พิพิธภัณฑ์ธรณีวิทยา กรมทรัพยากรธรณี


พิพิธภัณฑ์ธรณีวิทยา จัดทำโดยกรมทรัพยากรธรณี นำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับแผ่นดินและผืนโลก การจัดแสดงแบ่งเป็นส่วนต่างๆ ส่วนแรกอธิบายเกี่ยวกับการกำเนิดของจักรวาลและโลก ส่วนที่สองเป็นเรื่องกำเนิดแหล่งแร่ โดยอธิบายเกี่ยวกับองค์ประกอบของแร่แต่ละชนิด ส่วนที่สาม เป็นเรื่องของการทำเหมืองแร่ ส่วนที่สี่เป็นเรื่องวัฏจักรของหิน ทั้งหินชั้น หินแปร หินอัคนี บอกที่มาและการเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปตามตัวกระทำต่าง ๆ ส่วนที่ห้า เป็นเรื่องของเชื้อเพลิงธรรมชาติ มีการจำลองแท่นขุดเจาะน้ำมันจำลอง ส่วนที่หก เป็นเรื่องของซากดึกดำบรรพ์ ส่วนที่เจ็ด เป็นการจัดแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของนักธรณีวิทยาและขั้นตอนการทำงาน และส่วนสุดท้าย เป็นเรื่องของธรณีพิบัติภัยสึนามิที่เกิดขึ้นในประเทศไทย

ที่อยู่:
ตึกมรกต ชั้น1 สำนักวิจัยซากดึกดำบรรพ์และพิพิธภัณฑ์ธรณีวิทยา กรมทรัพยากรธรณี ถ.พระราม 6 เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
โทรศัพท์:
0-2621-9647
โทรสาร:
0-621-9642
วันและเวลาทำการ:
อังคาร-อาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 08.30 - 16.30 น.(ต้องการให้นำชมเป็นหมู่คณะ กรุณาติดต่อล่วงหน้า)
ค่าเข้าชม:
ไม่เก็บค่าเข้าชม
ของเด่น:
นิทรรศการเกี่ยวกับกำเนิดโลก ธรณีวิทยา การทำงานของนักธรณีวิทยา และเรื่องราวเกี่ยวกับสึนามิ
จัดการโดย:

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

กรมทรัพยากรธรณี

ชื่อผู้แต่ง: กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม | ปีที่พิมพ์: 2547

ที่มา: กลุ่มงานประชาสัมพันธ์ สำนักงานบริหารกลาง กรมทรัพยากรณี

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

ซากดึกดำบรรพ์บ้านโคกสูง อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา

ชื่อผู้แต่ง: กรมทรัพยากรธรณี | ปีที่พิมพ์: มปป.

ที่มา: กรุงเทพฯ:กรมทรัพยากรธรณี กระทรวงธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

ไซนัวโตโดสโตเมีย สมศักดิ์์ไก หอยชนิดใหม่ของโลกจากปากแม่น้ำแม่กลอง

ชื่อผู้แต่ง: กรมทรัพยากรธรณี | ปีที่พิมพ์: มปป.

ที่มา: กรุงเทพฯ:กรมทรัพยากรธรณี กระทรวงธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

ก้อนหินเล่าเรื่องโลกกับแร่

ชื่อผู้แต่ง: จุฑารัตน์ ทิพย์นำภ | ปีที่พิมพ์: 01-01-2551

ที่มา: กรุงเทพธุรกิจ

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

“พิพิธภัณฑ์ธรณีวิทยา” ขุมทรัพย์ทางความรู้พื้นปฐพีแด่ประชาชนเดินดิน

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 18 มกราคม 2550

ที่มา: ASTVผู้จัดการออนไลน์

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

พิพิธภัณฑ์ธรณีวิทยา

ชื่อผู้แต่ง: ต่อศักดิ์ สุรศักดิ์ศิลป | ปีที่พิมพ์: 2541

ที่มา: สถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

แหล่งค้นคว้า: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

พิพิธภัณฑ์ธรณีวิทยา

ชื่อผู้แต่ง: สินีนาท เตียประสงค์ | ปีที่พิมพ์: 2540

ที่มา: สถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

แหล่งค้นคว้า: มหาวิทยาลัยรังสิต

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555


ไม่มีข้อมูล

รีวิวของพิพิธภัณฑ์ธรณีวิทยา

ช่วงที่ประเทศไทยประสบธรณีพิบัติภัยสึนามิ นักธรณีวิทยาถือว่ามีบทบาทมากในการออกมาอธิบายปรากฏการณ์นี้ จากเดิมที่อาจจะเป็นกลุ่มนักวิชาการที่ไม่ค่อยมีผู้รู้จักเท่าไหร่ คนเริ่มหันมาสนใจเรื่องราวเกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงของโลกนี้มากขึ้น สำหรับใครที่ไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นการเรียนรู้ที่ไหน ขอแนะนำให้มาศึกษาหาความรู้ที่ พิพิธภัณฑ์ธรณีวิทยา แล้วจะได้รู้ว่าจากศึกษาทางธรณีวิทยาสำคัญอย่างไรกับโลกนี้

พิพิธภัณฑ์ธรณีวิทยาชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าต้องเกี่ยวกับผืนดินและโลก พิพิธภัณฑ์ส่วนแรกจึงอธิบายเกี่ยวกับการกำเนิดของจักรวาลและโลกก่อน มีนิทรรศการอธิบายชั้นเปลือกโลกชั้นต่างๆ ว่าเป็นอย่างไร ความร้อนที่อยู่ภายใต้เปลือกโลก ที่ทำให้เกิดการเคลื่อนตัวของแผ่นดิน จากนั้นมีนิทรรศการอธิบายของการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกในแบบต่างๆ เช่น การมุดตัวของเปลือกโลก การโก่งตัวของเปลือกโลก ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดแผ่นดินไหว และการเปลี่ยนแปลงของทวีปต่างๆ ในส่วนนี้มีเกมต่อจิ๊กซอว์ แผ่นเปลือกโลกในยุคต่างๆ ให้เด็กๆ หรือผู้ที่สนใจลองต่อเล่นดู แล้วจะพบว่าครั้งหนึ่งแผ่นดินต่างๆ ที่เป็นทวีปในปัจจุบัน ครั้งหนึ่งเคยเป็นแผ่นดินเดียวกันมาก่อน ส่วนที่เป็นรูปถ่ายที่น่าสนใจก็คือสภาพภูมิประเทศที่มีรูปร่างแปลกๆ และน่าอัศจรรย์ว่าเกิดจากอะไรบ้าง ยกตัวอย่างเช่น แกรนแคนยอน เกิดจากการกร่อนโดยธารน้ำ ก้อนหินที่เป็นเกล็ดเหมือนกระดองเต่า เกิดจากอุณหภูมิที่เดี๋ยวร้อนเดี๋ยวเย็นของสภาพภูมิอากาศบางประเทศ และความรู้ที่น่าสนใจอีกหลายอย่าง อาทิ แบบจำลองการเกิดคลื่นยักษ์สึนามิ แต่ตอนนี้แบบจำลองรอการซ่อมแซมอยู่เพราะได้รับความนิยมมากจนเครื่องรวนไปแล้ว

ส่วนที่ 2 เป็นเรื่องกำเนิดแหล่งแร่ จะอธิบายเกี่ยวกับองค์ประกอบของแร่แต่ละชนิด มีก้อนแร่แต่ละชนิดให้ดูกันอย่างใกล้ชิด และคุณสมบัติของแร่ต่างๆ ตามลักษณะทางกายภาพ เช่นความแวววาว ความแข็ง เหมือนสมัยที่เรียนวิชาวิทยาศาสตร์แล้วต้องท่องว่าแร่ชนิดไหนมีค่าความแข็งเท่าไหร่ แร่ที่แข็งที่สุดก็คือเพชร การจำแนกแร่ด้วยวิธีต่างๆ เช่นรอยแตก รูปผลึก และหลากหลายความรู้

ส่วนที่ 3 เป็นเรื่องของการทำเหมืองแร่ ส่วนนี้จะทำเป็นอุโมงค์จำลองบรรยากาศการขุดเหมืองแร่ในอุโมงค์ เมื่อเดินผ่านเครื่องเซ็นเซอร์ จะมีเสียงขุดเจาะแร่ และเสียงเครื่องมือดังขึ้นตลอดการเดินดูนิทรรศการในอุโมงค์ ได้บรรยากาศเหมือนเข้าไปในเหมืองจริงๆ การจัดแสดงจะเป็นการทำแบบจำลองวิธีการทำเหมืองแร่แบบต่างๆ เช่นเหมืองแล่น เหมืองสูบและเหมืองฉีด เหมืองอุโมงค์ เหมืองเรือขุด นอกจากนี้ยังมีก้อนแร่ชนิดต่างๆ ที่สวยงามแปลกตาให้ชมด้วย แร่บางชนิดมีผลึกที่สวยงามเช่นแร่ควอตซ์ หรือแม้แต่แร่บางชนิดที่สามารถเรืองแสงได้ซึ่งเป็นข้อดีเวลาเสาะหาสายแร่ในที่มืดเมื่อส่องไฟไปก็จะพบแร่ได้ง่าย ส่วนนี้นับว่าเป็นการเปิดโลกทัศน์ในการได้รู้จักแร่ชนิดต่างๆ ว่ารูปร่างหน้าตาที่แท้จริงเป็นอย่างไร

ส่วนที่ 4 เป็นเรื่องวัฏจักรของหิน ทั้งหินชั้น หินแปร หินอัคนี บอกที่มาและเมื่อเปลี่ยนแปลงไปตามตัวกระทำต่างๆ แล้วจะกลายเป็นหินอะไร ในส่วนนี้จะมีหินชนิดต่างๆ ของจริงให้เราได้ชมด้วย

ส่วนที่ 5 เป็นเรื่องของเชื้อเพลิงธรรมชาติ มีแท่นขุดเจาะน้ำมันจำลองให้เราเห็นว่าน้ำมันดิบจุอยู่ในชั้นดินอย่างไร และมนุษย์เรานำขึ้นมาใช้ได้อย่างไรบ้าง นอกจากน้ำมันแล้วยังมีเชื้อเพลิงธรรมชาติอย่างอื่นอีกเช่น หินน้ำมัน และถ่านหิน เรียกว่าเป็นส่วนที่ให้ความรู้เกี่ยวกับงานทางธรณีวิทยาที่จะช่วยสำรวจหาแร่ที่ให้พลังงานมาใช้ประโยชน์ได้ 

ส่วนที่ 6 เป็นเรื่องของซากดึกดำบรรพ์ อันจะทำให้เราเข้าใจถึงวิวัฒนาการของโลกใบนี้ว่าแต่ละยุคแต่ละสมัยมีสิ่งมีชีวิตหน้าตาอย่างไรเกิดขึ้นมาบ้าง และมนุษย์เราเกิดขึ้นในยุคใด ในส่วนนี้ได้จำลองหลุมขุดค้นไดโนเสาร์ไว้ด้วย มีซากไดโนเสาร์ที่พบในประเทศไทยเช่น สยามโมไทรันนัส อีสานเอนซิส ซึ่งพบที่ อ.ภูเวียง จ.ขอนแก่น ในปี พ.ศ. 2536 อายุประมาณ 130 ล้านปีมาแล้ว ส่วนฟอสซิลเล็กๆ เช่น ปลา และใบไม้ก็ถูกเก็บไว้ในตู้จัดแสดงอีกด้าน สำหรับคนที่สนใจเรื่องไดโนเสาร์น่าจะชื่นชอบในส่วนนี้ไม่น้อย และที่ทำให้บรรยากาศของส่วนจัดแสดงนี้สนุกยิ่งขึ้นก็คือ มีหลุมขุดค้นเล็กๆ ให้เด็กๆ ได้ลองเล่นสมมุติว่าตนเองเป็นนักโบราณคดีขุดค้นหาซากได้โนเสาร์ด้วย เครื่องไม้เครื่องมือต่างๆ ดูสมจริงมาก ฟอสซิลที่จัดแสดงในส่วนนี้เจ้าหน้าที่บอกว่าบางชิ้นก็เป็นของจริง เช่นกรามจระเข้โบราณ หรืองาช้างโบราณ ซึ่งขุดค้นพบในประเทศไทย

ส่วนที่ 7 เป็นการจัดแสดงขั้นตอนการทำงานของนักธรณีวิทยา อุปกรณ์ในการสำรวจ เช่นมีดและเหรียญบาท เพื่อขูดดูความแข็งของแร่ กรดเกลือเพื่อหยดดูองค์ประกอบของแร่แคลเซียม สำหรับใครที่อยากเป็นนักธรณีวิทยาสามารถมาศึกษาล่วงหน้าได้ นิทรรศการอีกด้านเป็นเรื่องของแหล่งท่องเที่ยวในประเทศไทยที่มีสภาพทางธรณีวิทยาที่แตกต่างและสามารถนำข้อมูลทางธรณีวิทยามาอธิบายการเกิดได้ เช่น หอนางอุสาในภาคอีสาน ภูชี้ฟ้า จ. เชียงราย และการเกิดน้ำพุร้อน 

ส่วนสุดท้ายส่วนที่ 8 เป็นเรื่องของธรณีพิบัติภัยสึนามิที่เกิดขึ้นในประเทศไทย มีคำอธิบายถึงกำเนิดของคลื่นยักษ์สึนามิ และวีดีโอภาพตอนที่คลื่นยักษ์ถล่มรีสอร์ทแห่งหนึ่งทางภาคใต้ ซึ่งถ้าเราดูในโทรทัศน์เราจะเห็นแค่บางส่วน แต่ถ้ามาชมที่นี่จะได้ชมวีดีโอซึ่งมีความยาวน่าจะประมาณ 1 ชั่วโมงเป็นภาพที่บันทึกโดยนักท่องเที่ยวที่ประสบเหตุ นับเป็นภาพที่น่ากลัวและสะเทือนใจเป็นอย่างมาก ว่าธรรมชาติที่แสนสงบกลับกลายเป็นโหดร้ายได้ในเวลาแค่พริบตา ส่วนนี้จึงถือเป็นอุทาหรณ์ให้เราไม่ประมาณต่อภัยธรรมชาติอีก

การมาเยือนพิพิธภัณฑ์ธรณีวิทยาครั้งนี้ทำให้เราได้รู้ว่าเรามีแหล่งเรียนรู้ใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้ามอีกแห่ง พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ตั้งอยู่ตรงข้ามกับโรงพยาบาลรามาธิบดี ข้ามฝั่งมาถ้าหาไม่เจอให้มองหาโนเสาร์ตัวใหญ่ๆ ที่ยืนต้อนรับอยู่ด้านหน้า ซึ่งเป็นประชาสัมพันธ์พิเศษที่จะบอกว่าท่านได้เข้ามาสู่แหล่งเรียนรู้ทางธรณีวิทยาแล้ว

มัณฑนา ชอุ่มผล : เขียน 

ข้อมูลจาก: การสำรวจภาคสนาม 18มกราคม 2551
ชื่อผู้แต่ง:
-