พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ


ตั้งขึ้นเพื่อร่วมอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมของชาติ่ในโอกาสเฉลิมฉลอง 700 ปีเมืองเชียงใหม่ เป็นแหล่งรวบรวมและเผยแพร่ความรู้ทางด้านเงินตราและผ้าโบราณในเขตภาคเหนือ การจัดตั้งพิพิธภัณฑ์สได้รับความร่วมมือจากผู้เชี่ยวชาญหลายฝ่ายและหลายองค์กร อาทิ สยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์ ผู้เชี่ยวชาญผ้าโบราณจาก Victoria and Albert Museum ประเทศอังกฤษ ตลอดจนผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญเรื่องผ้าโบราณ และเงินตราโบราณ ภายในมีห้องจัดแสดงสามส่วนได้แก่ ห้องเงินตราโบราณ ห้องผ้าโบราณ และห้องนิทรรศการหมุนเวียน อย่างไรก็ดี พิพิธภัณฑ์ได้แจ้งยุติการดำเนินงานตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 เป็นต้นไป โดยทางพิพิธภัณฑ์ได้ส่งมอบกลุ่มผ้าชิ้นเด่น ผ้าเขมร 470 รายการ แก่พิพิธภัณฑ์ผ้าในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ส่งมอบผ้ากลุ่มชาติพันธุ์ 451 รายการ แก่กรมศิลปากร และส่งมอบผ้ากลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูง 79 รายการ แก่พิพิธภัณฑ์เรียนรู้ราษฎรบนพื้นที่สูง

ที่อยู่:
อาคารอเนกประสงค์ ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ เลขที่ 68/3 ถ.โชตนา อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50000
วันและเวลาทำการ:
จันทร์-ศุกร์ ในเวลา 09.00 - 12.00 น. และ 13.00 - 16.00 น.
ค่าเข้าชม:
ไม่เก็บค่าเข้าชม
อีเมล:
pornsulu@bot.or.th
ปีที่ก่อตั้ง:
2540
จัดการโดย:
สถานะ:

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

Saveing graces

ชื่อผู้แต่ง: suthon sukphisit | ปีที่พิมพ์: 3/18/2543

ที่มา: Bangkok Post

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555


ไม่มีข้อมูล

พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ

พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ เปิดดำเนินการอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 มีนาคม พุทธศักราช 2543 ก่อตั้งขึ้นเพื่อร่วมอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมของชาติ เป็นแหล่งรวบรวมและเผยแพร่ความรู้ทางด้านเงินตราและผ้าโบราณในเขตภาคเหนือ การจัดตั้งพิพิธภัณฑ์สได้รับความร่วมมือจากผู้เชี่ยวชาญหลายฝ่ายและหลายองค์กร อาทิ สยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์ ผู้เชี่ยวชาญผ้าโบราณจาก Victoria and Albert Museum ประเทศอังกฤษ ตลอดจนผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญเรื่องผ้าโบราณ และเงินตราโบราณ

ในพิพิธภัณฑ์ได้แบ่งการจัดแสดงออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ห้องเงินตราโบราณ ห้องผ้าโบราณ และห้องนิทรรศการหมุนเวียน โดยห้องเงินตราโบราณจะจัดแสดงวัตถุที่เป็นสื่อกลางการแลกเปลี่ยนตามลำดับวิวัฒนาการตั้งแต่ยุคหินไล่เรียงจนถึงธนบัตรยุคแรกๆ ในรัชกาลที่ 8 ของประเทศไทย ส่วนห้องนิทรรศการงผ้าโบราณ ปัจจุบันจัดแสดงนิทรรศการเรื่องผ้าไทในอุษาคเนย์ โดยในส่วนห้องนิทรรศการหมุนเวียนเป็นการจัดแสดงความเป็นมาของชาติพันธุ์ไท ทั้งที่มา ศักยภาพทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม ภาษา และสินค้าสำคัญที่ส่งออกและนำเข้าในยุค 100-200 ปีที่ผ่านมาในเส้นทางการค้าแบบคาราวานฝูงสัตว์โดยพ่อค้าชาวจีนฮ่อและไทใหญ่ ประกอบด้วยสินค้ากลุ่มเครื่องเทศ สมุนไพร ของใช้ในครัวเรือน อาหาร เส้นใยและสีย้อมผ้า ส่วนในห้องผ้าโบราณนั้น จัดแสดงสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของกลุ่มชาติพันธุ์ไทต่างๆ ในอดีต เช่น ไทยวน ไทลื้อ ไทเขิน และไทใหญ่ เป็นต้น กลุ่มคนไทเหล่านี้มีความเชื่อมโยงทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมระหว่างกัน มีวัฒนธรรมร่วมที่เห็นเป็นรูปธรรมอย่างชัดเจนคือ ผ้าและสิ่งทอ ซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับโลกว่า เป็นกลุ่มที่มีการใช้เทคนิคการทอและตกแต่งผ้าที่หลากหลาย วิจิตรงดงาม และเป็นเอกลักษณ์

ชื่อผู้แต่ง:
พรสุข ลือเกียรติกุล

รีวิวของพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ

นอกเหนือจากหน้าที่หลักในด้านการดูแลเศรษฐกิจ และการเงินของประเทศแล้ว ธนาคารแห่งประเทศไทยยังเป็นองค์กรหนึ่งที่ให้การสนับสนุน การอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม โดยได้จัดตั้งพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทยที่สำนักงานใหญ่ กรุงเทพฯ และสำนักงานภาคเหนือ สำหรับพิพิธภัณฑ์สำนักงานภาคเหนือนั้น ธนาคารจัดให้เป็นศูนย์กลางการเผยแพร่ความรู้ด้านเงินตราและผ้าไทแก่บุคคลทั่วไป เพื่อให้ตระหนักถึงคุณค่าแห่งมรดกทางวัฒนธรรมของชาติ สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เสด็จมาทรงเปิดพิพิธภัณฑ์ในวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ.2543 ห้องพิพิธภัณฑ์จัดแสดงภายในอาคารอเนกประสงค์ชั้นล่าง ซึ่งให้เนื้อที่ทั้งชั้นเป็นห้องจัดแสดงเงินตราสมัยโบราณ และเงินตราล้านนา และแบ่งเนื้อที่อีกส่วนหนึ่งในบริเวณเดียวกันจัดแสดงผ้าล้านนา

หัวข้อที่จัดแสดง ได้แก่ สิ่งของที่ใช้แลกเปลี่ยนในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทย เงินตรายุคแรกของโลก เงินตราในสุวรรณภูมิ เงินตราในอาณาจักรล้านนา และ เงินตราร่วมสมัย เครื่องชั่ง เครื่องเงิน ให้แผนผัง แผนที่บอกตำแหน่งเงินสุวรรณภูมิ และภาพประกอบอื่นๆ อีกด้วย ส่วนจัดแสดงผ้า จัดแสดงผ้าเก่าโบราณจำนวนทั้งหมดประมาณ 100 กว่าผืน จัดแสดงแบ่งตามกลุ่ม ไล่เรียงจากลุ่มแม่น้ำตะวันตกไปตะวันออก โดยมีผ้ากลุ่ม ลุ่มน้ำแม่แจ่ม เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ กลุ่มน้ำปาด-ฟากผ้า กลุ่มน่าน กลุ่มอุตรดิตถ์-สุโขทัย ส่วนต่อไปจัดแสดงผ้าอื่น ๆ อาทิ ผ้าจากเขมร ลาวครั่ง พม่า จีน อินเดีย การจัดผ้าเป็นกลุ่มนี้เพื่อแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ของลวดลาย เทคนิคต่างๆ ได้ดีขึ้นจากการเปรียบเทียบ

ข้อมูลจาก : บุบผา จิระพงษ์. สถานภาพของพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นในจังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: คณะมนุษยศาสตร์ สถาบันราชภัฏเชียงใหม่,2544. หน้า 72.
ชื่อผู้แต่ง:
-