พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง


พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง จัดแสดงโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ซึ่งส่วนใหญ่ได้มาจากการขุดค้น ขุดแต่งและบูรณะโบราณสถานบริเวณเมืองเก่าสุโขทัย ศรีสัชนาลัย กำแพงเพชร เพชรบูรณ์และบริเวณเมืองโบราณใกล้เคียงโดยรอบตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2496 เป็นต้นมา และอีกส่วนหนึ่งเป็นโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ที่พระราชประสิทธิคุณอดีตเจ้าอาวาสวัดราชธานีและเจ้าคณะจังหวัดสุโขทัยรวบรวมไว้มอบให้ อาคารอนุสรณ์ลายสือไท จัดแสดงข้อมูลทั่วไปของจังหวัดสุโขทัย เป็นบทนำให้ผู้เข้าชมรู้จักจังหวัดสุโขทัย อาคารโบราณวัตถุ ทรงไทยประยุกต์จัดแสดงโบราณวัตถุ และเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ โบราณคดีของเมืองโบราณสุโขทัย การแสดงวัดกลางแจ้ง จัดแสดงโบราณวัตถุขนาดใหญ่ เช่นธรรมจักร ใบเสมา ระฆังหิน ช้างจำลอง ฐานรูปเคารพ ช้างประดับโบราณสถานจำลอง เตาทุเรียงจำลอง เรือจ้าง

ที่อยู่:
ถนนจรดวิถีถ่อง ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย 64210
โทรศัพท์:
055-697367, 055-633025
โทรสาร:
055-633025
วันและเวลาทำการ:
เปิดบริการทุกวัน เวลา 09.00-16.00 น.
ค่าเข้าชม:
ชาวไทย 30 บาท ชาวต่างประเทศ 150 บาท นักเรียน นักศึกษาในเครื่องแบบ ภิกษุ สามเณร และนักบวชในศาสนาต่างๆ ไม่เสียค่าธรรมเนียมเข้าชม
อีเมล:
nm_ramkamhang@hotmail.com
ปีที่ก่อตั้ง:
2503
ของเด่น:
พระพุทธรูปลีลา ศิลปะสุโขทัย อายุราวพุทธศตวรรษที่ 19-20 วัสดุทำจากสำริด นับเป็นการสร้างสรรค์ประติมากรรมลอยตัวอันเป็นเอกลักษณ์อันโดดเด่นของสุโขทัย แสดงถึงความอ่อนช้อยงดงาม

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง...

โดย:

วันที่: 02 กรกฎาคม 2564

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง...

โดย:

วันที่: 02 กรกฎาคม 2564

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

ไม่มีข้อมูล

บางเสี้ยวของประวัติศาสตร์และโบราณคดีสุโขทัยจากศิลปะ โบราณวัตถุ ในพิพิธภัณฑ์รามคำแหง

ชื่อผู้แต่ง: มโน กลีบทอง | ปีที่พิมพ์: 17, 2(เม.ย.-มิ.ย. 34)หน้า 88-98

ที่มา: วารสารเมืองโบราณ

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

“สังคโลก สุโขทัย” ของเก่าที่ยังไม่เลือนหาย

ชื่อผู้แต่ง: สุชาดา ลิมป์ | ปีที่พิมพ์: ตุลาคม 2555

ที่มา: นิตยสาร สารคดี ฉบับที่ 322

แหล่งค้นคว้า:

โดย: ศมส.

วันที่: 22 เมษายน 2556


ไม่มีข้อมูล

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง

ประวัติการก่อตั้ง

            นับตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2496 เป็นต้นมา กองโบราณคดี กรมศิลปากร ได้ดำเนินการสำรวจ ขุดแต่ง และบูรณะโบราณสถานเมืองโบราณสุโขทัย โดยได้พบโบราณวัตถุเป็นจำนวนมาก รัฐบาลจึงพิจารณาเห็นว่าควรสร้างพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติขึ้น เพื่อเก็บรักษามรดกทางวัฒนธรรมที่มีความสำคัญของชาติและจัดแสดงเผยแพร่เพื่อการศึกษาต่อไป ต่อมาในปีพุทธศักราช 2503 - 2506 กรมศิลปากรจึงดำเนินการจัดสร้างพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติขึ้นในพื้นที่บริเวณเมืองโบราณสุโขทัย โดยใช้งบประมาณของรัฐบาลสมทบกับเงินบริจาคของประชาชน

             พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง ตั้งขึ้นตามพระนามของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ผู้ปกครองเมืองสุโขทัยในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 19 โบราณวัตถุส่วนใหญ่ที่จัดแสดงได้จากการขุดแต่งบูรณะโบราณสถานในเขตเมืองเก่าสุโขทัย เมืองโบราณใกล้เคียง และอีกส่วนหนึ่งเป็นโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ที่พระโบราณวัตถาจารย์ (พระราชประสิทธิคุณ) อดีตเจ้าอาวาสวัดราชธานีและเจ้าคณะจังหวัดสุโขทัย ได้อนุญาตให้เคลื่อนย้ายจากพิพิธภัณฑ์ในวัดราชธานีมาเก็บรักษาและจัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง โดยมี หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล ภัณฑารักษ์เอก กองโบราณคดี และนายทิพา สังขะวัฒนะ นายช่างศิลปโท กองสถาปัตยกรรม กรมศิลปากร ดำเนินการจัดแสดงโบราณวัตถุตามหลักวิชาการ เพื่อให้เป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ด้านโบราณคดี ประวัติศาสตร์ และประวัติศาสตร์ศิลปะ

            พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 และ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธาน ในพิธีเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง เมื่อวันที่ 25 มกราคม พุทธศักราช 2507

ต่อมาในวาระครบรอบ 700 ปี ลายสือไท เมื่อปีพุทธศักราช 2526 รัฐบาลได้ดำเนินการก่อสร้าง“อาคารอนุสรณ์ลายสือไท” เพื่อร่วมเฉลิมฉลองในวาระดังกล่าว โดยพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 เมื่อครั้งทรงดำรงพระราชอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดอาคาร เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2526

 

การจัดแสดงภายในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง

1.  อาคารอนุสรณ์ลายสือไท

ภายในอาคารอนุสรณ์ลายสือไท แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนประชาสัมพันธ์ จำหน่ายบัตรค่าธรรมเนียมเข้าชมและห้องประชุม อีกส่วนหนึ่งเป็นส่วนจัดแสดงนิทรรศการภาพ เรื่อง “สุโขไท-สุโขทัย: อดีตและปัจจุบัน” แสดงแผนที่โบราณและปัจจุบัน แบบสามมิติจำลองผังเมืองสุโขทัย รวมถึงการจัดแสดงเรื่องราวการอนุรักษ์ ฟื้นฟู บูรณะเมืองโบราณสุโขทัย แหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม และการจัดตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง

 

2. อาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง

จัดแสดงโบราณวัตถุที่ได้จากการสำรวจทางโบราณคดี การขุดค้นขุดแต่งโบราณสถานในจังหวัดสุโขทัย
และโบราณสถานในจังหวัดใกล้เคียงเขตภาคเหนือตอนล่าง ได้แก่ พิษณุโลก กำแพงเพชร พิจิตร อุตรดิตถ์ นครสวรรค์ เพชรบูรณ์ และตาก รวมทั้งโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ที่เคยเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์วัดราชธานี
ตำบลธานี อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย นอกจากนั้นแล้วยังจัดแสดงโบราณวัตถุที่พบจากโบราณสถานอื่น ๆ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงพัฒนาการและความเชื่อมโยงทางวัฒนธรรมในอดีตบนผืนแผ่นดินไทย

โดยการจัดแสดงภายในอาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง ประกอบด้วยหัวเรื่องหลักดังนี้

2.1 ส่วนการจัดแสดง “จากชุมชนชาวป่ามาสู่การตั้งถิ่นฐานบ้านเมือง”

จัดแสดงโบราณวัตถุที่พบจากแหล่งโบราณคดีในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ โดยพบจากการสำรวจและ
การขุดค้นทางโบราณคดี เช่น กลองมโหระทึก เครื่องมือหิน เครื่องมือสำริด ลูกปัด ภาชนะดินเผา เป็นต้น

 

2.2 ส่วนการจัดแสดง “พระพุทธปฏิมาและฮินดูปฏิมาแห่งนครรัฐโบราณ”

นำเสนอเรื่องราวโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาและศาสนาพราหมณ์-ฮินดู
ที่ได้รับอิทธิพลศิลปะทวารวดีและศิลปะเขมรในประเทศไทย อายุราวพุทธศตวรรษที่ 12 – 18 ซึ่งอยู่ใน
ช่วงก่อนการกำเนิดเมืองสุโขทัย เช่น พระพุทธรูปประทับเหนือพนัสบดีที่พบจากวัดตระพังมะพลับ ศิวลึงค์และฐานโยนีที่พบจากเมืองโบราณศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นต้น

 

2.3 ส่วนการจัดแสดง “ประติมากรรมปูนปั้น”

จัดแสดงโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ประเภทปูนปั้น ที่พบจากโบราณสถานต่าง ๆ ในเมืองโบราณสุโขทัยและเมืองศรีสัชนาลัย เช่น หน้ากาล เทวดา มกรคายนาค ฤๅษี เป็นต้น จากลวดลายปูนปั้นที่ปรากฏสะท้อนให้เห็นถึงคติความเชื่อ รูปแบบเครื่องแต่งกายและเครื่องประดับในสมัยสุโขทัย

 

2.4 ส่วนการจัดแสดง “ฮินดูปฏิมาในสุโขทัย”

จัดแสดงรูปเคารพที่สร้างขึ้นเนื่องในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ที่พบในเมืองสุโขทัย แสดงให้เห็นถึงคติ
ความเชื่อในการนับถือเทพเจ้าต่าง ๆ ในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เช่น ประติมากรรมรูปบุรุษและสตรีที่พบจากศาลตาผาแดง ประติมากรรมโลหะรูปพระศิวะและพระหริหระที่พบจากหอเทวาลัยมหาเกษตร เป็นต้น

 

 

2.5 ส่วนการจัดแสดง “พระพุทธปฏิมาในสุโขทัย”

นำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับอิทธิพลของพระพุทธศาสนาในสมัยสุโขทัยผ่านโบราณวัตถุประเภทพระพุทธรูปในศิลปะสุโขทัย ซึ่งได้รับการยกย่องว่ามีพุทธศิลป์ที่งดงาม แสดงให้เห็นถึงเทคนิควิธีของช่างในสมัยสุโขทัยที่มีความละเอียดและประณีต นับเป็นการสร้างสรรค์ประติมากรรมอันเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่น

 

 2.6 ส่วนการจัดแสดง “อักษรและภาษา”

 เป็นการจัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับอักษรและภาษาโบราณ ผ่านโบราณวัตถุ ประเภทจารึก ซึ่งข้อมูลที่ปรากฏในจารึกนั้นมีความสำคัญเป็นอย่างมาก เนื่องจากสามารถบ่งบอกได้ถึงเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในขณะนั้น รวมไปถึงเรื่องราวทางด้านการเมือง การศาสนา สภาพภูมิศาสตร์ เศรษฐกิจ วิถีชีวิต ฯลฯ

 

2.7 ส่วนการจัดแสดง “สังคโลก”

 จัดแสดงโบราณวัตถุ ประเภทสังคโลก ซึ่งเป็นเครื่องปั้นดินเผาที่มีแหล่งผลิตสำคัญอยู่ที่เมืองศรีสัชนาลัยและเมืองเก่าสุโขทัย โดยมีการจัดแสดงสังคโลกรูปแบบต่าง ๆ แสดงให้เห็นถึงเทคนิควิธีในการผลิต รวมทั้งลวดลายอันเป็นเอกลักษณ์ที่มีความพิเศษเฉพาะตัว

 

2.8 ส่วนการจัดแสดง “พุทธศิลป์ในดินแดนไทย”

  นำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับพระพุทธรูปศิลปะต่าง ๆ ในประเทศไทย ตั้งแต่ยุคก่อนการก่อตั้งสุโขทัยจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ซึ่งได้จากการขุดค้นขุดแต่งโบราณสถานในจังหวัดสุโขทัยและจังหวัดใกล้เคียง รวมทั้งจากการรวบรวมของพระราชประสิทธิคุณ อดีตเจ้าคณะจังหวัดสุโขทัย โดยงานพุทธศิลป์เหล่านี้แสดงให้เห็นถึงความเชื่อความศรัทธาในพระพุทธศาสนาและยังสะท้อนให้เห็นถึงคุณค่าทางศิลปะอีกด้วย

 

2.9 ส่วนการจัดแสดง “ศาสตราวุธ”

 จัดแสดงอาวุธประเภทต่าง ๆ ในสมัยรัตนโกสินทร์ เช่น ปืน ดาบ กระบี่ หอก เป็นต้น ซึ่งทายาท
ของเจ้าพระยาสุรสีห์วิสิษฐศักดิ์ (เชย กัลยาณมิตร) อดีตเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยในสมัยพระบาทสมเด็จ
พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่ รัชกาลที่ 6 ได้นำมามอบให้กับกรมศิลปากร

 

3. อาคารปูนปั้นประติมาคาร 

จัดแสดงประติมากรรมปูนปั้น ที่ใช้สำหรับประดับตกแต่งปราสาท เจดีย์ วิหาร และอาคารต่าง ๆ
ที่พบจากโบราณสถานในเขตจังหวัดสุโขทัย และจังหวัดใกล้เคียง ซึ่งได้มีการจัดแสดงไว้เป็นหมวดหมู่ สามารถศึกษารูปแบบศิลปะ ศาสนา และวิถีชีวิตของชาวสุโขทัยที่สะท้อนจากงานศิลปกรรมประเภทนี้ได้เป็นอย่างดี

 

4. อาคารไม้โถง

จัดแสดงโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ วัตถุทางชาติพันธุ์  เช่น วิหารจำลอง เกวียน เรือสำปั้น อุปกรณ์เกี่ยวกับเกษตรกรรม เช่น เครื่องสีข้าว คันไถ เป็นต้น

 

5. การจัดแสดงกลางแจ้ง

จัดแสดงโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุขนาดใหญ่ โบราณสถานที่เหลือเพียงส่วนฐานของอาคารและเจดีย์ ซึ่งในเจดีย์รายได้ทำการขุดค้นทางโบราณคดีพบหลักฐานเป็นพระธาตุ และสิ่งของมีค่าเป็นจำนวนมากที่บรรจุในสังคโลกและเครื่องถ้วยจีน อีกทั้งมีการจำลองเตาเผาเครื่องสังคโลก แสดงให้เห็นรูปแบบและกรรมวิธีการผลิตเครื่องสังคโลกของสุโขทัย ช้างจำลองจากโบราณสถานสำคัญ ได้แก่ วัดช้างล้อม เมืองเก่าสุโขทัย วัดช้างล้อม เมืองศรีสัชนาลัย และวัดช้างรอบ เมืองกำแพงเพชร

 

การบริการในพิพิธภัณฑ์                

٠นำชมเป็นหมู่คณะ              

٠แผ่นพับนำชมฟรี                

٠วิดีทัศน์สารคดีสำหรับหมู่คณะ

٠ห้องประชุมสำหรับสัมมนา

٠ ห้องน้ำ ทางลาด สำหรับผู้สูงอายุและผู้พิการ

٠ร้านจำหน่ายของที่ระลึก : หนังสือ โปสการ์ด ซีดี วีซีดี ฯลฯ        

٠ให้คำปรึกษาทางวิชาการ ด้านโบราณคดี ประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์ศิลปะ และพิพิธภัณฑสถานวิทยา

 

ชื่อผู้แต่ง:
ธนินทร นิธิอาชากุล

“สังคโลก สุโขทัย” ของเก่าที่ยังไม่เลือนหาย

เรากำลังอยู่ภายในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง หรือที่เรียกกันว่า “พิพิธภัณฑ์เมืองเก่า” ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย ซึ่งจัดแสดง “เครื่องถ้วยสังคโลกแท้” ศิลปะสุโขทัย พุทธศตวรรษที่ ๑๙-๒๐ ในสมัยนั้น ชาวศรีสัชนาลัยผลิตเครื่องสังคโลกกันเป็นล่ำเป็นสัน ขึ้นชื่อว่ามีคุณภาพดีจนเป็นสินค้าส่งออกข้ามน้ำข้ามทะเลไปถึงเมืองจีน ญี่ปุ่น และยุโรป โดยมีอยุธยาเป็นพ่อค้าคนกลาง “ชามรูปทรงคล้ายกะลามะพร้าวนี้ เป็นเครื่องถ้วยสังคโลกสุโขทัย ซึ่งผมสันนิษฐานว่าเป็นสังคโลกรุ่นแรกๆ ยุคนั้นขึ้นชื่อเรื่องความอุดมสมบูรณ์ และมีป่าพร้าวอยู่มาก ชาวสุโขทัยอาจผลิตเครื่องสังคโลกรูปทรงคล้ายกะลามะพร้าว แทนการใช้กะลามะพร้าวเป็นภาชนะใส่อาหาร”
ชื่อผู้แต่ง:
-

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง ตั้งอยู่ที่ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย กรมศิลปากร ได้ดำเนินการจัดสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2503 โดยนางสาวจันทร์ลดา บุญยมานพ สถาปนิก กองสถาปัตยกรรม กรมศิลปากร เป็นผู้ออกแบบ ลักษณะอาคารเป็นแบบทรงไทยประยุกต์ 2 ชั้น พื้นที่ 812 ตารางเมตร การก่อสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2506 โดยใช้งบประมาณในการก่อสร้างทั้งสิ้น 1,290,522.99 บาท (หนึ่งล้านสองแสนเก้าหมื่นห้าร้อยยี่สิบสองบาทเก้าสิบเก้าสตางค์) จากงบประมาณแผ่นดินสมทบกับเงินบริจาคของประชาชนชาวสุโขทัย
ชื่อผู้แต่ง:
-