พิพิธภัณฑ์ภูมิปัญญาชาวบ้าน โรงเรียนแม่ทาวิทยาคม


ที่อยู่:
โรงเรียนแม่ทาวิทยาคม ถ.ซุปเปอร์ไฮเวย์สายเชียงใหม่-ลำปาง ต.ทาสบเส้า อ.แม่ทา จ.ลำพูน
โทรศัพท์:
053-976296, 089-951-5694 ติดต่อ อ.สุพรรธน์ เตชะโสด
วันและเวลาทำการ:
เปิดวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 8.00 - 16.00 น. หากมาเป็นหมู่คณะ กรุณาแจ้งล่วงหน้า
ค่าเข้าชม:
ไม่เสียค่าเข้าชม
ปีที่ก่อตั้ง:
2530
จัดการโดย:

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

ไม่มีข้อมูล

รีวิวของพิพิธภัณฑ์ภูมิปัญญาชาวบ้าน โรงเรียนแม่ทาวิทยาคม

แม่ทาเป็นอำเภอเล็กๆ ของจังหวัดลำพูน พื้นที่ส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 70 เป็นป่าไม้ ไร่นา และสวนลำไย อย่างไรก็ดีเมื่อสังคมและวิถีชีวิตที่เริ่มเปลี่ยนไปสู่ความทันสมัย การทำไร่นาหรือทำสวนก็ค่อยๆ ลดน้อยลง  ข้าวของเครื่องใช้เกี่ยวกับวิถีชีวิตการเกษตรก็ไม่ถูกใช้งานอีกต่อไป  อาจารย์สุพรรธน์ เตชะโสด ผู้ริเริ่มก่อตั้งพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ เล่าถึงแรงบันดาลในการเก็บรวบรวมสิ่งของเพื่อทำพิพิธภัณฑ์ว่า เมื่อกว่า 20 ปีที่เห็นการเข้ามากว้านซื้อโบราณวัตถุ และข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ ในหมู่บ้าน ในราคาถูก เช่น คันไถอันละ 20 บาท แอกไถนาอันละ 5 บาท จึงเกิดความคิดว่าถ้าไม่เก็บข้าวของเหล่านี้ไว้บ้าง ลูกหลานคงจะไม่ได้เห็นข้าวของเหล่านี้อีกต่อไป  อาจารย์จึงได้ริเริ่มสะสมของ โดยการไปขอจากญาติพี่น้องบ้าง   ซื้อหามาเองบ้าง รวมถึงขอความร่วมมือและรับบริจาคจากนักเรียน  ผู้ปกครอง และชาวบ้าน  โดยครั้งแรกนี้ได้ข้าวของมามากมายถึง 300 ชิ้น
 
จากนั้นจึงเริ่มจัดพิพิธภัณฑ์ โดยใช้ห้องเรียน 1 ห้อง ของอาคารเรียนไม้หลังเก่าของโรงเรียนที่สร้างในปี พ.ศ. 2500 ต่อมาเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2533 ดร.โกวิท วรพิพัฒน์  อดีตปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ณ ขณะนั้น ได้มีโอกาสมาตรวจราชการที่โรงเรียน และได้เปิดพิพิธภัณฑ์อย่างเป็นทางการ พร้อมทั้งให้ข้อคิดแก่ทางโรงเรียนว่า การทำพิพิธภัณฑ์เป็นความคิดที่ดี สมควรขยายการจัดแสดงจาก 1 ห้องเรียน เป็น 5 ห้องเรียน ซึ่งก็คืออาคารเรียนไม้ทั้งหลัง จากนั้นทางโรงเรียน นำโดยอ.สุพรรธน์ จึงได้รณรงค์ออกรับบริจาคสิ่งของจากชาวบ้านครั้งใหญ่ในเขตอำเภอแม่ทา ราวเดือนมีนาคม-เมษายน พ.ศ. 2535 โดยได้ประสานไปยังศึกษาธิการอำเภอ นายอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เพื่อให้ความช่วยเหลือในการจัดหาข้าวของต่างๆ  ทั้งนี้ในเดือนตุลาคม 2535  ยังมีพิธีมอบโล่และเกียรติบัตรแก่ผู้บริจาคสิ่งของ โดยนายอำเภอแม่ทาเป็นผู้มอบ จากนั้นมีผู้มาเยี่ยมชมและบริจาควัตถุหรือของเก่าแก่โรงเรียนเรื่อยๆ  อาทิ ในปี 2537 เจ้าสิงห์ไชย ณ ลำพูน ได้มาชมและชื่นชอบการทำงานพิพิธภัณฑ์ของโรงเรียน จึงได้มอบทุนจำนวนหนึ่งและบริจาคข้าวของๆ ท่านให้กับโรงเรียนเพื่อพัฒนาพิพิธภัณฑ์ต่อไป
 
ภายในพิพิธภัณฑ์ จัดแสดงข้าวของหลากหลายมาก อาทิ เงินตรา พระเครื่อง ปั๊บสา ภาพเก่า เครื่องเขิน เครื่องจักสาน เครื่องใช้ทองเหลือง อาวุธโบราณ ของเล่นเด็ก ตะเกียง เครื่องมือชั่วตวงวัด อุปกรณ์ทำนา ทอผ้า เครื่องมือช่างไม้ เครื่องดนตรีพื้นเมือง ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีของหาชมยาก เช่น เรือขุดจากไม้สักทั้งต้น กว้างเกือบ 1 เมตร ยาวกว่า 4 เมตร ซึ่งเจ้าสิงห์ไชย ณ ลำพูน บริจาคให้ นอกจากนี้ยังมีเครื่องมือจับดักสัตว์น้ำ ซึ่งเป็นวิถีของคนแม่ทาที่อาศัยและหากินอยู่ริมสองฝั่งน้ำแม่ทา ซึ่งปัจจุบันเครื่องมือเหล่านี้แทบจะไม่หลงเหลือให้ดูอีกแล้ว 
 
โรงเรียนยังใช้พิพิธภัณฑ์เป็นพื้นที่ในการเรียนการสอน โดยประยุกต์ใช้ข้าวของและเรื่องราวต่างๆ ในพิพิธภัณฑ์มาใช้สอนได้ทั้ง 8 กลุ่มสาระ  นอกจากนี้ยังมีโรงเรียนต่างๆ ทั้งในและต่างจังหวัด มาศึกษาดูงานเป็นจำนวนมาก สร้างความภาคภูมิใจให้กับนักเรียนและครูบาอาจารย์ รวมถึงคนท้องถิ่นของอำเภอแม่ทา
 
ข้อมูลจาก: 
แผ่นพับประชาสัมพันธ์
การสำรวจภาคสนามวันที่ 14 กรกฎาคม 2552
ชื่อผู้แต่ง:
-