พิพิธภัณฑ์ผ้า มหาวิทยาลัยนเรศวร


ที่อยู่:
อาคารเอนกประสงค์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ต.ท่าโพธิ์ อ.เมือง จ.พิษณุโลก 65000
โทรศัพท์:
055-961218 , 055-961148, 055-961217, 055-961207
โทรสาร:
055-961148
วันและเวลาทำการ:
9.00-16.00 น. วันทำการ
ค่าเข้าชม:
ไม่เก็บค่าเข้าชม
เว็บไซต์:
อีเมล:
mekong_salween@nu.ac.th
ปีที่ก่อตั้ง:
2542
ของเด่น:
1. ฉลองพระองค์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชีนีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง 2. ผ้าทอไทครั่ง 3. ผ้าทอไทดำ
จัดการโดย:

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

ไม่มีข้อมูล

พิพิธภัณฑ์ผ้า มหาวิทยาลัยนเรศวร

“เราเลยทำในการสร้างสรรค์ลายใหม่ เพื่อช่วยชาวบ้านด้านการตลาด
ปีหน้าน่าจะเผยแพร่ได้ปีหน้า ด้วยการดึงเอาเอกลักษณ์มาทำเป็นลาย
แต่ดอกปีปเป็นลายพื้นฐาน จากการสำรวจและสัมภาษณ์
นอกจากนี้ พิษณุโลกมีแม่น้ำสองสายเมืองอกแตกเลยดึงเอามาเป็นลาย
มีไก่ชนสมเด็จพระนเรศวรดึงไก่มาเป็นลาย
ตอนนี้มีการทำกราฟเป็นหกลาย แล้วอยู่ในขึ้นการทอเป็นผ้าจริง”


วชิรพงษ์ วงศ์ประสิทธิ์ ผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์ผ้า มหาวิทยาลัยนเรศวร กล่าวในตอนหนึ่งของบทสนทนาถึงความภาคภูมิใจที่ได้ร่วมพัฒนาและต่อยอด เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาตลาดผ้าและการสืบสานมรดกวัฒนธรรม แต่กว่าจะมาถึงวันนี้ หากย้อนไปกว่าสองทศวรรษ พิพิธภัณฑ์ได้รับการจัดตั้งเมื่อ พ.ศ. 2542 โดยเปิดเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2542 วชิรพงษ์กล่าวถึงนโยบายทำนุบำรุงศิลปะวัฒนธรรมของมหาวิทยาลัย

“สืบเนื่องจากที่สมเด็จพระเทพฯ เสด็จพระราชทานปริญญาบัตร และมีความสัมพันธ์อันดีกับท่านผู้หญิงมณีรัตน์ บุญนาค มหาวิทยาลัยสนใจในเรื่องฝ้ายและร่วมมือกับร้านจิตรลดา โดยให้คณะเกษตรฯ หาข้อมูลเพื่อจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ผ้า ในตอนนั้นเป็นหน่วยงานขึ้นตรงกับสำนักงานอธิการบดี พิพิธภัณฑ์ผ้าแห่งนี้ตั้งอยู่ในอาคารอเนกประสงค์สำหรับใช้ทำกิจกรรมของนิสิต”

ห้องนิทรรศการได้รับการจัดแสดงในเบื้องแรก ได้แก่ พิพิธภัณฑ์ผ้าจิตรลดา ที่จะแสดงฉลองพระองค์ของสมเด็จพระนางเจ้าฯ วชิรพงษ์กล่าวย้ำถึงวัตถุชิ้นสำคัญในห้องจัดแสดงดังกล่าว “ไฮไลท์ของห้อง ฉลองพระองค์ที่พระราชทานให้กับพิพิธภัณฑ์ผ้า นอกจากนี้ยังมีการจัดแสดงสินค้าของร้านจิตรลดา ตั้งแต่เป็นชิ้นงานที่ชาวบ้านทำ และสินค้าในระยะแรก อีกส่วนหนึ่ง เป็นชิ้นผ้าที่ถอดแบบเป็นผ้ายก และการแกะลายเพื่อทอเก็บไว้เป็นผืน เช่น ลายพิกุล ลายดอกแก้ว” งานอีกประเภทหนึ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง คือเครือข่ายในการส่งเสริมการทอผ้า

“เครือข่ายกับชาวบ้านมีมาตั้งแต่แรก ไม่เฉพาะพิษณุโลก แต่เป็นกลุ่มภาคเหนือตอนล่าง เราจะลงพื้นที่เพื่อช่วยพัฒนาลายกับสี ทั้งในจังหวัดพิษณุโลก พิจิตร นครสวรรค์ และสุโขทัย ในระยะหลัง มีงานดีไซน์ ได้แก่ การแปรรูปผลิตภัณฑ์ เราออกแบบเองบ้าง หาผู้เชี่ยวชาญออกแบบ โดยดูศักยภาพตัวเอง ที่ผ่านมา อาจารย์โกมล  อาจารย์ทรงศักดิ์ มาช่วย ในบางครั้ง มีการจัดอบรมให้กับชาวบ้าน ตั้งแต่เรื่องลาย สี และการแปรรูปผลิตภัณฑ์” ตั้งแต่การจัดตั้งในระยะแรก พิพิธภัณฑ์ผ้าพัฒนาส่วนจำหน่ายสินค้า ด้วยการจัดหากลุ่มทอผ้าในหลายจังหวัด เช่นเชียงใหม่ สุโขทัย พิษณุโลก กาฬสินธุ์ น่าน และผ้าของพิพิธภัณฑ์เอง รวมทั้งสินค้าที่ระลึกของมหาวิทยาลัย

เพียงการบอกเล่าเรื่องราวของห้องจัดแสดงผ้าจิตรลดา น่าจะชวนให้ผู้สนใจผ้าทอมือมาเยี่ยมเยือนพิพิธภัณฑ์ผ้าแห่งนี้ โดยไม่ผิดหวังอย่างแน่นอน แต่ความพิเศษของพิพิธภัณฑ์ผ้าแห่งนี้ ยังอยู่ที่กลุ่มผ้าไทครั่งที่นำเสนอเรื่องของชีวิตชนกลุ่มไทครั่งที่ทั้งงดงามและมีความหมายบอกเล่าความเป็นไปของผู้คน “ต้องเข้าใจว่า แหล่งที่มาของวัตถุมาจากนายสัตวแพทย์ปรีชา อาจารย์หมอสนใจเก็บสะสมผ้าไทครั่ง และทางมหาวิทยาลัยซื้อต่อมา เพื่อจัดเป็นห้องไทครั่ง โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ทั้งการสร้างห้องไทครั่งและพิพิธภัณฑ์ชีวิต เมื่อ พ.ศ. 2543

…เนื้อหาหลักๆ ในห้องไทครั่งต้องการเล่าวีถีชีวิตของคนไทครั่งตั้งแต่เกิดถึงตาย จัดเป็นมุมๆ เกิดใช้ผ้าขาวม้าทำเปล ต่อมาหญิงสาวและชายหนุ่มมีการแต่งกายแบบไหน เมื่อต้องแต่งงาน ผ้าที่เกี่ยวข้องกับการแต่งงานมีอะไรบ้าง ผ้าซิ่น ผ้าขาวม้า จนถึงผ้าที่อยู่ในวัด เพราะเป็นกลุ่มที่นับถือพุทธศาสนา มีผ้าอาสนะ ผ้าปรกหัวนาค รวมความตั้งแต่เกิดจนตาย”

วชิรพงษ์ยังได้ให้รายละเอียดต่างๆ ที่น่าสนใจเกี่ยวกับวัฒนธรรมของไทครั่ง ดังนี้ “ผ้าขาวม้าพบในทุกชาติพันธุ์ไท เมื่อครบสามเดือน เอาเด็กนอนในเปลผ้าข้าวม้า มีพิธีที่เกี่ยวข้องกับการปกปักรักษาและการให้พรแก่เด็ก ด้วยการที่พ่อหรือแม่ยืนหันหลังให้เปล จากนั้น เอาข้าวเหนียวปั้นโยนข้ามไหล่และให้ข้ามตัวเด็กและให้พรไปด้วย

...สำหรับเด็กสาวแต่งกายด้วยเสื้อผ้าสีน้ำเงินกับสีขาว จะแต่งกายด้วยสีน้ำเงินเมื่อทำงานนอกบ้าน ส่วนสีขาว สำหรับเมื่ออยู่ในบ้านและในพิธีกรรม ส่วนผ้าซิ่นสีแดงย้อมด้วยครั่ง ส่วนผู้ชาย มีผ้าข้าวม้ายืนพื้น และมีผ้าโจง ไม่ค่อยมีกางเกง ย่ามใส่ของใช้ เครื่องลาง เมื่อสู่ฤดูหนาว มีผ้าปกตัว ใช้ฝ้ายที่หนา โดยพาดผ้าด้านที่ลวดลายมากกว่าและมีชายครุยใช้พาดที่ข้างหน้า เพื่อ ‘โชว์’ ฝีมือผู้หญิงในครอบครัว ภริยาทำให้สามี แม่ทำให้ลูก

เมื่อแต่งงาน มีชุดเครื่องนอนที่ใช้ในการแต่งงาน ผู้หญิงจัดเตรียมทั้งหมด ทั้งมุ้ง หมอน ผ้าห่ม และมีของสมมา คล้ายของชำรวยในปัจจุบัน ใช้ในงานแต่งงาน โดยความพิเศษสุด เขาทำมุ้งหนึ่งวัน ใช้ผ้าที่ทอไว้แล้วนำมาตัดเย็บเป็นมุ้งหนึ่งหลังในหนึ่งวัน ตั้งแต่อาทิตย์ขึ้นถึงตก หากทำได้สำเร็จ แสดงว่าหญิงพร้อมที่จะแต่งงานพร้อมเป็นแม่บ้านแม่เรือน เมื่อสู่วัยชรา เป็นผ้าโจง และผ้าซิ่นที่ลดทอนลวดลายและสีสันลง พอลวดลาย ตีนซิ่นเหลือตีนซิ่นนิดเดียว หันไปนุ่งโจงมากขึ้น นอกจากนี้ ยังมีผ้าที่ใช้ในวัด อันได้แก่ ผ้าอาสานะ ผ้าปรกหัวนาค ปลอกหมอน ผ้าห่อคัมภีร์ โดยใช้วิธีการทอทั้งสิ้น เพื่อถวายเป็นบุญกุศล”

ส่วนห้องไทดำเป็นห้องที่เกิดมาภายหลัง โดยใช้ห้องสำนักงานเดิม ตั้งแต่ พ.ศ. 2545-2554 มีการสรรหาผ้ามาโดยตลอด ทั้งการจัดซื้อหรือเชิญชวนมาบริจาคเพื่อมาเก็บสะสมไว้ อีกส่วนหนึ่งมาจากงานวิจัย เดิมทีมีการจัดแสดงเป็นนิทรรศการหมุนเวียน “ผู้อำนวยการสถานอารยธรรมศึกษาโขง-สาละวิน” คนปัจจุบันเป็นผู้มอบนโยบายให้ใช้ห้องสำนักงานเดิมเป็นนิทรรศการถาวร วชิรพงษ์ให้รายละเอียดเกี่ยวกับการจัดแสดง “สำหรับเครื่องแต่งกายของไทดำ เป็นเสื้อคอตั้ง ผ่าด้านหน้า มีกระดุมจำนวนเลขคี่ 11-19 เม็ด เพราะเป็นเลขมงคล กางเกงของชายมีสองแบบ คือขาสั้น เรียกส้วงก้อม และขายาว เรียกส้วงฮี ส่วนผู้หญิงมีผ้าซิ่นลายแตงโม ในตอนที่ลงพื้นที่ศึกษา ชาวบ้านให้คำอธิบายว่า ‘เส้นยืนใช้ไหมสีแดง พวกเส้นพุ่งสีน้ำเงิน สลับขาว แล้วเวลาตากผ้า เหมือนมีไส้แตงโม ลายเป็นริ้วคล้ายแตงโม’
กลุ่มไทดำนี้นับถือผี มีพิธีกรรมต่างๆ เกี่ยวกับผี ทุกประเพณีมีเสื้อฮีที่ใช้ในพิธี ปกติใช้ด้านนอกไม่มีลวดลาย แต่ว่าเมื่อเจ้าของเสียชีวิต จะมีการกลับด้านในมีลวดลายสวยงามมากกว่า แต่เผยให้เห็นเฉพาะตอนเสียชีวิต นอกจากนี้มีการเครื่องลาง มีการปกปักรักษา สะท้อนสิ่งที่ชั่วร้าย เครื่องลางมีกระจกที่เย็บตกแต่งลวดลาย ประกอบที่นอน หมอน และเครื่องแต่งกาย เสื้อฮีพบมาก เพื่อป้องกันสิ่งชั่วร้าย ส่วนเครื่องลางอีกประเภท ที่เรียกว่า ฝักหมามุ้ย พบการใช้ชิ้นผ้ามาตัดเย็บเลียบแบบฝักหมามุ้ย ใช้มัดกับผ้าหลา ใช้สะพายเด็ก เพื่อเป็นการป้องกันเด็กจากสิ่งชั่วร้าย ไทดำในพิษณุโลกอยู่มากในอำเภอบางระกำ ยังปรากฏภาษาไทดำที่ใช้ในชีวิตประจำวัน และการประกอบพิธีการเลี้ยงผี แต่ไม่มีการทอผ้าแล้ว”

นอกจากการจัดแสดงที่ผู้ชมจะได้สัมผัสกับผ้าทอต่างๆ ที่มีความสำคัญแตกต่างกันในแต่ละบริบทแล้ว พิพิธภัณฑ์ผ้า มหาวิทยาลัยนเรศวร ยังดำเนินกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการพัฒนาลวดลาย การยอมสี และการแปรรูป วชิรพงษ์ยกตัวอย่างกิจกรรมสำคัญที่แสดงให้เห็นบทบาทของพิพิธภัณฑ์กับชุมชน เช่น การแปรรูปสู่ตลาดสากล เป็นการเชิญแต่ละกลุ่มจังหวัดมาอบรมร่วม การย้อมสีธรรมชาติ การทอผ้าสี่ตะกอ โดยให้การอบรมตั้งแต่สืบด้าย ค้นหมี่ และทอจริง และยังมีการพัฒนาผ้าสู่ผลิตภัณฑ์ประเภทอื่นๆ กระเป๋า เป็นอาทิ นอกจากนี้ ยังปรากฏกิจกรรมที่ไม่ใช่การอบรม แต่เป็นการให้ความรู้แบบทดลองปฏิบัติ ดังตัวอย่างของการมัดย้อมผ้าเช็ดหน้า แล้วจะพัฒนาเป็นกิจกรรมทำกระเป๋าให้กับผู้ชมที่สนใจ และต้องการเรียนรู้เทคนิคที่เกี่ยวข้องกับผ้าอีกด้วย

ชีวสิทธิ์ บุณยเกียรติ / เขียน
สำรวจข้อมูลภาคสนาม เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2558
ชื่อผู้แต่ง:
-

พิพิธภัณฑ์ผ้า มหาวิทยาลัยนเรศวร

สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีวิสัยทัศน์กว้างไกล เล็งเห็นถึงการเพิ่มศักยภาพผ้าทอไทยยกระดับสู่เวทีระดับโลก จึงเกิดโครงการอันเนื่องมาจากในพระราชดำริหลากหลายโครงการ อาทิ โครงการ“ร้านจิตรลดา” โดยในปี พ.ศ. 2541 มหาวิทยาลัยนเรศวร เล็งเห็นความสำคัญของการสานต่อ อนุรักษ์ภูมิปัญญาพื้นถิ่นด้านผ้าทอที่นับวันจะเลือนหายไปตามกาลเวลา  จึงร่วมกับโครงการ “ร้านจิตรลดา” ก่อตั้ง “พิพิธภัณฑ์ผ้า” มหาวิทยาลัยนเรศวร จัดแสดงผ้าฝ้าย และผลิตภัณฑ์จากโครงการ โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพิพิธภัณฑ์อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2542 โดยได้จัดแสดงฉลองพระองค์ในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานแก่มหาวิทยาลัยนเรศวร มาจนถึงทุกวันนี้
 
ภายในพิพิธภัณฑ์จัดแสดงผ้าและวิถีชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ที่อพยพเข้ามาและมีอยู่เดิมในเขตภาคเหนือ อาทิ กลุ่มไทครั่ง ซึ่งเป็นกลุ่มชนที่อพยพมาจากประเทศลาวในสมัยรัชกาลที่ 3 นิทรรศการวิถีชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์ใน 9 จังหวัดภาคเหนือตอนล่าง รวมถึงห้องจัดแสดงพิพิธภัณฑ์ผ้าจิตรลดา และการรวบรวมผลิตภัณฑ์งานฝีมือจากแหล่งต่างๆ ภายในประเทศมาจำหน่ายภายในพิพิธภัณฑ์
 
 “พิพิธภัณฑ์ผ้า”  คือสิ่งที่สะท้อนความมีเสน่ห์ เอกลักษณ์ที่มีการถ่ายทอดภูมิปัญญา วิถีชีวิตและแนวคิดต่าง ๆ สื่อความหมายลงบนผืนผ้า แต่กว่าที่จะมาเป็นผืนผ้าแต่ละผืน จุดเริ่มต้นของกระบวนการต่างๆ มหาวิทยาลัยนเรศวรได้มองเห็นถึงความสำคัญการนำเสนอแหล่งความรู้ที่สอดคล้องกับวิวัฒนาการในการดำรงชีวิตของมนุษย์ กว่าจะมีมาเป็นผ้า จึงเป็นแนวคิดในการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ ภายในพิพิธภัณฑ์มี 2 ชั้น ประกอบด้วย
 
ชั้นที่ 1 เป็นร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์ผ้าไทยและงานฝีมือจากแหล่งต่างๆ ในประเทศ  และห้องนิทรรศการหมุนเวียน แสดงความรู้ทางด้านวิถีชีวิตและอารยธรรมของพื้นที่ลุ่มน้ำโขง-สาละวิน

ชั้นที่ 2  ประกอบด้วย 3 ส่วน  ส่วนแรกเป็น ห้องพิพิธภัณฑ์ผ้าไทครั่ง  จัดแสดงวัฒนธรรมและผ้าโบราณของกลุ่มไทครั่งซึ่งเป็นกลุ่มชนที่อพยพมาจากประเทศลาวในสมัยราชกาลที่ 3 และมาตั้งรกรากอยู่ในจังหวัดต่างๆ ในภาคเหนือตอนล่าง บางชุมชนยังคงสืบสานวัฒนธรรมการทอผ้าจนถึงปัจจุบัน ในอดีตชาวไทครั่งทอผ้าใช้เองในชีวิตประจำวัน และอุทิศในพระพุทธศาสนา เช่น ตุง(ธง) ผ้าปกหัวนาค และผ้าห่อคัมภีร์ เอกลักษณ์ที่โดดเด่นของผ้าทอไทครั่งคือ จะให้สีสันที่เข้ม ร้อนแรง โดยใช้สีตัดกัน ส่วนใหญ่จะเน้นที่สีแดงครั่งตัดกับสีเหลือง สีส้มหมากสุก สีคราม ในอดีตหญิงชาวไทครั่งมักจะนุ่งซิ่นเป็นเอกลักษณ์ และใช้ในการประกอบพิธีกรรมต่างๆ โดยจะนุ่งซิ่นตีนจกไปร่วมพิธี เพราะซิ่นตีนจกเปรียบเสมือนสิ่งสำคัญที่มีความหมายสื่อถึงอำนาจลี้ลับในธรรมชาติ

ส่วนที่สอง เป็นห้องทำงานของบุคลากรงานพิพิธภัณฑ์ รวมทั้งเป็นส่วนบริการข่าวสาร ข้อมูลเกี่ยวกับผ้าในรูปแบบของหนังสือ บทความ งานวิจัย วีดิทัศน์และซีดีรอม

ส่วนสุดท้าย เป็นห้องพิพิธภัณฑ์ผ้าจิตรลดา จัดแสดงชุดฉลองพระองค์ในสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ  ผ้ายกลายโบราณ ซึ่งโปรดให้โครงการศิลปาชีพอนุรักษ์ไว้  ของที่ระลึกสำหรับข้าราชบริพาร  ของที่จัดทำในวาระ 72 พรรษามหาราช นอกจากนี้จัดแสดงผ้าไหมและผ้าฝ้ายจากร้านจิตรลดาโครงการผ้าจิตรลดา

ร้านจิตรลดาในมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ เกิดขึ้นจากความตั้งใจของท่านผู้หญิงมณีรันต์ บุนนาค นางสนองพระโอษฐ์ผู้รับสนองพระราชดำริ ดำเนินงานในโครงการศิลปาชีพ เพื่อให้เป็นที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์ฝีมือชาวนา ชาวไร่ทั่วประเทศที่ได้รับการอบรมเพื่อประกอบอาชีพเสริม เป็นการเพิ่มรายได้นอกฤดูทำนาทำไร่ รายได้ที่เหลือจากจ่ายค่าตอบแทน นำมาทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ เพื่อทรงใช้ในการฝึกอาชีพต่อไป ผลิตภัณฑ์ที่ร้านจิตรลดานำมาเผยแพร่ และจำหน่ายมีทั้งงานทอ ถัก ปัก เย็บ และงานประดิษฐ์ต่างๆ นอกจากนั้นยังได้ส่งเสริมการทอผ้าฝ้ายด้วยมืออย่างกว้างขวาง เพราะผ้าฝ้ายใช้ประโยชน์ได้มากส่วนผ้าไหมนั้นมีทั้งการทอผ้าไหมพื้น ผ้าไหมยก และผ้าไหมยกดิ้น รวมทั้งยังสนับสนุนการทอผ้าพื้นบ้านอีกด้วย

ข้อมูลจาก: http://www.mscs.nu.ac.th/mscsv2/?name=page&file=page&op=textilemuseum[accessed 20130417]
ชื่อผู้แต่ง:
-

รีวิวของพิพิธภัณฑ์ผ้า

พิพิธภัณฑผ้า เป็นพิพิธภัณฑสถานที่จัดแสดงสินค้าผลิตภัณฑ์ผ้า ประเภทต่างๆ ในเขตภาคเหนือ ฉลองพระองค์ในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานแก่มหาวิทยาลัยนเรศวร ออกแบบอาคารโดยคณาจารย์และนักศึกษา คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ร้านจิตรลดา สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งนี้เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ.2542

อาคารพิพิธภัณฑ์เป็นสถาปัตยกรรมร่วมสมัย ภายในอาคารแบ่งพื้นที่การใช้งานออกเป็นส่วนต่างๆ ดังนี้

ชั้นที่ 1 ประกอบด้วยส่วนจำหน่ายสินค้าผลิตภัณฑ์ผ้าและของที่ระลึก ร้านจำหน่ายอาหารว่างและเครื่องดื่ม ห้องทำงานของเจ้าหน้าที่ซึ่งให้บริการข้อมูลด้านการท่องเที่ยวในเขตภาคเหนือของประเทศ

ชั้นที่ 2 ประกอบด้วย 

ห้องจัดแสดงหลัก ห้องที่ 1 (พิพิธภัณฑสถานลาวครั่ง) จัดแสดงศิลปวัตถุประเภทสิ่งของเครื่องใช้ ผ้าทอโบราณและผ้าทอสมัยใหม่ของลาวครั่ง ซึ่งเป็นกลุ่มชนพื้นถิ่นกลุ่มหนึ่งของพิษณุโลกที่ถูกกวาดต้อนมาจากลาว เมื่อครั้งรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว 

ห้องจัดแสดงหลัก จัดแสดงผ้าและสิ่งทอจากภาคต่างๆของประเทศ โดยหมุนเวียนจัดแสดง

พิพิธภัณฑสถานจิตรลดา จัดแสดงฉลองพระองค์ในสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ตัดเย็บด้วยผ้าไหมและผ้าฝ้ายที่เป็นผลิตภัณฑ์จากร้านจิตรลดา 

ศูนย์บริการข้อมูล ให้บริการข้อมูลสิ่งพิมพ์รายงานการวิจัย ตลอดจนข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ประเภทต่างๆ เกี่ยวกับความเป็นมาของผ้าและสิ่งของ ข้อมูลผลิตภัณฑ์ผ้าและสิ่งทอ

ข้อมูลจาก: กรมศิลปากร สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ. นามานุกรมพิพิธภัณฑสถานในประเทศไทย ภาคเหนือ เล่ม 2. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2546. หน้า 17.

ชื่อผู้แต่ง:
-