ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยพายัพ


ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม เกิดจากความตั้งใจในการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมซึ่งเป็นภารกิจหลักอีกประการของมหาวิทยาลัยพายัพ จนกระทั่งได้เริ่มโครงการจัดตั้งศูนย์ศิลปวัฒนธรรมล้านนาในปี 2537 และได้เปลี่ยนชื่อมาเป็นศูนย์ศิลปวัฒนธรรมในภายหลัง ซึ่งนอกจากจะเป็นสถานที่เพื่อทำนุบำรุงศิลปะวัฒนธรรม แล้วยังเป็นสถานที่จัดกิจกรรมทางวิชาการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นงานวิจัย งานประชุมสัมมนา การเสวนาหรือจัดอบรม รวมไปถึงใช้เพื่อจัดกิจกรรมที่เป็นประเพณีต่าง ๆ รูปแบบอาคารเป็นแบบล้านนาร่วมสมัยให้ความรู้สึกเหมือนย้อนอดีต อีกทั้งปัจจุบันศูนย์ฯยังกลายเป็นสถานที่ที่นิยมจัดงานแต่งงานที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของเชียงใหม่ด้วย

ที่อยู่:
มหาวิทยาลัยพายัพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50000
โทรศัพท์:
0-5330-4805 ต่อ321
วันและเวลาทำการ:
เปิดจันทร์-ศุกร์ 08.00-16.30 น.
ค่าเข้าชม:
ไม่เก็บค่าเข้าชม
จัดการโดย:

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

ไม่มีข้อมูล

รีวิวของศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยพายัพ

การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมเป็นภารกิจหลักประการหนึ่งของสถาบันอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยพายัพได้จัดกิจกรรมทางด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและขยายตัวมากขึ้นตามการพัฒนามหาวิทยาลัยโดยส่วนรวม มหาวิทยาลัยพายัพได้ตระหนักถึงความจำเป็นที่จะต้องมีหน่วยงานรับผิดชอบโดยตรงที่จะวางแนวนโยบายและประสานงานเพื่อให้การปฏิบัติภารกิจด้านนี้ดำเนินไปอย่างมี ประสิทธิภาพและเกิดสัมฤทธิ์อย่างแท้จริง ในปี พ.ศ. 2529

มหาวิทยาลัยพายัพได้ริเริ่มโครงการจัดตั้ง "ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมล้านนา" ขึ้น มีการดำเนินโดยคณะกรรมการ มหาวิทยาลัยพายัพได้รับการบริจาคจากพันเอกโสมนัส อินทราวุธ เพื่อก่อสร้างอาคาร ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมล้านนา และได้จัดสรรงบประมาณของมหาวิทยาลัยเพิ่มเติมในการดำเนินการก่อสร้างอาคารดังกล่าว เพื่อให้เปิดใช้จัดกิจกรรมต่าง ๆ อาคารหลังนี้ได้เริ่มเปิดใช้ทำกิจกรรมตั้งแต่เดือนเมษายน 2537 และได้มีการเปลี่ยนชื่อมาเป็นศูนย์ศิลปวัฒนธรรม (CENTER FOR ARTS AND CULTURE)

ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม เป็นหน่วยงานบริการ มีฐานเทียบเท่าศูนย์ สถาบัน หรือสำนักของมหาวิทยาลัยและมีผู้อำนวยการศูนย์ศิลปวัฒนธรรมเป็นผู้รับผิดชอบ วัตถุประสงค์

1. เพื่อวางแผนนโยบายและแนวทางของการจัดกิจกรรมทำนุงบำรุงศิลปวัฒนธรรมภายในมหาวิทยาลัยพายัพ

2. เพื่อสนับสนุนกิจกรรมที่เกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมนับตั้งแต่กิจกรรมทางวิชาการ เช่น การวิจัย การประชุมสัมมนา เสวนาหรือการอบรม ไปจนถึงกิจกรรมที่เป็นประเพณีต่างๆ โดยประสานงานกับหน่วยงานที่รับผิดชอบทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย

3. เพื่อเป็นแหล่งสารสนเทศทางศิลปวัฒนธรรม

4. เพื่อพัฒนาจิตสำนึกในศิลปวัฒนธรรมอันดีงามให้เกิดบูรณาการเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตนักศึกษา คณาจารย์ และบุคลากรในมหาวิทยาลัยอย่างแท้จริง

ข้อมูลจาก http://cultural.payap.ac.th/[accessed 20070213]
ชื่อผู้แต่ง:
-