พิพิธภัณฑ์ทหาร อำเภอทุ่งช้าง


ที่อยู่:
หมู่4 บ.ห้วยยาง อ.ทุ่งช้าง จ.น่าน 55130
โทรศัพท์:
054-795121, 0917764104
วันและเวลาทำการ:
กรณีที่มีหนังสือถึงหน่วยงาน 09.00-16.00 น.
ค่าเข้าชม:
ไม่เก็บค่าเข้าชม
ปีที่ก่อตั้ง:
2519
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

ไม่มีข้อมูล

พิพิธภัณฑ์ทหาร อำเภอทุ่งช้าง

อำเภอทุ่งช้าง มีประวัติศาสตร์การสู้รบระหว่างรัฐกับผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ อันเนื่องมาจากความแตกต่างทางความทางคิดและอุดมการณ์ ตั้งแต่ พ.ศ. 2506  และทวีความรุนแรง ตั้งแต่ พ.ศ.2513  จนถึง  พ.ศ. 2518 พิพิธภัณฑ์ทหาร อำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน อยู่ในบริเวณเดียวกับอนุสรณีย์วีรกรรม พลเรือน ตำรวจ ทหาร  ซึ่งเป็นอนุสรณ์สถานที่สร้างขึ้นเพื่อสดุดีวีรกรรมของ พลเรือน ตำรวจ ทหาร ที่ได้สละชีวิตร่วมกันต่อสู้เพื่อป้องกันรักษาราชอาณาจักรไทยในเขตอำเภอทุ่งช้าง จากผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ไว้ได้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิด เมื่อปี พ.ศ. 2519

ตัวอนุสาวรีย์ตั้งอยู่บนเนินมองเห็นเด่นแต่ไกล เป็นรูปปั้น พลเรือน ตำรวจ ทหาร กำลังช่วยกันปักธงชาติไทยบริเวณใกล้ ๆ กับอนุสาวรีย์มีพิพิธภัณฑ์ แสดงอาวุธยุทโธปกรณ์ของผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ ที่ทางราชการยึดมาได้

แนวความคิดในจัดสร้างพิพิธภัณฑ์ทหารอ. ทุ่งช้างจ. น่าน  ด้วยเหตุที่ประชาชน ข้าราชการพลเรือนตำรวจทหารได้ถูญเสียชีวิตไปเนื่องจากการสู้รบกับฝ่ายคอมมิวนิสต์(ผกค.) ในช่วงเวลาดังกล่าว  แต่ก็มีประชาชนอีกไม่น้อยที่ไม่ทราบเหตุการณ์ดังกล่าวนี้ และมักจะมีการกล่าวกันอยู่เสมอว่า การที่เจ้าหน้าที่ถูกผกค. ทำร้ายจนสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินต่าง ๆ ของทางราชการจนมิอาจประมาณค่าได้นั้น เจ้าหน้าที่เป็นผู้สร้างสถานการณ์ขึ้นเอง  ฉะนั้นเพื่อให้ประชาชนทั้งประเทศได้รับรู้หรือศึกษาเหตุการณ์ต่าง ๆ เหล่านี้  จึงสมควรที่จะได้สร้างหอประมวลเหตุการณ์การก่อการร้ายรองผกค. ในเขตจังหวัดน่านขึ้น ณ บริเวณอนุสรณีย์วีรกรรมพลเรือนตำรวจทหารอำเภอทุ่งช้าง

ประกอบกับรัฐบาลในขณะนั้นมีเจตจำนงค์อันแน่วแน่ ที่จะทำการปราบปรามลัทธิคอมมิวนิสต์ให้หมดสิ้นไปจากผืนแผ่นดินไทย วิถีทางหนึ่งในการป้องกันและปราบปรามผกค. ที่ได้ผล คือการส่งเสริมให้ประชาชนทุกคนได้ทำความเข้าใจและตระหนักถึงภยันตรายของลัทธิคอมมิวนิสต์ การสร้างหอประมวลเหตุการณ์การรุกรานของผกค. เป็นแนวทางหนึ่งที่ทำให้ประชาชนทุกภาคทุกจังหวัดได้เรียนรู้ความจริง  รัฐบาลสมัยนั้นจึงสนันสนุนให้มีการจัดสร้างหอประมวลเหตุการณ์ฯ นี้ขึ้น

 

ชื่อผู้แต่ง:
นพพล รุจิณรงค์