พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นวัดศรีสุทธาวาส


วัดศรีสุทธาวาส ในอดีตชาวบ้านเรียกว่า วัดศรีราชคฤห์(วัดราช) หรือ วัดนอก เป็นวัดเก่าแก่ในแผ่นศิลาจารึกระบุว่าสร้างขึ้นราว พ.ศ. 2011 โดยอุตรผลคุนะฤกษ์ และเจ้าพันนา  ปัจจุบันมีพระอธิการบรรพต คัมภีร์โร เป็นเจ้าอาวาส และเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการอนุรักษ์ฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมและธรรมชาติแวดล้อมของเวียงป่าเป้า ภายในวัดมีพระธาตุเจดีย์ สถาปัตยกรรมแบบสิบสองปันนา ติดกันเป็นที่ตั้งของหอธรรมพระไตรปิฎก ที่สร้างขึ้นใน พ.ศ. 2446 กรมศิลปากรขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานเมื่อปี พ.ศ. 2544 วัดศรีสุทธาวาสถือเป็นแหล่งศูนย์รวมจิตใจและสัญลักษณ์ของชุมชนเวียงป่าเป้า และชาวบ้านยังคงมีสำนึกร่วมกันในการบำรุงรักษาวัฒนธรรมของตนเอง กลายเป็นแรงผลักดันให้ท่านเจ้าอาวาสและชุมชนรอบวัดร่วมกันก่อตั้งพิพิธภัณฑ์วัดศรีสุทธาวาสขึ้น พิพิธภัณฑ์เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนชั้นเดียวรูปทรงแบบล้านนาประยุกต์ จัดแสดงข้าวของต่าง ๆ ที่ส่วนใหญ่เป็นโบราณวัตถุที่ทางวัดเก็บรักษาไว้ และของส่วนหนึ่งได้มาจากการบริจาคจากชาวบ้าน เนื้อหาการจัดแสดงได้รับการสนับสนุนจัดทำข้อมูลทางวิชาการและทำทะเบียนโบราณวัตถุจากนักวิชาการท้องถิ่น และมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ ของที่จัดแสดงส่วนใหญ่เป็นวัตถุทางธรรมที่เกี่ยวข้องกับศาสนา เครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน ผ้าทอลวดลายไทลื้อ และเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการทำเหมืองแร่ซีไลท์ที่ดอยหมอก ข้าวของอีกส่วนหนึ่งนำไปจัดแสดงไว้ที่วิหารราย ซึ่งดัดแปลงพื้นที่เป็นศูนย์การเรียนรู้ตำบลเวียงป่าเป้า ภายในจัดแสดงอุปกรณ์เครื่องใช้ในวิถีการผลิตด้านเกษตรกรรมของชาวบ้าน พิพิธภัณฑ์ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงภายในอาคารเท่านั้น หากยังครอบคลุมถึงบริเวณวัดทั้งหมด รวมถึงผืนป่าชุมชนข้างวัดราว 37 ไร่ ที่เป็นแหล่งให้ความรู้เรื่องพันธุ์ไม้หายาก รวมถึงสมุนไพรนานาชนิดด้วย  

ที่อยู่:
วัดศรีสุทธาวาส ต.เวียง อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย 57170
โทรศัพท์:
053-781026, 096-659-9093, ติดต่อพระครูคัมภีร์ธรรโมภาส
วันและเวลาทำการ:
เปิดทุกวัน 09.00 - 17.00 น.
ค่าเข้าชม:
ไม่เก็บค่าเข้าชม
ปีที่ก่อตั้ง:
2540
ของเด่น:
หอไตร,สัตตภัณฑ์,พระพุทธรูป,เครื่องประกอบวิหารเก่า,เครื่องสูง,คัมภีร์โบราณ
จัดการโดย:
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

ไปท่องตำนาน ลุ่มน้ำแม่ลาว เวียงป่าเป้า เวียงกาหลง

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 1/26/2546

ที่มา: มติชนรายวัน

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

แช่สัก อยู่ที่เวียงป่าเป้า

ชื่อผู้แต่ง: วลัยลักษณ์ ทรงศิริ | ปีที่พิมพ์: ปีที่ 20 ฉบับ 7 (พ.ค. 2542)

ที่มา: ศิลปวัฒนธรรม

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นวัดศรีสุทธาวาส

ชื่อผู้แต่ง: ศรีศักร วัลลิโภดม | ปีที่พิมพ์:

ที่มา: พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น:กระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน,โครงการเมธีวิจัยอาวุโส สกว.

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

แนบเนื้อแม่ลาว พินิจพื้นที่ เวลา และสังคม ผ่านมิติลุ่มน้ำ

ชื่อผู้แต่ง: วิทยา อาภรณ์ | ปีที่พิมพ์: 2544

ที่มา: เชียงใหม่: บี.เอส. การพิมพ์

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

รายงานการศึกษาป่าชุมชน(2542): กรณีศึกษาป่าชุมชนบ้านห้วยหินลาดในหมู่ 2 ต.บ้านโป่ง อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย

ชื่อผู้แต่ง: สุวิทย์ รัตนมณี และวินิจ ภู่นวรัตน์ | ปีที่พิมพ์: 2542

ที่มา: เชียงราย: งานพัฒนาป่าชุมชนสำนักงานป่าไม้จังหวัดเชียงราย

แหล่งค้นคว้า:

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

การศึกษาความสืบเนื่องและการเปลี่ยนแปลงทางสังคม-วัฒนธรรม ผ่านประวัติศาสตร์ท้องถิ่น กรณีศึกษาลุ่มน้ำแม่ลาวตอนบน อำเภอเวียงป่าเป้า-แม่สรวย จังหวัดเชียงราย

ชื่อผู้แต่ง: นักวิจัยท้องถิ่น อำเภอเวียงป่าเป้าและอำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย | ปีที่พิมพ์: 2547

ที่มา: รายงานการวิจัย โครงการอบรมและวิจัยเชิงปฏิบัติการทางประวัติศาสตร์โบราณคดีและชาติพันธุ์ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย

แหล่งค้นคว้า:

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

ปูนปั้นวัดศรีสุทธาวาส ผลงานสล่าพม่าจากเมืองร่างกุ้ง

ชื่อผู้แต่ง: วิไลรัตน์ ยังรอต | ปีที่พิมพ์: ปีที่ 27 ฉบับที่ 1 (ม.ค.- มี.ค. 2544); 60-65.

ที่มา: วารสารเมืองโบราณ

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นวัดศรีสุทธาวาส

ชื่อผู้แต่ง: พจนีย์ พยัคฆานุวัฒน์ | ปีที่พิมพ์:

ที่มา: วารสารเมืองโบราณ

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 02 กุมภาพันธ์ 2558


ไม่มีข้อมูล

พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นวัดศรีสุทธาวาส

วัดศรีสุทธาวาส ในอดีตชาวบ้านเรียกว่า วัดศรีราชคฤห์(วัดราช) หรือ วัดนอก เป็นวัดเก่าที่ผ่านการบูรณะมาหลายครั้ง ประวัติความเป็นมายังไม่ชัดแจ้งนัก จากข้อความในแผ่นศิลาจารึกระบุว่าสร้างขึ้นราว พ.ศ. 2011 โดยอุตรผลคุนะฤกษ์ และเจ้าพันนา  แต่ตำนานในสมุดข่อยกล่าวว่าวัดถูกสร้างขึ้นในปีจุลศักราช 1105 ปีก่าไก๊(ปีกุน) ตรงกับพ.ศ. 2286 ในสมัยพญามังราย และร้างไปในเวลาต่อมา จากนั้นในปี 2426 พระอุตตมะจากวัดศรีค้ำ ได้มาบูรณะวัดขึ้นใหม่ และสร้างวิหารขึ้นด้วย ปัจจุบันมีพระอธิการบรรพต คัมภีร์โร เป็นเจ้าอาวาส และเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการอนุรักษ์ฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมและธรรมชาติแวดล้อมของเวียงป่าเป้า
 
ภายในวัดมีพระธาตุเจดีย์ สถาปัตยกรรมแบบสิบสองปันนา ติดกันเป็นที่ตั้งของหอธรรมพระไตรปิฎก ที่สร้างขึ้นใน พ.ศ. 2446 กรมศิลปากรขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานเมื่อปี พ.ศ. 2544 แต่ปัจจุบันอยู่ในสภาพทรุดโทรมส่วนโบสถ์เป็นวิหารแบบภาคกลางที่สร้างครอบลงไปบนที่วิหารหลังเดิมที่รื้อไปเมื่อปี 2533 แต่ทางวัดยังคงผนังที่มีภาพปูนปั้นประดับเติมผนังสกัดหลังฝีมือช่างพม่า พร้อมกับยังคงรักษาฐานชุกชีที่มีภาพปูนปั้นทศชาติชาดกกัณฑ์ชูชกและกัญหาชาลี และพระพุทธรูปประธานไว้อย่างดี
 
ชุมชนเวียงป่าเป้าตั้งอยู่ในริมถนนสายดอยสะเก็ด-เชียงราย เป็นชุมชนระดับเมืองขนาดใหญ่ ผู้คนหลากหลายอาชีพอยู่รวมกัน วัดศรีสุทธาวาสถือเป็นแหล่งศูนย์รวมจิตใจและสัญลักษณ์ของคนชุมชน และชาวบ้านยังคงมีสำนึกร่วมกันในการบำรุงรักษาวัฒนธรรมของตนเอง กลายเป็นแรงผลักดันให้ท่านเจ้าอาวาสและชุมชนรอบวัดร่วมกันก่อตั้งพิพิธภัณฑ์วัดศรีสุทธาวาสขึ้นในปี 2540 ท่านเจ้าอาวาสกล่าวถึงวัตถุประสงค์ในการทำว่า
"ไม่ต้องการให้พิพิธภัณฑ์เป็นแหล่งหารายได้หรือแหล่งท่องเที่ยว แต่อยากให้เป็นแหล่งเรียนรู้ให้ข้อมูลสำหรับเด็กนักเรียน เยาวชนที่ต้องการหาข้อมูลในท้องถิ่น ทำแบบค่อยเป็นค่อยไป เหมือนกับปลวกค่อยสร้างทีละนิดทีละน้อย แม้จะใช้เวลานานแต่ฐานจะมั่นคงมากกว่า"
 
พิพิธภัณฑ์เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนชั้นเดียวรูปทรงแบบล้านนาประยุกต์ ใช้ไม้จากการรื้อวิหารหลังเก่ามาสร้าง ภายในจัดแสดงข้าวของต่าง ๆ ที่ส่วนใหญ่เป็นโบราณวัตถุที่ทางวัดเก็บรักษาไว้ และของส่วนหนึ่งได้มาจากการบริจาคจากชาวบ้าน เนื้อหาการจัดแสดงได้รับการสนับสนุนจัดทำข้อมูลทางวิชาการและทำทะเบียนโบราณวัตถุจากนักวิชาการท้องถิ่น และมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
 
ของที่จัดแสดงส่วนใหญ่เป็นวัตถุทางธรรมที่เกี่ยวข้องกับศาสนา อาทิ พระดิน เศียรพระจากวัดร้าง ฮางรินสรงน้ำพระ เครื่องประกอบวิหารเก่า ประติมากรรมไม้แกะสลัก หีบธรรม แว่นพระเจ้า ศิลาจารึก อาสนา เครื่องเทียมยศหรือเครื่องสูงแบบล้านนา สัตตภัณฑ์  สมุดข่อย คัมภีร์โบราณ บางส่วนจัดแสดงเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน อาทิ ผ้าทอลวดลายไทลื้อ เหรียญกษาปณ์ ธนบัตร เขนงใส่ดินปืน ตะเกียง ฮอกขะแหล้ม เดงหน้อย กาน้ำทองเหลือง เครื่องแก้ว ถ้วยชามกระเบื้อง รวมไปถึงเศษเครื่องถ้วยเตาเวียงกาหลง ตัวอย่างแร่ซีไลท์ และเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการทำเหมืองแร่ซีไลท์ที่ดอยหมอก
 
ข้าวของอีกส่วนหนึ่งนำไปจัดแสดงไว้ที่วิหารราย ซึ่งดัดแปลงพื้นที่เป็นศูนย์การเรียนรู้ตำบลเวียงป่าเป้า ภายในจัดแสดงอุปกรณ์เครื่องใช้ในวิถีการผลิตด้านเกษตรกรรมของชาวบ้าน อาทิ เสวียน กี่ทอผ้า ก๊อบแก๊บ เครื่องซอยยาสูบ เครื่องจักสาน เขื่อนปั่นฝ้าย โม่ข้าวโพด ไถง้อนหัวหมู ไถก้านกล้วย จักรยานรุ่นเก่า เฟืองปั่นหญ้า เป็นต้น 
พิพิธภัณฑ์ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงภายในอาคารเท่านั้น หากยังครอบคลุมถึงบริเวณวัดทั้งหมด รวมถึงผืนป่าชุมชนข้างวัดราว 37 ไร่ ที่เป็นแหล่งให้ความรู้เรื่องพันธุ์ไม้หายาก รวมถึงสมุนไพรนานาชนิดด้วย
 
ข้อมูลจาก:
สำรวจภาคสนาม 11 มีนาคม 2549 
พจนีย์  พยัคฆานุวัฒน์. "พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นวัดศรีสุทธาวาส." วารสารเมืองโบราณ, ปีที่31 ฉบับที่ 3 ;125.
อุดร วงษ์ทับทิม. แนวทางร่วมมือแบบพหุภาคี: การจัดการพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นเวียงกาหลง.โครงการประสานงานวิจัยและพัฒนาเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชน, http://cbt.vijai.org/information/article/galong.htm.[Access November 3, 2004]
ชื่อผู้แต่ง:
-

พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นวัดศรีสุทธาวาส

วัดศรีสุทธาวาส ตำบลเวียง อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย เดิมเรียกว่า “วัดศรีราชคฤห์” (วัดราช) หรือ “วัดนอก” (นอกเวียง) ม. ปาวี ชาวฝรั่งเศสได้เคยสำรวจและบันทึกไว้ในชื่อ”วัดเจดีย์สุวรรณ” ส่วนในจารึกสมุดข่อย กล่าวว่าวัดนี้สร้างขึ้นในปี จุลศักราช 1105ปีก่าไก๊ (ปีกุน) ตรงกับ พ.ศ. 2286 แต่พบแผ่นศิลาจารึกลงศักราชตั้งแต่ พ.ศ.2011 จนถึง 2045
ชื่อผู้แต่ง:
-