พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านจ่าทวี


จ่าสิบเอกทวี บูรณเขตต์ รักในศิลปะและเห็นในคุณค่าของใช้พื้นบ้าน โดยเริ่มซื้อหาและรวบรวมของใช้พื้นบ้านที่คนทั่วไปมองว่าเป็นของรกของทิ้ง ไม่มีราคาเช่น สุ่ม ไห ไซ โอ่ง และสะสมมานานกว่า 30 ปี จนนำไปสู่การเกิดพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านจ่าทวีในปี พ.ศ. 2526 ข้าวของเครื่องใช้พื้นบ้านส่วนใหญ่ได้มาจากพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง ปีพ.ศ. 2533 ได้จัดสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์ขึ้นใหม่ และปรับปรุงทัศนียภาพโดยรอบ ปัจจุบันมีอาคารจัดแสดง 3 อาคารหลัก อาคารหลังแรก เป็นบ้านไม้ที่เจ้าของเดิมสร้างขึ้นหลังเหตุการณ์ไฟไหม้ย่านตลาดเมืองพิษณุโลกเมื่อปี พ.ศ. 2500 บ้านนี้ใช้จัดแสดงรูปภาพเก่า ๆ ที่แสดงประวัติศาสตร์ท้องถิ่นพิษณุโลก อาทิ รูปเหตุการณ์ไฟไหม้ ปี 2500 ภาพ"ของดีเมืองพิษณุโลก" และภาพชุมชนสำคัญในอดีต เช่น ชุมชนนครไทย เป็นต้น อาคารหลังที่สอง เป็นอาคารสองชั้น จัดแสดงข้าวของเครื่องใช้พื้นบ้านไทยในอดีต แบ่งตามประโยชน์ใช้งาน อาทิ เครื่องจักสาน เครื่องเขิน เครื่องมือจับสัตว์ อาคารหลังที่สาม จัดแสดงนิทรรศการชาวโซ่ง(ลาวโซ่งหรือไทยทรงดำ) กรณีศึกษาชาวโซ่งบ้านแหลมมะค่า ต.พันเสา อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก ซึ่งอพยพมาจากเพชรบุรี ราชบุรี นานนับชั่วอายุคนแล้ว นอกจากนี้ยังมีส่วนร้านค้าจำหน่ายของที่ระลึก เพื่อแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายของพิพิธภัณฑ์

ที่อยู่:
เลขที่ 26/138 ถ.วิสุทธิ์กษัตริย์ อ.เมือง จ.พิษณุโลก 65000
โทรศัพท์:
0-5521-2749, 0-5530-1668
วันและเวลาทำการ:
เปิดทุกวัน ปิดวันจันทร์ 08.30 - 16.30 น.
ค่าเข้าชม:
ผู้ใหญ่ 50 บาท เด็ก 20 บาท นักศึกษา (หมู่คณะ) 20 บาท นักเรียน(หมู่คณะ) 10 บาท
ปีที่ก่อตั้ง:
2526
ของเด่น:
เครื่องมือดักจับสัตว์,ภาพเก่าตลาดพิษณุโลก,วิถีชีวิตลาวโซ่ง อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก
จัดการโดย:

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

Tales abound at museum

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 19/5/2548

ที่มา: Bangkok Post

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

เก็บภาษีพิพิธภัณฑ์จ่าทวี บีบคนเสียสละให้อ่อนแรง

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 5/3/2546

ที่มา: ข่าวสด

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

น้ำเงินน้ำใจไหลช่วย"พิพิธภัณฑ์จ่าทวี"

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 10/7/2548

ที่มา: ข่าวสด

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

พิพิธภัณฑ์ฯจ่าทวี..ยังสบายดีอยู่

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 17/5/2548

ที่มา: ผู้จัดการรายวัน

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

อักษรมือซ้าย นัย และหัวใจของ "ลูกสาวพิพิธภัณฑ์"

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 9/2/2548

ที่มา: ผู้จัดการรายวัน

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน จ่าทวี

ชื่อผู้แต่ง: จ่าสิบเอกทวี บูรณเขตต์ | ปีที่พิมพ์: พ.ศ.2538

ที่มา: พิษณุโลก: พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน จ่าทวี

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

ผลงานเชิดชูเกียรติ จ.ส.อ.ทวี บูรณเขตต์ เพชรน้ำเอกแห่งวงการช่างศิลป์

ชื่อผู้แต่ง: จ่าสิบเอกทวี บูรณเขตต์ | ปีที่พิมพ์: พ.ศ.2526

ที่มา: กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านจ่าทวี อีกตัวอย่างของการสรรสร้างเพื่อแสดงภูมิปัญญาท้องถิ่น

ชื่อผู้แต่ง: ทวี บูรณเขตต์ | ปีที่พิมพ์: 2539

ที่มา: เอกสารการสัมมนาทางวิชาการ พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นในประเทศไทย วันที่ 23-24 พ.ย. 2539 ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านจ่าทวี

ชื่อผู้แต่ง: ทวี-พิมพ์ บูรณเขตต์ | ปีที่พิมพ์: 2538

ที่มา: พิษณุโลก: พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านจ่าทวี

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

ขาย! "พิพิธภัณฑ์จ่าทวี" โศกนาฎกรรมของความหวังดี

ชื่อผู้แต่ง: ธีรภาพ โลหิตกุล | ปีที่พิมพ์: 07/06/2546

ที่มา: คมชัดลึก

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

ขาย! พิพิธภัณฑ์จ่าทวี โศกนาฏกรรมของความหวังดี

ชื่อผู้แต่ง: ธีรภาพ โลหิตกุล | ปีที่พิมพ์: 2548

ที่มา: ไร้กาลเวลา 1+5 พิพิธภัณฑ์น่าชม. นนทบุรี: กองทุนห้องสมุดศาลาจำปีรัตน์ วัดชลประทานรังสฤษฎ์

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

ฟ้าหลังฝน

ชื่อผู้แต่ง: ปรเมษ ฆารไสว | ปีที่พิมพ์: 7/13/2548

ที่มา: มติชนรายวัน

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

บทเรียนเอกชนริสร้างแหล่งเรียนรู้ พิพิธภัณฑ์ฯ จ่าทวี - ภัทราวดี เธียเตอร์

ชื่อผู้แต่ง: ผกามาศ ใจฉลาด | ปีที่พิมพ์: 5/13/2546

ที่มา: คมชัดลึก

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

ชีวิตพิพิธภัณฑ์ : ชีวิตและงานวัฒนธรรม จ่าสิบเอกทวี บูรณเขตต์

ชื่อผู้แต่ง: พรศิริ บูรณเขตต์ | ปีที่พิมพ์: พ.ศ.2547

ที่มา: พิษณุโลก: พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน จ่าทวี

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

ทุ่งศรัทธา

ชื่อผู้แต่ง: พรศิริ บูรณเขตต์ | ปีที่พิมพ์: พ.ศ.2547

ที่มา: พิษณุโลก: พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน จ่าทวี

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

ลูกสาวพิพิธภัณฑ์

ชื่อผู้แต่ง: พรศิริ บูรณเขตต์ | ปีที่พิมพ์: พ.ศ.2548

ที่มา: กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

บันทึกชาวทุ่ง

ชื่อผู้แต่ง: พรศิริ บูรณเขตต์ | ปีที่พิมพ์: 2546

ที่มา: กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วงกลม

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านจ่าทวีห้องสมุดภูมิปัญญาไทย

ชื่อผู้แต่ง: พริษฐ์ เอี่ยมพงศ์ไพบูลย์ | ปีที่พิมพ์: 14/03/2548

ที่มา: เดลินิวส์

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

ตามรอยแห่งศรัทธา ช่างหล่อพระเมืองพิษณุโลก: จ่าสิบเอกทวี บูรณเขตต์

ชื่อผู้แต่ง: มัณฑนี บูรณเขตต์ | ปีที่พิมพ์: พ.ศ.2547

ที่มา: พิษณุโลก: พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน จ่าทวี

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

การวิเคราะห์ส่วนผสมทางการตลาดของพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านจ่าทวี อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก

ชื่อผู้แต่ง: สุริยา ส้มจันทร์ | ปีที่พิมพ์: 2545

ที่มา: วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

แหล่งค้นคว้า: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านจ่าทวีของชาวบ้านแท้ ๆ แห่งแรกในพิษณุโลก

ชื่อผู้แต่ง: พันเนตร | ปีที่พิมพ์: 9,5 (พ.ค. 35)หน้า90-95

ที่มา: กินรี

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านจ่าทวี ภูมิปัญญาไทยที่กำลังสิ้นใจ

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 19-01-2552

ที่มา: ASTVผู้จัดการออนไลน์

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

พระพุทธชินราช รุ่นบูรณะพิพิธภัณฑ์ ของดี "จ่าทวี บูรณเขตต์"

ชื่อผู้แต่ง: พนิดา สงวนเสรีวานิช | ปีที่พิมพ์: 27-01-2552

ที่มา: มติชนรายวัน

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

วิกฤต! ภูมิปัญญาท้องถิ่น กรณี "พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน จ่าทวี"

ชื่อผู้แต่ง: เชตวัน เตือประโคน | ปีที่พิมพ์: 18/12/2552

ที่มา: มติชนรายวัน

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

เมื่อลมหายใจอ่อนแรง "พิพิธภัณฑ์จ่าทวี" กำลังจะหมดลม แล้วจะเหลือ"วัฒนธรรมท้องถิ่น" ใดให้เรียนรู้ !!

ชื่อผู้แต่ง: วลี เถลิงบวรตระกูล | ปีที่พิมพ์: 16/03/2552

ที่มา: มติชนรายวัน

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

วิทยาศาสตร์ที่ซ่อนในพิพิธภัณฑ์ "จ่าทวี"

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 7 สิงหาคม 2552

ที่มา: ASTVผู้จัดการออนไลน์

แหล่งค้นคว้า:

โดย: ศมส.

วันที่: 10 เมษายน 2556

“ผมต้องทำงานของผมให้เสร็จ” คำให้การของ “จ่าทวี” ผู้สร้างพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านจ่าทวี

ชื่อผู้แต่ง: สุเจน กรรพฤทธิ์ | ปีที่พิมพ์: ปีที่ 26 ฉบับที่ 312 กุมภาพันธ์ 2554;Vol.26 No.312 Feb,2011

ที่มา: นิตยสารสารคดี

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 20 ธันวาคม 2556

ขุมทรัพย์แห่งประวัติศาสตร์! พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน “ลุงจ่าทวี” กับแรงปรารถนาอันแรงกล้าสู่รากเหง้า

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 18 พ.ย. 2557;18-11/2013

ที่มา: ผู้จัดการออนไลน์

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 26 ธันวาคม 2557


ไม่มีข้อมูล

รีวิวของพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านจ่าทวี

จ่าสิบเอกทวี บูรณเขตต์ หรือที่ชาวพิษณุโลกมักเรียกว่า "ลุงจ่า หรือจ่าทวี" เป็นชาวพิษณุโลกแต่กำเนิด ได้รับความรู้ด้านช่างศิลป์จากบิดา หลังจากนั้นเข้ากรุงเทพฯ ฝึกหัดและเป็นช่างวาดประจำร้านช่างศิลป์หลายแห่ง เมื่อพ.ศ. 2498 รับราชการทหารติดยศสิบตรี ต่อมาพ.ศ. 2502 กองทัพภาคที่ 3 ส่งไปฝึกงานหล่อโลหะที่กรมศิลปากร ต่อมาจึงยึดอาชีพปั้น หล่อโลหะ โดยเฉพาะพระพุทธรูป พระประธาน และพระบูชาต่าง ๆ พ.ศ. 2521 ลาออกจากราชการ ด้วยรักในศิลปะและเห็นในคุณค่าของใช้พื้นบ้าน

ลุงจ่าเริ่มซื้อหาและรวบรวมของใช้พื้นบ้านที่คนทั่วไปมองว่าเป็นของรกของทิ้ง ไม่มีราคาเช่น สุ่ม ไห ไซ โอ่ง ฯลฯ โดยสะสมมานานกว่า 30 ปี จนนำไปสู่การเกิดพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านจ่าทวีในปี พ.ศ. 2526 ข้าวของเครื่องใช้พื้นบ้าน ส่วนใหญ่ลุงจ่าได้มาจากพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง ได้แก่ นครสวรรค์ พิจิตร กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ ตาก สุโขทัย อุตรดิตถ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากพิษณุโลก ของบางอย่างลุงจ่าต้องดั้นด้นเข้าไปหาเองในป่า ไม่มีราคาค่างวด แต่มีคุณค่า ซึ่งผู้ชมจะได้เรียนรู้ ชีวิต ความเชื่อ ความคิดของคนในอดีตจากข้าวของเครื่องใช้เหล่านี้ ในช่วงปี พ.ศ. 2526-2533 ลุงจ่าได้อธิบายนำชมแก่ผู้สนใจทุกคน โดยเฉลี่ยมีผู้ขอชมวันละ 30-50 คน ต่อมาบ้านที่จัดแสดงทรุดโทรมและคับแคบจนเกินไป ปีพ.ศ. 2533 จึงได้จัดสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์ขึ้นใหม่ และปรับปรุงทัศนียภาพโดยรอบ ตกแต่งสวนด้วยพันธุ์ไม้ไทยหลากหลาย

ในส่วนของการจัดแสดงได้ประมวลข้อมูลจากสมุดบันทึกที่จดเรื่องราวที่สนใจเป็นส่วนตัวไว้ ประกอบกับได้ออกไปสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมจากชาวบ้านเพื่อให้ได้ข้อมูลสมบูรณ์ขึ้น ปัจจุบันมีอาคารจัดแสดง 3 อาคารหลัก
อาคารหลังแรก เป็นบ้านไม้ที่เจ้าของเดิมสร้างขึ้นหลังเหตุการณ์ไฟไหม้ย่านตลาดเมืองพิษณุโลกเมื่อปี พ.ศ. 2500 ลุงจ่าซื้อบ้านนี้แล้วนำของเก่าที่สะสมมาเก็บไว้ บ้านนี้เป็นพิพิธภัณฑ์รุ่นบุกเบิก จน พ.ศ. 2533 จึงสร้างอาคารอื่น ๆ เพิ่มเติม นำของเก่าไปจัดแสดงในอาคารใหญ่ บ้านนี้ใช้จัดแสดงรูปภาพเก่า ๆ ที่แสดงประวัติศาสตร์ท้องถิ่นพิษณุโลก อาทิรูปการออกตรวจราชการงานเมืองในอดีต รูปเหตุการณ์ไฟไหม้ ปี 2500 รูปทัศนียภาพเมืองพิษณุโลกก่อนและหลังไฟไหม้ใหญ่ ภาพ"ของดีเมืองพิษณุโลก" และภาพชุมชนสำคัญในอดีต เช่น ชุมชนนครไทย เป็นต้น

อาคารหลังที่สอง เป็นอาคารสองชั้น จัดแสดงข้าวของเครื่องใช้พื้นบ้านไทยในอดีต แบ่งตามประโยชน์ใช้งาน ชั้นล่างจัดแสดง กระต่ายขูดมะพร้าว เครื่องจักสาน เครื่องเขิน ตุ่ม โอ่ง หม้อน้ำ เครื่องมือจับสัตว์ เครื่องมือจับปลา เหรียญธนบัตร เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย และนิทรรศการทำนา ในบางมุมจำลองบ้านเรือนส่วนต่าง ๆ ให้ดู อาทิ ครัวไฟ พาไลซึ่งเป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่งของบ้านเรือนไทยในอดีต เป็นพื้นที่ส่วนที่ยื่นออกมาจากตัวเรือน ใช้เป็นพื้นที่เอนกประสงค์ ส่วนพาไลนี้จำลองให้เห็นเด็กนอนเปล และมีการบันทึกเสียงร้องกล่อมเด็กด้วย ส่วนชั้นบนจัดแสดง ของเล่น เครื่องดนตรี ไม้หมอนวด เรือนอยู่ไฟหลังคลอด สักยันต์ เครื่องมือช่าง อาวุธ เครื่องทองเหลือง ตะเกียง เป็นต้น

อาคารหลังที่สาม จัดแสดงนิทรรศการชาวโซ่ง(ลาวโซ่งหรือไทยทรงดำ) กรณีศึกษาชาวโซ่งบ้านแหลมมะค่า ต.พันเสา อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก ซึ่งอพยพมาจากเพชรบุรี ราชบุรี นานนับชั่วอายุคนแล้ว ชาวโซ่งมาพิธีเสนเรือน (เลี้ยงผีปู่ย่าตายาย) เสนอะนี(สะเดาะเคราะห์เมื่อมีคนตายในบ้าน)งานกินหลอง (กินดองหรืองานแต่งงานของชาวโซ่ง) เป็นต้น

นอกจากนี้ยังมีส่วนร้านค้าจำหน่ายของที่ระลึก อาทิ เสื้อยืด เข็มกลัด กระเป๋าผ้า โปสการ์ด ฯลฯ ซึ่งรายได้ส่วนหนึ่งนำมาช่วยแบ่งเบาค่าใช้จ่ายในพิพิธภัณฑ์

นอกเหนือจากลุงจ่าแล้วผู้ที่ดูแลและช่วยงานพิพิธภัณฑ์อีกคนหนึ่งคือคุณพรศิริ บูรณเขตต์ บุตรสาวจ่าทวี ทุกวันนี้จ่าสิบเอกทวี ยังคงเสาะหารวบรวมสิ่งของเครื่องใช้และความรู้ที่ยังไม่มีอยู่ในพิพิธภัณฑ์มาเพิ่มเติมตลอดเวลา นอกจากนี้ยังปรับปรุงการจัดแสดงอยู่เสมอเท่าที่แรงศรัทธาและแรงทรัพย์ของท่านและครอบครัวจะทำได้ เพื่อเผยแพร่ "ขุมทรัพย์ทางประวัติศาสตร์และภูมิปัญญาไทย" ให้กว้างขวางที่สุด

ข้อมูลจาก: 
1. กิจกรรมการดูงานพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น โครงการวิจัยและพัฒนาพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น วันที่ 6 มีนาคม 2548.
2. จ่าสิบเอกทวี บูรณเขตต์. พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านจ่าทวี. พิษณุโลก: ชัยสยามการพิมพ์, 2538.
3. พรศิริ บูรณเขตต์. ทุ่งศรัทธา. พิษณุโลก: โรงพิมพ์ตระกูลไทย, 2547.(หนังสือนำชมพิพิธภัณฑ์)
4. พรศิริ บูรณเขตต์. ชีวิตพิพิธภัณฑ์ ชีวิตและงานวัฒนธรรมจ่าสิบเอกทวี บูรณเขตต์. พิษณุโลก: โรงพิมพ์ตระกูลไทย, 2547.
ชื่อผู้แต่ง:
-

ขุมทรัพย์แห่งประวัติศาสตร์! พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน “ลุงจ่าทวี” กับแรงปรารถนาอันแรงกล้าสู่รากเหง้า

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (สพร.) ร่วมกับ จังหวัดพิษณุโลก, เทศบาลนครพิษณุโลก, การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยสำนักงานพิษณุโลก จัดพิธีลงนามความร่วมมือและแถลงข่าวการเปิดตัวพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านจ่าทวี จ.พิษณุโลก ในรูปแบบ Discovery Museum พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ต้นแบบแห่งแรกในจังหวัดพิษณุโลก ที่พร้อมเปิดให้ประชาชนและเยาวชนได้สัมผัสประสบการณ์ใหม่ของการชมพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้รูปแบบใหม่ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
ชื่อผู้แต่ง:
-

“ผมต้องทำงานของผมให้เสร็จ” คำให้การของ “จ่าทวี” ผู้สร้างพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านจ่าทวี

นับเป็นเวลาเกือบ ๓ ทศวรรษแล้วที่ “พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านจ่าทวี” ได้ทำหน้าที่รวบรวมข้าวของเครื่องใช้ที่แสดงวิถีพื้นบ้านของชาวเมืองพิษณุโลก ไม่ว่าจะเป็นกระต่ายขูดมะพร้าว เครื่องมือจับปลา เครื่องดักสัตว์ ตะเกียง เครื่องปั้นดินเผานับหมื่นชิ้น จนเป็นแหล่งรวบรวมของพื้นบ้านมากมายที่นับวันจะหายากยิ่งสำหรับผู้สนใจศึกษา พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านแห่งนี้จะกำเนิดขึ้นไม่ได้เลยถ้าไม่มี “ลุงจ่า” หรือ จ.ส.อ. ทวี บูรณเขตต์ จ.ส.อ. ทวี บูรณเขตต์ เป็นชาวพิษณุโลก เกิดในครอบครัวยากจนเมื่อปี ๒๔๗๕ จบการศึกษามัธยม ๓ มีโอกาสได้เรียนวิชาช่างศิลป์จากพ่อซึ่งเป็นครูสอนศิลปะ
ชื่อผู้แต่ง:
-

พิพิธภัณฑ์ฯ จ่าทวี …ยังสบายดีอยู่

คงมีหลายๆ คนที่ยังจำได้ว่าเมื่อประมาณสองปีก่อน เรื่องราวของ “พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านจ่าทวี” ได้เคยเป็นประเด็นขึ้นมาครั้งหนึ่ง ด้วยเหตุที่ว่า พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นดีๆ ของจังหวัดพิษณุโลกที่เปิดมานานเกือบ 20 ปี อาจจะต้องปิดตัวลงเพราะปัญหาเรื่องค่าใช้จ่าย และไม่มีหน่วยงานใดเข้าช่วยเหลือ... เรื่องนี้อาจไม่เป็นที่สนใจของคนในวงกว้างนัก แต่คงมีบางคนอยากจะรู้ว่า แล้วพิพิธภัณฑ์ฯ จ่าทวีในตอนนี้ มีสุขหรือทุกข์อย่างไรบ้าง ย้อนกลับไปเมื่อแรกเริ่ม ที่ลุงจ่า หรือจ่าสิบเอกทวี บูรณเขตต์ เกิดความสนใจในเครื่องมือเครื่องใช้พื้นบ้านต่างๆ ความสนใจนั้นมีขนาดที่ว่า ได้เอาเงินครึ่งหนึ่งที่ได้จากการทำงานไปซื้อข้าวของเหล่านั้นจากชาวบ้าน แต่การซื้อนั้น ซื้อเยอะเป็นหมื่นๆ ชิ้น จนป้าพิมพ์ บูรณเขตต์ ภรรยาของลุงจ่าถามว่า เพี้ยนไปหรือเปล่า ทำไมจึงเก็บอะไรมากองเต็มบ้านไปหมดอย่างนี้ ซึ่งลุงจ่าได้ตอบไปว่า “พ่อตั้งใจจะสร้างพิพิธภัณฑ์...”
ชื่อผู้แต่ง:
-

วิทยาศาสตร์ที่ซ่อนในพิพิธภัณฑ์ "จ่าทวี"

ที่นี่อาจไม่อลังการเท่า "สมิทโซเนียน" ไม่มีวี่แววที่จะเป็นแหล่งความรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีใดๆ มากไปกว่าแหล่งรวบรวม "ของเก่าๆ" แต่ถ้าพินิจดูให้ดีเราจะเห็นภูมิปัญญาที่แฝงไปด้วยหลักการทางวิทยาศาสตร์ของ ปู่ย่า-ตายายที่ซ่อนอยู่ในของใช้และวิธีความเป็นอยู่แบบพื้นบ้านของคนไทยใน อดีตที่ "พิพิธภัณฑ์จ่าทวี" หลายคนเคยไปเยี่ยมเยียน หลายคนเคยได้ยินชื่อ "พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน จ่าทวี" แหล่งรวบรวมนิทรรศการ และความรู้เกี่ยวกับความเป็นอยู่ของคนไทยในอดีตซึ่ง ตั้งอยู่ใน จ.พิษณุโลก แต่อีกหลายคนก็ยังไม่รู้จักพิพิธภัณฑ์แห่งนี้เลย
ชื่อผู้แต่ง:
-

พรศิริ บูรณเขตต์ เราทำพิพิธภัณฑ์เพื่อคนอื่น

เสียงแหบแห้งถึงขั้นขาดหายสลับเสียงไอเป็นระยะๆ ระหว่างสนทนา ของหญิงสาวนักต่อสู้วัย 39 ปี นาม พรศิริ บูรณเขตต์ ลูกสาวจ่าทวี (จ่าสิบเอกทวี บูรณเขตต์ ผู้ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านจ่าทวี จังหวัดพิษณุโลก) บอกถึงสภาพร่างกายที่อ่อนล้า เป็นอาการเจ็บป่วยอันเกิดจาก การตรากตรำทำงานพิพิธภัณฑ์อย่างหนักและต่อเนื่อง เพื่อสืบสานปณิธานของผู้เป็นพ่อ ทั้งยังต้องต่อสู้กับภาระหนี้สินซึ่งพอกพูนขึ้นจากกิจการพิพิธภัณฑ์ ถึงวันนี้ พรศิริและจ่าทวียังคงกัดฟัน ดำเนินกิจการของพิพิธภัณฑ์ต่อไป เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของท้องถิ่น ด้วยกำลังทรัพย์อันน้อยนิด แต่ด้วยกำลังใจใหญ่หลวงของคนในแวดวงพิพิธภัณฑ์
ชื่อผู้แต่ง:
-

พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านจ่าทวี ภูมิปัญญาไทยที่กำลังสิ้นใจ

พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านจ่าทวี เป็นพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านทางศิลปวัฒนธรรมที่อาจารย์และนักศึกษา รวมทั้งแขกบ้านแขกเมืองหลายคนยกย่องให้เป็นพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่วันนี้, พิพิธภัณฑ์แห่งนี้กำลังหมดแรง และใกล้หมดลมหายใจ เกิดอะไรขึ้นกับแหล่งรวมภูมิปัญญาของชุมชนและรากเหง้าที่มีไว้ทำความเข้าใจตนเองของคนไทย ? "ไม่มีใครบ้าที่ไหนเดินถือไต้ฝ่าสายฝนหรอกค่ะ เพราะเขารู้ว่าเดี๋ยวมันก็จะดับ แต่นั่นคือสิ่งที่เรากำลังทำอยู่" คำบอกเล่าความรู้สึกของพรศิริ บูรณเขตต์ ลูกสาวคนเล็กของจ่าทวี และไดอารีแบบถ่ายเอกสารเข้าเล่มในชื่อ "แสงไต้ในห่าฝน"
ชื่อผู้แต่ง:
-

เมื่อลมหายใจอ่อนแรง "พิพิธภัณฑ์จ่าทวี" กำลังจะหมดลม แล้วจะเหลือ"วัฒนธรรมท้องถิ่น" ใดให้เรียนรู้ !!

เจ้าของพิพิธภัณฑ์ติดหนี้นับล้าน ลั่นเลิกสานต่อพิพิธภัณฑ์ แบกภาระไม่ไหวขอปิดตัวคลังความรู้ ใช้ชีวิตธรรมดา ฝ่ายนักวิชาการหนุนทำต่อ ชี้เป็นการปลูกฝังให้เด็กเรียนรู้ "คลังวัตถุทางวัฒนธรรม"วิถีไทยผ่านพิพิธภัณฑ์ นางพรศิริ บูรณเขตต์ เจ้าของพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น จ่าทวี ให้สัมภาษณ์ว่า ขณะนี้ ตนเองต้องการเลิกสานต่อพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นจ่าทวี เนื่องจากปัจจุบันต้องแบกหนี้ของพิพิธภัณฑ์ ที่ในตอนนี้สูงถึง 12.9 ล้านบาทไม่ไหว เพราะรายรับของทางพิพิธภัณฑ์อยู่ที่ 30,000-40,000 บาทต่อเดือนเท่านั้น โดยส่วนใหญ่ได้รับมาจากการเก็บค่าเข้าชมพิพิธภัณฑ์ รวมทั้งรายได้จากการขายของที่ระลึก และการจัดค่ายเยาวชนของทางพิพิธภัณฑ์
ชื่อผู้แต่ง:
-

พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านจ่าทวี พิษณุโลก กำลังจะถึงวันล่มสลายแล้วหรือ?

ไม่มีใครบ้าที่ไหนเดินถือไต้ฝ่าสายฝนหรอกค่ะ เพราะเขารู้ว่าเดี๋ยวมันก็จะดับ แต่นั่นคือ .. สิ่งที่เรากำลังทำอยู่ .. !! คำบอกเล่าความรู้สึกจากเอกสารเข้าเล่มในชื่อ ‘แ ส ง ไ ต้ ใ น ห่ า ฝ น’ ของ พรศิริ บูรณเขตต์ ลูกสาวคนเล็กของจ่าทวี ผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านจ่าทวีต่อจากผู้เป็นบิดา ซึ่งในวันนี้กำลังประสบปัญหาอย่างหนัก และอาจจะต้องปิดตัวลงในเดือนเมษายนที่จะถึงนี้ หากสถานการณ์ทุกอย่างยังไม่กระเตื้องขึ้นมา 'พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านจ่าทวี' พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านที่ได้รับการยกย่องว่าดีที่สุดแห่งหนึ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ชื่อผู้แต่ง:
-