ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมชุมชนบ้านแม่โป่ง


สภาตำบลแม่โป่งจัดสร้างอาคารที่ทำการสภาตำบลหลังใหม่ จึงได้มอบอาคารทำการหลังเก่าให้แก่โรงเรียนจัดทำเป็นศูนย์ศิลปวัฒนธรรมบ้านแม่โป่งขึ้น ในปี พ.ศ.2540 เพื่อเก็บรวบรวมศิลปวัตถุต่างๆ ให้เป็นแหล่งความรู้และเพื่อสืบทอดภูมิปัญญาชาวบ้านให้แก่นักเรียนและบุคคลทั่วไป รวมทั้งเป็นที่จัดกิจกรรมต่าง ๆ ของชุมชนด้วย ลักษณะอาคารเป็น อาคารคอนกรีตชั้นเดียวขนาดเนื้อที่ประมาณ 306 ตารางเมตร จัดแสดงศิลปวัตถุทางวัฒนธรรมเป็นหมวดหมู่ โดยจัดแสดงเป็นซุ้มๆ ให้ชื่อซุ้มเป็นหมวดต่างๆ เช่น หมวดยากลางบ้าน หมวดเครื่องมือหากิน หมวดความเชื่อและประเพณี หมวดเครื่องครัว หมวดดนตรีและการละเล่นพื้นเมือง หมวดอักษรล้านนา หมวดภูมิปัญญาและฝีมือชาวบ้าน หมวดศาสนาและหมวดของใช้ทั่วไป นอกจากนี้ทางโรงเรียนยังได้ศึกษาเกี่ยวกับขั้นตอนและวิธีการทำนา โดยได้รับบริจาคพื้นที่ทำนาประมาณ 2-3 ไร่ เพื่อให้นักเรียนที่เรียนวิชาเกษตรและเรียนวิชาการปลูกข้าวได้ทดลองปลูกข้าวจนถึงขั้นเก็บเกี่ยว เมื่อได้ผลผลิตแล้วจะนำมาให้โรงเรียน วิทยากรที่สอนคือ กลุ่มชาวบ้านและเจ้าของที่ดิน ในอนาคตจะทำการจัดทำยุ้งข้าวเพื่อจัดเก็บข้าวที่ได้ต่อไป

ที่อยู่:
บ้านแม่โป่ง ต.แม่โป่ง อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ 50200
วันและเวลาทำการ:
เปิดในวันเวลาราชการ
ค่าเข้าชม:
ไม่เก็บค่าเข้าชม
ปีที่ก่อตั้ง:
2540
จัดการโดย:
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

ไม่มีข้อมูล

รีวิวของศูนย์ศิลปวัฒนธรรมชุมชนบ้านแม่โป่ง

สภาตำบลแม่โป่งจัดสร้างอาคารที่ทำการสภาตำบลหลังใหม่ จึงได้มอบอาคารทำการหลังเก่าให้แก่โรงเรียนจัดทำเป็นศูนย์ศิลปวัฒนธรรมบ้านแม่โป่งขึ้น ในปี พ.ศ.2540 เพื่อเก็บรวบรวมศิลปวัตถุต่างๆ ให้เป็นแหล่งความรู้และเพื่อสืบทอดภูมิปัญญาชาวบ้านให้แก่นักเรียนและบุคคลทั่วไป รวมทั้งเป็นที่จัดกิจกรรมต่าง ๆ ของชุมชนด้วย ลักษณะอาคารเป็น อาคารคอนกรีตชั้นเดียวขนาดเนื้อที่ประมาณ 306 ตารางเมตร จัดแสดงศิลปวัตถุทางวัฒนธรรมเป็นหมวดหมู่ โดยจัดแสดงเป็นซุ้มๆ ให้ชื่อซุ้มเป็นหมวดต่างๆ เช่น หมวดยากลางบ้าน หมวดเครื่องมือหากิน หมวดความเชื่อและประเพณี หมวดเครื่องครัว หมวดดนตรีและการละเล่นพื้นเมือง หมวดอักษรล้านนา หมวดภูมิปัญญาและฝีมือชาวบ้าน หมวดศาสนาและหมวดของใช้ทั่วไป นอกจากนี้ทางโรงเรียนยังได้ศึกษาเกี่ยวกับขั้นตอนและวิธีการทำนา โดยได้รับบริจาคพื้นที่ทำนาประมาณ 2-3 ไร่ เพื่อให้นักเรียนที่เรียนวิชาเกษตรและเรียนวิชาการปลูกข้าวได้ทดลองปลูกข้าวจนถึงขั้นเก็บเกี่ยว เมื่อได้ผลผลิตแล้วจะนำมาให้โรงเรียน วิทยากรที่สอนคือ กลุ่มชาวบ้านและเจ้าของที่ดิน ในอนาคตจะทำการจัดทำยุ้งข้าวเพื่อจัดเก็บข้าวที่ได้ต่อไป

ข้อมูลจาก : บุบผา จิระพงษ์. สถานภาพของพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นในจังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: คณะ มนุษยศาสตร์ สถาบันราชภัฏเชียงใหม่,2544. หน้า 180.
ชื่อผู้แต่ง:
-