พิพิธภัณฑ์เครื่องเล่นกระบอกเสียงและหีบเสียงไทย


พิพิธภัณฑ์เครื่องเล่นกระบอกเสียงและหีบเสียงไทยเริ่มก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2543 โดยคุณพฤฒิพล ประชุมผล นักสะสมคนสำคัญคนหนึ่งของไทยที่ชื่นชอบของเก่า เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ประประวัติศาสตร์ของเรื่องการบันทึกเสียงในสยาม ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ไม่ว่าจะเป็นกระบอกเสียงหรือหีบเสียง จานเสียง แผ่นเสียงต่าง ๆ อันเกี่ยวเนื่องกับประวัติศาสตร์การใช้งานของเครื่องเล่นกระบอกเสียงและหีบเสียงในสยามตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน  การจัดแสดงภายในพิพิธภัณฑ์มีการจัดแสดง เครื่องเล่นกระบอกเสียง หีบเสียง จานเสียง แผ่นเสียง เครื่องเล่นแผ่นเสียง และข้าวของ เครื่องใช้อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเครื่องเสียงและหีบเสียง

ที่อยู่:
เลขที่ 15 ซอยลาดพร้าว 43 แขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง กรุงเทพ ฯ 10320
โทรศัพท์:
0-2939-9553,0-2939-9920, 08-1944-9449
วันและเวลาทำการ:
เปิดทุกวันอาทิตย์ 2 รอบ รอบแรก 10.00 รอบสอง 14.00 น.
ค่าเข้าชม:
ค่าเข้าชมคนละ 100 บาท
เว็บไซต์:
อีเมล:
phonograph@hotmail.com
ปีที่ก่อตั้ง:
2548
จัดการโดย:
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

ชมพิพิธภัณฑ์กระบอกเสียงย้อนอดีตการดนตรีสมัยร.5

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 17/08/2548

ที่มา: ผู้จัดการรายวัน

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

เครื่องเสียงโบราณ ตำนานแห่งศาสตร์และศิลป์

ชื่อผู้แต่ง: พฤฒิพล ประชุมผล | ปีที่พิมพ์: 2548

ที่มา: กรุงเทพฯ: สมาคมอนุรักษ์เครื่องเล่นกระบอกเสียงและหีบเสียงไทย

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

พิพิธภัณฑ์กระบอกเสียงฯ เสียงเก่าเล่าประวัติศาสตร์

ชื่อผู้แต่ง: สุทธาสินี จิตรกรรมไทย | ปีที่พิมพ์: 23/08/2548

ที่มา: มติชนรายวัน

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

พิพิธภัณฑ์เครื่องเล่นกระบอกเสียงและหีบเสียงไทย

ชื่อผู้แต่ง: เอนก นาวิกมูล | ปีที่พิมพ์: 14, 693 (12 ก.ย. 2548)

ที่มา: เนชั่นสุดสัปดาห์

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

พิพิธภัณฑ์เครื่องเล่นกระบอกเสียงและหีบเสียงไทยแห่งแรกในอาเซียน

ชื่อผู้แต่ง: กรรณิกา ชีวภักดี | ปีที่พิมพ์: 10,118(ต.ค.2548)หน้า54-57

ที่มา: วารสารกรมประชาสัมพันธ์

แหล่งค้นคว้า: หอสมุดปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555


ไม่มีข้อมูล

รีวิวของพิพิธภัณฑ์เครื่องเล่นกระบอกเสียงและหีบเสียงไทย

ตึกรูปทรงสมัย 3 ชั้น สุดซอยลาดพร้าว 43 เป็นทั้งที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์เครื่องเล่นกระบอกเสียงและหีบเสียงไทยพิพิธภัณฑ์ธงสยาม และบริษัทรับผลิตหีบห่อบรรจุภัณฑ์อาหาร! ทั้งหมดนี้มีเจ้าของคนเดียวกันคือ คุณพฤฒิพล ประชุมผล นักธุรกิจ นักสะสมของเก่า และนายกสมาคมนักอนุรักษ์เครื่องเล่นกระบอกเสียงและหีบเสียงไทย ที่ใช้เวลากว่า 20 ปี ในการสะสมเครื่องเล่นกระบอกเสียงและหีบเสียง แผ่นเสียงเก่าในอดีตที่ทรงคุณค่ามากมาย และในขณะเดียวกันก็ศึกษาและเก็บข้อมูลเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์การบันทึกเสียงของไทย จากการศึกษาของคุณพฤฒิพล ทำให้ทราบว่า จริง ๆ แล้ว ประเทศไทยไม่ได้น้อยหน้าฝรั่งในเรื่องเทคโนโลยีการบันทึกเสียงเลย กระบอกเสียงรุ่นแรกที่พัฒนาจากมาจากคิดค้นโดยโทมัส อัลวา เอดิสัน มีเข้ามาในสยามตั้งแต่สมัยแรก ๆ เช่นกัน หลักฐานเกี่ยวกับเรื่องนี้ก็คือ เรื่องราวของนาย ต. เง็กชวน ที่เขียนถึงการเห็นกระบอกเสียงครั้งแรกของตนเองในปี พ.ศ. 2437 ในงานโกนจุกที่เมืองฉะเชิงเทรา ซึ่งเป็นการประชันมหรสพกันระหว่าง ลิเก ละครร้อง และกระบอกเสียง (สามารถหาอ่านเรื่องนี้ได้ในหนังสือเครื่องเสียงโบราณ ตำนานแห่งศาสตร์และศิลป์ โดย พฤฒิพล ประชุมผล) 

พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เปิดตัวครั้งแรกเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2548 พร้อมกับการสาธิตการบันทึกเสียงสดจริง ๆ ลงกระบอกเสียง เช่นเดียวกับที่เกิดขึ้นสมัยรัชกาลที่ 5 ส่วนจัดแสดงอยู่บริเวณชั้นที่สองของอาคาร รวบรวมเครื่องเล่นกระบอกเสียงและหีบเสียง กระบอกเสียง แผ่นเสียง และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง พร้อมบอกเล่าประวัติศาสตร์การบันทึกเสียงของประเทศไทยตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เริ่มตั้งแต่ยุคกระบอกเสียงไปสู่แผ่นเสียง มีของหลายชิ้นเป็นของหายากที่ไม่สามารถหาชมได้ที่ไหน อาทิ กระบอกเสียง Siamese Patrol ที่ออกขายในปี พ.ศ. 2450 เป็นกระบอกเสียงที่บันทึกเพลงบรรเลงรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ ประเทศเยอรมัน เมื่อครั้งเสด็จประพาสยุโรป กระบอกเสียงเอดิสันเพลง In Siam แผ่นเสียงต่าง ๆ อาทิ แผ่นเสียงของหม่อมส้นจีน นักร้องสตรีบรรดาศักดิ์คนแรกของสยาม แผ่นเสียงเพลงไทยเดิมตราหมาฟังเครื่องเล่นจานเสียงไขลานปากแตร สมัยปลายรัชกาลที่ 5 แผ่นเสียงเพลงสรรเสริญพระบารมี ฉบับแม่ปุ่น แม่แป้น แผ่นเสียงเพลงชาติไทยตรา Odeon นอกจากนี้ยังจัดแสดงเครื่องเล่นจานเสียงรูปทรงต่าง ๆ ที่แปลกตานานาชนิด อาทิ เครื่องเล่นจานเสียงชนิดลำโพงลายหางนกยูง เครื่องเล่นจานเสียงกับลำโพงลายมะเฟือง เครื่องเล่นจานเสียง Busy Bee จากสหรัฐอเมริกา ฯลฯ 

พิพิธภัณฑ์ภายใต้การทำงานของคุณพฤฒิพล พยายามเผยแพร่และแลกเปลี่ยนความรู้และข้อมูลเกี่ยวกับงานบันทึกเสียงในประเทศไทย สร้างเครือข่ายการทำงานร่วมกันกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนหลายแห่ง อาทิพิพิธภัณฑ์การกระจายเสียงและหอจดหมายเหตุ กรมประชาสัมพันธ์ พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว หอสมุดดนตรีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 บ้านพิพิธภัณฑ์ และล่าสุดคือร่วมอยู่ในคณะกรรมการเพื่อจัดตั้งศูนย์มรดกโสตทัศน์แห่งชาติ จุดประกายให้คนไทยหันมาให้ความสำคัญและสนใจในการอนุรักษ์และเผยแพร่สื่อโสตทัศน์ทั้งภาพและเสียง เพราะถือเป็นสื่อชนิดหนึ่งที่ทำให้เรารู้และเข้าใจประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และสังคมไทย

เริ่มต้นเมื่อ 20 ปีที่แล้ว อาจกล่าวได้ว่าที่ความรู้ของคนไทยเกี่ยวกับที่มาที่ไปของประวัติศาสตร์การบันทึกเสียงในสยามมีน้อยมาก หรือจำกัดอยู่เฉพาะคนบางกลุ่ม หากแต่ปัจจุบันผู้ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์เครื่องเล่นกระบอกเสียงและหีบเสียงไทย พยายามศึกษาและตามหาทั้งข้อมูลและวัตถุที่เกี่ยวข้องทั้งจากในประเทศและต่างประเทศ ด้วยทุนรอนส่วนตัว และนำมาแบ่งปันและเผยแพร่ให้สาธารณชนในวงกว้าง คำกล่าวทิ้งท้ายของคุณพฤฒิพลสะท้อนความรู้สึกต่อสิ่งที่เขาทุ่มเทได้เป็นอย่างดี "ภูมิใจมาก…20 ปีที่ผ่านมา ที่นี่เปรียบเสมือนจิ๊กซอว์ ที่ต่อเสร็จ และมีคำตอบหมด" 

ข้อมูลจาก:
การสำรวจภาคสนาม วันที่ 28 พฤศจิกายน 2549
พฤฒิพล ประชุมผล. เครื่องเสียงโบราณ ตำนานแห่งศาสตร์และศิลป์. กรุงเทพฯ: สมาคมนักอนุรักษ์เครื่องเล่นกระบอกเสียงและหีบเสียงไทย, 2548.

ชื่อผู้แต่ง:
-