พิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นเวียงหนองหล่ม


ที่อยู่:
โรงเรียนจันจว้าวิทยาคม เลขที่ 30 ม.2 ต.จันจว้าใต้ อ.แม่จัน จ.เชียงราย 57270
โทรศัพท์:
053-775108,053-775182 ติดต่ออ.พงศ์ศักดิ์ ปันแก้ว
วันและเวลาทำการ:
เปิดในวันเวลาราชการ 09.00-16.00 น. หากติดต่อเข้าชมเป็นคณะฯ จะมีรมัคคุเทศก์น้อยคอยให้บริการ
ค่าเข้าชม:
ไม่เสียค่าเข้าชม
เว็บไซต์:
อีเมล:
p13p09p16@hotmail.com
ปีที่ก่อตั้ง:
2530
จัดการโดย:
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

ไม่มีข้อมูล

รีวิวของพิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นเวียงหนองหล่ม

เดิมในปี พ.ศ. 2530 โรงเรียนจันจว้าวิทยาคม ได้จัดตั้งพิพิธภัณฑ์ชาวนาขึ้นในโรงเรียน โดยรวบรวบโบราณวัตถุจากประชาชนในท้องถิ่นไว้จำนวนหนึ่งต่อมาได้เสื่อมโทรมไปตามกาลเวลา  ต่อมาในปี พ.ศ.2545 ได้มีการก่อตั้งศูนย์จันจว้าศึกษาขึ้น โดยกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม มีอาจารย์พงศ์ศักดิ์ ปันแก้ว เป็นหัวหน้ากลุ่มฯ  มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการศึกษาประวัติความเป็นมา ประเพณีวัฒนธรรมของประชาชนในเขตตำบลจันจว้าที่โรงเรียนตั้งอยู่   โดยได้จัดทำพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นขึ้นควบคู่กันไป  ตั้งชื่ออย่างเป็นทางการว่า"พิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นเวียงหนองหล่ม" ในปี พ.ศ. 2548 และทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการ ได้รับการสนับสนุนจากท่านผู้อำนวยการ นายสุเมธ    เจตปิยะวัฒน์ และความร่วมมือจากคณะครู อาจารย์  นักเรียน  
 
วัตถุชิ้นเด่นที่จัดแสดง  อาทิ  กลองมโหระทึกจันจว้า  ที่ขุดพบบริเวณหนองเขียว ทางทิศตะวันตกของเวียงจันจว้า   (โรงเรียนจันจว้าวิทยาคม)  โดยนายชูทรัพย์  สายแสง อายุ 54 ปี วิศวกรควบคุมการขุดลอกหนองเขียวของ   หจก.บัวคอน   สตรัคชั่น    และได้มอบให้เป็นสมบัติของพิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นเวียงหนองหล่มในปี 2546 ทำโดยโลหะสำริด มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 37 ซม. สูง 25.5 ซม. เป็นศิลปวัฒนธรรมดองซอน ในช่วงยุคโลหะ มีอายุราว 2,800 – 2,400 ปีล่วงมาแล้ว มีลวดลายประดับด้วยรูปนก รูปคน และรูปวัว
 
มูยา (กล้องยาสูบ) โบราณวัตถุที่พบจำนวนมากบริเวณแหล่งโบราณคดีตามเวียงหนองหล่ม อันเป็นที่ตั้งของอาณาจักรโยนกนครในตำนาน มีอายุราว 500 ปี มีลวดลายประดับ เป็นลายดอกบัว ลายนก ลายดอก เป็นต้น ทำจากดินเผาบางชิ้นมีการเคลือบด้วยน้ำเคลือบสีน้ำตาล หรือเขียว ประโยชน์ในการใช้สอยนอกจากจะใช้สำหรับสูบยาเส้น แล้วยังอาจใช้เป็นเครื่องประดับ หรือ ในการประกอบพิธีกรรมบางอย่าง ถือว่าเป็นเอกลักษณ์ของกลุ่มชนที่เคยอาศัยอยู่บริเวณนี้ และอาจจะบ่งบอกถึงความสัมพันธ์ของการใช้ยาเส้นในภูมิภาคนี้ 
 
นอกจากนี้ยังมีโบราณวัตถุชิ้นอื่นๆ ที่ได้จากการสำรวจเวียงหนองหล่ม  และจากการบริจาค อาทิ   พระพิมพ์ใบโพธิ์ เครื่องปั้นดินเผาเวียงกาหลง  ไหดินเผาที่มีร่องใส่น้ำบริเวณปากด้านบน  ขวานหินขัดชนิดมีบ่า  คัมภีร์ใบลานจารอักษรธรรม
 
พิพิธภัณฑ์เปิดให้บริการกับผู้ที่สนใจในวันเวลาราชการ 09.00-16.00 น. หากติดต่อเข้าชมเป็นคณะฯ กรุณานัดหมายล่วงหน้า จะมีวิทยากรมัคคุเทศก์น้อยคอยให้บริการ 
 
ข้อมูลจาก: อาจารย์พงศ์ศักดิ์  ปันแก้ว(28 ตุลาคม 2553) และแผ่นพับประชาสัมพันธ์พิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นเวียงหนองหล่ม
ชื่อผู้แต่ง:
-