ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาแห่งชาติ ท้องฟ้าจำลอง


ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาหรือที่รู้จักกันดีในชื่อท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ ปัจจุบันสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย กระทรวงศึกษาธิการ โดยแรกเริ่มกระทรวงศึกษาธิการ ดำเนินการสร้างท้องฟ้าจำลองกรุงเทพและหอดูดาว ในปี พ.ศ. 2505 เพื่อเป็นแหล่งบริการความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เสริมการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ด้วยกระบวนการเรียนรู้รูปแบบพิพิธภัณฑ์การศึกษา ไฮไลท์สำคัญคืออาคารท้องฟ้าจำลอง ภายในอาคารตรงกลางเป็นโดมท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ จัดการแสดงท้องฟ้าจำลองกรุงเทพเป็นรอบๆ โดยการบรรยายให้ความรู้ด้านดาราศาสตร์ในช่วงแรก และจัดฉายภาพยนตร์เต็มโดมในช่วงท้าย มีการเปลี่ยนหัวข้อการแสดงทุก ๆ เดือน และจัดแสดงนิทรรศการด้านดาราศาสตร์และอวกาศ บริเวณรอบนอกโดม

ชื่อเรียกอื่น:
ท้องฟ้าจำลอง
ที่อยู่:
เลขที่ 928 ถ.สุขุมวิท เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110
โทรศัพท์:
023910544
วันและเวลาทำการ:
อังคาร-อาทิตย์ เวลา 9:00-16:00
ค่าเข้าชม:
นิทรรศการวิทยาศาสตร์ เด็ก 20 บาท ผู้ใหญ่ 30 บาท การแสดงท้องฟ้าจำลอง ภาษาไทย เด็ก 20 บาท ผู้ใหญ่ 30 บาท ภาษาอังกฤษ เด็ก 30 บาท ผู้ใหญ่ 50 บาท นิทรรศการรอบโดมท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ ไม่คิดค่าเข้าชม
เว็บไซต์:
อีเมล:
nsce@sciplanet.org
ปีที่ก่อตั้ง:
2507
ของเด่น:
เครื่องฉายดาว ZEISS Mark IV ปัจจุบันเลิกใช้งานแล้ว และเปลี่ยนเป็นระบบฉายดาวดิจิทัลผ่านโปรเจกเตอร์ 2 ตัว แต่ยังคงตั้งอยู่ภายในโดมท้องฟ้าจำลองกรุงเทพในฐานะวัตถุทางประวัติศาสตร์
จัดการโดย:

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

โครงการปรับปรุงพิพิธภัณฑ์สถานท้องฟ้าจำลอง

ชื่อผู้แต่ง: สุนิสา เฉลิมไพโรจน์ | ปีที่พิมพ์: 2532

ที่มา: กรุงเทพฯ : คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

แหล่งค้นคว้า: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555


ไม่มีข้อมูล

รีวิวของศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาแห่งชาติ (ท้องฟ้าจำลอง)

ด้วยจำนวนผู้เข้าชมและผู้เข้าร่วมกิจกรรมประมาณ 4-5 แสนคนต่อปีทำให้แหล่งเรียนรู้เรื่องราวทางวิทยาศาสตร์แห่งนี้มีความเคลื่อนไหวคึกคักอยู่ตลอดเวลา มีทั้งเด็กที่มาทำกิจกรรมเป็นกลุ่มกับทางโรงเรียน มากับครอบครัว บ้างก็มาวิ่งเล่นกับเพื่อน และเด็กวัยรุ่นที่มาคนเดียวก็มี ในช่วงปิดเทอมพ่อแม่ที่เห็นคุณค่าการเรียนรู้นอกห้องเรียนจะพาลูกมาเยี่ยมชมและทำกิจกรรมทดลองตามฐานปฏิบัติการต่างๆ พ่อแม่คงเล็งเห็นว่าเด็กน่าจะได้ประโยชน์กว่าไปเลี้ยงให้โตในห้างสรรพสินค้า

ศูนย์ฯแห่งนี้ประกอบด้วย 6 อาคาร อาคาร 1 “ท้องฟ้าจำลอง” เป็นอาคารที่เก่าแก่ที่สุดและน่าจะเป็นที่รู้จักมากที่สุด เนื้อหาที่จัดแสดงเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับดาราศาสตร์และปรากฏการณ์ต่างๆบนท้องฟ้า นิทรรศการเรื่องชีวิตกับดวงดาว ประกอบด้วยเนื้อหาเกี่ยวกับโลก ชีวิตดาวฤกษ์ ความเป็นไปในเอกภพ และมนุษย์กับการสำรวจอวกาศ ส่วนการแสดงในห้องฉายดาวในปี พ.ศ.2551 ตั้งแต่เดือนกรกฎาคมเป็นเรื่องโลกดาวเคราะห์แห่งชีวิต ดาวฤกษ์ กาแล็กซีและเอกภพ และดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ เรื่องละ 2 เดือนตามลำดับ ในส่วนนี้มีค่าเข้าชมแยกต่างหากคือ เด็ก 10 บาท ผู้ใหญ่ 20 บาท ตรวจสอบเวลาที่เปิดแสดงได้จากเว็บไซด์

อาคาร 2”วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี” มีทั้งหมดสามชั้น ชั้นที่1 เต็มไปด้วยอุปกรณ์ทดลองสีสันสดใสให้บรรยากาศเหมือนอยู่ในสวนสนุก สำหรับผู้ที่อยากรู้ว่ามนุษย์จะรู้สึกอย่างไรเมื่ออยู่ในยานอวกาศนอกโลกต้องไปลองห่วงอวกาศ (Gimbal) นอกจากนั้นยังมีปล่องเสียงสะท้อน บอลลูนอากาศร้อน และอุปกรณ์อื่นอีกหลายอย่าง ในห้องจัตุรัสเทคโนโลยี มีเกมสนุกให้เด็กๆทดลอง เช่น เกมน่องทองทดสอบความเร็วในการปั่นจักรยาน มีบอร์ดนิทรรศการให้ความรู้เกี่ยวกับการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น โทรศัพท์มือถือ ไมโครเวฟ รวมถึงการทำงานของรอก เฟือง และคานงัด และมีพิพิธภัณฑ์สื่ออิเลคโทรนิกส์ รวบรวมอุปกรณ์เครื่องใช้ในอดีตไว้หลายประเภท 

ชั้น2 ประกอบด้วยห้องนิทรรศการชีวิตกับเวลา ห้องนิทรรศการท่องแดนปิโตรเลียม และห้องเทคโนโลยีหุ่นยนต์ ส่วนชั้น 3 ด้านซ้ายเป็นห้องนิทรรศการวิทยาศาสตร์ชีวภาพ จัดแสดงเกี่ยวกับการกำเนิดสิ่งมีชีวิต โครงสร้างของสิ่งมีชีวิต วิวัฒนาการและการปรับตัวของพืช สัตว์และมนุษย์ ชีวิตในน้ำจืด ชีวิตชายฝั่งทะเล และชีวิตในแนวปะการัง ด้านขวาเป็นห้องโลกคอมพิวเตอร์ ส่วนนี้จะเล่าถึงความเป็นมาของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ ห้องเกมและห้องแสดงนิทรรศการโลกไอซีที มีเนื้อหาเกี่ยวกับการใช้อินเตอร์เน็ต Fiber Optics, Sattellite Digital TV และดาวเทียม IPStar (ไทยคม4)

อาคาร 3 “โลกใต้น้ำ” เป็นอควาเรียม ใช้ชื่อนิทรรศการว่า “มหัศจรรย์ชีวิตในสายน้ำ” ให้ข้อมูลเกี่ยวกับโลกนิเวศของสิ่งมีชีวิตในน้ำ ชีวิตในแนวปะการัง และวิวัฒนาการของปลา สองข้างของทางเดินประกอบด้วยตู้ปลาหลากหลายพันธุ์ เรียงต่อกันไป ส่วนตรงกลางเป็นบ่อปลาเสือพ่นน้ำ

อาคาร 4 “ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม” มีการจัดแสดงนิทรรศการ 5 ชั้น และมีห้องสมุดอยู่ที่ชั้น 3 ส่วนชั้น 2 เป็นเรื่องราวในโลกดึกดำบรรพ์ เนื้อหาเริ่มตั้งแต่กำเนิดโลก วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต โลกยุคไดโนเสาร์ ห้องนี้ตกแต่งได้น่าตื่นเต้นเหมือนเดินเข้าไปในถ้ำย้อนเวลาไปสู่ยุคหิน บรรยากาศภายในค่อนข้างมืด มีแสงส่องเป็นจุดๆ มีไดโนเสาร์จำลองขนาดใหญ่อยู่ในสิ่งแวดล้อมยุคโลกล้านปี หากใครอยากทราบว่าโครงกระดูกไดโนเสาร์ที่พบในภาคอีสานของไทยหน้าตาเป็นอย่างไร อวัยวะภายในน่าจะเป็นอย่างไรมาหาคำตอบจากที่นี่ได้ นอกจากนั้นมีการเปรียบเทียบขนาดของไข่ไดโนเสาร์กับไข่ไก่และไข่นก ห้องจัดแสดงฟอสซิลอยู่บนชั้น 3 ให้ความรู้เรื่องการกำเนิดฟอสซิล มีตัวอย่างฟอสซิลทั้งจากในประเทศไทยและต่างประเทศ บางชิ้นอยู่ในกล่องใสใช้มือล้วงเข้าไปสัมผัสได้

ชั้น 3”นิทรรศการมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม” โดยหลักเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับการอนุรักษ์ เช่น สภาวะแวดล้อมเป็นพิษ ภาวะโลกร้อน ทรัพยากรน้ำ ทรัพยากรดิน และทรัพยากรป่าไม้ ขยะประเภทต่างๆ ที่ขาดไม่ได้คือวิธีปกป้องโลก ส่วนชั้นที่ 5 “โลกของแมลง” เริ่มจากความเป็นมาของแมลงตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์ ต่อมาเป็นบอร์ดอธิบายส่วนต่างๆของแมลง เด็กๆจะได้รู้ว่าแมลงซึ่งมีหกขาเดินได้อย่างไรขาจึงไม่พันกัน ห้องนี้มีหุ่นจำลองขนาดใหญ่ของแมลงที่พบเห็นทั่วไปอยู่หลายตัว ทำให้ง่ายต่อการอธิบายให้เด็กๆเข้าใจถึงรูปร่างและส่วนต่างๆของแมลง 

ส่วนที่เป็นจุดเด่นของนิทรรศการคือมีการเลี้ยงแมลงจริงเพื่อศึกษาวงจรชีวิตไว้ด้วย ส่วนที่น่าทึ่งที่สุดคือการเลี้ยงผึ้งในกล่องไม้ทึบซึ่งด้านที่อยู่ติดผนังของกล่องถูกเจาะรูไว้ให้ผึ้งออกไปหาอาหารข้างนอกอาคารได้ มีช่องสำหรับส่องดูภายในซึ่งจะเห็นรังผึ้งจริง มีสมาชิกผึ้งที่อยู่ข้างในเดินไปมา บางส่วนบินออกข้างนอก เป็นการศึกษาโดยใช้การสังเกตจากการดำรงชีวิตจริงๆของผึ้ง ส่วนอื่นๆของห้องมีเรื่องราวน่ารู้เกี่ยวกับแมลงอีกมาก เช่น ปฏิทินแมลง การพรางตัวของแมลงในธรรมชาติ ฯลฯ ในส่วนชั้น 6 เมืองมหัศจรรย์ มีของเล่นหลายอย่างสำหรับให้เด็กได้เล่น ทางเข้าเป็นประตูเมืองโค้งครึ่งวงกลมให้เดินลอดเข้าสู่ลานของเล่นและอุปกรณ์ทดลองหลายอย่าง เช่น เดินบนกะลาครึ่งซีกเพื่อฝึกการทรงตัว มีต้นไม้จำลองที่โพรงข้างในปลายด้านหนึ่งเป็นไม้ลื่นให้เด็กรู้จักแรงดึงดูดของโลก มีร้านขายของชำขนาดน่าเอ็นดูให้เด็กๆลองค้าขายและคำนวณราคาของ กลางห้องมีเรือให้เล่นตกปลาแม่เหล็ก ส่วนมุมหนึ่งของห้องเป็นซุ้มแนะนำให้รู้จักดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดวงดาว

นอกจากนั้นทีมงานของที่นี่ยังรับจัดกิจกรรมพิเศษในและนอกสถานที่ สำหรับในสถานที่มีการแสดงละครหุ่นและสไลด์มัลติวิชั่นรวมทั้งจัดฐานปฏิบัติการตามเรื่องที่กำหนด เช่น “ดวงไฟยักษ์” เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับดาราศาสตร์ “สายลมมหัศจรรย์”เกี่ยวกับอากาศ หรือเรื่อง”สายรุ้งล่องหน”เกี่ยวกับแสง เป็นต้น โดยที่หัวข้อเรื่องจะเปลี่ยนทุกปี โรงเรียนใดที่สนใจสามารถโทรมาจองล่วงหน้า แต่จะมีค่าใช้จ่ายต่างหากเพราะต้องจ้างนักแสดงและมีค่าเตรียมอุปกรณ์ต่างๆ โครงการนี้ชื่อว่า “โครงการวิทยาศาสตร์เสริมการเรียนรู้แนวบูรณาการ” ได้รับรางวัลผลงานระดับดีเยี่ยมจากสมาคมพัฒนาวิชาครูแห่งประเทศไทย 

ชั้น 8 แบ่งการจัดแสดงเป็นสองห้อง ห้องหนึ่งเป็นนิทรรศการธรรมชาติน่าพิศวง เสนอเรื่องการเคลื่อนที่ของเปลือกโลก และการเกิดสึนามิ มีวีดิทัศน์ให้ดู ถ้าเดินเข้าไปด้านในจะได้ความรู้เกี่ยวกับสัตว์และพืช เช่น เสื้อของสัตว์ มีกระดองเต่าจำลองให้เด็กลองมุดเข้าไปอยู่ ตาของสัตว์ที่มีคุณสมบัติต่างกัน หรือเรื่องปากของนกที่มีลักษณะแตกต่างกันเพราะมีวิธีใช้ต่างกัน ส่วนพืชเป็นเรื่องของคลอโรฟิลล์และการสังเคราะห์แสง

อีกห้องหนึ่งจัดแสดงนิทรรศการความหลากหลายทางชีวภาพพร้อมกับประเด็นการอนุรักษ์ โดยพยายามชี้ให้เห็นว่ากำลังเกิดอะไรขึ้นกับโลกที่เราอาศัยอยู่ร่วมกับสิ่งมีชีวิตอื่นๆอีกมากมาย สิ่งที่มนุษย์ทำมีผลกระทบอะไรบ้างต่อโลกและเพื่อนร่วมโลกของเรา เช่นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่มนุษย์สร้าง ธรรมชาติดูดซับได้เพียงครึ่งเดียวเท่านั้น ภาวะเรือนกระจกจึงเกิดขึ้น การสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตทั้งของพืชและสัตว์เกิด การบุกรุกป่า และใช้ยาฆ่าแมลง

ไทยเป็นประเทศหนึ่งที่จัดว่ามีความหลากหลายทางชีวภาพสูง เรามีป่ามากกว่า10 ประเภท ที่น่าสนใจคือมีสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าพืชหรือสัตว์เฉพาะถิ่น (หมายความว่าพืชหรือสัตว์ที่มีการแพร่กระจายเฉพาะพื้นที่ ซึ่งทำให้มีความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์สูง) สำหรับพืชเฉพาะถิ่นของไทยมีมากกว่า 750 ชนิด เช่น กล้วยไม้รองเท้านารีปีกแมลงปอ ต้นกันภัยมหิดล มณฑาป่า ส่วนสัตว์เฉพาะถิ่นของไทยมีมากกว่า 130 ชนิด เช่น ปูราชินี คางคกห้วยไทย หนูขนเสี้ยนเขาหินปูน ฯลฯ

ส่วนอาคารวิทยาศาสตร์และการกีฬามีสระว่ายน้ำ, สนามเทนนิส, และห้องออกกำลังกาย นอกจากการเข้าชมนิทรรศการตามห้องต่างๆแล้ว คุณรุจิราพรรณ รุ่งรอด นักวิชาการฝ่ายประชาสัมพันธ์กล่าวว่าทางศูนย์วิทยาศาสตร์ฯยังมีกิจกรรมที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี เช่น กิจกรรมวันเด็ก และสัปดาห์วิทยาศาสตร์ มีการจัดค่ายวิทยาศาสตร์พร้อมบริการหอพัก มีกิจกรรมวิทยาศาสตร์ภาคสนาม เช่น พาเยาวชนไปศึกษาธรรมชาติบริเวณป่าชายเลน นอกจากนั้นยังมีรถเคลื่อนที่ 3 คันพร้อมให้บริการทั้งโรงเรียนในกรุงเทพฯและต่างจังหวัดอีกด้วย

เรื่อง/ภาพ: เกสรา จาติกวนิช

ข้อมูลจากการสำรวจภาคสนาม : 25 เมษายน 2551

ชื่อผู้แต่ง:
-