พิพิธภัณฑ์ตราไปรษณียากร (สามเสนใน)


พิพิธภัณฑ์ตราไปรษณียากร สามเสนใน เป็นสถานที่รวบรวมประวัติความเป็นมาของการไปรษณีย์ไทย และแสตมป์ยุคเริ่มแรก และ การนำแสตมป์เข้ามาใช้ในประเทศไทย แสตมป์ดวงแรกที่ประเทศไทยใช้ในสมัยรัชกาลที่ 4 ภายในพิพิธภัณฑ์ จัดแสดงดวงตราไปรษณียากร ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 จนถึงปัจจุบัน มีกว่า 1000 ชุด และยังรวบรวมแสตมป์จากทั่วโลกกว่า 200 ประเทศ ที่เข้าร่วมสหภาพสากลไปรษณีย์ (Universal Postal Union) นอกจากส่วนจัดแสดงแล้ว ยังมีห้องสมุดที่ให้ความรู้เกี่ยวกับแสตมป์ทั้งภาษาไทยและต่างประเทศ

ที่อยู่:
อาคารสำนักงานการสื่อสารไปรษณีย์นครหลวงเหนือ หลังที่ทำการไปรษณีย์สามเสนใน ถ.พหลโยธิน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400
โทรศัพท์:
0-2271-2439, 0-2831-3722
วันและเวลาทำการ:
เปิดวันพุธ-อาทิตย์ หยุดวันจันทร์ อังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์ ระหว่าง 08.30-16.30 น.
ค่าเข้าชม:
ไม่เก็บค่าเข้าชม
อีเมล:
th.philamuse@gmail.com
ปีที่ก่อตั้ง:
2516
ของเด่น:
แสตมป์ดวงแรกของไทยที่ใช้ในสมัยรัชกาลที่ 4
จัดการโดย:

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

เปิดตำนาน "ไปรษณีย์" แล้วไป "พิพิธภัณฑ์ตราไปรษณียากร"

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 8 ก.ค. 2548;08-07-2005

ที่มา: ผู้จัดการรายวัน

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

รู้ลึกเรื่องราวแสตมป์ที่"พิพิธภัณฑ์แสตมป์"

ชื่อผู้แต่ง: หนุ่มลูกทุ่ง | ปีที่พิมพ์: 16-08-2549 (หน้า38);16-08-2006

ที่มา: ผู้จัดการรายวัน

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

เพ่งพินิจแสตมป์ ที่พิพิธภัณฑ์ตราไปรษณียากรสามเสนใน

ชื่อผู้แต่ง: โยธิน อยู่จงดี | ปีที่พิมพ์: 27 ตุลาคม 2556;27-10-2013

ที่มา: โพสต์ทูเดย์

แหล่งค้นคว้า:

โดย: ศมส.

วันที่: 28 ตุลาคม 2556

ท่อง"พญาไท" ชมวัดไผ่ตัน-พิพิธภัณฑ์ ช้อปกระจายซอยอารีย์-หลัง ก.คลัง

ชื่อผู้แต่ง: หนุ่มลูกทุ่ง | ปีที่พิมพ์: 29 มิ.ย. 2553;29-06-2010

ที่มา: ผู้จัดการออนไลน์

แหล่งค้นคว้า:

โดย: ศมส.

วันที่: 11 กุมภาพันธ์ 2557


ไม่มีข้อมูล

รีวิวของพิพิธภัณฑ์ตราไปรษณียากร (สามเสนใน)

ทุกครั้งที่เราต้องส่งจดหมายหรือโปสการ์ดถึงใคร สิ่งที่เราลืมไม่ได้เลยก็คือการติดแสตมป์เพราะถือเป็นสิ่งแทนเงินที่เราได้จ่ายให้ไปรษณีย์นำสารจากเราไปส่งยังจุดหมาย แสตมป์หรือตราไปรษณียากรจึงถือเป็นสิ่งสำคัญในการสื่อสาร แม้ในยุคปัจจุบันการสื่อสารของเราอาจจะไม่ต้องพึ่งพาไปรษณีย์มากเหมือนเดิมก็ตาม

การใช้ประโยชน์ของแสตมป์นอกจากหน้าที่หลักที่เราใช้ติดลงบนสารหรือสิ่งของที่เราจะส่งแล้ว ด้วยสีสันและรูปภาพเล็กๆ ที่สวยงาม ทำให้มีผู้คนหลงใหลและเก็บสะสมกลายเป็นของที่มีมูลค่าแม้จะผ่านการใช้งานแล้ว 

พิพิธภัณฑ์ตราไปรษณียากรสามเสนใน ตั้งอยู่ในชั้นสองของอาคารไปรษณีย์สามเสนใน ด้านหลังที่ทำการไปรษณีสามเสนใน เป็นสถานที่สำคัญในการรวบรวมประวัติความเป็นมาของการไปรษณีย์ไทยและแสตมป์ยุคเริ่มแรก ตั้งแต่การก่อกำเนิดแสตมป์ดวงแรกของโลกที่ประเทศอังกฤษ และการนำเข้ามาใช้ในประเทศไทย ใครอยากรู้ว่าแสตมป์ดวงแรกที่ประเทศไทยใช้ในสมัยรัชกาลที่ 4 หน้าตาเป็นอย่างไร ก็มาชมตัวอย่างภาพและหาความรู้ทางประวัติศาสตร์ได้

ภายในพิพิธภัณฑ์จัดแสดงดวงตราไปรษณียากรตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 พ.ศ. 2426 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งมีถึงกว่า 800 ชุด ถ้าใครหลงใหลแสตมป์และอยากจะเห็นทุกดวงก็ดูกันได้อย่างใกล้ชิด แสตมป์ถูกจัดเก็บอยู่ในตู้กระจกแบบพิเศษที่ทำเป็นคล้ายหน้าต่างหลายๆ บานซ้อนกันอยู่ และเรียงลำดับตามปีพุทธศักราช ใครอยากดูปีไหนชุดไหน ก็กดไปที่หน้าต่างแล้วดึงออกมา วิธีใช้ดูได้ที่หน้าตู้ เจ้าหน้าที่ฝากบอกมาว่ามีคนใช้ไม่เป็นทำให้ตู้เสียหายไปหลายตู้แล้ว และทำให้เสียโอกาสของผู้ที่อยากจะมาชมคนอื่นๆ ด้วย

ในตู้แสดงแสตมป์เหล่านี้ไม่ได้มีเพียงแสตมป์ไทยเท่านั้น แต่ยังรวบรวมแสตมป์จากทั่วโลกกว่า 200 ประเทศที่เข้าร่วมสหภาพสากลไปรษณีย์ (The Symbol of Universal Union) ประเทศที่เข้าร่วมสหภาพนี้ก็จะจัดส่งแสตมป์ชุดใหม่ๆ จากประเทศตัวเองมาแลกเปลี่ยนกันทุกปี ซึ่งแต่ละประเทศก็จะมีรูปแบบและสีสันของแสตมป์แตกต่างกันไป อย่างที่บอกไว้ในข้างต้นว่านอกจากแสตมป์จะทำหน้าที่หลักเป็นสิ่งแทนค่าเงินในการขนส่งแล้ว แสตมป์จากประเทศต่างๆ ยังทำหน้าที่เป็นตัวแทนวัฒนธรรมประเพณี และประวัติศาสตร์ของแต่ละประเทศโดยเล่าผ่านพื้นที่เล็กๆ เหล่านี้อีกด้วย

นอกจากแสตมป์แล้ว จะเห็นว่ามีภาพวาดที่ติดอยู่รอบๆ ห้องจัดแสดง นั่นคือภาพต้นแบบในการผลิตแสตมป์หลายชุด เช่นชุดวันเด็กๆ ชุดดอกไม้ที่ออกใหม่ทุกปี แสตมป์ในวโรกาสพิเศษต่างๆ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ และพระบรมวงศานุวงศ์องค์ต่างๆ ภาพเหล่านี้เราสามารถดูเส้นสีและรายละเอียดของภาพใหญ่ก่อนที่จะกลายเป็นภาพเล็กๆ ที่พิมพ์ลงไปในแสตมป์ เห็นแล้วต้องทึ่งกับความละเอียดละออของจิตรกรผู้วาดภาพเหล่านี้จริงๆ 

สิ่งที่น่าสนใจอีกอย่างก็คือ หุ่นที่ใส่เสื้อผ้าของบุรุษไปรษณีย์ในยุคต่างๆ ตั้งแต่ยุคโบราณสมัยรัชกาลที่ 5 ที่ยังใส่โจงกระเบน จนในยุคต่อๆ มาที่เริ่มใส่กางเกงแบบตะวันตกแล้ว หุ่นเหล่านี้ตั้งอยู่ตามมุมห้องต่างๆ เดินเพลินๆ เงยขึ้นมาเจอก็ตกใจได้เหมือนกัน และเครื่องไม้เครื่องมือของไปรษณีย์แบบโบราณ ตู้ไปรษณีย์ที่สมัยก่อนเรียกว่าตู้ทิ้งหนังสือ เครื่องชั่งน้ำหนักพัสดุโบราณ ได้มาเห็นเครื่องไม้เครื่องมือเก่าๆ เหล่านี้แล้วทำให้นึกถึงยุคที่ผู้คนยังต้องส่งจดหมายเขียนข้อความหากันอยู่ และฝากความหวังไว้กับไปรษณีย์ว่าจะช่วยนำสารเหล่านั้นไปหาผู้รับอย่างปลอดภัย ยุคที่การสื่อสารยังไม่เจริญเท่านี้ รู้สึกขอบคุณคุณบุรุษไปรษณีย์ทุกท่านที่ทำหน้าที่กันอย่างขันแข็ง

นอกจากส่วนจัดแสดงต่างๆ ที่พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ยังมีห้องสมุดที่ให้ความรู้ต่างๆ เกี่ยวกับแสตมป์ทั้งภาษาไทยและต่างประเทศมากมาย นักสะสมแสตมป์ที่ต้องการรวบรวมความรู้ก็สามารถมาเริ่มต้นได้ที่นี่ ตู้โชว์ต่างๆ ในห้องนี้น่าสนใจมาก เพราะจัดแสดงแสตมป์ชุดที่หายากและมีค่าหลายชุด อย่างเช่นแสตมป์ชุดเบญจภาคี รวมพระดังๆ ไว้มากมาย เจ้าหน้าที่เล่าถึงความขลังว่ากว่าจะพิมพ์แสตมป์ชุดนี้ได้ต้องบวงสรวงก่อนหลายรอบเพราะแท่นพิมพ์พังไม่สามารถพิมพ์ได้ หรือแสตมป์ทองคำรูปพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ

เพลิดเพลินกับการชมแสตมป์แล้วก็สามารถซื้อหาได้ที่ด้านหน้าพิพิธภัณฑ์ มีทั้งชุดเก่าและชุดใหม่ให้เลือก แต่ต้องเช็คกับเจ้าหน้าที่ก่อนเพราะบางชุดก็จำหน่ายหมดไปแล้ว ระหว่างซื้อเจ้าหน้าที่ได้บอกให้เรารู้ถึงวิวัฒนาการของการพิมพ์แสตมป์แบบใหม่ๆ ทั้งแสตมป์วงกลม แสตมป์สามเหลี่ยม แสตมป์มีกลิ่นหอม หรือแสตมป์ชุดป่าหินงาม ที่เอาเนื้อหินจริงๆ มาพิมพ์ลงไปด้วย เมื่อสัมผัสดูจะรู้ได้ถึงความสากมือ ไม่น่าเชื่อว่ากระดาษแผ่นเล็กๆ เหล่านี้จะมีเทคนิคต่างๆ ทำให้แตกต่างกันในรายละเอียดได้เยอะขนาดนี้

สำหรับคนที่หลงไหลแสตมป์แต่ไม่มีเวลาไปซื้อหาพี่ๆ เจ้าหน้าที่บอกว่าสามารถสมัครเป็นสมาชิกเงินฝากเพื่อสะสม และสมัครสมาชิกวารสารตราไปรษณียากรได้ จ่ายเงินเป็นรายปีไว้ เมื่อมีแสตมป์ชุดใหม่ๆ ออกมาก็จะจัดส่งไปให้ถึงบ้านหรือสามารถสั่งจองแสตมป์ชุดพิเศษได้ก่อนใครๆ อีกด้วย

สิ่งที่พลาดไม่ได้ที่ด้านหน้าของพิพิธภัณฑ์ฯ ก็คือนิทรรศการหมุนเวียนที่จะเปลี่ยนเรื่องราวไปตามวันสำคัญต่างๆ และมีแสตมป์ชุดพิเศษสำหรับโอกาสนั้นๆ มาแสดงด้วย หรือถ้าใครอยากมีรูปตัวเองอยู่ในแสตมป์ก็มาถ่ายรูปได้ที่แสตมป์จำลองขนาดใหญ่เจาะช่องให้ถ่ายรูปเล่นได้อย่างสนุกสนาน

วัตถุชิ้นสำคัญในพิพิธภัณฑ์ฯ นอกจากจะมีแสตมป์ต่างๆ แล้ว ด้านหน้าจะมีตู้ไปรษณีย์เก่าแก่อายุ 120ปี ศิลปะสมัยวิคตอเรียน ที่รัฐบาลเยอรมัน มอบให้การไปรษณีย์ในโอกาสเปิดกิจการไปรษณีย์เมื่อปี 2426 อายุกว่า 120 ปี ตั้งแต่รัชกาลที่ 5 เก่าแก่แต่ก็ดูแข็งแรง และด้านนอกอาคารก็จะมีตู้ไปรษณีย์ยุคต่างๆ ที่เป็นของจริงมาตั้งโชว์ไว้เช่นกัน

พิพิธภัณฑ์แห่งนี้จะคึกคักมากเป็นพิเศษในวันเสาร์ – อาทิตย์ เนื่องจากเป็นวันตลาดนัดคนรักแสตมป์ ผู้คนมากมายจะมารวมตัวกันที่ชั้น 1 ของอาคารไปรษณีย์สามเสนใน ตั้งแต่ เวลา09.00 น – 17.00 น. เพื่อซื้อขายแลกเปลี่ยนหรือนำคอแลคชั่นสะสมแสตมป์ของตนมาโชว์ ทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย นักสะสมแสตมป์หน้าเก่าหน้าใหม่จะมาชุมนุมกันที่นี่ สร้างมูลค่าให้กระดาษใช้แล้วชิ้นเล็กๆ ให้มีมูลค่ามากยิ่งขึ้น ย้ำอีกครั้งว่าแสตมป์แม้จะเป็นเพียงพื้นที่เล็กๆ บนซองจดหมาย แต่ก็มีความหมายมากมายเหลือเกิน

พิพิธภัณฑ์ตราไปรษณียากร ทั่วประเทศมีอยู่ 8 แห่ง ในกรุงเทพฯ ก็มีที่ไปรษณีย์สามเสนในแห่งนี้ และในภูมิภาคต่างๆ คือ นครราชสีมา ขอนแก่น เชียงใหม่ นครสวรรค์ ภูเก็ต หาดใหญ่ และอุบลราชธานี พิพิธภัณฑ์ตราไปรษณียากรที่อื่นๆ จะเป็นอย่างไรไม่รู้เพราะยังไม่เคยไป แต่สำหรับที่พิพิธภัณฑ์ตราไปรษณียากรสามเสนใน กล่าวได้เลยว่าถ้าเข้าไปชมจะทำให้เรารู้ว่าอาณาจักรของแสตมป์เป็นพื้นที่เล็กๆ ที่ยิ่งใหญ่เพียงใด

ผู้เขียน: มัณฑนา ชอุ่มผล,วิรวรรณ คำดาวเรือง/ถ่ายภาพ

ข้อมูลจาก: สำรวจภาคสนามวันที่ 13 ธันวาคม 2550

ชื่อผู้แต่ง:
-

เปิดตำนาน "ไปรษณีย์" แล้วไป "พิพิธภัณฑ์ตราไปรษณียากร"

พูดถึงการติดต่อสื่อสารของมนุษย์ หนึ่งในวิธีเก่าแก่ที่สุดย่อมไม่พ้นการเขียนข้อความลงวัสดุต่างๆ ให้ "ม้าเร็ว" ไปส่ง ซึ่งเป็นรากฐานของการเขียนจดหมายที่จะพัฒนาขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป กางประวัติศาสตร์ดูเราจะพบว่า วิธีนี้ถูกใช้อย่างแพร่หลายในโลกยุคโบราณ โดยมีม้า นกพิราบ และพาหนะต่างๆ เข้ามาเป็นตัวช่วย แต่ในด้านความเร็วนั้น กว่าจะถึงผู้รับก็หลายวันจนถึงหลายเดือน เป็นเช่นนี้กระทั่งการไปรษณีย์เจริญแพร่หลายในตะวันตกแล้วส่งผลไปทั่วโลกรวมทั้งสยาม...ไปรษณีย์สยาม...อดีตสู่ปัจจุบัน
ชื่อผู้แต่ง:
-

รู้ลึกเรื่องราวแสตมป์ที่"พิพิธภัณฑ์แสตมป์"

"พี่แสนดีใจได้รับจดหมายจากไปรษณีย์ จ่าหน้าซองถึงพี่สอดซองสีนี้ไม่ใช่ใคร พี่จำแน่นอนว่าบังอรส่งถึงพี่ชาย เปิดอ่านดูข้างใน ต๊ายตาย...จดหมายผิดซอง" ฉันเดินฮัมเพลงของพี่มนต์สิทธิ์ คำสร้อย ระหว่างทางที่จะไปยัง "พิพิธภัณฑ์ตราไปรษณียากรฯ" ไปไหนมาไหนก็ต้องเลือกเพลงให้ถูกกับสถานที่เสียหน่อย แม้ว่าโลกเราวันนี้จะมีวิวัฒนาการไปอย่างรวดเร็วแล้ว และเทคโนโลยีสมัยนี้ก็ก้าวหน้าแทบจะทะลุไปถึงโลกพระจันทร์ อย่างเรื่องการสื่อสาร เมื่อก่อนนี้กว่าจะส่งข่าวคราวกันได้ ต้องให้ม้าเร็วถือหนังสือไปบอกกัน ถ้าอยู่ต่างเมืองต่างประเทศก็รอไปเถอะเป็นเดือนๆ กว่าจะได้รู้ข่าว
ชื่อผู้แต่ง:
-

ท่อง"พญาไท" ชมวัดไผ่ตัน-พิพิธภัณฑ์ ช้อปกระจายซอยอารีย์-หลัง ก.คลัง

จากนั้นฉันไปต่อยัง "พิพิธภัณฑ์ตราไปรษณียากร" ที่ตั้งอยู่ที่ชั้น 2 อาคารปฏิบัติการไปรษณีย์สามเสนใน ใครที่ชื่นชอบหรือเป็นนักสะสมแสตมป์ต้องไม่พลาด เพราะที่พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ได้รวบรวมไปรษณียากรและหนังสือเกี่ยวกับตราไปรษณียากรทั้งภาษาไทยและต่างชาติไว้มากมาย นอกจากนั้นเราจะได้รู้ทุกอย่างเกี่ยวกับตราไปรษยียากรตั้งแต่การร่างต้นแบบ วิธีการพิมพ์ จนออกมาเป็นแสตมป์สวยงามให้เราได้เห็นกัน
ชื่อผู้แต่ง:
-

เพ่งพินิจแสตมป์ ที่พิพิธภัณฑ์ตราไปรษณียากรสามเสนใน

คุณส่งจดหมายครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่ เราเชื่อว่าเกือบจะร้อยเปอร์เซ็นต์จำไม่ได้ แต่ถ้าถามว่าได้รับจดหมายครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่ ก็คงเป็นเมื่อตอนปลายเดือนที่มีบิลค่าน้ำค่าไฟส่งมาที่บ้านนั่นล่ะ เพราะในยุคดิจิตอลใครเล่าจะยอมเสียค่าแสตมป์กับซองส่งจดหมายกันอีก หรือดีไม่ดีก็คงเลือกใช้ตั้งแต่มีโทรศัพท์มือถือเมื่อ 10 กว่าปีก่อนนั่นละ ในตอนนั้นเกือบทุกคนเชื่อว่าไปรษณีย์ไทยคงอยู่ไม่ได้ แต่ถึงวันนี้กาลเวลาก็ได้พิสูจน์แล้วว่า อะไรที่ส่งผ่านระบบอินเทอร์เน็ตไม่ได้ก็ต้องใช้บริการไปรษณีย์อยู่ดี
ชื่อผู้แต่ง:
-

ชื่อผู้แต่ง:
-

ชื่อผู้แต่ง:
-

ชื่อผู้แต่ง:
-

ชื่อผู้แต่ง:
-