พิพิธภัณฑ์ชาติภูมิสถาน ป.อ.ปยุตโต


ที่อยู่:
เลขที่ 49 หมู่ 3 ตลาดศรีประจันต์ ต.ศรีประจันต์ อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี 72140
โทรศัพท์:
035-548722,089-1187728
วันและเวลาทำการ:
เปิดทุกวัน ยกเว้นวันจันทร์ เวลา 09.00 - 17.00 น.
ค่าเข้าชม:
ไม่เก็บค่าเข้าชม
อีเมล:
nutiktik@hotmail.com
ปีที่ก่อตั้ง:
2548
ของเด่น:
ชีวประวัติท่านป.อ.ปยุตตโต
จัดการโดย:
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

ตลาดเก่า ท่านเจ้าคุณ

ชื่อผู้แต่ง: ชัยณรงค์ กิตินารทอินทราณี | ปีที่พิมพ์: 21 กรกฎาคม 2550

ที่มา: กรุงเทพธุรกิจ (เสาร์สวัสดี)

แหล่งค้นคว้า:

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

ชาติภูมิสถาน ป.อ.ปยุตฺโต

ชื่อผู้แต่ง: วิชญดา ทองแดง | ปีที่พิมพ์: สิงหาคม 2550

ที่มา: เมืองโบราณ

แหล่งค้นคว้า:

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555


ไม่มีข้อมูล

รีวิวของพิพิธภัณฑ์ชาติภูมิสถาน ป.อ.ปยุตโต

การได้ศึกษาประวัติและความเป็นมาของบุคคลสำคัญ ผู้มีวัตรปฏิบัติที่งดงามและมีแนวคิดเป็นที่ยกย่องระดับโลกย่อมถือเป็นมงคลของชีวิต ที่จะได้ศึกษาวิถีแห่งปราชญ์ พิพิธภัณฑ์ชาติภูมิสถาน ป.อ.ปยุตโต จึงเป็นอีกหนึ่งสถานที่ที่ควรไปเยือนเมื่อไปที่ จ.สุพรรณบุรี
 
อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี สามารถเดินทางไปถึงได้ทั้งทางบกคือทางหลวง หมายเลข 340และทางแม่น้ำท่าจีนที่ไหลผ่านหน้าอำเภอแห่งนี้ แต่ทางน้ำนั้นเป็นอดีตไปแล้ว หากใครได้ไป  เยือนตลาดอำเภอศรีประจันต์ จะทึ่งกับตลาดไม้ขนาดใหญ่ ที่แสดงความรุ่งเรืองของการเป็นเมืองท่าค้าขายทางน้ำที่รุ่งเรืองมาก่อน เดินไปทางไหนก็มีบ้านเรือนยุคเก่าฝาบ้านทำด้วยไม้ น่าเป็นห่วงเรื่องเพลิงไหม้เหมือนกัน แต่เหลือบไปเห็นสถานีดับเพลิงที่ตั้งอยู่ใกล้ๆ ก็อุ่นใจได้ และแม้จะเคยได้รับการผลักดันให้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวตลาดย้อนยุคเหมือนกับหลายๆ แห่ง แต่เมื่อมาในวันธรรมดาก็จะพบกับความเงียบเหงาของชุมชนเก่าแก่แห่งนี้
 
ตรงกลางตลาดเป็นเรือนแถวอาคารไม้ยาวต่อกัน แต่มีสองห้องที่ตกแต่งสวยงาม ประดับต้นไม้ไว้ด้านหน้าอย่างร่มรื่น นั่นคือพิพิธภัณฑ์ชาติภูมิสถาน หรือสถานที่กำเนิดของพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตโต) พระผู้เป็นเลิศด้านการศึกษาและเผยแพร่ธรรมะ
 
ก่อนจะเข้าอาคารพิพิธภัณฑ์เราจะเห็นป้ายที่กรอบประตูบ้านเขียนว่า “ใบรัตนาคาร” ซึ่งเป็นชื่อร้านขายผ้า กิจการดั้งเดิมของครอบครัวอารยางกูร ตระกูลเก่าแก่ของ อ.ศรีประจันต์ เริ่มชมพิพิธภัณฑ์โดยการนำชมของคุณณัฐกานต์ กะการดี ผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์ 
ส่วนแรกคือประวัติหรือชาติภูมิของพระพรหมคุณาภรณ์ อธิบายไว้ด้วยภาพถ่ายของท่านตั้งแต่เด็ก เดิมท่านชื่อ ประยุทธ์ อารยางกูล เป็นบุตรคนที่ 6 ของคุณพ่อสำราญ และคุณแม่ชุนกี อารยางกูล ท่านเกิดและเติบโตอยู่ในตลาดศรีประจันต์แห่งนี้ และศึกษาเล่าเรียนระดับประถมใน 
จ.สุพรรณบุรี จากนั้นจึงเข้าไปศึกษาระดับมัธยมต้นที่ โรงเรียนวัดปทุมคงคา 
แต่เนื่องด้วยท่านเป็นคนสุขภาพไม่ดีมีโรคประจำตัวมากจนมีผู้แนะนำให้ไปบวช เมื่อท่านบวชเรียนและศึกษาทางธรรม ด้วยความที่เป็นผู้ใฝ่รู้และตั้งใจศึกษาท่านจึงได้เป็นนาคหลวงสอบเปรียญธรรม 9 ประโยคได้ตั้งแต่ยังเป็นสามเณรเป็นคนที่ 4 ในสมัยรัตนโกสินทร์ และได้กลายมาเป็นพระนักปราชญ์จนทุกวันนี้ ส่วนจัดแสดงส่วนแรกจำลองห้องรับแขกของบ้านอารยางกูลซึ่งส่วนใหญ่เป็นการจำลองของจัดแสดง ยกเว้นชุดรับแขกชุดเล็กที่มีเสาตั้งโซ่กั้นไว้ ระหว่างที่ชมพิพิธภัณฑ์ส่วนนี้ก็จะมีคติข้อคิดจากแนวการปฏิบัติตนของท่านไว้เป็นระยะ 
 
ปีกขวาของอาคารชั้น 1 เป็นส่วนที่จำลองร้านขายผ้าย้อมมะเกลือสีดำ ผ้าไหม และเสื้อผ้าต่างๆ ที่เคยเป็นกิจการของบ้าน กลางห้องมีจักรเย็บผ้าโบราณยี่ห้อ PFAFF ซึ่งร้านนี้เป็นตัวแทนจำหน่ายใน อ.ศรีประจันต์ ด้านข้างมีตู้วางอุปกรณ์เกี่ยวกับจักรเย็บผ้า น้ำมันหยอดจักร เข็ม ตะขอ ฯลฯ จำลองบรรยากาศไว้ได้ เหมือนกับอยู่ในร้านขายผ้าจริงๆ ผู้นำชมเล่าว่าจัดร้านตามความทรงจำของญาติพี่น้องท่านเจ้าคุณ ให้คล้ายกับสมัยก่อนมากที่สุด
 
ด้านในสุดของชั้นที่ 1 เป็นห้องครัว ผนังด้านหนึ่งถูกจัดให้เป็นครัวจำลอง แสดงเครื่องมือเครื่องใช้ ในครัวสมัยก่อน ปิ่นโตขนาดต่างๆ กระบุงตะกร้า ชามตราไก่ หม้อดินเผา และพัดขนาดใหญ่ แต่เพชรน้ำเอกของห้องนี้คือชั้นหนังสือขนาดใหญ่ เต็มไปด้วยหนังสือที่ท่านเจ้าคุณประพันธ์ ขึ้น และหนึ่งในนั้นคือเล่มเอกหนังสือหุ้มปกสีแดง ชื่อว่า “พุทธธรรม” ซึ่งเป็นหนังสือที่ท่านเจ้าคุณขยายความพระธรรมคำสอนจากพระไตรปิฎกเรียบเรียงเพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจได้มากขึ้น และทำให้ท่านได้รับรางวัล “การศึกษาเพื่อสันติภาพ” จากองค์การยูเนสโก (UNESCO Prize for Peace Education) เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2537 ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ส่วนนี้มีเก้าอี้สำหรับนั่งอ่านหนังสือสำหรับท่านผู้ที่ต้องการศึกษาธรรมะและข้อคิดจากพระพรหมคุณาภรณ์
 
บันไดทางขึ้นชั้นสอง ระหว่างทางขึ้นมีใบอนุญาตก่อตั้งมูลนิธิชาติภูมิ ป.อ. ปยุตฺโต และใบอนุญจัดตั้งพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ด้วย ทางขึ้นเป็นบันไดแคบๆ ตามแบบบ้านยุคเก่า เมื่อขึ้นไปแล้วจะพบกับห้องโล่งกว้าง ด้านขวามีห้องเล็กๆ อยู่ตรงมุม ส่วนตรงชานจัดเป็นห้องเรียนมีกระดานดำและโต๊ะเรียน สอบถามผู้นำชมได้ความว่าในสมัยก่อนที่บ้านแห่งนี้ เคยเปิดเป็นโรงเรียนแห่งแรกของ อ.ศรีประจันต์ ซึ่งเป็น โรงเรียนมัธยม ชื่อโรงเรียนบำรุงฤทธิราช เพราะในสมัยนั้นการที่จะเรียนต่อชั้นมัธยม ต้องเดินทางไปเรียนไกลถึงในตัวเมือง  โยมพ่อของท่านเจ้าคุณ ท่านเล็งเห็นความสำคัญของการศึกษาก็เลยตั้งเป็นโรงเรียนมัธยมขึ้นมา เป็นโรงเรียนมัธยมแห่งแรกของ อ.ศรีประจันต์ มีการเรียนการสอนถูกต้องตามกฎหมาย ภายหลังจึงเกิดโรงเรียนมัธยมขึ้นอีกหลายแห่ง โรงเรียนแห่งนี้จึงปิดลง ไม่น่าแปลกใจที่ท่านเจ้าคุณเป็นผู้ใฝ่รู้และรักการศึกษาเพราะมีพื้นฐานครอบครัวที่ให้ความสำคัญกับการศึกษานั่นเอง
 
ห้องกว้างอีกด้านมีแผ่นป้ายนิทรรศการอธิบายแนวคิดต่างๆ ของท่านไว้อย่างย่อๆ ซึ่งถ้าใครตั้งใจอ่านแม้ไม่ได้นั่งสนทนากับท่านเจ้าคุณก็จะได้ข้อคิดธรรมะติดตัวกลับไปอย่างแน่นอน ป้ายนิทรรศการอันหนึ่งอธิบายถึงประติมากรรมรางวัลที่ท่านเจ้าคุณได้จากยูเนสโก สาขาการศึกษาเพื่อสันติภาพ ซึ่งมีรูปร่างเหมือนกิ่งมะกอกและท่านเจ้าคุณได้นิยามคำว่าสันติภาพว่า “สันติภาพเกิดจากอิสรภาพและความสุข”
 
ห้องเล็กๆ ด้านในสุดเดิมเป็นห้องนอนของโยมพ่อและโยมแม่ของท่านเจ้าคุณ แต่ตอนนี้ได้ปรับมาเป็นห้องนิทรรศการ ติดป้ายไว้ว่า “วิถีแห่งปราชญ์” เมื่อก้าวเข้าไปในห้องเล็กๆ กลางห้องจะมีสิ่งประดิษฐ์หน้าตาประหลาดคล้ายเครื่องใช้ไฟฟ้าหลายๆ ชนิดผสมกันอยู่ ผู้นำชมเล่าว่าคือเครื่องมือที่เกิดจากการประดิษฐ์ของท่านเจ้าคุณ ท่านชอบประดิษฐ์สิ่งต่างๆ จากเครื่องไม้เครื่องมือเหลือใช้ รอบๆห้องมีป้ายนิทรรศการเกี่ยวกับอุปนิสัย และการปฏิบัติตนของท่านว่าทำไมท่านจึงเป็นปราชญ์ เช่นท่านเป็นผู้ชอบจดบันทึก แต่จะประหยัดเนื้อที่ในสมุดบันทึกด้วยการเขียนตัวเล็กๆ และชอบเครื่องมือที่ชิ้นเล็กแต่มีประโยชน์ใช้สอยมาก บัณฑิตย่อมฝึกตน ข้อคิดอีกอย่างว่าทำอย่างไรคนคนหนึ่งถึงกลายมาเป็นปราชญ์ด้านความคิดได้ เป็นเพราะการฝึกตนนั่นเอง นอกจากนี้ยังมีข้อคิดและการปฏิบัติตนอีกหลายอย่าง ซึ่งอ่านโดยรวมแล้วก็เหมาะสมที่จะเรียกห้องนี้ว่า ห้อง “วิถีแห่งปราชญ์”
 
พิพิธภัณฑ์ชาติภูมิสถาน (ป.อ. ปยุตโต) เปิดให้เข้าชมทุกวันยกเว้นวันจันทร์ ตั้งแต่เวลา 9.00 – 17.00 น. ตั้งอยู่ท่ามกลางตลาดเก่า อ.ศรีประจันต์ ที่มีเรื่องราวมากมาย ร้านอาหารดั้งเดิมอีกหลายร้าน แล้วเราจะได้พบกับสถานที่กำเนิดปราชญ์ของแผ่นดินไทยและบุคคลสำคัญของโลก
 
ข้อมูลจาก: สำรวจภาคสนามวันที่ 29 ธันวาคม 2552
 
ชื่อผู้แต่ง:
-

ชาติภูมิสถาน ป.อ. ปยุตฺโต

“จะซื้อผ้าไหม กางเกงแพร ต้องไปร้านแม่กี – ท่านมหา” ร้านค้าที่ว่านี้คือร้านใบรัตนาคาร ในตลาดศรีประจันต์ที่เคยคึกคักในสมัยการคมนาคมทางน้ำเป็นหัวใจหลัก แต่พอถนนมา ตลาดริมแม่น้ำสุพรรณฯ ก็เงียบเหงา ร้านรวงส่วนใหญ่ปิดกิจการลงตามกาละและเทศะ เรือนแถวไม้ที่เคยเป็นร้านค้ากลายเป็นที่พักอาศัยกลางปี พ.ศ. ๒๕๕๐ “ใบรัตนาคาร” ฟื้นคืนกลับมาอีกครั้ง แต่เพิ่มการจดจำใหม่ในชื่อ “ชาติภูมิสถาน ป.อ.ปยุตฺโต” หรือ “บ้านท่านเจ้าคุณ”
ชื่อผู้แต่ง:
-

ตลาดเก่า ท่านเจ้าคุณ

"ไปไหน ???" "ว่าจะไปตลาด 100 ปี ที่สุพรรณ..." "อ๋อ ตลาดสามชุก" "ไม่ใช่ !!! ตลาด 100 ปี ศรีประจันต์ สุพรรณบุรี" "อ้าว... ศรีประจันต์มีตลาดด้วยเหรอ" "..................." ประโยคถาม-ตอบทำนองนี้ดูเหมือนจะกลายเป็นบทสนทนาสำเร็จรูปที่บอกกับใครๆ ถึงทริปสุดสัปดาห์ว่าจะได้มีโอกาสไปเยือนสุพรรณบุรีสักที
ชื่อผู้แต่ง:
-

ชื่อผู้แต่ง:
-

ชื่อผู้แต่ง:
-