สาธร พิพิธภัณฑ์ผ้าทองคำ


ที่อยู่:
เลขที่ 477/2 ต.หาดเสี้ยว อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย 64130
โทรศัพท์:
0-5567-1143,08-1962-5146
วันและเวลาทำการ:
เปิดทุกวัน 08.30-17.30 น.
ค่าเข้าชม:
ไม่เก็บค่าเข้าชม
ปีที่ก่อตั้ง:
2532
ของเด่น:
ซิ่นไหมคำ(ทองคำ) อายุกว่าร้อยปี,ซิ่นตีนจกลายโบราณ ของคนพวนบ้านหาดเสี้ยว, ซิ่นคำเคิบเมืองน่าน,ซิ่นตีนจก อุตรดิตถ์
จัดการโดย:
เนื้อหา:

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

วัฒนธรรมชาวพวน สิ่งที่กำลังเลือนหาย

ชื่อผู้แต่ง: จินตนาภรณ์ สายเบาะ | ปีที่พิมพ์: 8/26/2548

ที่มา: ผู้จัดการรายวัน

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

ผ้าทอสุโขทัย = Sukhothai Hand-woven fabrics.

ชื่อผู้แต่ง: ชูมานน์. | ปีที่พิมพ์: ปีที่ 19, ฉบับที่ 7 (ก.ค. 2545) : หน้า 59-70

ที่มา: กินรี.

แหล่งค้นคว้า: มศก. วังท่าพระ

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

ผ้าทอหาดเสี้ยว : สืบสานงานหัตถกรรมไทยพวนที่เมืองศรีสัชนาลัย.

ชื่อผู้แต่ง: นางชม. | ปีที่พิมพ์: ปีที่ 39, ฉบับที่ 4 (พ.ย. 2541) : หน้า 86-87

ที่มา: อนุสาร อสท.

แหล่งค้นคว้า: มศก. วังท่าพระ

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

สืบสานตำนาน : ผ้าทอหาดเสี้ยว = The legend of Haat Seaw woven fabric.

ชื่อผู้แต่ง: ภัทรา จงวัฒนา. | ปีที่พิมพ์: ปีที่ 23, ฉบับที่ 131 : หน้า 12-16

ที่มา: ผาสุก

แหล่งค้นคว้า: มศก. วังท่าพระ

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

"สาธร พิพิธภัณฑ์ผ้าทองคำ" เลิศล้ำคุณค่าของโบราณ

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 28 กุมภาพันธ์ 2553

ที่มา:

แหล่งค้นคว้า:

โดย: ศมส.

วันที่: 18 เมษายน 2556


ไม่มีข้อมูล

รีวิวของสาธร พิพิธภัณฑ์ผ้าทองคำ

บ้านหาดเสี้ยวเป็นหมู่บ้านทอผ้าที่มีชื่อเสียงมาเนิ่นนาน ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวไทยเชื้อสวยพวน ซึ่งสันนิษฐานว่าเข้ามาตั้งถิ่นฐานตั้งแต่ปลายรัชกาลที่ 2 ชาวหาดเสี้ยวอพยพโยกย้ายถิ่นมาพร้อมกับวัฒนธรรมการทอผ้าที่สืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น เดิมชาวบ้านทอผ้าไว้ใช้เอง แต่ต่อมาเมื่อมีคนต่างถิ่นสนใจมากขึ้น จึงเริ่มทอผ้าขายกันเป็นล่ำเป็นสัน ริมถนนหลวงเต็มไปด้วยร้านขายผ้าพื้นเมืองเรียงรายกันเป็นสิบร้าน 
 
ร้านผ้าสาธร ริมถนนสายสวรรคโลก-ศรีสัชนาลัย เป็นที่ตั้งของ “สาธร พิพิธภัณฑ์ผ้าทองคำ” พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เป็นของคุณ สาธร โสรัจประสพสันติ ชาวบ้านหาดเสี้ยว นักสะสมผ้าโบราณพื้นเมืองที่เป็นรู้จักกันดีในวงการนักสะสมผ้าโบราณ พิพิธภัณฑ์นี้เกิดขึ้นเมื่อคุณสาธร เริ่มตระหนักและเห็นคุณค่าของผ้าเมื่อครั้งเป็นนายหน้าค้าผ้าเก่ามาได้ระยะหนึ่งว่า ผ้าเก่า ผ้าโบราณของชาวหาดเสี้ยวเป็นที่ต้องการของคนนอกทั้งนักวิชาการ และนักสะสม แต่ทำไมคนในท้องถิ่น(รวมถึงตนเอง)กลับไม่เห็นคุณต่า ถ้าตนยังไม่รีบเก็บผ้าของหาดเสี้ยวเอาไว้ ภายภาคหน้าอาจจะไม่มีผ้าตีนจกงาม ๆ ของหาดเสี้ยวได้ดูกันอีกเพราะขายให้คนนอกหมด การสะสมผ้าเก่าจึงดำเนินเรื่อยมา ๆ และเปิดเป็นพิพิธภัณฑ์ในปี พ.ศ. 2531
พิพิธภัณฑ์ที่จัดแสดงผ้าโบราณ อยู่ด้านหลังร้านขายผ้าของคุณสาธร เป็นห้องโล่งขนาดใหญ่ เต็มไปด้วยตู้กระจกที่จัดแสดงผ้าโบราณนานาชนิด ไฟสีเหลืองนวลที่ส่องไปยังตัวผ้ายิ่งเพิ่มความงามให้งานถักทอแต่ละชิ้น นอกจากนี้ภายในยังประดับด้วยเครื่องเรือน  เครื่องเขิน กะบุงใส่ผ้า แบบภาคเหนือสร้างบรรยากาศให้น่าดูยิ่งขึ้น ผ้าชิ้นที่ดึงดูดผู้ชม คือ ซิ่นทองคำ ที่มี 2 ผืน ผืนแรกคุณสาธรบอกว่าเป็นซิ่นเจ้านายเชียงตุง ทอด้วยดิ้นผสมทองคำราว 50 เปอร์เซ็นต์ ส่วนผืนที่ 2 เป็นซิ่นที่สั่งทอขึ้นมาใหม่ด้วยดิ้นทองคำ 80 เปอร์เซ็นต์
 
แต่ผ้าที่เจ้าของภูมิใจและรักมากคือ คอลเล็กชั่นผ้าตีนจกบ้านหาดเสี้ยวที่มีลายโบราณครบทั้ง 9 ลาย ได้แก่ ลายเครือน้อย ลายเครือกลาง ลายเครือใหญ่ ลายสิบหกหน่วยตัด ลายแปดขอ ลายสี่ขอ ลายน้ำอ่าง และลายสองท้อง ผ้าที่จัดแสดงล้วนเป็นผ้าเก่าทั้งสิ้นอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป ผ้าที่จัดแสดงล้วนเป็นผ้าที่เคยใช้งานในอดีต ทั้งผ้าที่ใช้ชีวิตประจำวัน อย่าง ซิ่น ผ้าห่ม หรือผ้าในพิธีกรรมเช่น ผ้ากราบพระ ผ้ากั๊ง
 
 นอกจากนี้ยังจัดแสดงผ้าทอตีนจกจากที่อื่นซึ่งมีลวดลายงดงามแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ อาทิ ซิ่นตีนจกดิ้นเงินดิ้นทองของเจ้านายเชียงใหม่ ผ้าล้อสำหรับใช้ปูในพิธีแต่งงานจากบ้านน้ำปาด อุตรดิตถ์ ซิ่นตีนจกจากอำเภอลับแล กิ่งอำเภอบ้านโคก จ.อุตรดิตถ์ ซิ่นตีนจกจากอ.ลอง จ.แพร่ ซิ่นตีนจกจากอ.นาน้อย จ.น่าน ซิ่นลาวครั่งจากพิจิตรและนครสวรรค์
 
การนำชมพิพิธภัณฑ์ด้วยตนเองของคุณสาธร สร้างเสน่ห์ให้กับพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ ด้วยว่าคุณสาธรเป็นคนพูดเก่ง เล่าเรื่องสนุกสนาน ลีลาการเล่ามีมุขสอดแทรกอยู่ตลอดเวลา และที่แน่นอนคือ ผู้ชมได้ความรู้กลับไปอีกพะเรอ อาทิ ผู้หญิงสูงวัยหรือที่แต่งงานแล้วจะนุ่งซิ่นตีนดำ ส่วนผู้หญิงที่ยังไม่ได้แต่งงานจะนุ่งซิ่นสีแดง, บ้านไหนมีลูกสาว แม่ต้องเตรียมทำหมอนป่องที่ด้านหน้าเป็นลายจกและเจาะเป็นรู เวลาหนุ่มมาเกี้ยว จะนั่งขัดสมาธิ ยกหมอนป่องขึ้นมาวางตัก สูงถึงหน้าอก ธรรมดาหมอนต้องใช้หนุน แต่หมอนตัวนี้หนุนไม่ได้ ชายหนุ่มเวลาคุยกับสาวก็จะเอาหน้าอกก้ม อิงมาคุยสาว มือสองข้างสอดซุกเข้ารู ว่ากันว่ากันหนุ่มมือไว
ที่นี่ยังจัดแสดงข้าวของในอดีตที่เกี่ยวข้องกับประเพณีของชาวหาดเสี้ยวด้วย เช่น มีดดาบ ย่ามแดง และเงินที่ฝ่ายเจ้าบ่าวต้องนำไปในวันแต่งงาน ผ้าชนิดต่าง ๆ ที่ฝ่ายหญิงจะต้องสวมใส่และจัดเตรียมไว้ในพิธีแต่งงาน เครื่องแต่งตัวนาคในพิธีบวชช้าง 
 
เมื่อชมผ้าซิ่นชิ้นงามๆ แล้วที่อยู่ในพิพิธภัณฑ์แล้ว เพื่อความเข้าใจว่ากว่าจะเป็นซิ่นผืนหนึ่งได้ ต้องอาศัยความชำนาญและความอุตสาหะของผู้ทอเพียงใด โรงทอผ้าที่ตั้งอยู่ด้านในสุดจะทำให้ผู้ชมมีโอกาสสัมผัสการทอผ้าด้วยหูกจริง ๆ และและได้ความรู้ติดตัวกลับไปจากการพูดคุยกับช่างทอพื้นบ้าน 
 
เพื่อให้ผู้ชมพิพิธภัณฑ์เข้าใจวิถีชีวิตชาวพวนให้ได้มากที่สุด คุณสาธรจึงเพิ่มส่วนจัดแสดงเกี่ยวกับเครื่องมือเครื่องใช้พื้นบ้านของคนบ้านหาดเสี้ยว โดยจัดแสดงไว้อีกอาคารหนึ่งด้านหลังอาคารจัดแสดงผ้าโบราณ ข้าวของที่จัดแสดงอาทิ เครื่องหีบอ้อย  ม้าซอยยา แอบข้าว ออม(ไห)เกลือ ออมสองหู กระต่ายขูดมะพร้าว ไซดักปลา กับเกี๊ยงใช้สำหรับดักหนู อุปกรณ์สำหรับปั่นฝ้ายและทอผ้า และที่กำลังก่อสร้างอยู่คือ บ้านของคนพวนในหาดเสี้ยวซึ่งเพิ่งจะขอซื้อมาเมื่อไม่นานมานี้ โดยหวังว่าพิพิธภัณฑ์แห่งนี้จะสร้างความเข้าใจเรื่องวิถีชีวิตของคนไทยเชื้อสายพวนบ้านหาดเสี้ยว ศรีสัชนาลัย  ให้กับผู้ชมได้มากที่สุด 
 
ข้อมูลจาก: สำรวจภาคสนาม วันที่ 18 ธันวาคม 2550
ชื่อผู้แต่ง:
-

ผ้าทอหาดเสี้ยว สืบสานงานหัตถกรรมไทยพวน ที่เมืองศรีสัชนาลัย

ผ้าพื้นเมืองของไทยมีที่มาอันหลากหลาย ล้วนแล้วแต่ถิ่นฐานกำเนิดของกลุ่มชน การอพยพโยกย้าย การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม ลักษณะการทอผ้าก็ได้รับอิทธิพลมาจากสภาพแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นสีที่นำมาย้อมผ้า เส้นด้าย เส้นไหมที่ใช้ทอ รูปแบบและรูปทรงของผืนผ้า อันนำมาซึ่งวัฒนธรรมการแต่งกายของชาวไทยในแต่ละยุคสมัย ผ้าไทยที่เราสวมใส่กันในปัจจุบันจึงมีรูปแบบต่าง ๆ กันไป ทั้งผ้าเก่าแลผ้าทอใหม่ในรูปแบบและลวดลายดั้งเดิม รวมไปถึงมีการออกแบบประยุกต์ให้เข้ากับยุคสมัย แม้สังคมไทยจะเปลี่ยนแปลงไป ผ้าไทยก็ยังคงอยู่ในความนิยมของคนไทยไม่ใช่น้อย
ชื่อผู้แต่ง:
-

"สาธร พิพิธภัณฑ์ผ้าทองคำ" เลิศล้ำคุณค่าของโบราณ

หากใครมีโอกาสเดินทางมาเที่ยวยังจังหวัดสุโขทัย แล้วได้มาชมอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัยกันแล้ว หลังออกจากอุทยานฯ มาไม่ไกลมากนัก อยากจะแนะนำให้ทุกคนลองแวะมาเที่ยวชม "ผ้าทองคำ" ที่หาชมได้ยากยิ่ง ที่ "สาธร พิพิธภัณฑ์ผ้าทองคำ" "สาธร พิพิธภัณฑ์ผ้าทองคำ" แห่งนี้ก่อตั้งโดย คุณสาธร โสรัจประสพสันติ ชาวบ้านหาดเสี้ยวที่มีใจรักในผ้าทอโบราณพื้นเมืองของบ้านหาดเสี้ยว และได้เก็บสะสมผ้าทอลายโบราณต่างๆ มานาน แล้วได้ตระหนักเห็นว่าหากไม่เก็บรักษาผ้าทอพื้นบ้านที่ทรงคุณค่าเหล่านี้เอาไว้ ต่อไปภายภาคหน้าก็จะสูญหายจากไป ฉะนั้นจึงได้สะสมผ้าเก่าเหล่านี้ไว้มากมาย แล้วก็ได้เปิดเป็นพิพิธภัณฑ์ขึ้นมา
ชื่อผู้แต่ง:
-

ชื่อผู้แต่ง:
-

ชื่อผู้แต่ง:
-