สืบเนื่องจากโครงการโบราณคดีบนพื้นที่สูงในอำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอนนำทีมโดย รศ.ดร. รัศมี ชูทรงเดช เข้าไปสำรวจและขุดค้นทางโบราณคดีในพื้นที่หมู่บ้านบ้านไร่ ส่งผลให้ชาวบ้านในท้องที่เกิดความสนใจถึงกระบวนการศึกษาทางโบราณคดี และประวัติศาสตร์ของท้องถิ่น ผู้ใหญ่บ้าน ซัวหยี้ แซ่หัน จึงมีแนวคิดในการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ขึ้นภายในหมู่บ้าน โดยใช้อาคารอเนกประสงค์ซึ่งตั้งอยู่ใจกลางหมู่บ้านเป็นอาคารพิพิธภัณฑ์ ทั้งนี้ได้รับการสนับสนุนความรู้จากโครงการทางโบราณคดีฯ และกองทุนเอกอัครราชทูต เพื่อการอนุรักษ์วัฒนธรรม สถานทูตสหรัฐอเมริกา ประจำประเทศไทย ภายในพิพิธภัณฑ์ นำเรื่องราวทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของผู้คนในท้องถิ่น อีกทั้งยังเล่าเรื่องทั้งในอดีต ปัจจุบัน และสิ่งที่อาจเปลี่ยนแปลงไปในอนาคต ผ่านป้ายนิทรรศการ สิ่งของเครื่องใช้ที่จัดแสดงอยู่ภายใน ทั้งที่เป็นโบราณวัตถุจากการขุดค้น และเครื่องใช้ปัจจุบัน อาทิ แคนม้ง เครื่องตัดยาเส้น ตาชั่งยา ก๊อกแป หีบตีข้าว เป็นต้น ซึ่งได้รับบริจาคจากชาวบ้านในชุมชน โดยมีเยาวชนในชุมชนรับหน้าที่เป็นเจ้าบ้านน้อยเป็นผู้นำชมภายในพิพิธภัณฑ์ นอกจากการเข้าชมภายในพิพิธภัณฑ์แล้ว ผู้มาเยี่ยมเยือนสามารถเดินทางไปยังแหล่งโบราณคดีเพิงผาบ้านไร่ ซึ่งเป็นแหล่งโบราณสมัยก่อนประวัติศาสตร์ อายุประมาณ 10,600 – 9,700 ปีมาแล้ว
ชื่อผู้แต่ง: นิภาพร ทับหุ่น | ปีที่พิมพ์: 15 มี.ค. 2557;15-03-2014
ที่มา: กรุงเทพธุรกิจ
แหล่งค้นคว้า:
โดย: ศมส.
วันที่: 17 มีนาคม 2557
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยทีมงานและสมาชิก
พิพิธภัณฑ์บ้านไร่
สืบเนื่องจากโครงการโบราณคดีบนพื้นที่สูงในอำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน ระยะที่ 1-2 ซึ่งดำเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544-2549 และโครงการจัดการมรดกทางโบราณคดีที่เพิงผาบ้านไร่ และเพิงผาถ้ำลอด อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน ในปี พ.ศ. 2549-2551นำทีมโดย รศ.ดร. รัศมี ชูทรงเดช เข้าไปสำรวจและขุดค้นทางโบราณคดีในพื้นที่หมู่บ้านบ้านไร่ ส่งผลให้ชาวบ้านในท้องที่เกิดความสนใจถึงกระบวนการศึกษาทางโบราณคดี และประวัติศาสตร์ของท้องถิ่นจากการตระหนักถึงความสำคัญนี้ ผู้ใหญ่บ้าน ซัวหยี้ แซ่หัน หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า พ่อหลวง จึงมีแนวคิดในการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ขึ้นภายในหมู่บ้าน โดยใช้อาคารอเนกประสงค์ซึ่งตั้งอยู่ใจกลางหมู่บ้านเป็นอาคารพิพิธภัณฑ์ ทั้งนี้ได้รับความร่วมมือจากโครงการทางโบราณคดีทั้ง 2 โครงการข้างต้น จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ เพื่อก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ จำนวน 4 ครั้ง ซึ่งเป็นการจัดอบรมให้กับทั้งผู้ใหญ่และเยาวชนในท้องถิ่น ให้เข้าใจถึงความสำคัญของชุมชน การจัดตั้งและการดูแลพิพิธภัณฑ์ ทั้งยังจัดกิจกรรมเพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์พิพิธภัณฑ์ให้กับหมู่บ้านข้างเคียง นอกจากนี้ยังได้รับการสนับสนุนจากกองทุนเอกอัครราชทูต เพื่อการอนุรักษ์วัฒนธรรม สถานทูตสหรัฐอเมริกา ประจำประเทศไทย ประจำปี 2549 ส่งผลให้มีการปรับปรุงเนื้อหาภายในพิพิธภัณฑ์ และตั้งเป็นศูนย์ข้อมูลบ้านไร่ขึ้น
ภายในพิพิธภัณฑ์ นำเรื่องราวทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของผู้คนในท้องถิ่นเป็นตัวกำหนดทิศทางและหัวข้อในการจัดแสดง อีกทั้งยังเล่าเรื่องทั้งในอดีต ปัจจุบัน และสิ่งที่อาจเปลี่ยนแปลงไปในอนาคต ผ่านป้ายนิทรรศการ สิ่งของเครื่องใช้ที่จัดแสดงอยู่ภายใน ทั้งที่เป็นโบราณวัตถุจากการขุดค้น และเครื่องใช้ปัจจุบัน อาทิ แคนม้ง เครื่องตัดยาเส้น ตาชั่งยา ก๊อกแป หีบตีข้าว เป็นต้น ซึ่งได้รับบริจาคจากชาวบ้านในชุมชน โดยมีเยาวชนในชุมชนรับหน้าที่เป็นเจ้าบ้านน้อยเป็นผู้นำชมภายในพิพิธภัณฑ์
นอกจากการเข้าชมภายในพิพิธภัณฑ์แล้ว ผู้มาเยี่ยมเยือนสามารถเดินทางไปยังแหล่งโบราณคดีเพิงผาบ้านไร่ ซึ่งเป็นแหล่งโบราณสมัยก่อนประวัติศาสตร์ อายุประมาณ 10,600 – 9,700 ปีมาแล้ว เป็นแหล่งโบราณคดีประเภทแหล่งฝังศพ หลักฐานทางโบราณคดีที่สำคัญได้แก่ โครงกระดูกมนุษย์ โลงไม้ ภาพเขียนสีบนผนังถ้ำ เศษภาชนะดินเผา เครื่องมือเหล็ก ฯลฯ โดยเจ้าบ้านน้อยจะเป็นผู้นำเข้าไปยังแหล่งโบราณคดีอย่างปลอดภัยและแทรกเกร็ดความรู้ในท้องถิ่นที่สนุกสนานระหว่างการเดินทางอีกด้วย
ผุสดี รอดเจริญ เขียน/ถ่ายภาพ
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสื่อออนไลน์
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยบล็อก
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสารานุกรมไทย
โลงผีแมน เพิงผาบ้านไร่ เพิงผาถ้ำลอด โครงการโบราณคดีบนพื้นที่สูง
พิพิธภัณฑสถานวัดจองกลาง
จ. แม่ฮ่องสอน
หอวัฒนธรรมนิทัศน์ จังหวัดแม่ฮ่องสอน
จ. แม่ฮ่องสอน
พิพิธภัณฑ์อำเภอแม่ลาน้อย
จ. แม่ฮ่องสอน