ศูนย์ศึกษาและอนุรักษ์เตาสังคโลก


ศูนย์ศึกษาและอนุรักษ์เตาสังคโลกหมายเลข 42 และหมายเลข 61 อยู่นอกเมืองศรีสัชนาลัยทางทิศเหนือ ตั้งอยู่ที่บ้านเกาะน้อย ห่างจากเมืองศรีสัชนาลัย 5 กิโลเมตร พบหลักฐานตลอดริมฝั่งแม่น้ำยม โดยกระจายทั่วไปประมาณ 1.5 กิโลเมตร เท่าที่สำรวจแล้วมีประมาณ 200 เตา โดยอยู่รวมกันเป็นกลุ่มๆ ที่อาคารศูนย์ศึกษา อนุรักษ์เตาสังคโลก จัดแสดงเตาสังคโลกที่ยังมีภาชนะประเภทไหขนาดใหญ่ ชาม และ เครื่องสังคโลกที่ได้มาจากสถานที่อื่นๆ นักโบราณคดีและกรมศิลปากรได้ขุดค้นและนำส่วนประกอบมาต่อกัน ตั้งแสดงเพื่อให้นักท่องเที่ยว นักศึกษา และผู้สนใจประวัติศาสตร์ได้เข้าชม กลุ่มเตาที่สำคัญ ได้แก่ กลุ่มเตาเผาหมายเลข 42 พบเตาสังคโลกซ้อนทับกันถึง 19 เตา เผาภาชนะเครื่องถ้วยชามทั้งแบบเคลือบและไม่เคลือบ เตาสังคโลกบ้านเกาะน้อยผลิตสังคโลกส่งขายไปที่ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ กลุ่มเตาหมายเลข 61 มีเตาใต้ดิน 4 เตา ภาชนะที่พบส่วนใหญ่เป็นไหขนาดใหญ่สำหรับบรรจุน้ำและของแห้ง

ชื่อเรียกอื่น:
เตาทุเรียง
ที่อยู่:
บ้านเกาะน้อย อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย 64310
โทรศัพท์:
086-7364953 สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสุโขทัย
วันและเวลาทำการ:
เปิดทุกวัน 09.00-16.00 น.
ค่าเข้าชม:
ชาวไทย 20 บาท และ 40 บาท (สำหรับบัตรรวม) สามารถเข้าชมภายในอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย วัดชมชื่น และแหล่งอนุรักษ์เตาเผาสังคโลกหมายเลข 61 และ 42,ชาวต่างชาติ 100 บาท และ 220 บาท (สำหรับบัตรรวม)
ปีที่ก่อตั้ง:
2530
จัดการโดย:
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

ไม่มีข้อมูล

ศูนย์ศึกษาและอนุรักษ์เตาสังคโลก(เตาทุเรียง)

ศูนย์ศึกษาและอนุรักษ์เตาสังคโลกหมายเลข 42 และหมายเลข 61 อยู่นอกเมืองศรีสัชนาลัยทางทิศเหนือ ตั้งอยู่ที่บ้านเกาะน้อย ห่างจากเมืองศรีสัชนาลัย 5 กิโลเมตร พบหลักฐานตลอดริมฝั่งแม่น้ำยม โดยกระจายทั่วไปประมาณ 1.5 กิโลเมตร เท่าที่สำรวจแล้วมีประมาณ 200 เตา โดยอยู่รวมกันเป็นกลุ่มๆ ที่อาคารศูนย์ศึกษา อนุรักษ์เตาสังคโลก จัดแสดงเตาสังคโลกที่ยังมีภาชนะประเภทไหขนาดใหญ่ ชาม และ เครื่องสังคโลกที่ได้มาจากสถานที่อื่นๆ นักโบราณคดีและกรมศิลปากรได้ขุดค้นและนำส่วนประกอบมาต่อกัน ตั้งแสดงเพื่อให้นักท่องเที่ยว นักศึกษา และผู้สนใจประวัติศาสตร์ได้เข้าชม กลุ่มเตาที่สำคัญ ได้แก่ กลุ่มเตาเผาหมายเลข 42 พบเตาสังคโลกซ้อนทับกันถึง 19 เตา เผาภาชนะเครื่องถ้วยชามทั้งแบบเคลือบและไม่เคลือบ เตาสังคโลกบ้านเกาะน้อยผลิตสังคโลกส่งขายไปที่ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์  กลุ่มเตาหมายเลข 61 มีเตาใต้ดิน 4 เตา ภาชนะที่พบส่วนใหญ่เป็นไหขนาดใหญ่สำหรับบรรจุน้ำและของแห้ง

ที่ตั้งอาคารศูนย์ศึกษาและอนุรักษ์เตาสังคโลก ที่จัดแสดงเตาสังคโลกหมายเลข 61 ตั้งอยู่บริเวณริมฝั่งแม่น้ำยมห่างจากแม่น้ำประมาณ 100 เมตร ถัดจากอาคารศูนย์ศึกษาและอนุรักษ์เตาสังคโลกหมายเลข 61 ไปประมาณ 1 กิโลเมตร เป็นที่ตั้งของอาคารศูนย์ศึกษาและอนุรักษ์เตาสังคโลกหมายเลข 42

บ้านเกาะน้อย เป็นที่ตั้งแหล่งเตาสังคโลกที่เคยผลิตกันเป็นอุตสาหกรรมที่ใหญ่โตและทำต่อเนื่องกันมาเป็นระยะเวลาที่ยาวนาน จากการสำรวจพบจำนวนเตาประมาณ 500 เตา และพบว่า มีเตาอยู่รวมกันเป็นกลุ่มใหญ่ๆ  ตั้งอยู่เป็นแนวยาวตามริมแม่น้ำยม รูปแบบของเตาบ้านเกาะน้อยมีหลายรูปแบบแตกต่างกันไปตามการใช่งานและการควบคุมอุณหภูมิในการเผา ลักษณะของเตาสังคโลกบ้านเกาะน้อย พบเป็น 2 แบบ โดยแบ่งตามทางเดินของลมร้อน คือ

1. เตาเผาชนิดชนิดทางเดินลมร้อนผ่านในแนวนอน  เตาชนิดเป็นเตาที่มีรูปแบบยาวขนานไปกับพื้นดิน หรือลาดเอียงไปตามพื้นดิน หลังคาโค้งโดยตลอดจนถึงส่วนที่เป็นปล่องไฟ เป็นเตาที่ใช้ฟืนเป็นเชื้อเพลิง สามารถเผาได้อุณหภูมิสูงถึง 1200 C

2. เตาเผาชนิดทางเดินลมร้อนผ่านในแนวขึ้น เตาเผาชนิดนี้มักมีรูปแบบกลม หรือบางครั้งเป็นรูปสี่เหลี่ยม เป็นเตาที่ใช้ฟืนเป็นเชื้อเพลิงที่มีการออกแบบการก่อสร้างแบบง่ายๆ เป็นเตารุ่นแรกที่พบว่ามีการทำขึ้นใช้โดยทั่วไปในพื้นที่ส่วนต่างๆของโลก  เตาชนิดนี้เผาได้ในอุณหภูมิไม่สูงนักแต่ก็สามารถเผาเคลือบอุณหภูมิต่ำได้ เผาได้อุณหภูมิไม่เกิน 900 องศาเซลเซียส

เตาสังคโลกหมายเลข 61 มีการใช้เผาภาชนะดินเผาประเภทเนื้อแกร่ง ทั้งแบบเคลือบและไม่เคลือบ ทั้งนี้การเคลือบเป็นการเคลือบใสบางๆ เนื่องจากเตาเผายังไม่สามารถให้ความร้อนเพียงพอเผาเคลือบแบเซลาดอนได้

ประเภทของภาชนะดินเผาที่พบ อาทิ ชามทรงสูง ขวดทรงลูกแพร์ ไหทรงสูง ไหปากกว้าง ครกไม่เคลือบ จานเชิงสูงปากผาย  กี๋ท่อดินเผา แวดินเผา

การศึกษาทางด้านโบราณคดีแหล่งเตาเผาสังคโลกบ้านเกาะน้อย อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย พบการสร้างเตาที่มีวิวัฒนาการเป็นขั้นเป็นตอนมาเป็นลำดับ จนกระทั่งมีวิวัฒนาการขั้นสูงสุดเป็นเตาอิฐที่พบทั่วไปขั้นตอนของวิวัฒนาการนั้นใช้ระยะเวลายาวนานเป็นเครื่องยืนยันได้ว่าช่างเมืองศรีสัชนาลัยได้ผลิตภาชนะดินเผามาอย่างต่อเนืองยาวนาน  จากหลักฐานที่พบนั้นอาจสันนิษฐานได้ว่า เครื่องปั้นดินเผาในระยะเริ่มแรกนั้น น่าจะผลิตขึ้นมาตั้งแต่สมัยพ่อขุนรามคำแหง ต่อมาในช่วงสมัยพระมหาธรรมราชาลิไท คงเริ่มมีการผลิตภาชนะดินเผาที่เป็นลักษณะของการอุตสาหรรมขนาดใหญ่ในเขตตอนเหนือของเมืองศรีสัชนาลัย ต่อมาเมื่อสุโขทัยตกอยู่ภายใต้อำนาจของกรุงศรีอยุธยาในราวพุทธศตวรรษที่ 21 อุตสาหกรรมการผลิตภาชนะดินเผาสังคโลกของเมืองศรีสัชนาลัยได้พัฒนาไปอีกขั้นหนึ่ง มีการปรับปรุงวิธีการผลิตสังคโลกและเทคนิคการทำเตาเผาให้ดีขึ้น สินค้าสังคโลกเป็นสินค้าสำคัญในสมัยนั้นโดยมีการส่งออกไปขายทั่วทั้งเอเชียโดยเฉพาะประเทศอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ มีการขุดค้นพบเศษเครื่อง  การค้าเครื่องสังคโลกน่าจะเริ่มขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 20 เรื่อยมาจนถึงพุทธศตวรรษที่ 22 จึงได้สิ้นสุดลง

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมด้านโบราณคดีใน ฐานข้อมูลแหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย

 

ข้อมูลจาก:

ฐานข้อมูลแหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย https://www.sac.or.th/databases/archaeology/

 

ชื่อผู้แต่ง:
-