พิพิธภัณฑ์และศูนย์การเรียนรู้ด้านปิโตรเลียม กรมการพลังงานทหาร


ที่อยู่:
ศูนย์พัฒนาปิโตรเลียมภาคเหนือ กรมการพลังงานทหาร 173 หมู่ 2 ถนนฝาง-แม่สวย ตำบลแม่คะ อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ 50110
โทรศัพท์:
โทรศัพท์ 0-5396-9100 แฟกซ์ 0-5396-9113 โทรทหาร 303-5701 , 303-5705-6 , 595-0001-6
วันและเวลาทำการ:
กรุณาติดต่อล่วงหน้า
ค่าเข้าชม:
ไม่เสียค่าเข้าชม
เว็บไซต์:
ปีที่ก่อตั้ง:
2553
จัดการโดย:

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

ไม่มีข้อมูล

รีวิวของพิพิธภัณฑ์และศูนย์การเรียนรู้ด้านปิโตรเลียม กรมการพลังงานทหาร

บ่อน้ำมันฝาง หรือ แหล่งน้ำมันฝาง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ นับเป็นจุดเริ่มต้นของการสำรวจปิโตรเลียมของประเทศไทย ที่ได้เริ่มสำรวจหาน้ำมันดิบเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2464 โดยสมเด็จพระเจ้าพระบรมวงศ์เธอ กรมกำแพงเพชรอัครโยธิน เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศเป็นพระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนกำแพงเพชรอัครโยธิน ทรงเป็น ผู้บัญชาการรถไฟ โดยทำการเจาะบริเวณบ่อเจ้าหลวง 

ในเวลาต่อมาได้มีอีกหลายหน่วยราชการ เข้ามาดำเนินการสำรวจหาน้ำมันดิบ ที่อำเภอฝาง จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2499 คณะรัฐมนตรีได้มีมติ โอนกิจการน้ำมันดิบที่รับผิดชอบดำเนินการ และต่อมาในปี พ.ศ.2501 ได้มรการก่อสร้างโรงกลั่นขนาด 1,000 บาร์เรล ณ อำเภอฝาง เพื่อทำารทดลองกลั่นน้ำมันดิบที่ผลิตได้อีกด้วย

การดำเนินกิจการปิโตรเลียมของกรมการพลังงานทหาร ที่ศูนย์พัฒนาปิโตรเลียมภาคเหนือ จะมีลักษณะการทำงานอย่างครบวงจรตั้งแต่การสำรวจ ขุดเจาะ ผลิต และกลั่นปิโตรเลียม ซึ่งนับเป้นหน่วยงานเพียงแห่งเดียวของประเทศ ที่สามารถดำเนินการไปในลักาณะดังกล่าว จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญของการแสวงหาและการนำปิโตรเลียมมาใช้ประโยชน์ และยังเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านปิโตรเลียมของประเทศอีกด้วย 

ดังนั้น เพื่อเป็นการถ่ายทอดประวัติความเป็นมา กำเนิด และการนำปิโตรเลียมไปใช้งาน ตลอดจนเทคนิควิธีการ และการดำเนินการด้านปิโตรเลียมที่สำคัญ กรมการพลังงานทหาร จึงได้จัดสร้างอาคารพิพิธภัรฑ์และศูนย์การเรียนรู้ด้านปิโตรเลียม เพื่อเป็นปรโยชน์สำหรับการฝึกศึกษาอบรม และเป็นศูนย์การเรียนรู้ด้านพลังงานปิโตรเลียมและพลังงานต่างๆสำหรับนิสิตนักศึกษา และประชาชนทั่วไปให้สามารถใช้ประโยชน์ อีกทั้งเยังป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวในเขตพื้นที่ อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่อีกด้วย

พื้นที่การจัดแสดงนิทรรศการพิพิธภัณฑ์และศูนย์การเรียนรู้ด้านปิโตรเลียม แบ่งออกเป็น 4 ส่วน คือ
1. ส่วนโถงต้อนรับ เป็นส่วนพักคอยด้านหน้า ก่อนเข้าชมนิทรรศการภายในอาคาร
2. ส่วนโถงทางเข้าภายในอาคาร โถงแสดงหุ่นจำลอง สภาพพื้นที่ และแสดงจุดขุดเจาะน้ำมันตำแหน่งต่างๆในอำภเอฝาง
3. ห้องบรรยายสรุป สำหรับนำเสนอข้อมูลเบื้องต้นและแนะนำการเข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ 
4. ส่วนแสดงนิทรรศการ จัดแสดงนิทรรศการ ในพื้นที่จัดแสดงแบ่งออกเป็น 5 ส่วนด้วยกัน ได้แก่ ต้นกำเนิดปิโตรเลียม, ประวัติความเป้นมาของกิจการน้ำมันฝาง, กระบวนการผลิตและผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียม การสำรวจ การผลิต และการกลั่นปิโตรเลียม, สถิติการใช้พลังงาน และพลังงานในอนาคต

พื้นที่การจัดแสดงนิทรรศการ
ส่วนที่ 1 : ต้นกำเนิดของปิโตรเลียม
แสดงลักษณะทางธรณีวิทยา ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดพลังงานจากสิ่งมีชีวิตดึกดำบรรพ์ (Forssil Energy) แหล่งกำเนิดในประเทศไทย และหุ่นจำลองสองลูกโลกที่มีการผ่าให้เห็นลักษณะชั้นดินต่างๆ ตั้งแต่ผิวดินจนถึงชั้นปิโตรเลียม รวมถึงหุ่นจำลองเครื่องขุดเจาะน้ำมัน เพื่อแสดงลักษณะการใช้เครื่องเจาะที่กำลังผ่านชั้นหินต่างๆ ไปจนถึงชั้นที่มีปิโตรเลียมอยู่ ซึ่งเน้นไปที่การขุดเจาะบนบก ขั้นตอนการเกิดพลังงานฟอสซิล โดยกล่าวถึงลักษณะทางธรณีวิทยาของอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ และประเทศไทย ซึ่งในบริเวณนี้ในอดีตเคยเป็นทะเลและทะเลสาบน้ำจืด เมื่อเวลาผ่านไปเป็นระยะเวลานาน รวมทั้งมีปัจจัยอื่นประกอบทำให้สภาพทางธรณีวิทยาในส่วนนี้เปลี่ยนไปจนเป็นแหล่งกำเนิดพลังงานได้ โดยนำเสนอข้อมูล และรูปภาพที่แสดงให้เห็นขบวนการตามธรรมชาติ ตั้งแต่การทับถม บัคเตรีบางชนิดปฏิกิริยาที่ซับซ้อน และปัจจัยจนทำให้ซากสิ่งมีชีวิตในอดีตกลายมาเป็นปิโตรเลียม แบ่งเป็นหัวข้อดังนี้ ปิโตรเลียมธรรมชาติ,การกำเนิดและการสะสมตัวของปิโตรเลียม และคุณสมบัติทางกายภาพของชั้นหินกักเก็บ

ส่วนที่ 2 : ประวัติความเป็นมาของกิจการน้ำมันฝาง กระบวนการผลิตและผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียม
นำเสนอประวัติการค้นพบน้ำมันดิบ (ปิโตรเลียม) ที่อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งแต่สมัยแรกจนถึงยุคปัจจุบันภายใต้การดูแลของกรมพลังงานทหาร โดยกล่าวถึงผู้ที่ค้นพบเทคโนโลยีที่นำมาใช้จนถึงการบริหารจัดการในแต่ละยุคสมัย เพื่อให้ทราบถึงที่มาของพลังงานโลกล้านปี (Fossil) ในประเทศไทย แบ่งเป็น สมัยแรกเริ่ม,สมัยกรมรถไฟ ,สมัยกรมทาง ,สมัยกรมเชื่อเพลิงทหารบก,สมัยกรมโลหกิจ,สมัยกรมการพลังงานทหาร และปัจจุบัน  

ส่วนที่ 3 : การสำรวจ การผลิต และการกลั่นปิโตรเลียม
นำเสนอขั้นตอนการสำรวจ ขุดเจาะ และผลิตปิโตรเคมีเทคโนโลยีของการกลั่นน้ำมัน
การพัฒนาแหล่งปิโตรเลียมภาคเหนือตอนบน : แสดงข้อมูลการสำรวจแหล่งน้ำมัน และการขุดเจาะปิโตรเลียมในอำเภอฝาง รวมทั้งบริเวณทางภาคเหนือของประเทศไทย,ข้อมูลการกลั่นน้ำมัน และเทคโนโลยีใช้ในการกลั่นที่อำเภอฝาง รวมทั้งผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมัน และประวัติความเป็นมาของกิจการน้ำมันที่อำเภอฝาง 

การสำรวจปิโตรเลียม 3 ขั้นตอน : การสำรวจทางธรณีวิทยา,การสำรวจทางธรณีฟิสิกส์ และการเจาะสำรวจ
การผลิตน้ำมันดิบ : การทำหลุมผลิต , การเปิดชั้นน้ำมัน,การทดสอบอัตราการไหล,การติดตั้งท่อสูบดำเนินการผลิต,การแก้ไขหลุมผลิต,การขนส่งน้ำมันดิบ และการแยกน้ำออกจากน้ำมันดิบ 
การกลั่นปิโตรเลียม : แสดงเทคโนโลยีและขั้นตอนการกลั่นน้ำมัน และผลิตภัณฑ์ต่างๆที่ได้จากโรงกลั่นน้ำมันฝาง รวมถึงการผสมและการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ 

ส่วนที่ 4 : สถิติการใช้พลังงาน
นำเสนอข้อมูลวิวัฒนาการพลังงานไทย และสถานการณ์พลังงานประกอบด้วย การผลิต สัดส่วนของการใช้พลังงาน และมาตรการแนวทางแก้ไขปัญหาภาวะขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิงประเทศไทย ทั้งภายในประเทศและทั่วโลก ของพลังงานตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และรวมถึงแนวโน้มการใช้พลังงานของประเทศไทยในอนาคต สัดส่วนของการใช้พลังงานปิโตรเลียมของแต่ละภาคทั้งภายในประเทศ และทั่วโลก 

ส่วนที่ 5 : พลังงานในอนาคต
นำเสนอทิศทางการใช้พลังงานในอนาคตที่ใช้หมดไป พลังงานทางเลือก พลังงานทางเลือก พลังงานทดแทน พลังงานที่เกิดขึ้นได้ตลอด และพลังงานในอนาคตอื่นๆ ได้แก่ กังหันผลิตไฟฟ้า, พลังงานแสงอาทิตย์,พลังงานลม ,พลังงานน้ำ,พลังงานนิวเคลียร์,พลังงานความร้อนใต้พิภพ, เทคโนโลยีพลังงานชีวมวลและชีวภาพ,พลังงานขยะ,พลังงานไฮโดรเจน,พลังงานถ่านหินสะอาด และก๊าซธรรมชาติ โดยมีหุ่นจำลองแสดงรถพลังงานแสงอาทิตย์,หุ่นจำลองแสดงรถพลังงานไฮโดรเจน (Fuel Cells) รวมทั้งแสดงตัวอย่าง และรูปแบบของพลังงานในอนาคตที่นำมาใช้เป็นรูปธรรม ได้แก่ พลังงานิวเคลียร์, พลังงานไฮโดรเจน,เซลล์เชื้อเพลิง,เชื้อเพลิงสังเคราะห์ (Synthetic Fuels), พลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์,ระบบสะสมพลังงาน,พลังงานลม,ระบบสะสมพลังงาน และพลังงานชีวมวล,ก๊าซชีวภาพ,น้ำ และเชื้อเพลิงชีวภาพ
 
สรุปความโดย วริสรา แสงอัมพรไชย
ข้อมูลจาก:
แผ่นพับประชาสัมพันธ์พิพิธภัณฑ์และศูนย์การเรียนรู้ด้านปิโตรเลียม
http://www.npdc.mi.th/Museum/m2.htm
 
ชื่อผู้แต่ง:
-