พิพิธภัณฑ์บ้านจิตรกร กวี อังคาร กัลยาณพงศ์


พิพิธภัณฑ์บ้าน จิตรกร กวี อังคาร กัลยาณพงศ์ เกิดจากความตั้งใจของคุณอุ่นเรือน ภรรยาของศิลปินอังคาร กัลยาณพงศ์ ศิลปิินแห่งชาติประจำปี 2532 สาขาวรรณศิลป์ (กวีนิพนธ์) เพื่อจะรวบรวมผลงานที่ทรงคุณค่าของท่านอังคารเอาไว้ ภายในจัดแสดงผลงานทั้งด้านบทกวี ภาพลายเส้นสีดำและสี ภาพเขียนสี อุปกรณ์เครื่องเขียนที่ท่านใช้สร้างงาน และของที่ระลึกที่ท่านเก็บสะสม โดยใช้สำนักพิมพ์กนรินทร์ที่ี่เป็นทั้งบ้านและสำนักงานเป็นสถานที่จัดแสดงผลงาน

ที่อยู่:
สำนักพิมพ์กนรินทร์ 66 ซ.อิสระชัย ถ.พระราม 9 ตัดใหม่ เขตสวนหลวง กรุงเทพฯ 10250
โทรศัพท์:
0-2732-0376
วันและเวลาทำการ:
เปิดจันทร์-เสาร์ 08.00-17.00 น. กรุณาติดต่อล่วงหน้า
ค่าเข้าชม:
ไม่เก็บค่าเข้าชม
เว็บไซต์:
ปีที่ก่อตั้ง:
2544
จัดการโดย:
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

ครบรอบ 81 ปี อังคาร กัลยาณพงศ์

ชื่อผู้แต่ง: หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร | ปีที่พิมพ์: 2551

ที่มา: กรุงเทพฯ:หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

กวีนิพนธ์ของ อังคาร กัลยาณพงศ์

ชื่อผู้แต่ง: อังคาร กัลยาณพงศ์ | ปีที่พิมพ์: 2549

ที่มา: กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์กินรินทร์

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

อลังการ จากอังคาร กัลยาณพงศ์

ชื่อผู้แต่ง: อังคาร กัลยาณพงศ์ | ปีที่พิมพ์: 2551

ที่มา: กรุงเทพฯ:มูลนิธิเสฐียรโกเศศ-นาคะประทีป

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

กาพย์ โคลง กลอน ของ อังคาร กัลยาณพงศ์

ชื่อผู้แต่ง: อังคาร กัลยาณพงศ์ | ปีที่พิมพ์: 2546

ที่มา: กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์กินรินทร์

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

หยาดน้ำค้างคือน้ำตาของเวลา

ชื่อผู้แต่ง: อังคาร กัลยาณพงศ์ | ปีที่พิมพ์: 2545

ที่มา: กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์กินรินทร์

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

อังคาร กัลยาณพงศ์

ชื่อผู้แต่ง: โครงการแสดงมุทิตาจิต แด่ ท่านอังคาร กัลยาณพงศ์ เนื่องในวาระอายุครบ 81 ปี | ปีที่พิมพ์: 2550

ที่มา: กรุงเทพฯ:โครงการแสดงมุทิตาจิต แด่ ท่านอังคาร กัลยาณพงศ์ เนื่องในวาระอายุครบ 81 ปี

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

พิพิธภัณฑ์บ้าน จิตรกร กวี อังคาร กัลยาณพงศ์

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: มปป.

ที่มา: กรุงเทพฯ:พิพิธภัณฑ์บ้าน จิตรกร กวี อังคาร กัลยาณพงศ์

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

อังคาร กัลยาณพงศ์ ผู้แปลความหมายจักรวาล

ชื่อผู้แต่ง: มโนมัย มโนภาพ | ปีที่พิมพ์: 29 มีนาคม 2554

ที่มา: กรุงเทพธุรกิจ

แหล่งค้นคว้า:

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555


ไม่มีข้อมูล

รีวิวของพิพิธภัณฑ์บ้านจิตรกร กวี อังคาร กัลยาณพงศ์

โอ้ศรีสัชชนาลัย เวียงชัยพระร่วงเป็นเจ้า

ก่อนพู้นหลายร้อยข้าว ราวชั้นฟ้าพลัดมาดิน ฯ

บัดนี้เจดีย์กู่วิหาร ปานจิตกาธานป่าช้าศิลป์

อสุรกายร่ายเพลงพิณ แว่วยินเสียงสังข์กังสดาล ฯ 

วังเวงวิเวกเอกภพ จบสกลไกรอันไพศาล

เสียงสะอึกสะอื้นทรมาน จากปูชณียสถานดึกดำบรรพ์ ฯ

ดึกดื่นเดือนดาวพะแพร้ว ลมเป่าแก้วป่าอาถรรพณ์

รื่นรื่นชื่นหอมรสสุคันธ์ สระขวัญสวนแก้วอุทยาน ฯ

บทกวีที่ท่านอังคาร กัลยาณพงศ์ เลือกให้อ่านชิ้นนี้ สร้างทั้งรูป เสียง กลิ่น และสัมผัส สามารถพาผู้อ่านเดินทางออกจากชีวิตประจำวันไปยืนอยู่ท่ามกลางโบราณสถานที่ถูกกัดกินด้วยกาลเวลา ได้ยินเสียงจากวิญญาณที่ไม่ยอมไปผุดเกิด สัมผัสสายลมยะเยือกของยามกลางคืน สูดกลิ่นของดอกไม้แทรกซึมอยู่ในบรรยากาศ และที่สำคัญคือถ่ายทอดอารมณ์อันสะเทือนใจ ทำให้ผู้อ่านมีความรู้สึกร่วมไปกับผู้ประพันธ์ ส่วนความงดงามของภาษาคงไม่ต้องอธิบาย ท่านเป็นหนึ่งในกวีเอกของยุคนี้ มีผลงานเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์(กวีนิพนธ์) ปีพ.ศ.2532 และรางวัลซีไรท์จากบทกวีรวมเล่มชื่อ ปณิธานกวี ปีพ.ศ.2529 อาจารย์ประคิณ ชุมสาย ณ อยุธยาให้ทัศนะไว้ว่า “...งานทุกชิ้นของอังคารสะท้อนให้เห็นความเจิดจ้าของวิญญาณกวีที่ผูกผันท่องไปกับธรรมชาติ มองและเห็นทุกสิ่งในทุกซอกทุกมุมอย่างประณีตละเอียดด้วยตากาย ตาใจ...อังคารมิได้เป็นเพียงผู้ร้อยกรองคำประพันธ์ในแบบอย่างของตนเอง แต่เป็นจิตรกรจินตกวีอย่างเต็มภาคภูมิ”

ยิ่งกว่านั้นบทกวีข้างต้นยังสะท้อนถึงช่วงชีวิตหนึ่งของท่านอีกด้วย อังคารเกิดที่จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อพ.ศ. 2469 บิดาเป็นกำนันตำบลท่าวัง ปู่เป็นช่างทอง ส่วนตาเป็นช่างเขียน เรียนชั้นประถมและมัธยมในพื้นที่ ต่อมาเดินทางเข้ากรุงเทพฯ เข้าเรียนศิลปะที่โรงเรียนเพาะช่างและคณะจิตรกรรม-ประติมากรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรีเคยชมว่าดูเส้นสายของอังคารแล้ว บุคคลผู้นี้มีหัวพิเศษ ผิดกับเพื่อนทั้งปวง

เมื่อถามถึงแรงบันดาลใจในการสร้างงาน ท่านอังคารตอบว่าลายไทยโบราณ ในวัยหนุ่มท่านมีโอกาสติดตามอาจารย์เฟื้อ หริพิทักษ์ซึ่งสอนอยู่ที่มหาวิทยาลัยศิลปากร ไปช่วยคัดลอกจิตรกรรมโบราณสมัยอยุธยาหลายแห่ง เช่น ตำหนักสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ วัดพุทไธสวรรย์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ท่านเล่าให้ฟังว่าครั้งหนึ่งไปคัดลอกงานจิตรกรรมพระอดีตพุทธ ซึ่งอยู่ภายในพระปรางค์องค์หนึ่งซึ่งอยู่ข้างวิหารหรือพระอุโบสถภายในวัดราชบูรณะ สภาพของพระปรางค์ดูไม่มั่นคงนัก อาจารย์เฟื้อจึงสั่งว่าถ้าเห็นพระปรางค์ทำท่าจะพังให้รีบกระโจนออกมา โดยเตรียมกองกิ่งไม้ใบไม้เป็นเบาะรองรับไว้ด้านนอก คืนหนึ่งพายุพัดหนัก พระปรางค์องค์นี้ต้านทานลมไม่ไหวในที่สุดก็พังทลายลงมา โชคดีที่เป็นเวลากลางคืนท่านอยู่ข้างนอก มิฉะนั้นท่านอังคารอาจจะถูกกองอิฐกองปูนทับสิ้นบุญตั้งแต่ยังไม่สร้างชื่อก็เป็นได้

นอกจากที่อยุธยาแล้ว ท่านและอาจารย์เฟื้อได้ตระเวนคัดลอกและศึกษางานจากวัดโบราณอีกหลายเมือง เช่น สุโขทัย ศรีสัชชนาลัย เพชรบุรี ประสบการณ์ครั้งนั้นเป็นการเรียนรู้แบบครูพักลักจำจากศิลปินที่ไม่รู้จักชื่อในอดีต ท่านสรุปว่า “ได้คุณค่าของบรรพบุรุษมาใส่ในสายเลือด” 

ด้านหนึ่งของท่านอังคารเป็นกวีเอก อีกด้านหนึ่งเป็นจิตรกรที่มีชื่อเสียง ภาพที่คุ้นตาคนส่วนใหญ่น่าจะเป็นภาพเขียนด้วยแท่งถ่าน (Charcoal) หรือเกรยอง ความจริงท่านอังคารวาดทั้งภาพสีและภาพดำขาว แต่ภาพสีส่วนใหญ่ประชาชนทั่วไปคงมีโอกาสเห็นน้อยกว่าเพราะมักเป็นสมบัติส่วนบุคคลหรือองค์กร เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทย และโรงเรียนนายร้อยจปร. เป็นต้น เนื้อหาของภาพส่วนใหญ่ออกไปทางอุดมคติ ลักษณะเป็นภาพสองมิติตามแบบจิตรกรรมประเพณี แต่สามารถให้ความรู้สึกเป็นสามมิติได้ ท่านเน้นการศึกษาด้วยตัวเองและการปฏิบัติจริง โดยกล่าวถึงวิธีทำงานว่า “เมื่อเราจะเขียนรูปต้องธุดงค์เข้าไปในรูปเขียน” 

เมื่อถามถึงความสัมพันธ์ของบทกวีและรูปเขียน ท่านตอบว่ารูปเขียนบางรูปมีความเป็นกวีอยู่ในนั้น เพราะมาจากหัวใจอันเดียวกัน หัวใจอันอ่อนไหวที่รู้สึกในสิ่งนั้นอย่างลึกซึ้ง เมื่อถามถึงสัญลักษณ์ในภาพ อย่างเช่น เพชรที่ส่องประกาย ท่านว่าเป็นความรู้สึกอย่าง poetic ท่านยังเล่าถึงปรากฏการณ์ที่ท่านเคยเห็นที่วัดพุทไธสวรรย์ เรียกว่าดาวเข้าวงเดือน อธิบายว่าคือดวงดาวเคลื่อนเข้าไปซ้อนกับเดือน ให้ความรู้สึกประหลาด ยะเยือก นอกจากนั้นท่านยังเล่าถึงประสบการณ์ในชีวิตผ่านมุมมองของกวีว่า น้ำทะเลที่เกาะกูดเมื่อก่อนใสเหมือนกับลงไปว่ายในหัวแหวน แสงของเพชรเป็นสีแพรวพรายประภัสสร เชื่อมโยงไปถึงรังสีของพระพุทธเจ้า ส่วนภาพเขียนที่ซ่อนความหมายในแง่ลบก็มี เช่น จระเข้ที่ปรากฏในบางภาพหมายถึงอวิชชา ความโง่ เปรียบได้กับมนุษย์ที่มีพฤติกรรมไปตามกิเลสตัณหาเหมือนกับสัตว์

ณ วันที่สัมภาษณ์ ท่านอังคารอายุแปดสิบเศษแล้วแต่ยังดูหนุ่มกว่าวัย คาถาพาหุงที่ท่านท่องเป็นทำนองให้ฟังยังชัดเจนเปี่ยมด้วยพลัง เรื่องราวต่างๆที่ท่านเล่าแสดงถึงจินตนาการทางภาพและภาษาที่ผสมกลมกลืนกันอยู่ในตัวตน ท่านยังทำงานอยู่เสมอทั้งงานวาดและงานเขียนโดยบอกว่า”เขียนไปเรื่อยๆเหมือนกับหายใจ” เมื่อการสนทนาเลี้ยวไปหาการเมือง แน่นอนว่าย่อมจะมีถ้อยคำแสบคันอยู่บ้างเมื่อเอ่ยถึงนักการเมืองโกงชาติ บทกวีวิจารณ์การบ้านการเมือง หรือกะเทาะเปลือกความเป็นมนุษย์ที่ท่านแต่งมีอยู่ไม่น้อย เช่น ตุลาฯ วันประชาธิปไตย โอ้อีศานโศกสลดหนอ และคลั่งสงครามห่ามร้ายอำมหิต เป็นต้น ส.ศิวรักษ์เขียนไว้ว่า”ใครก็ตามที่รู้จักอังคาร ย่อมต้องรู้ด้วยว่าเขาอุทิศตนและงานเขียนของเขาเพื่อผู้ยากไร้ เพื่อความยุติธรรมทางสังคม และเพื่อผู้ถูกเอารัดเอาเปรียบ...”

พิพิธภัณฑ์แห่งนี้อยู่ในบ้านพักอาศัยของท่านอังคาร คุณอุ่นเรือนคู่ชีวิตและลูกๆ ซึ่งเป็นบ้านเดี่ยว 2 ชั้น ห้องจัดแสดงผลงานมิได้แยกออกมาต่างหาก แต่ใช้พื้นที่ของฝาผนังภายในบ้าน เริ่มตั้งแต่ห้องแรกที่ก้าวเข้าไป ห้องนี้ดูเหมือนว่าจะเป็นทั้งห้องรับแขกและห้องทำงาน ภาพที่จัดแสดงติดต่อเนื่องเข้าไปบริเวณโถงบันไดเล็กๆแล้วไล่ขึ้นไปตามช่องบันไดสู่ชั้นสองของบ้าน ผลงานที่จัดแสดงมีทั้งภาพและบทกวีลายมือท่านอังคารซึ่งถือว่าเป็นศิลปะอยู่ในตัวเอง เช่น บทกวีห้วงน้ำแห่งความอาลัย สำหรับภาพส่วนใหญ่เป็นภาพสเก็ตช์และภาพวาดด้วยเกรยองสีดำ เช่น รูปบุคคลมีลวดลายไทยประกอบ ลายกนกสะบัดปลิวอยู่บนเรือนผม รูปบุคคลลักษณะคล้ายเทวดาหรือพระโพธิสัตว์ บางรูปเขียนบทกวีไว้ด้านข้าง มีรูปหนึ่งที่แตกต่างจากรูปอื่น เป็นรูปผู้ชายหัวเถิกกำลังเดินและเล่นดนตรีไปด้วย มีเด็กผมแกละตีกลองเดินตามหลังมีหมานำหน้า รูปนี้เขียนด้วยลายเส้นอิสระ ให้อารมณ์สนุกสนานครื้นเครง นอกจากนั้นยังมีชิ้นส่วนสถาปัตยกรรมโบราณจัดแสดงด้วย เช่น ปูนปั้นที่มีลวดลายประดับ ก้อนอิฐสมัยอยุธยา และสมัยทวารวดี

ที่นี่ยังเป็นที่ทำการของสำนักพิมพ์กนรินทร์ จัดพิมพ์หนังสือผลงานของท่านและมีงาน reproduct ใส่กรอบเรียบร้อยสวยงามจัดจำหน่ายแก่ผู้สนใจอีกด้วย การเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ต้องติดต่อล่วงหน้าเพื่อให้เจ้าของบ้านและสมาชิกในบ้านมีเวลาเตรียมตัวรับรอง

ผู้เขียน: เกสรา จาติกวณิช

ข้อมูลจาก: สำรวจภาคสนามวันที่ 4 สิงหาคม 2551

ชื่อผู้แต่ง:
-