พิพิธภัณฑ์สวนสัตว์ดุสิต


พิพิธภัณฑ์ตั้งอยู่ภายในสวนสัตว์ดุสิต ส่วนจัดแสดงจะแบ่งเป็นโซนต่าง ๆ เมื่อเข้าไปในห้องโถงแรกจะเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับความเป็นมาของสวนสัตว์ในประเทศไทยและการก่อตั้งองค์การสวนสัตว์ในพระบรมราชูปถัมภ์ โซนจัดแสดงโซนแรกเป็นเรื่องราวของความหลากหลายของชนิดพันธุ์ โซนที่ 2 เป็นเรื่องความหลากหลายของระบบนิเวศ โซนที่ 3 เป็นส่วนจัดแสดงหน้าที่ที่สำคัญอีกอย่างของสวนสัตว์ก็คือการเก็บน้ำเชื้อของสัตว์ป่าหายาก และทำการผสมพันธุ์เพื่อช่วยขยายพันธุ์ต่อไป สำหรับผู้ที่ต้องการข้อมูลเกี่ยวกับสัตว์ป่าจากทั่วโลก ชั้นบนของห้องนิทรรศการมีห้องสมุดให้ค้นคว้าหาความรู้อีกด้วย (ปัจจุบันสวนสัตว์ดุสิตปิดดำเนินการ)

ที่อยู่:
สวนสัตว์ดุสิต 71 ถนนพระราม5 แขวงจิตรลดา เขตดุสิต กรุงเทพฯ
วันและเวลาทำการ:
ปิดดำเนินการตั้งแต่วันที่ 31 สิงหาคม 2561 พร้อมกับสวนสัตว์ (เดิมเปิดทุกวัน 8.00 - 16.00 น.)
ค่าเข้าชม:
ผู้ใหญ่ 30 บาท นักเรียน 10 บาท เด็กเล็ก 5 บาท
ปีที่ก่อตั้ง:
2558
จัดการโดย:
สถานะ:

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

พิพิธภัณฑ์ สวนสัตว์ดุสิต เขาดินวนา

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 12-04-2534

ที่มา: สยามรัฐ

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555


ไม่มีข้อมูล

รีวิวของพิพิธภัณฑ์สวนสัตว์ดุสิต

ถ้าพูดถึงสวนสัตว์เขาดินหรือสวนสัตว์ดุสิต ที่หลายๆ คนนิยมพาลูกหลานไปเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ คงจะนึกถึงสถานที่รวบรวมสิงสาราสัตว์ต่างๆ ทั้ง ช้าง หมี ยีราฟ สิงโต ฯลฯ แต่จะมีใครทราบว่าที่นี่เป็นแหล่งความรู้และคลังรวบรวมพันธุกรรมสัตว์หายากที่สำคัญอีกด้วย เราจะไปหาคำตอบกันในพิพิธภัณฑ์สวนสัตว์ดุสิต

พิพิธภัณฑ์อยู่ภายในสวนสัตว์ดุสิต หลายๆ คนที่เคยมาเที่ยวอาจจะไม่เคยเข้าไปเที่ยวชมหรือทราบว่ามีอยู่ ที่นี่เป็นแหล่งความรู้ที่ดีมากสำหรับเด็กและเยาวชนซึ่งไม่ควรพลาดชม ส่วนจัดแสดงจะแบ่งเป็นโซนต่างๆ เมื่อเข้าไปในห้องโถงแรกจะเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับความเป็นมาของสวนสัตว์ในประเทศไทยและการก่อตั้งองค์การสวนสัตว์ในพระบรมราชูปถัมภ์ ที่ในปัจจุบันนี้มีสวนสัตว์ที่อยู่ในความดูแล 5 แห่งทั่วประเทศคือ สวนสัตว์ดุสิต สวนสัตว์เชียงใหม่ สวนสัตว์เขาเขียว สวนสัตว์นครราชสีมา และสวนสัตว์สงขลา 

โซนจัดแสดงโซนแรกเป็นเรื่องราวของความหลากหลายของชนิดพันธุ์ มีนิทรรศการอธิบายตั้งแต่ยุคกำเนิดโลก ยุคที่เกิดสิ่งมีชีวิตบนโลกนี้ จากนั้นจึงวิวัฒนาการจนกลายมาเป็นสัตว์ชนิดต่างๆที่เราเห็นในปัจจุบันนี้ ส่วนนี้จะมีฟอสซิลจำลองให้ชม และลำดับขั้นการวิวัฒนาการของสัตว์ชนิดต่างๆ และอธิบายถึงลักษณะทางกายภาพของสัตว์แต่ละประเภท เช่นปลา ทำไมถึงมีลักษณะรูปร่างต่างกัน ผิวหนังของปลา ระบบการหายใจ สัตว์ปีกมีโครงสร้างอย่างไรจึงสามารถบินได้ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมีวิวัฒนาการอย่างไร สัตว์สะเทิ้นน้ำสะเทิ้นบก เช่น เต่า กบ และสัตว์เลื้อยคลานเช่น งู มีโครงสร้างร่างกายอย่างไร

นอกจากจะได้ความรู้จากนิทรรศการแล้วเจ้าหน้าที่บอกว่าสิ่งที่น่าสนใจก็คือสัตว์สตัฟฟ์ต่างๆ ที่นำมาจัดแสดงถือว่าเป็นชุดที่สมบูรณ์และทุกวันนี้บุคคลากรที่สามารถสตัฟฟ์สัตว์ในประเทศไทยก็เหลือแค่เพียงท่านเดียว และมีอายุมากแล้ว สัตว์สตัฟฟ์บางชนิดก็เป็นสัตว์หายากหรือสูญพันธุ์จากประเทศไทยไปแล้วก็มี สิ่งที่สะดุดตาก็คือม้าแคระสตัฟฟ์ซึ่งตั้งอยู่กลางห้อง เจ้าหน้าที่เล่าว่าเป็นม้าแคระของสมเด็จพระเทพฯ ที่พระราชทานให้พิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษา เป็นม้าที่ทรงได้รับเป็นของขวัญจากประเทศอาร์เจนตินา ชื่อ “คุณหนู” เลี้ยงได้ 13 ปีจึงเสียชีวิต 

โซนที่ 2 เป็นเรื่องความหลากหลายของระบบนิเวศ จัด นิทรรศการเป็นห้องจำลองเล็กๆ ของแต่ละระบบนิเวศ และสัตว์ที่อยู่อาศัยเฉพาะในระบบนิเวศนั้นๆ เช่น นกนางนวลอาศัยอยู่บนโขดหินริมทะเล เหยี่ยวอาศัยอยู่ในทุ่งหญ้าเพื่อหาอาหาร เสืออาศัยอยู่ในป่ารกเพื่อซุ่มรอเหยื่อ และมีการจำลองระบบนิเวศ ของสัตว์เล็กๆ ในรูปแบบของรังผึ้งไว้ให้ศึกษาด้วย ส่วนที่น่าสะเทือนใจก็คือระบบนิเวศของเมืองที่มีมลพิษและขยะเต็มเมือง เป็นสิ่งกระตุ้นเตือนให้ผู้คนช่วยกันรักษาระบบนิเวศ

โซนที่ 3 เป็นส่วนจัดแสดงหน้าที่ที่สำคัญอีกอย่างของสวนสัตว์ก็คือการเก็บน้ำเชื้อของสัตว์ป่าหายาก และทำการผสมพันธุ์เพื่อช่วยขยายพันธุ์ต่อไป ส่วนนี้มีสิ่งดึงดูดใจนักท่องเที่ยวที่สำคัญที่สุดก็คือ นกเพนกวิน ฮัมโบวท์เพนกวินที่ได้รับบริจาคจากอเมริกาใต้ เป็นเพนกวินที่สามารถอาศัยอยู่ในเมืองร้อนได้แต่ยังต้องติดเครื่องปรับอากาศเพื่ออุณหภูมิที่เหมาะสม ถ้ามาตรงเวลาก็จะได้ชมการให้อาหารนกเพนกวินด้วย ช่วงที่เจ้าหน้าที่พาไปชมห้องต่างๆ นั้นใกล้เวลาให้อาหารพอดี เพนกวินเอียงคอมองตามผู้คนที่เดินอยู่ข้างนอกไปมา อาจจะนึกว่าผู้คนเหล่านี้พากันมาให้อาหาร ให้ภาพที่มองดูน่ารักมาก 

ใกล้ๆ กับตู้นกเพนกวิน คือตู้กระจกที่มีนกสตัฟฟ์อยู่มากมาย ตู้นี้จัดแสดงพันธุ์นกหายากในประเทศไทย และบางชนิดก็สูญพันธุ์ไปแล้วด้วยนั่นก็คือ นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร ซึ่งปัจจุบันหาดูไม่ได้แล้ว ใครอยากดูตัวจริงต้องมาดูที่นี่เท่านั้น

ส่วนถัดมาดูแล้วน่ากลัวปนสลดใจ นั่นก็คือตู้อาวุธที่ใช้ล่าสัตว์ มีเครื่องมือล่าสัตว์ตั้งแต่ยุคที่ยังใช้หน้าไม้ธนู ซึ่งสามารถฆ่าได้ทีละตัว จนถึงยุคที่ใช้ปืนกลอาวุธทันสมัยต่างๆ ที่สามารถทำลายล้างสัตว์ป่าได้จำนวนมาก จนบางชนิดก็สูญพันธุ์ไปจากแผ่นดินไทยแล้ว ตัวอย่างก็คือ สมัน กวางที่มีเขาสวยงามและเป็นที่ต้องการมาก ในสมัยก่อนมีอยู่มากมายในทุ่งรังสิต แต่ปัจจุบันสูญพันธุ์ไปแล้ว สิ่งที่สวนสัตว์อยากให้ทุกคนช่วยกันตระหนักก็คือ ให้ช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อมป่าไม้ให้สัตว์ป่าสามารถอาศัยอยู่ตามธรรมชาติได้ด้วย และทางสวนสัตว์จะช่วยรักษาพันธุ์ของสัตว์ป่าหายากเหล่านั้นไว้ด้วย

สำหรับผู้ที่ต้องการข้อมูลเกี่ยวกับสัตว์ป่าจากทั่วโลก ชั้นบนของห้องนิทรรศการมีห้องสมุดให้ค้นคว้าหาความรู้ด้วย ได้รู้จักกับพิพิธภัณฑ์สัตว์แห่งนี้แล้ว อยากให้ทุกคนที่พาลูกหลานมาดูสัตว์ต่างๆให้พามาหาความรู้ที่นี่ด้วยเพื่อที่เด็กๆ จะได้เข้าใจความเป็นมาของสัตว์ต่างๆ และได้เข้าใจว่าสวนสัตว์ไม่ใช่ที่เก็บสัตว์ไว้ดูเล่นอย่างเดียว

มัณฑนา ชอุ่มผล : เขียน/ถ่ายภาพ

ข้อมูลจาก: การสำรวจภาคสนาม 2 มกราคม 2551

ชื่อผู้แต่ง:
-