ำจันทบูร มีขึ้นในปี พ.ศ.2554 มีภาพส่งเข้าประกวดนับพันภาพ ภาพที่ได้รับรางวัลชนะเลิศเป็นภาพของบ้านริมน้ำ มีเงาสะท้อนในน้ำเป็นภาพเดียวกัน มองเห็นทั้งบ้านเรือนและเจดีย์สีทองของวัด
ส่วนชั้นบน คุณประภาพรรณ ได้นำชมพร้อมกับเล่าประวัติความเป็นมาของชุมชน ตรงบริเวณระเบียงกว้างมีบอร์ดภาพเก่าในอดีตของบ้านเรือนและวิถีชีวิตคนในชุมชนริมน้ำจันทบูร กว่าจะมาถึงวันนี้ได้มีหลายเหตุการณ์ที่สร้างความเสียหายอย่างหนัก ที่ร้ายแรงมากเกิดมาจากไฟไหม้ในปี พ.ศ.2533 บ้านไม้โบราณสวยๆ ส่วนของที่อยู่อาศัยหายไปถึงหนึ่งในสาม กล่าวกันว่าบ้านเรือนในชุมชนแห่งนี้เป็นบ้านของคนรวย มีทั้งบ้านชั้นเดียวและบ้านสองชั้น แต่ละบ้านสวยงามมีการตกแต่งลายฉลุ กับบ้านอีกส่วนหนึ่งเป็นบ้านที่ทำเป็นส่วนราชการ
จากภาพเก่าเล่าเรื่อง ได้เห็นบรรยากาศของชุมชนในอดีต เห็นร้านค้าคนจีน มีการกวนทุเรียน มีแม่ค้าคนไทยหาบของจากในสวนมาขายหน้าบ้าน ภาพเก่าหายากอีกส่วนหนึ่งเป็นภาพตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 สมัยที่ฝรั่งเศสยึดเมืองจันทบุรี(พ.ศ.2436-2447) มีภาพผู้ตรวจราชการมาพร้อมกับทหารฝรั่งเศส และภาพวิถีชีวิตผู้คนสมัยนั้นซึ่งน่าสนใจมาก
ในห้องชั้นบนภายในบ้าน ห้องหนึ่งมีภาพลายเส้นของบ้านเรือนตั้งจัดแสดงไว้อย่างสวยงาม แต่ละภาพระบุชื่อและเลขที่บ้าน งานด้านสถาปัตยกรรม คุณประภาพรรณบอกว่าได้รับการสนับสนุนจากสถาบันการศึกษา 2 แห่ง ได้แก่สถาบันอาศรมศิลป์ เริ่มมาจากนักศึกษาปริญญาโท น.ส.รัตนิน สุพฤฒิพานิชย์และ น.ส.แพรวพร สุขัษเฐียร ได้เข้ามาเก็บข้อมูล จากนั้นทางสถาบันอาศรมศิลป์ก็เข้ามาสนับสนุนเรื่อยมา พร้อมกับวิทยาลัยเทคนิคจันทบุรี โดย อ.วิรัตน์ เศรษฐสถาพร อาจารย์ประจำภาควิชาช่างก่อสร้างกับนักศึกษา 20 คน ได้เข้ามาร่วมเก็บข้อมูลและบันทึกลายเส้นที่สวยงามและนำงานของนักศึกษาเหล่านั้นมาจัดแสดงไว้
กลุ่มอาคารสามารถจำแนกตามลักษณะการก่อสร้างเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มอาคารไม้ กลุ่มอาคารปูนและกลุ่มอาคารครึ่งปูนครึ่งไม้ อาคารที่แนะนำให้เดินชมได้แก่ บ้านหลวงราชไมตรี ร้านขายยาโบราณ ร้านกาแฟยินดีอาภรณ์ ร้านไอศกรีมตราจรวด บ้านหมอชาญ โรงเจเทียงเซ็งตึ้ง บ้านหลวงประกอบนิติสาร บ้านโภคบาล จันทบุรีเบเกอรี่ บ้านขุนบุรพาภิผล ด้วยความสวยงามย้อนยุคของอาคาร ชุมชนแห่งนี้จึงมีกองถ่ายละคร กองถ่ายละคร และโฆษณา มาขอใช้สถานที่ถ่ายทำหลายเรื่อง เช่น ละครอยู่กับก๋ง ละครบุญผ่อง โฆษณารังนกสก๊อต เป็นต้น
การดำเนินงานมีการอนุรักษ์ซ่อมแซมบ้าน โดยพยายามทำให้ได้ทุกปีให้ได้มากที่สุด โดยเจ้าของบ้านจะต้องร่วมมือด้วยทั้งความเห็นพ้องกับรูปแบบการซ่อมแซมและการสนับสนุนทุนทรัพย์
แนวทางการอนุรักษ์และการปรับภูมิทัศน์ชุมชน คนในชุมชนลงความเห็นกันว่าไม่อยากให้เน้นในเชิงพานิชย์เป็นตลาดนัดที่มีแม่ค้าจากต่างถิ่นมาออกร้านขายของ อยากให้นักท่องเที่ยวมาชื่นชมสถาปัตยกรรมบ้านโบราณมากกว่า ร้านค้าของที่นี่จึงเป็นร้านดั้งเดิมจากต้นตระกูลจริงๆ การประชาสัมพันธ์ได้ใช้ว่า “ชิม...อิ่มอร่อยริมน้ำ”ที่นีมีร้านไอศกรีมตราจรวด ข้าวตังโบราณเจ๊จิ๋ม ร้านก๋วยจั๊บป้าไหม ขนมเทียนแก้วลุงจุ่น ขนมแม่กิมเซีย กุ๊ยช่ายริมน้ำ ขนมบ๊ะจ่างเสียงสวรรค์ ขนมไข่ป้าไต๊ ร้านก๋วยเตี๋ยวเจ๊อี๊ด ร้านของฝากมีร้านช่างกล้า ร้านยี่สิบสองตอนศูนย์ ร้านเสน่ห์จันท์ โรงแรมที่พักที่แนะนำมีโรงแรมอรุณสวัสดิ์ อยู่กลางชุมชน โรงแรมเกษมศานติ์ โรงแรมแห่งแรกของจันทบุรี โรงแรมเจมส์ คลับ ตรงถนนศรีจันท์ย่านตลาดพลอย
การจัดกิจกรรมเด่นของกลุ่ม ได้จัดให้มีงานถนนคนเดิน มีการจัดงานต่อเนื่องกันมา 3 ปีแล้ว ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากคนในชุมชนเองและนักท่องเที่ยว จุดประสงค์อยากให้ทุกบ้านได้เปิดรับนักท่องเที่ยว สินค้าที่นำมาจำหน่ายอาจเป็นของเล็กๆน้อยๆ พอเป็นสีสัน ร้านค้าภายนอกที่เข้ามาจะเน้นให้เข้ากับบรรยากาศของบ้านเรือนโบราณและรูปแบบของงาน สำหรับปีนี้คุณประภาพรรณคาดว่าน่าจะจัดให้มีขึ้นในช่วงวันที่ 15 พฤศจิกายน ก่อนหน้านี้จัดเดือนกันยายน ทำให้มีอุปสรรคที่ฝนยังตกชุก โดยวันดังกล่าวยังมีความหมายตรงกับวันที่เป็นช่วงเวลาที่ ร.5 เสด็จเมืองจันทบุรี ผ่านถนนสายนี้อีกด้วย
จุดท่องเที่ยวเด่นๆนอกเหนือจากการชมสถาปัตยกรรมบ้าน ยังมีวัดเขตต์นาบุญญาราม วัดโบสถ์เมืองและวัดจันทนาราม ที่เห็นแต่ไกลฝั่งตรงข้ามแม่น้ำ คือโบสถ์คริสต์วัดพระแม่ปฎิสนธินิรมล สามารถเดินข้ามสะพานสีขาวจากย่านตลาดล่างสู่ย่านท่าหลวง
----------------------------------------------------
สาวิตรี ตลับแป้น / ผู้เขียน
ข้อมูลจาก : สำรวจภาคสนาม วันที่ 6 มิถุนายน 2556
----------------------------------------------------
การเดินทาง: เมื่อเดินทางมาถึงจังหวัดจันทบุรี ผ่านศาลหลักเมืองบริเวณหน้าค่ายตากสินแล้ว ขับรถผ่านหน้าสถานีตำรวจภูธร จังหวัดจันทบุรี ถึงเชิงสะพานวัดจันทร์ หาที่จอดรถ ชุมชนย่านท่าหลวงจะอยู่ทางด้านขวามือ
-----------------------------------------------
อ้างอิง
ข้อมูลการสัมภาษณ์ วันที่ 6 มิถุนายน 2556
คณะกรรมการพัฒนาชุมชนริมน้ำจันทบูร.(2555). ชุมชนริมน้ำจันทบูร.
ชุมชนเก่าริมน้ำย่านท่าหลวง.(2556).ค้นเมื่อ 5 กันยายน 2556,จาก www.paiduaykan.com/76_province/east/chanthaburi//taluang.html
ประกวดภาพถ่าย “วันนี้ของวันวาน...ที่ริมน้ำจันทบูร”(2554). ค้นเมื่อ 5
กันยายน 2556, จาก www.contestwar.com/contest/820
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสื่อออนไลน์
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยบล็อก
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสารานุกรมไทย
บ้านประวัติศาสตร์ ตลาด ตลาดเก่า จันทบุรี ชุมชนริมน้ำจันทบูร
พิพิธภัณฑ์ตึกแดง
จ. จันทบุรี
ศูนย์วัฒนธรรมชอง โรงเรียนคลองพลูวิทยา
จ. จันทบุรี
พิพิธภัณฑ์เชลล์
จ. จันทบุรี