ศูนย์วัฒนธรมประจำหมู่บ้าน วัดสันป่าสัก


วัดสันป่าสักเริ่มเก็บรักษาวัตถุทางวัฒนธรรมมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2536 โดยชาวบ้านบริจาคบ้าง บางโอกาสก็ขอจากชาวบ้านมาเก็บไว้เนื่องจากเกรงว่าจะสูญหายไปหมดในภายหลัง เนื่องจากชาวบ้านเลิกใช้แล้วในชีวิตประจำวัน อาคารจะแสดงใช้ศาลาบาตรด้านทิศเหนือยาวตลอดแนว ขนาดเนื้อที่ 150 ตารางเมตร จัดเก็บวัตถุทางวัฒนธรรมอย่างมีระเบียบ ตีไม้ไผ่ระแนงกั้นระหว่างเสา จัดแสดงของใหญ่ๆ เช่น คุตีข้าว เสวียนใส่ข้าว(จักสาน) ครกมอง เกวียน 2 เล่ม ศาลาด้านหน้ากุฏิเจ้าอาวาส 20 ตารางเมตร เป็นศาลาชั่วคราวตีตาข่ายโปร่ง จัดเก็บเครื่องใช้ทางวัฒนธรรมต่างๆ เช่น เครื่องจักสาน เครื่องมือเกษตร เครื่องดนตรี ธนบัตร และเหรียญ เป็นต้น ทางเดินทางหน้าวิหารจัดแสดงแท่นหินทรายเจาะรู ซึ่งเข้าใจว่าเป็นฐานเสาหล่อน้ำสำหรับหอธรรม แท่นหินทรายเหล่านี้เจ้าอาวาสได้มาจากวัดร้างในที่สาธารณะของหมู่บ้านที่อยู่เลยวัดไปทางใต้ประมาณ 100 เมตร

ที่อยู่:
วัดสันป่าสัก หมู่ 2 ต.ขี้เหล็ก อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ 50150
วันและเวลาทำการ:
เปิดทุกวัน
ค่าเข้าชม:
ไม่เก็บค่าเข้าชม
ปีที่ก่อตั้ง:
2536
จัดการโดย:
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

ไม่มีข้อมูล

รีวิวของศูนย์วัฒนธรมประจำหมู่บ้าน วัดสันป่าสัก

วัดสันป่าสักเริ่มเก็บรักษาวัตถุทางวัฒนธรรมมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2536 โดยชาวบ้านบริจาคบ้าง บางโอกาสก็ขอจากชาวบ้านมาเก็บไว้เนื่องจากเกรงว่าจะสูญหายไปหมดในภายหลัง เนื่องจากชาวบ้านเลิกใช้แล้วในชีวิตประจำวัน อาคารจะแสดงใช้ศาลาบาตรด้านทิศเหนือยาวตลอดแนว ขนาดเนื้อที่ 150 ตารางเมตร จัดเก็บวัตถุทางวัฒนธรรมอย่างมีระเบียบ ตีไม้ไผ่ระแนงกั้นระหว่างเสา จัดแสดงของใหญ่ๆ เช่น คุตีข้าว เสวียนใส่ข้าว(จักสาน) ครกมอง เกวียน 2 เล่ม ศาลาด้านหน้ากุฏิเจ้าอาวาส 20 ตารางเมตร เป็นศาลาชั่วคราวตีตาข่ายโปร่ง จัดเก็บเครื่องใช้ทางวัฒนธรรมต่างๆ เช่น เครื่องจักสาน เครื่องมือเกษตร เครื่องดนตรี ธนบัตร และเหรียญ เป็นต้น ทางเดินทางหน้าวิหารจัดแสดงแท่นหินทรายเจาะรู ซึ่งเข้าใจว่าเป็นฐานเสาหล่อน้ำสำหรับหอธรรม แท่นหินทรายเหล่านี้เจ้าอาวาสได้มาจากวัดร้างในที่สาธารณะของหมู่บ้านที่อยู่เลยวัดไปทางใต้ประมาณ 100 เมตร

ข้อมูลจาก : บุบผา จิระพงษ์. สถานภาพของพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นในจังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: คณะ มนุษยศาสตร์ สถาบันราชภัฏเชียงใหม่,2544. หน้า 279.
ชื่อผู้แต่ง:
-