พิพิธภัณฑ์ปรสิตวิทยา


พิพิธภัณฑ์ปรสิตวิทยา ก่อตั้งโดย ศ.นพ. วิจิตร ไชยพร ในปี พ.ศ. 2513 โดยการเก็บรวบรวมตัวอย่างพยาธิจากผู้ป่วย ฯลฯ ไว้ใช้ในการเรียนการสอนนักศึกษาหลักสูตรต่างๆโดยเฉพาะนักศึกษาแพทย์ แต่ในภายหลังมีการจัดแสดงแบ่งเป็นหมวดหมู่และได้เปิดให้บุคคลทั่วไปได้เข้าชมด้วย เพื่อเป็นแหล่งความรู้ที่ต้องการให้คนดูตระหนักถึงอันตรายและโทษของการบริโภคอย่างไม่ถูกต้อง ภายในพิพิธภัณฑ์ แบ่งออกเป็นหมวดหมู่ดังนี้ 1. พยาธิตัวกลม 2. พยาธิตัวแบน 3. โปรโตซัวทางการแพทย์ 4. แมลงนำโรคและสัตว์มีพิษ ซึ่งแต่ละหมวดหมู่ประกอบไปด้วยสิ่งแสดงหลากหลาย เช่น อวัยวะของผู้ป่วยที่ติดเชื้อปรสิตโดยเฉพาะอัณฑะของผู้ป่วยโรคพยาธิเท้าช้างซึ่งหนักถึง 35 กิโลกรัม ตัวพยาธิของจริงและหุ่นจำลองแบบต่างๆ ฯลฯ จัดแสดงการติดเชื้อหนอนพยาธิชนิดต่างๆ รวมทั้งสภาพแวดล้อมของสัตว์มีพิษชนิดต่างๆ เช่น แมงมุมพิษ ตะขาบ แมงป่องฯลฯ

ที่อยู่:
ชั้น 2 อาคารอดุลยเดชวิกรม โรงพยาบาลศิริราช ถ.พรานนก แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ 10702
โทรศัพท์:
0-2419-6363, ภาควิชาปรสิตวิทยา 0-2419-6468, 0-2419-6494
วันและเวลาทำการ:
จันทร์,พุธ-อาทิตย์ เวลา หน่วยพิพิธภัณฑ์ศิริราช 10.00-17.00 น. (ปิดจำหน่ายตั๋วเวลา 16.00 น.) ปิดทำการวันอังคารเเละวันหยุดนักขัตฤกษ์
ค่าเข้าชม:
1.พิพิธภัณฑ์การแพทย์ศิริราช หรือพิพิธภัณฑ์ศิริราชพิมุขสถาน เพียงแห่งเดียว ต่างชาติ 200 บาท / ไทย 80 บาท เด็กไทยและต่างชาติ อายุต่ำกว่า 18 ปี 25 บาท 2. บัตรเดียวเที่ยว 2 พิพิธภัณฑ์ ต่างชาติ 300 บาท / ไทย 150 บาท เด็กไทยและต่างชาติ 50 บาท
อีเมล:
sirirajmuseum@gmail.com
ปีที่ก่อตั้ง:
2513
ของเด่น:
Specimen อัณฑะยักษ์ของผู้ป่วยที่เป็นโรคเท้าช้าง , ตัวอย่าง specimen หนอนพยาธิต่างๆ ทั้งของจริงและของจำลอง
จัดการโดย:

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

พิพิธภัณฑ์ศิริราช คู่มือการชม

ชื่อผู้แต่ง: พิพิธภัณฑ์ศิริราช | ปีที่พิมพ์:

ที่มา: พิพิธภัณฑ์ศิริราช

แหล่งค้นคว้า: พิพิธภัณฑ์ศิริราช

โดย: ศมส.

วันที่: 20 กรกฎาคม 2564

ดูลิงค์ต้นฉบับ

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ


ไม่มีข้อมูล

รีวิวของพิพิธภัณฑ์ปรสิตวิทยา

พิพิธภัณฑ์ปรสิตวิทยาก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2513 ภายในโรงพยาบาลศิริราช โดยการริเริ่มของศ.นพ.วิจิตร ไชยพร หัวหน้าภาควิชาปรสิตวิทยาในขณะนั้น เพื่อรวบรวมพยาธิและสัตว์มีพิษต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์ สำหรับประกอบการสอนและเป็นแหล่งความรู้ทางด้านนี้ 

ภายในพิพิธภัณฑ์ แบ่งออกเป็นหมวดหมู่ตามลักษณะสิ่งมีชีวิตตัวน้อยเหล่านี้ คือ 1. พยาธิตัวกลม 2. พยาธิตัวแบน 3. โปรโตซัวทางการแพทย์ 4. แมลงนำโรคและสัตว์มีพิษ แต่ละหมวดหมู่ประกอบไปด้วยสิ่งแสดงหลากหลาย เช่น อวัยวะของผู้ป่วยที่ติดเชื้อปรสิต ดาวเด่นของที่นี่คงจะเป็นการจัดแสดงอัณฑะของผู้ป่วยโรคพยาธิเท้าช้างซึ่งหนักถึง 35 กิโลกรัม! ตัวพยาธิของจริง หุ่นจำลองแบบต่างๆ แผ่นภาพ ฯลฯ และยังมีการจัดแสดงตู้จำลองแสดงการติดเชื้อหนอนพยาธิชนิดต่างๆ และการจัดแสดงสภาพแวดล้อมของสัตว์มีพิษชนิดต่างๆ เช่น แมงมุมพิษ ตะขาบ แมงป่อง ฯลฯ การเก็บรวบรวมตัวอย่างชิ้นส่วนจากผู้ป่วย จากการตรวจศพ ฯลฯ เดิมนั้นของจัดแสดงเหล่านี้ใช้ในการเรียนการสอนนักศึกษาหลักสูตรต่างๆ โดยเฉพาะนักศึกษาแพทย์ ภายหลังมีการจัดแสดงแบ่งเป็นหมวดหมู่ และเปิดให้บุคคลทั่วไปได้เข้าชมด้วย เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ ให้ผู้ชมตระหนักถึงอันตราย และโทษของอุปนิสัยการบริโภคแบบผิดๆ

เมื่อเดินเข้าประตูพิพิธภัณฑ์มา ขวามือก็จะจัดแสดงอาหารประเภทต่างๆ ที่อาจมีพยาธิซ่อนตัวอยู่ เช่น ของไม่สุก ผักดิบที่ล้างไม่สะอาด อาหารไม่สะอาด เนื้อหมูที่เป็นสาคูซึ่งก็คือมีพยาธิแอบอยู่นั่นเอง แหนมเนื้อหมู ลาบ หลู่ ส่า ตู้จัดแสดงของพิพิธภัณฑ์นั้นจะจัดแยกเป็นส่วนๆ พยาธิตัวแรกที่อยากจะแนะนำให้รู้จักและเชื่อว่าเด็กๆในชนบทน่าจะรู้จักกับพยาธิตัวนี้แน่ คือ พยาธิเส้นด้าย พยาธิเส้นด้ายจัดอยู่ในประเภทของพยาธิตัวกลมขนาดเล็กที่มีรูปร่างคล้ายด้ายหรือเข็มหมุด พยาธิเส้นด้ายเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ได้ก็ด้วยหลายสาเหตุมา อาทิ มีไข่พยาธิระยะติดต่อติดอยู่ที่มือ และเข้าสู่ปากคน

พยาธิตัวจี๊ด เป็นพยาธิตัวกลม ตัวอ่อนระยะติดต่อของพยาธิตัวจี๊ดอยู่ ได้แก่ ปลาน้ำจืด เช่น ปลาช่อน ปลาไหล ปลาดุก สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ เช่น กบ สัตว์เลื้อยคลาน เช่น ตะกวด สัตว์จำพวกนก รวมทั้งเป็ดและไก่ สัตว์จำพวกหนู กระแต ส่วนสัตว์ที่เป็นรังโรคพยาธิตัวจี๊ดมีหลายชนิด รวมทั้งสุนัขและแมว อาหารที่เสี่ยงต่อการมีพยาธิ เช่น ปลาส้มฟัก ปลาร้า ปลาเจ่า หรือเนื้อสัตว์อื่นๆ ที่อาจพบว่ามีตัวอ่อนระยะติดต่อของพยาธิตัวจี๊ดอยู่เช่นกัน โรคที่เกิดจากพยาธิตัวจี๊ด สามารถติดต่อได้ในคนทุกเพศทุกวัย โดยการกินตัวอ่อนระยะติดต่อที่ปะปนอยู่ในเนื้อสัตว์ที่ปรุงไม่สุกโดยเฉพาะปลาน้ำจืด 

พยาธิตัวตืด พยาธิตัวต่อไปที่อยากให้เรียนรู้กันคือ พยาธิตัวตืดหรือพยาธิตัวแบน มีลักษณะแบนและยาวมองดูคล้ายบะหมี่ขดตัวไปมา พยาธิชนิดนี้เป็นพยาธิที่น่าเกลียดมากในทัศนะของผู้เขียน เนื่องจากยากที่จะกำจัดมันได้หมด เพราะลำตัวของมันเป็นปล้อง สามารถแตกตัวออกมาใหม่ได้เหมือนจิ้งจกที่หางงอก แต่เจ้าพยาธิตัวนี้กลับยาวออกไปได้เรื่อยๆ หรือสามารถยาวชดเชยส่วนที่ขาดหายไปได้ ความยาวของเจ้าพยาธิตัวนี้สามารถยาวได้ถึง 4-6 เมตร พยาธิตัวนี้จะแย่งเฉพาะคาร์โปรไฮเดรตจากเจ้าของร่ายกายที่มันไปแอบอยู่ทำให้หิวบ่อย ไม่ใช่แค่มันจะไปอยู่ตามลำไส้ของเราเท่านั้นมันไปอยู่เสียทุกที่ในร่างกายของเรา สมอง ตับ หัวใจ และอีกหลายที่จึงเป็นพยาธิที่น่ากลัวมากชนิดหนึ่ง เจ้าพยาธิเหล่านี้ไม่ได้จ้องแต่อาศัยในร่างกายขอบมนุษย์เท่านั้น แต่ยังพบมันอยู่ในร่างกายของสัตว์หลายๆ ประเภท เช่น หมู วัว สุนัข

จริงๆแล้วพยาธิมีอีกหลายชนิดที่เราอาจจะยังไม่รู้จัก เช่น พยาธิใบไม้ พยาธิหัวใจ ภายในพิพิธภัณฑ์จึงมีนิทรรศการที่สอนเรื่องเกี่ยวกับพยาธิต่างๆ ให้เราได้เรียนรู้ รวมถึงอาการต่างๆ ที่เกิดจากการที่พยาธิเป็นตัวต้นเหตุ ในพิพิธภัณฑ์ยังแสดงอวัยวะต่างๆที่ถูกเกาะกิน และเป็นที่แฝงร่างของเจ้าพยาธิด้วยเหมือนกัน เช่น ตับ หัวใจ ลำไส้เล็ก-ใหญ่ สมอง 

โปรโตซัวเป็นสัตว์เซลล์เดียวอีกชนิดหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคในมนุษย์ได้ เช่น โรคมาลาเรีย โรคเท้าช้าง ในหลายพิพิธภัณฑ์ของศิริราชเราจะพบการจัดแสดงรูปถ่ายของผู้ชายที่เป็นโรคเท้าช้างหรือโดนยุงลายเสือกัด ซึ่งโรคนี้เป็นโรคที่เกิดจากหนอนพยาธิตัวกลมฟิลาเรีย มีลักษณะคล้ายเส้นด้ายอาศัยอยู่ในระบบน้ำเหลืองของคน โดยมียุงเป็นพาหะนำโรค อาการที่เห็นได้ชัด คือ ขา แขน หรืออวัยวะเพศบวมโตผิดปกติ เนื่องจากภาวะอุดตันของท่อน้ำเหลือง 

นอกจากเรื่องของพยาธิและโปรโตซัวแล้วภายในพิพิธภัณฑ์ยังได้กล่าวถึงสัตว์มีพิษประเภทต่าง เช่น งู แมงป่อง ตะขาบ ผึ้ง ต่อ แตน และแมลงตัวเล็กที่ทำให้เราเกิดโรคภูมิแพ้ได้ คือ เจ้าตัวไรฝุ่นที่แฝงตัวอยู่ในเครื่องใช้ไม้สอย ที่นอนหมอน มุ้ง แม้มันจะตัวเล็กกระจิ๊ดริด แต่ก็ทำให้เราเกิดโรคที่อาจทำให้ถึงตายได้ เช่น หอบหืด อาการแพ้คัน 

ความรู้ที่ได้จากพิพิธภัณฑ์ปรสิตวิทยานี้สามารถนำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อลดภาวะเสี่ยงที่จะเกิดโรคต่างๆ อันเนื่องมาจากพยาธิ เพราะเจ้าสัตว์ตัวเล็กๆ เหล่านี้มีฤทธิ์เดชที่ไม่ได้เล็กตามขนาดตัวเลย

ภายในโรงพยาบาลศิริราชยังมีพิพิธภัณฑ์ที่น่าสนใจอีก 5 แห่งได้แก่ พิพิธภัณฑ์นิติเวชศาสตร์ สงกรานต์ นิยมเสน พิพิธภัณฑ์ประวัติการแพทย์ไทยอวย เกตุสิงห์ พิพิธภัณฑ์พยาธิวิทยาเอลลิส พิพิธภัณฑ์กายวิภาคศาสตร์คองดอน และพิพิธภัณฑ์ก่อนประวัติศาสตร์และห้องปฏิบัติการ สุด แสงวิเชียร

ข้อมูลจาก: 
สำรวจวันที่ 27 ธันวาคม 2550
http://www.si.mahidol.ac.th/museums/th/m4.htm
www.tm.mahidol.ac.th (เวชศาสตร์เขตร้อน)

เรื่อง: เมธินีย์ ชอุ่มผล
ภาพ: เสาวลักษณ์ วรายุ

ชื่อผู้แต่ง:
-