โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
ชื่อผู้แต่ง: วรลัญจก์ บุญยสุรัตน์ | ปีที่พิมพ์: ปีที่25ฉบับที่ 4 ต.ค. - ธ.ค. 2542
ที่มา: เมืองโบราณ
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: ศรีศักร วัลลิโภดม | ปีที่พิมพ์: ปีที่ 1 ฉบับ 4 (ก.ค. - ก.ย. 2518)
ที่มา: เมืองโบราณ
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร | ปีที่พิมพ์: 2544
ที่มา:
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: มปป.
ที่มา:
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: อรวรรณ บัณฑิตกุล | ปีที่พิมพ์: กุมภาพันธ์ 2545
ที่มา: นิตยสารผู้จัดการ
แหล่งค้นคว้า:
โดย: ศมส.
วันที่: 23 เมษายน 2556
ชื่อผู้แต่ง: อรวรรณ บัณฑิตกุล | ปีที่พิมพ์: กุมภาพันธ์ 2545
ที่มา: นิตยสารผู้จัดการ
แหล่งค้นคว้า:
โดย: ศมส.
วันที่: 23 เมษายน 2556
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยทีมงานและสมาชิก
พิพิธภัณฑ์สังคโลก หลักฐานแสดงความรุ่งเรืองของสุโขทัย
พิพิธภัณฑ์สังคโลก เป็นพิพิธภัณฑ์เอกชน ที่เกิดขึ้นจากความคิดและความตั้งใจของคุณดำรงและคุณกุศล สุวัฒน์เมฆินทร์ ผู้เป็นชาวสุโขทัยโดยกำเนิด และเป็นนักสะสมเครื่องสังคโลกมาเป็นเวลายาวนานกว่า 50 ปี และได้นำของสะสมที่เก็บรวบรวมไว้ อาทิ เครื่องสังคโลก พระพุทธรูป เครื่องมือเครื่องใช้ ข้าวของในชีวิตประจำวัน มาจัดแสดงในรูปแบบพิพิธภัณฑ์ที่ทันสมัย เพื่อให้ผู้เข้าชมได้เห็นภาพชีวิตที่แท้จริงของคนสุโขทัยในสมัยโบราณคุณดำรง สุวัฒน์เมฆินทร์ เคยให้สัมภาษณ์ไว้ในหนังสือเล่มหนึ่งว่า แรงบันดาลใจที่เก็บสะสมโบราณวัตถุ โดยเฉพาะเครื่องสังคโลกนั้นว่า แต่เดิมครั้งเป็นเด็กชอบสะสมพระเครื่องและพระบูชา แต่ทางบ้านไม่สนับสนุน คุณป้าของท่านได้สั่งสอนท่านว่า เด็กไม่สมควรจะเล่นหรือสะสมพระเครื่อง เนื่องจากเป็นสิ่งควรเคารพบูชา จากนั้นคุณป้าของท่านซึ่งชอบสะสมเครื่องถ้วยชาม กาน้ำ เบญจรงค์ ได้แนะว่าเป็นคนสุโขทัยน่าจะสะสมเครื่องสังคโลก จากนั้นจึงกลายเป็นแรงบันดาลใจให้ท่านสะสมเครื่องกระเบื้องดินเผา เครื่องสังคโลกต่อมา เมื่อได้คู่ชีวิตคือคุณกุศล ซึ่งเป็นผู้ที่ชื่นชอบและสะสมของเก่าเช่นกัน จึงยิ่งทำให้มีกำลังใจแก่กันที่จะหาของมาสะสม
พิพิธภัณฑ์เป็นอาคารก่อสร้างสมัยใหม่ แบ่งพื้นที่จัดแสดงเป็น 3 ชั้น เมื่อเดินเข้าไปจะเป็น ห้องโถงกลางด้านหน้า ที่ประดับภาพจิตรกรรมฝาผนังแบบไทยทั้ง 4 ด้าน แสดงภาพชีวิตความเป็นอยู่ของราชอาณาจักรสุโขทัย ความรุ่งเรืองของพระศาสนา ความอุดมสมบูรณ์ของพืชพันธุ์ธัญญาหาร และแผนที่ของราชอาณาจักรไทยโบราณ
ถัดมา ชั้นที่ 1 จัดแสดงวิถีชีวิตของคนสุโขทัยสมัยโบราณ แสดงสภาพความเป็นอยู่ ความคิด ความเชื่อ ผ่านเครื่องมือ ของใช้โบราณต่าง ๆ ที่ขุดค้นได้ โดยมีจุดเด่นอยู่ที่การแสดงความยิ่งใหญ่ของสุโขทัยในฐานะศูนย์กลางอุตสาหกรรมเครื่องเคลือบดินเผา หรือ สังคโลก ที่เป็นสินค้าส่งออกสำคัญไปสู่ต่างประเทศในสมัยนั้น รวมถึงเป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนสินค้าที่สำคัญในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และการติดต่อสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างประเทศคู่ค้ากับอาณาจักรสุโขทัย
ข้าวของส่วนใหญ่จะจัดแสดงอยู่ในตู้กระจกทั้งหมด ของชิ้นเด่นๆ จะมีป้ายคำอธิบายทั้งภาษาไทยและอังกฤษ ของเด่นอาทิ จานสังคโลกจากแหล่งเตาทุเรียง พบเพียงชิ้นเดียวในโลกที่วาดลวดลายเป็นงานสถาปัตยกรรม ภาชนะชิ้นนี้อาจทำให้ผู้ชมนึกถึงภาพบ้านเรือนในยุคสุโขทัย หรือตู้จัดแสดงท่อสังคโลกรูปทรงกระบอกกลวงสีขาว ซึ่งเป็นเครื่องมือสำหรับการส่งน้ำจากเขื่อนดินขนาดใหญ่ห่างจากตัวเมืองไป 2 กม. ส่งน้ำด้วยระบบแรงดันเข้ามาใช้ในชุมชน ภาชนะใส่น้ำแบบต่างๆ เช่น กาน้ำเป็นรูปนกทรง 8 เหลี่ยม เนื่องจากสมัยก่อนมักนิยมใช้นกเป็นสัญลักษณ์สำหรับการอวยพรให้ผู้ใช้มีความสุข รุ่งเรือง หรือตุ๊กตาดินเผารูปคนแบบต่างๆ แสดงถึงวัฒนธรรมการแต่งกาย ถ้าเป็นชาวบ้านผู้หญิงจะไม่นิยมสวมเสื้อ นิยมนุ่งซิ่นหรือโสร่ง แต่ถ้าเป็นชนชั้นสูงจะสวมเสื้อและเครื่องประดับงดงาม
ชั้นที่ 2 จัดแสดงงานชิ้นเอก เป็นการนำเครื่องเคลือบดินเผา ซึ่งสวยงามสมบูรณ์แบบทั้งด้วยเทคนิคการทำและความงามทางศิลปะ อีกทั้งการตีความของพิพิธภัณฑ์ในการบอกเล่าได้แฝงปรัชญาควบคู่กับตัววัตถุที่จัดแสดง บางชิ้นไม่อาจหาชมที่ไหนมาก่อนได้ และบางชิ้นไม่อาจหาค่าได้ เช่น ตุ๊กตารูปผู้ชายยืนมีชายอีกคนหนึ่งขี่หลัง เรียกชื่อว่า “ชายตาบอดกับชายขาเสีย” มาจากนิทานปรัมปราที่แฝงไว้ด้วยคติที่ว่า คนทุกคนเกิดมามิได้ครบถ้วนสมบูรณ์ที่จะทำทุกสิ่งได้เพียงลำพัง แต่หากมีความสามัคคีก็จะประสบผลสำเร็จได้ เปรียบเสมือนชายขาเสียกับชายตาบอดสองคนนี้ นอกจากนี้ยังมีจานรูปปลาสองตัวกลับหัวคนละทาง เป็นเครื่องหมายหยินหยาง ที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะจีน โคมไฟช้างถือดอกบัว ซึ่งสันนิษฐานว่าอาจจะทำขึ้นเพื่อใช้ประดับตกแต่งในวัดวาอาราม นอกจากนี้ยังเครื่องเคลือบจากประเทศเวียดนาม และพม่า อีกด้วย
ชั้นใต้ดิน เป็นส่วนให้ความรู้ทางด้านการจัดเก็บและการรักษาโบราณวัตถุ รวมทั้งการแยกแยะประเภทและแหล่งที่มาในรูปแบบนิทรรศการ และในอนาคตจะมีห้องฉายภาพยนตร์รวมทั้งมีคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย เพื่อให้ความรู้ในเรื่องเกี่ยวกับสุโขทัยและเครื่องเคลือบดินเผา
พิพิธภัณฑ์สังคโลก เป็นอีกสถานที่สำคัญที่ผู้มาเยือนอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ที่ได้รับการยกย่องให้เป็นมรดก จะสามารถจินตนาการต่อได้ว่า ชีวิตและความเป็นอยู่ของผู้คนในสมัยสุโขทัยเป็นอย่างไร จากนิทรรศการชีวิตความเป็นอยู่ของสุโขทัยโบราณผ่านเครื่องมือเครื่องใช้สำริด เครื่องปั้นดินเผา และเครื่องเคลือบ รวมทั้งสิ่งสูงค่า อาทิ พระพุทธรูปทองคำ เครื่องประดับ และแม้กระทั่งตุ๊กตาเด็กเล่น
นอกจากนี้อาคารของพิพิธภัณฑ์สังคโลก ยังเป็นอารยสถาปัตย์ คือคำนึงถึงความต้องการของผู้ชมทุกเพศทุกวัย และทุกสภาพร่างกาย ดังนั้นทางพิพิธภัณฑ์จึงได้ทำทางลาดขึ้นและลงและติดตั้งลิฟต์ เพื่อให้ผู้ที่ต้องนั่งรถเข็นเข้าห้องจัดแสดงได้ทั้ง 3 ชั้น อีกด้วย
ข้อมูลจาก:
การสำรวจภาคสนาม วันที่ 17 ธันวาคม 2550
แผ่นพับประชาสัมพันธ์พิพิธภัณฑ์สังคโลก
พิพิธภัณฑ์สังคโลก
พิพิธภัณฑ์สังคโลกเกิดจากความคิดและความตั้งใจของนายดำรงและนางกุศล สุวัฒน์เมฆินทร์ ชาวจังหวัดสุโขทัย ซึ่งมุ่งหมายนำความภูมิใจในแผ่นดินสุโขทัยและประวัติศาสตร์ของสุโขทัย เสนอแก่นักท่องเที่ยว เยาวชนรุ่นหลัง และคนไทยทุกคนได้ร่วมกับประจักษ์ในความสำคัญและยิ่งใหญ่ของบสุโขทัย จึงได้นำของสะสมที่เก็บรวบรวมมาเป็นเวลากว่า 50 ปี อันได้แก่พระพุทธรูป เครื่องมือเครื่องใช้ สิ่งของในชีวิตประจำวัน และเครื่องสังคโลกสมัยสุโขทัยจากแหล่งโบราณคดีต่างๆ มาจัดแสดงในรูปแบบพิพิธภัณฑสถานที่มีความทันสมัย เปิดให้ประชาชนเข้าชมอย่างเป็นทางการเมื่อ พ.ศ. 2544พิพิธภัณฑ์สังคโลกเป็นอาคารร่วมสมัย แบ่งเป็นพื้นที่จัดแสดง 3 ชั้น ตามลักษณะการใช้งาน ชั้นที่ 1 แบ่งเป็น 1. ห้องโถงกลาง เป็นพื้นที่จำหน่ายบัตรเข้าชม ประชาสัมพันธ์ ร้านจำหน่ายของที่ระลึก 2. ห้องจัดแสดงชั้นที่ 1 เป็นส่วนต่อจากห้องโถงกลาง จัดแสดงวิถีชีวิตของคนไทยสมัยโบราณ การแสดงถึงความยิ่งใหญ่ของสุโขทัยในฐานะศูนย์กลางอุตสาหกรรมเครื่องเคลือบดินเผา หรือ สังคโลก ที่เป็นสินค้าส่งออกสำคัญไปสู่นานาอารยประเทศรวมถึงเป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนสินค้าที่สำคัญในแถบเอเชียอาคเนย์ และการติดต่อสัมพันธ์ทางการฑูตระหว่างประเทศคู่ค้ากับสุโขทัย 3. พื้นที่จัดนิทรรศการชั่วคราว พื้นที่ก่อนถึงทางขึ้นสู่ส่วนจัดแสดงชั้นที่ 2 เป็นพื้นที่โล่งกว้าง ใช้เป็นส่วนจัดนิทรรศการชั่วคราว ในบางโอกาสใช้เป็นที่จัดแสดงงานศิลปะของศิลปินหรือใช้สถานที่แสดงงานศิลปกรรม ชั้นที่ 2 แบ่งพื้นที่ออกเป็น ห้องจัดแสดงชั้นที่ 2 เป็นพื้นที่จัดแสดงโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ประเภทเครื่องเคลือบดินเผาศิลปะล้านนา ชั้นใต้ดิน ใช้เป็นคลังเพื่อการศึกษา ให้ความรู้ทางด้านการจัดเก็บและรักษาโบราณวัตถุ รวมทั้งการแยกประเภทและแหล่งที่มาของวัตถุจัดแสดง
ข้อมูลจาก: กรมศิลปากร สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ. นามานุกรมพิพิธภัณฑสถานในประเทศไทย ภาคเหนือ เล่ม 2. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2546. หน้า 135.
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสื่อออนไลน์
เยี่ยมพิพิธภัณฑ์สังคโลกของ สุรัตน์ โอสถานุเคราะห์
สุรัตน์ โอสถานุเคราะห์ ประธานกรรมการ บริษัทโอสถสภา จำกัด เป็นบุคคลที่ได้รับการยอมรับว่า มีเครื่องสังคโลกชิ้นเยี่ยมอยู่ในครอบครองมากที่สุดคนหนึ่งของเมืองไทย ความสุขในวัย 72 ปี ของเขาก็คือ การได้ นั่งดู จับต้องศิลปวัตถุที่เต็มไปด้วยคุณค่าจากภูมิ ปัญญาของบรรพบุรุษไทยที่มีอายุถึง 700 ปี หลายครั้งหลายคราได้มีโอกาสต้อนรับพูดคุยกับ ผู้คนที่ชื่นชอบในสิ่งเดียวกัน ร่วมกันถกเถียง แลกเปลี่ยนความรู้กับบรรดานักวิชาการ และคน รุ่นใหม่ ซึ่งสนใจศึกษาเครื่องถ้วยชามอันเป็น สัญลักษณ์ของศิลปะและอารยธรรมที่ทรงคุณค่า ของมนุษย์ จนกระทั่งลืมเวลาที่ผ่านไปอย่างไม่รู้เบื่อเครื่องสังคโลกสุดยอดงานศิลปะ
เครื่องสังคโลกเป็นงานศิลปหัตถกรรมอีกอย่างหนึ่ง ที่สื่อให้เห็นถึงพลังแห่งความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ การซื้อหาของเก่าเหล่านั้นเก็บไว้ชื่นชม จึงยังคงมีอยู่ทุกยุคทุกสมัยในชนชั้นที่ร่ำรวยและมีรสนิยม สุรัตน์ โอสถานุเคราะห์ ประธานกรรมการบริษัทโอสถสภา จำกัด เป็นผู้หนึ่งที่มีเครื่องสังคโลกสะสมไว้หลายพันชิ้นที่บ้าน และเปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจเข้าไปเยี่ยมชมอยู่เสมอ เล็ก วิริยะพันธ์ เจ้าของเมืองโบราณ ที่เสียชีวิตไปแล้วก็เป็นนักสะสมใหญ่ที่หลายคนยอมรับว่ามีชิ้นเยี่ยมๆ อยู่มาก แม้ไม่มากเท่าสุรัตน์ ส่วนท่านอื่นๆ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในหมู่นักสะสมด้วยกันแนะนำพิพิธภัณฑ์โดยบล็อก
พิพิธภัณฑ์สังคโลกสุโขทัย กับอดีตแห่งความรุ่งเรืองที่น่าจดจำ
พิพิธภัณฑ์สังคโลกสุโขทัย ตั้งอยู่บริเวณริมถนนเลี่ยงเมือง หมู่ 4 ตำบลบ้านลุ่ม อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย พิพิธภัณฑ์ สังคโลกเกิดขึ้นจากความคิดและความตั้งใจของคุณดำรงค์ และคุณกุศล สุวัฒนเมฆินทร์ ซึ่งเป็นชาวสุโขทัยโดยกำเนิด โดยมุ่งหวังจะนำความภาคภูมิใจในประวัติศาสตร์ของเมืองสุโขทัยราชธานีแห่งแรกของไทย และผลงานศิลปะชั้นเอกสมัยสุโขทัย มานำเสนอให้คนไทยและชาวต่างชาติ ได้ร่วมกันประจักษ์ในความสำคัญและความยิ่งใหญ่ของเมืองสุโขทัย ท่านได้นำของสะสมที่เก็บรวบรวมมาเป็นเวลากว่า 50 ปีแนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสารานุกรมไทย
ประวัติศาสตร์และโบราณคดี พระพุทธรูป เครื่องปั้นดินเผา ศิลปะล้านนา
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง
จ. สุโขทัย
สาธร พิพิธภัณฑ์ผ้าทองคำ
จ. สุโขทัย
พิพิธภัณฑ์เรือนนพมาศ
จ. สุโขทัย