พิพิธภัณฑ์อัฐบริขารครูบาเจ้าศรีวิชัย


ที่อยู่:
วัดบ้านปาง ต.ศรีวิชัย อ.ลี้ จ.ลำพูน 51110
โทรศัพท์:
08-1022-4881 พระอธิการเกรียงศักดิ์(โชติธรรมโม)
วันและเวลาทำการ:
เปิดทุกวัน
ค่าเข้าชม:
ไม่เก็บค่าเข้าชม
ปีที่ก่อตั้ง:
2537
ของเด่น:
หุ่นขี้ผึ้งครูบาศรีวิชัย,ปราสาทศพครูบาศรีวิชัย,พระพุทธรูปประจำตัวครูบาศรีวิชัย,เสลี่ยงคานหาม,ที่นั่งจารคัมภีร์
จัดการโดย:
เนื้อหา:
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

วัตถุมงคลของครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนา

ชื่อผู้แต่ง: วิลักษณ์ ศรีป่าซาง | ปีที่พิมพ์: 16, 10(สิงหาคม 2538): 108-115.

ที่มา: ศิลปวัฒนธรรม

แหล่งค้นคว้า:

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

ครูบาศรีวิชัย "ตนบุญ" แห่งล้านนา

ชื่อผู้แต่ง: โสภา ชานะมูล | ปีที่พิมพ์: 2534

ที่มา: วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

แหล่งค้นคว้า:

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

ชีวิตและผลงานของครูบาศรีวิชัย

ชื่อผู้แต่ง: สง่า สุภาภา | ปีที่พิมพ์: 2499

ที่มา: กรุงเทพฯ: คลังวิทยา

แหล่งค้นคว้า:

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

ตำนานครูบาศรีวิชัยแบบพิสดารและตำนานวัดสวนดอก

ชื่อผู้แต่ง: สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่(สมหมาย เปรมจิตต์ บก.) | ปีที่พิมพ์: 2537

ที่มา: เชียงใหม่: สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

แหล่งค้นคว้า:

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

พิพิธภัณฑ์บริขารครูบาศรีวิชัยกับรถคันแรก

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 5 เมษายน 2556

ที่มา: คมชัดลึก

แหล่งค้นคว้า:

โดย: ศมส.

วันที่: 09 เมษายน 2556

พิพิธภัณฑ์บริขารพระครูบาเจ้าศรีวิชัย

ชื่อผู้แต่ง: ศรัณย์ ทองปาน | ปีที่พิมพ์: ปีที่ 39 ฉบับที่ 4 ตุลาคม - ธันวาคม 2556;vol. 39 No.4 October - December, 2013

ที่มา: วารสารเมืองโบราณ

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 พฤศจิกายน 2556

135 ปี “ครูบาศรีวิชัย” นักบุญแห่งล้านนา ศรัทธาไม่เคยจางหาย

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 23 ก.ค. 2556;23-07-2013

ที่มา: ผู้จัดการออนไลน์

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 20 มีนาคม 2558

พิพิธภัณฑ์แห่งชาติ และพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น: พื้นที่ของการให้ความหมายและการรับรู้ต่ออดีตของลำพูน

ชื่อผู้แต่ง: อุดมลักษณ์ ฮุ่นตระกูล | ปีที่พิมพ์: เมษายน 2553;April 2010

ที่มา: วิทยานิพนธ์ หลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 09 พฤศจิกายน 2558


ไม่มีข้อมูล

รีวิวของพิพิธภัณฑ์อัฐบริขารครูบาเจ้าศรีวิชัย

ความศรัทธาของผู้คนล้านนาที่มีต่อ ครูบาเจ้าศรีวิชัย "ตนบุญแห่งล้านนา" มีสืบเนื่องมาตั้งแต่อดีตในสมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ จวบจนปัจจุบันผู้คนทั้งชาวล้านนาและพุทธศาสนิกชนจากถิ่นอื่นต่างยังศรัทธาในตัวท่านไม่เสื่อมคลาย อนุสาวรีย์และรูปหล่อของท่านที่ประดิษฐานตามสถานที่สำคัญเช่น เชิงดอยสุเทพ หรือวัดในภาคเหนือต่างมีผู้คนมากมายไปสักการะไม่ขาดสาย วัดบ้านปาง อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน เป็นอีกสถานที่สำคัญที่เกี่ยวข้องในช่วงชีวิตของครูบาศรีวิชัย เนื่องจากเป็นบ้านเกิด และเป็นสถานที่สุดท้าย ที่ท่านจำพรรษา และมรณภาพลง 
 
วัดบ้านปางตั้งอยู่บนเนินเขาลูกเตี้ย ๆ มีสิ่งก่อสร้างเกี่ยวกับครูบาฯ ที่น่าสนใจ อาทิ กุฏิของครูบาฯ มณฑปเก่าที่ตั้งศพของครูบาฯ ก่อนที่จะอาราธนาศพครูบาฯไปประกอบพิธีพระราชทานเพลิงศพ ณ วัดจามเทวี จังหวัดลำพูน และภายในวัดยังเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์อัฐบริขารครูบาเจ้าศรีวิชัย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปเป็นองค์ประธานในพิธีบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ยกฉัตรทองคำพิพิธภัณฑ์ วันที่ 18 มีนาคม 2537 
 
อาคารพิพิธภัณฑ์บริเวณโถงชั้นบน ตรงกลางเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปขนาดใหญ่ ถัดลงมาเป็นหุ่นขี้ผึ้งครูบาศรีวิชัย  ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ที่เข้าชมจะเข้ามาสักการะตรงบริเวณนี้เป็นจุดแรก ก่อนที่จะเดินชมข้าวของต่าง ๆ ที่จัดแสดงบริเวณผนังทั้งสองด้านข้างต่อไป 
 
สิ่งของที่จัดแสดงเป็นของที่เกี่ยวเนื่องกับครูบาฯ และวัดบ้านปาง อาทิ หีบธรรม ยอดพระเจดีย์โบราณศิลปะสุโขทัย อายุราว 700 ปี ตู้ไม้ที่ภายในบรรจุหนังสือและสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ เกี่ยวกับครูบาฯ เงินเสี้ยว เงินอัฐ และเงินเฟื้อง อายุกว่า 100 ปี ที่ชาวบ้านขุดพบในบริเวณกุฏิหลังเก่าของครูบาฯ ตู้พระไตรปิฏก เครื่องหลวงสำหรับไว้ตั้งเครื่องอัฐบริขาร เวลามีงานพุทธาภิเษกหรืองานฉลองใหญ่ของวัด ภาพถ่ายครูบาฯ ภาพถ่ายประสาทและหีบศพที่บรรจุศพของครูบาฯ รอยมือและรอยเท้าของครูบาฯที่ประทับลงซีเมนต์ เมื่อคราวบูรณะปฏิสังขรณ์วัดพระเจ้าตนหลวง จังหวัดพะเยา พระบรมสารีริกธาตุที่ชาวบ้านขุดพบอยู่ในผอบทองเหลืองใต้ฐานเจดีย์วัดร้างด้านเหนือวัดบ้านปาง อัฐิธาตุ เส้นผม ประคำของครูบาฯ ตำรายา ใบสุทธิจารบนใบลานของสามเณรสมัยครูบาฯ แท่นกลึงลูกประคำของครูบาฯ รูปปั้นเสือหรือภาพวาดเสือที่ชาวบ้านถวายแก่วัดเนื่องจากปีนักษัตรขาลเป็นปีเกิดของครูบาฯ
 
สำหรับชั้นล่าง ข้าวของที่จัดแสดงจะเป็นวัตถุขนาดใหญ่ อาทิ รถสามล้อของหลวงอนุสารที่ใช้บรรทุกอาหารถวายครูบาฯ เสลี่ยงที่ใช้หามครูบาฯ สมัยจาริกไปสร้างวัดวาต่าง ๆ แท่นอัดผ้าไตร ผ้าอังคพันธ์มัดอกครูบาเจ้า เตียงหวายที่ครูบาฯใช้นอน แท่นจารคัมภีร์ เก้าอี้นั่งจารใบลาน เก้าอี้นั่งสำหรับเวลาควบคุมการก่อสร้าง เตียงนอน จดหมายแจ้งการมรณภาพของครูบาฯ ตราประจำตัวของครูบาฯที่มี 5 ภาษาคือ ล้านนา ไทย อังกฤษ พม่า และจีน รถยนต์คันแรกที่เปิดทางขึ้นดอยสุเทพ เมื่อปี 2478 เป็นต้น
 
ด้านข้างอาคารพิพิธภัณฑ์ เป็นอาคารหอพระครูบาเจ้าศรีวิชัย ที่ภายในรายรอบผนังทั้งสามด้านจัดแสดงภาพเก่าต่าง ๆ ของครูบาฯ ในช่วงชีวิตต่าง ๆ รวมถึงภาพเก่าของวัดบ้านปาง และวัดสำคัญทางภาคเหนือที่ครูบามีส่วนเกี่ยวข้องในการสร้างและพัฒนา อาทิ วัดจามเทวี จ.ลำพูน วัดวังหลวง จ.ลำพูน  ภาพงานพิธีศพของครูบาฯ เป็นต้น แต่เป็นที่น่าเสียดายที่ทางวัดได้แขวนภาพไว้สูงเกินไป คืออยู่บนผนังเหนือขอบหน้าต่างด้านบน ทำให้ลำบากในการชม และเห็นละเอียดของภาพไม่ชัดเจน
 
ข้อมูลจาก: การสำรวจภาคสนามเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2549
ชื่อผู้แต่ง:
-

พิพิธภัณฑ์บริขารพระครูบาเจ้าศรีวิชัย สถานที่เที่ยวที่ถูกหลงลืม…

หลายคนส่วนใหญ่ ยังเข้าใจกันอยู่ว่าครูบาศรีวิชัยเกิดที่เชียงใหม่ เหตุเพราะท่านเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงสำคัญในการบุกเบิกทางขึ้นดอยสุเทพ ทั้งๆที่จริงแล้วบ้านเกิดท่านอยู่ที่บ้านปาง ต.ศรีวิชัย อ.ลี้ จ.ลำพูน ความเข้าใจผิดก็อันเนื่องมาจาก วัดส่วนใหญ่ในเชียงใหม่ จะมีอนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัยอยู่หน้าพระวิหารวัดเกือบจะทุกหลังความสำคัญของอนุสาวรีย์ก็เพราะวัดนั้นท่านเป็นคนสร้าง จนได้รับสมญานามว่า “นักบุญแห่งล้านนา” จากผลงานการสร้างวัด 200 กว่าแห่งทั่วภาคเหนือ
ชื่อผู้แต่ง:
-

135 ปี “ครูบาศรีวิชัย” นักบุญแห่งล้านนา ศรัทธาไม่เคยจางหาย

ช่วงนี้มีข่าวไม่ดีในวงการผ้าเหลืองหลายเรื่องชวนให้หลายๆ คนเสื่อมศรัทธากับวัดและพระสงฆ์ไปตามๆ กัน แม้ศรัทธาในวัดหรือในพระสงฆ์จะเสื่อม แต่ศรัทธาในธรรมและการทำความดีจงอย่าเสื่อม พระพุทธเจ้าเองก่อนปรินิพพานก็ตรัสสั่งให้พระธรรมคำสั่งสอนเป็นศาสดาแทนพระองค์ มิใช่ให้ยึดถือตัวบุคคล วันนี้ “ตะลอนเที่ยว” จึงอยากพาไปรู้จักกับพระสงฆ์ดีๆ ที่ควรค่าแก่การกราบไหว้ ซึ่งแม้ท่านจะมรณภาพไปแล้วแต่เราก็สามารถเรียนรู้ประวัติของท่านเพื่อเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิตได้ นั่นก็คือ “ครูบาศรีวิชัย” พระสงฆ์ที่ได้ชื่อว่าเป็น “นักบุญแห่งล้านนา” เป็นพระนักพัฒนาและเป็นศูนย์รวมจิตใจและศรัทธาของผู้คนในภาคเหนือมาจนถึงทุกวันนี้
ชื่อผู้แต่ง:
-

พิพิธภัณฑ์บริขารพระครูบาเจ้าศรีวิชัย

คนทั่วไปอาจนึกว่าครูบาศรีวิชัย (พ.ศ.2420-2481) พระเถระรูปสำคัญในประวัติศาสตร์ล้านนาและผู้นำการสร้างถนนขึ้นวัดพระธาตุดอยสุเทพ เป็นชาวเชียงใหม่ แต่ที่จริงแล้วหากยึดถือตามสถานที่เกิด ครูบาศรีวิชัยเป็นคนลำพูน หรือถ้าจะว่าให้ละเอียดลงไปอีก ท่านเกิดและมรณภาพ ณ บ้านปาง อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน วัดบ้านปางตั้งอยู่บนเนินเขาเตี้ยๆ ในอำเภอลี้ ซึ่งอยู่ไกลจากตัวเมืองลำพูนไปหลายสิบกิโลเมตร ที่นี่มีความสำคัญในสมณประวัติของครูบาศรีวิชัย ทั้งในฐานะวัดที่ท่านสร้างขึ้นที่หมู่บ้านของตัวเองและเคยดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาส รวมทั้งท้ายสุดยังเป็นสถานที่มรณภาพของครูบาด้วย
ชื่อผู้แต่ง:
-

พิพิธภัณฑ์บริขารครูบาศรีวิชัยกับรถคันแรก

วัดบ้านปาง ตั้งอยู่เลขที่ ๓๘๑ หมู่ ๑ ต.ศรีวิชัย บนเนินเขาบ้านปาง ห่างจากตัวอำเภอลี้ประมาณ ๓๘ กิโลเมตร เป็นวัดซึ่งครูบาศรีวิชัยบวชเรียนเป็นวัดแรก ภายในบริเวณวัดร่มรื่นด้วยต้นไม้น้อยใหญ่ มีโบสถ์วิหารสวยงาม พิพิธภัณฑ์อัฐบริขารครูบาศรีวิชัย ซึ่งเก็บของใช้ส่วนตัวของท่านไว้อย่างครบถ้วน ได้แก่ สบง จีวร หมอน กระโถน แจกัน เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีสิ่งของหาชมที่อื่นไม่ได้อย่างแน่นอน ไม่มีที่ใดมี นอกจากที่นี่เท่านั้น เช่น รถยนต์คันแรกที่เปิดทางขึ้นดอยสุเทพ เมื่อวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๔๗๘ เห็นโลโก้หน้ารถแล้วไม่รู้ว่าเป็นรถยี่ห้ออะไร รถคันนี้มีป้ายทะเบียนดำ ช.ม. 0175
ชื่อผู้แต่ง:
-