พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา


พิพิธภัณฑ์เรือนไม้โบราณล้านนา ตั้งอยู่ภายในสำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดแสดงและอนุรักษ์เรือนล้านนาโบราณในรูปแบบต่าง ๆ ที่ควรค่าแก่การศึกษา ซึ่งเรือนแต่ละหลังเป็นเรือนไม้โบราณ ที่ได้รับการสนับสนุนให้รื้อย้ายนำมาเก็บรักษาไว้ ปัจจุบันมีเรือนอยู่ 8 หลัง และยุ้งข้าวหรือหลองข้าวอีก 4 หลัง แต่ละหลังก็มีที่มาและประวัติของตนเอง อาทิ เรือนไทลื้อ เรือนกาแล เรือนพื้นบ้านล้านนา เรือนชาวเวียงเชียงใหม่ เรือนทรงปั้นหยา

ที่อยู่:
สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถ.ริมคลองชลประทาน อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200
โทรศัพท์:
053-943626
โทรสาร:
053-222-680
วันและเวลาทำการ:
เปิดจันทร์-ศุกร์ 08.30-16.30 น.
ค่าเข้าชม:
นักเรียน นักศึกษา พระภิกษุ สามเณร แม่ชี และผู้มีอายุมากกว่า 60 ปี 20 บาท, ผู้ใหญ่ 50 บาท, เด็กอายุต่ำกว่า 7 ปี และผู้พิการ ไม่มีค่าเข้าชม
เว็บไซต์:
อีเมล:
artculture.cmu@gmail.com
ปีที่ก่อตั้ง:
2536
ของเด่น:
เรือนโบราณล้านนา 8 หลัง ยุ้งข้าวล้านนา 4 หลัง บนพื้นที่กว่า 7 ไร่
จัดการโดย:

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

LANNA LEGACY

ชื่อผู้แต่ง: PONGPET MEKLOY | ปีที่พิมพ์: 29/01/2552

ที่มา: Bangkok Post

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

ดูลิงค์ต้นฉบับ

พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนาให้มีชีวิต

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 21 เมษายน 2554

ที่มา: คมชัดลึก

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

ดูลิงค์ต้นฉบับ


สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีกลุ่มเรือนโบราณที่ควรค่าแก่การศึกษา และอนุรักษ์ โดยได้รับการสนับสนุนการดำเนินงานจัดซื้อเรือนไม้เก่าจากเอกชนหลายหน่วยงาน อาทิ มูลนิธิจุมภฎ-พันธ์ทิพย์ มูลนิธิมิสเตอร์ยามาซากิมหาวิทยาลัยเกียวโตเซกะ ประเทศญี่ปุ่น มูลนิธิ ดร.วินิจ คุณหญิงพรรณี วินิจนัยภาค 
 
เรือนลุงคิว เป็นอาคารสำนักงานของสำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม อาคารรูปทรงแบบ โคโลเนียล (Colonial) สร้างขึ้นราว พ.ศ.2465 มีหม่องตันเป็นสถาปนิกและผู้รับเหมาก่อสร้าง เจ้าของคือ นายอาเธอร์ ไลออนแนล เคอริเปล์ บ้านหลังนี้ถูกเวนคืนให้มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในปี พ.ศ.2506 
 
เรือนไทลื้อ (หม่อนตุด) เรือนไม้ขนาดกลาง เป็นเรือนสองหลังหน้าเปียง ด้านตะวันออกเป็นเรือนนอน โล่งกว้าง ด้านตะวันตกเป็นเรือนครัว ระหว่างชายคาของเรือนทั้งสองเชื่อมต่อกันเป็นรางน้ำฝน เรียกว่า ฮ่องลิน หลังคามุงด้วยแป้นเกล็ด ใต้ถุนสูงใช้เป็นคอกวัวควาย หรือนั่งทำงาน เรือนไทลื้อหลังนี้เดิมตั้งอยู่ที่บ้านเมืองลวงเหนือ ตำบลลวงเหนือ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ สร้างเมื่อประมาณ พ.ศ. 2460 เดิมเป็นของอุ๊ยตุด 
 
เรือนกาแล(อุ๊ยผัด) เป็นเรือนกาแลขนาดเล็ก มีความยาวเพียง 3 ช่วงเสา แต่ละช่วงเสามีความยาวน้อยกว่าเรือนกาแลแบบอื่น เรือนกาแลมีหำยนต์ ติดด้านบนของประตูห้องนอน มีไว้เพื่อทำหน้าที่เป็นยันต์อันศักดิ์สิทธิ์ที่ป้องกัน และขับไล่อันตรายต่าง ๆ จากภายนอก สร้างราว พ.ศ. 2460 ตั้งอยู่ที่อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ 
 
เรือนพื้นบ้านล้านนาอุ๊ยแก้ว เดิมเป็นของอุ๊ยอิ่น และอุ๊ยแก้ว ธาระปัญญา ตั้งอยู่บ้านสันต๊กโต (สันติธรรม) อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นรูปแบบเรือนของคนที่อาศัยใกล้เวียงเชียงใหม่ในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ลักษณะการจัดพื้นที่ใช้สอยยังเป็นแบบบ้านชนบทแต่ทำฝาและประตูหน้าต่างแบบใหม่ 
 
เรือนกาแล(พญาวงศ์) ป็นเรือนไม้ขนาดกลาง ใต้ถุนสูง หลังคาทรงหน้าจั่ว เรือนหลังนี้เดิมเป็นของพญาวงศ์ อยู่ที่อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน สร้างเมื่อประมาณ พ.ศ. 2440 ลูกหลานพญาวงศ์ได้สืบทอดบ้านหลังนี้มาราว 3 รุ่น ต่อมาได้ย้ายไปปลูกไว้ในวัดสุวรรณเจดีย์ จังหวัดลำพูน 
 
ยุ้งข้าวหรือหลองข้าว เป็นองค์ประกอบสำคัญที่อยู่คู่กับเรือนของชาวล้านนา ใช้เก็บข้าวเปลือกไว้กินได้ตลอดปี มีลักษณะเฉพาะเป็นอาคารไม้ใต้ถุนสูง มีระเบียงโดยรอบ หลังคาลาดต่ำคลุมระเบียงและมีจั่ว ยุ้งข้าวหลังนี้เป็นยุ้งข้าวของเรือนพญาวงศ์ นำมาปลูกสร้างใหม่ พร้อมกับตัวเรือนกาแล
 
เรือนชาวเวียงเชียงใหม่(พญาปงลังกา) เรือนไม้ขนาดกลาง ลักษณะเป็นเรือนหลังคาทรงจั่ว สองจั่วเหลื่อมกัน เรือนสองหลังร่วมพื้น ด้านตะวันตกเป็นเรือนนอนโล่งกว้าง ด้านตะวันออกเป็นเรือนครัว ระหว่างชายคาของเรือนทั้งสองเชื่อมต่อกันเป็นรางน้ำฝนเรียกว่า "ฮ่องลิน" หลังคามุงด้วยกระเบื้องดินเผา (ดินขอ) ใต้ถุนสูง ใช้เป็นที่นั่งทำงานและเป็นที่พักผ่อนเรือนพญาปงลังกาเดิมตั้งอยู่ในเขตกำแพงเมืองเชียงใหม่ สร้างขึ้นราว พ.ศ. 2439 
 
เรือนทรงปั้นหยา (อนุสารสุนทร) เรือนไม้ขนาดใหญ่สองชั้น หลังคาทรงปั้นหยาเหลื่อมซ้อนกันอย่างลงตัว ผสมผสานกับหลังคาทรงจั่ว เป็นมุขยื่นออกมาด้านหน้าของตัวเรือน หลังคามุงด้วยกระเบื้องดินเผา (ดินขอ) ชั้นบนของตัวเรือน มีระเบียงทางเดินอยู่ด้านหน้าห้องโถงใหญ่ จนถึงด้านหลังบ้าน และภายในห้องโถงมีบันไดลงสู่ชั้นล่าง หลวงอนุสารสุนทร และนางคำเที่ยง ชุติมา ได้สร้างบ้านหลังนี้ให้บุตรชาย คือนายแพทย์ยงค์ ชุติมา เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2467 เดิมตั้งอยู่บริเวณตลาดอนุสารสุนทร 
 
ข้อมูลจาก : 
1. http://art-culture.chiangmai.ac.th/oldhome/
2. บุบผา จิระพงษ์. สถานภาพของพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นในจังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: คณะมนุษยศาสตร์ สถาบันราชภัฏเชียงใหม่,2544. หน้า 88.
ชื่อผู้แต่ง:
-