หอเกียรติยศ ฯพณฯ บรรหาร ศิลปอาชา นายกรัฐมนตรีคนที่ 21


ที่อยู่:
ถนนสุพรรณบุรี-ชัยนาท ตำบลสนามชัย อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี 72000
โทรศัพท์:
0-3553-5119, 0-3553-5121
วันและเวลาทำการ:
เปิดวันพุธ-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ 9.00 - 16.00 น.
ค่าเข้าชม:
ไม่เก็บค่าเข้าชม
ปีที่ก่อตั้ง:
2547
จัดการโดย:
เนื้อหา:

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

ไม่มีข้อมูล

รีวิวของหอเกียรติยศ ฯพณฯ บรรหาร ศิลปอาชา นายกรัฐมนตรีคนที่ 21

หอเกียรติยศฯ พณฯ บรรหารศิลอาชา เล่าเรื่องประวัติชีวิตของคนสู้ชีวิตคนหนึ่ง  จากเด็กชายบรรหาร ศิลปอาชา  จนกระทั่งมาเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 21 ของประเทศไทย  พิพิธภัณฑ์นี้ก่อตั้งขึ้นในปีพ.ศ.2547 การจัดแสดงของที่นี่  แบ่งออกเป็น 2 ชั้น  คุณธารทิพย์ภิรมย์อนุกูล  นักจดหมายเหตุ  ปฏิบัติการ สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ  จ.สุพรรณบุรี เป็นผู้นำชม   
 
หอเกียรติยศฯ พณฯบรรหาร ศิลปอาชา เกิดขึ้นจากความร่วมแรงร่วมใจ ของพี่น้องประชาชนชาวสุพรรณบุรี ที่ได้ร่วมกันบริจาคเงินในการก่อสร้าง โดยไม่ใช้งบประมาณของทางราชการ  ออกแบบโดยกรมศิลปากร ภายในจัดแสดงประวัติและผลงานของ ฯพณฯ บรรหาร ศิลปอาชา ตั้งแต่วัยเด็กจนกระทั่งได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี พร้อมผลงานด้านต่าง ๆ หอเกียรติยศ ฯพณฯ บรรหาร ศิลปอาชา ประกาศจัดตั้งเป็นหน่วยงานหนึ่งของหอจดหมายเหตุแห่งชาติ จังหวัดสุพรรณบุรี กรมศิลปากร โดยมีนายพนมบุตร  จันทรโชติ  เป็นหัวหน้าหอจดหมายเหตุฯ   สถานที่นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นสถานที่ศึกษาด้านประวัติศาสตร์การเมืองไทย และเป็นแบบอย่างที่ดีในการดำเนินชีวิตแก่เยาวชน โดยเฉพาะคุณธรรมที่ควรยึดถือ ได้แก่ สัจจะ และกตัญญู
 
การจัดแสดง ชั้นที่ 1 ห้องที่ 1 เป็นการจำลองบรรยากาศของร้าน “ย่ง หยู ฮง” ในตลาดจังหวัดสุพรรณบุรีช่วง ปี พ.ศ. 2487  ซึ่งเป็นสถานที่ที่บิดา- มารดาของเด็กชายบรรหาร ศิลปอาชา ใช้อยู่อาศัยและจำหน่ายสินค้า เสื้อผ้า คอกระเช้า ชุดชาวนา
 
ห้องที่ 2  เล่าเรื่องการเดินทางเข้ากรุงเทพฯ ของนายบรรหาร ศิลปอาชา ในวัย 17 ปี ซึ่งจำลองการเดินทางด้วยเรือเมล์แดงจากสุพรรณบุรีถึง กรุงเทพฯ และคำอธิษฐานที่นายบรรหาร ศิลปอาชา ให้ไว้กับศาลเจ้าพ่อหลักเมืองก่อนออกเดินทางว่า ถ้าไปได้ดีภายหน้า  จะกลับมาพัฒนาบ้านเมืองให้เจริญ 
 
ห้องที่ 3 เป็นเรื่องราวชีวิตของนายบรรหาร ขณะช่วยพี่ชายประกอบกิจการขายส่งน้ำหวาน โซดา ที่ร้าน “ไทยสมบูรณ์” ถนนหลานหลวง จนกระทั่งการตั้งบริษัทก่อสร้างชื่อ “สหะศรีชัยก่อสร้าง” เป็นของตนเอง  
 
ห้องที่ 4  จัดแสดงช่วงเวลาสำคัญต่าง ๆ ในชีวิตของนายบรรหาร ศิลปอาชา ก่อนเข้าสู่เส้นทางการเมือง เช่น การอุปสมบท การสมรส และผลงานด้านต่างๆ ที่นายบรรหารให้ความช่วยเหลือ  และพัฒนาจังหวัดสุพรรณบุรี 

ห้องที่ 5 เล่าเหตุการณ์ สำคัญช่วง 14 ตุลาคม 2516  ซึ่งทำให้นายบรรหาร ศิลปอาชา ถูกกำหนดให้ก้าวเข้าสู่เส้นทางการเมืองโดยไม่ตั้งใจ  เริ่มจากการได้รับแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกสมัชชาแห่งชาติ  สภานิติบัญญัติ  สมาชิกวุฒิสภา กระทั่งตัดสินใจลงรับเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2519 ในนามพรรคชาติไทย  และได้รับคะแนนเป็นอันดับหนึ่งของประเทศ  

ห้องที่ 6 เล่าถึงบทบาทสำคัญในการบริหารราชการแผ่นดิน ได้แก่ การดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงต่างๆ ระหว่างปี พ.ศ. 2519 - 2535   
 
ห้องที่ 7 เล่าถึงช่วงชีวิตทางการเมืองของนายบรรหาร ศิลปอาชา ในพรรคชาติไทย
 
การจัดแสดงชั้นที่ 2 จัดแสดงช่วงชีวิตของ ฯพณฯ บรรหาร ศิลปอาชา ระหว่างได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 21 ของประเทศไทย เมื่อวันที่ 13  กรกฎาคม  พ.ศ. 2538  การจัดแสดงประกอบด้วย

ห้องที่ 1 เป็นการจัดแสดงพระราชพิธีสำคัญ 2 พิธี ได้แก่ งานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และงานพระราชพิธีกาญจนภิเษก  เนื่องในวโรกาสที่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชสมบัติ ครบรอบ 50 ปี  
 
ห้องที่ 2 จัดแสดงโครงการพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ ฯพณฯ บรรหาร ศิลปอาชา ในฐานะนายกรัฐมนตรี ได้มีโอกาสสนองเบื้องพระยุคลบาท ได้แก่ โครงการเขื่อนปากพนัง โครงการเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ โครงการแก้มลิง โครงการทฤษฎีใหม่ และการจัดสร้างสะพานพระราม 8  เพื่อลดปัญหาการจราจรในเมืองหลวง 
 
ห้องที่ 3 แสดงนโยบายและผลงานด้านต่าง ๆ ของรัฐบาล    

ห้องที่ 4 และห้องที่ 5 แสดงนโยบายและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับชาติต่าง ๆ ในระดับทวิภาคี  รวมถึงการต้อนรับผู้นำประเทศที่เดินทางมาเยือนประเทศไทย

ห้องที่ 6 แสดงบทบาทของ ฯพณฯ บรรหาร ศิลปอาชา ในฐานะผู้นำรัฐบาลกับการประชุมนานาชาติ ทั้งที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม ตลอดจนการเดินทางไปร่วมประชุมในต่างประเทศ ห้องที่ 7 จัดแสดงเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ ฯพณฯ บรรหาร ศิลปอาชา นายกรัฐมนตรี คนที่ 21 และคุณหญิงแจ่มใส  ศิลปอาชา ได้รับพระราชทาน รวมทั้งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ได้รับจากต่างประเทศ
 
การเข้าชมพิพิธภัณฑ์นี้  นอกจากผู้เข้าชมจะได้ทราบเรื่องราวของท่านบรรหาร  ศิลปอาชาในช่วงวัยต่างๆแล้ว  ยังได้เพลิดเพลินกับเทคนิคและบรรยากาศการจัดแสดง  โดยเฉพาะการจัดแสดงบริเวณชั้นล่าง  ผู้เข้าชมจะรู้สึกเหมือนได้ย้อนอดีตไปในช่วงเวลานั้น  ในเสียงประกอบจะมีทั้งการเล่าบรรยายและเสียงดนตรี
 
ตรงส่วนของบันไดทางขึ้น  คุณธารทิพย์บอกว่าเป็นการจำลองแบบมาจากทางขึ้นรัฐสภา  ภาพถ่ายที่ท่านบรรหารกราบเบื้องยุคลบาทพระเจ้าอยู่หัว  เป็นภาพที่ท่านเลือกด้วยตนเอง  บริเวณชั้นสองส่วนที่จัดแสดงสิ่งของที่ระลึกที่ท่านได้มาจากประเทศต่างๆ ทั้งประเทศแถบเอเชีย  ยุโรป  ออสเตรเลีย และสหรัฐอเมริกา  การจัดวางของมีความหมาย  ถ้าเป็นประเทศที่เป็นหมู่เกาะจะจัดแสดงในตู้กระจกที่อยู่ตรงกลางห้อง     
 
ที่ผ่านมาผู้เข้าชมส่วนใหญ่เป็นนักเรียนนักศึกษาในทุกระดับชั้น การประชาสัมพันธ์ส่วนใหญ่เน้นไปที่โรงเรียนและสถาบันการศึกษา  โดยเฉลี่ยมีผู้เข้าชมเดือนหนึ่งประมาณ 3,000 คน  ในบริเวณชั้นล่างได้จัดทำห้องฉายวีดีทัศน์สำหรับผู้เข้าชมนั่งได้ประมาณ   80  คน  เป็นเรื่องเกี่ยวกับแนวคิด  การสานฝัน  แนวพัฒนาของท่านกับจังหวัดสุพรรณบุรี  
การจัดแสดงส่วนที่เด็กๆ ชอบเป็นพิเศษคือ ห้องเรือเมล์ในช่วงที่ท่านเดินทางเข้ากรุงเทพฯ ซึ่งมีเรือจำลองแล่นไปมาในแม่น้ำ  อีกจุดหนึ่งคือ แบบจำลองสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินหัวลำโพง
 
ในการจัดกิจกรรมที่นี่ได้ให้มีการประกวดเรียงความ  โดยเชิญชวนให้นักเรียนส่งเรื่องเข้าประกวด  หัวข้อเรื่องได้ตั้งให้สอดคล้องกับการเชิดชูบุคคลสำคัญท่านนี้ของพิพิธภัณฑ์ คือ ความกตัญญูและคุณธรรม
 
สาวิตรี  ตลับแป้น /ผู้เขียน /ถ่ายภาพ
 
ข้อมูลจาก:  สำรวจภาคสนามเมื่อวันที่   9  เดือนมิถุนายน   พ.ศ.2553
http://thai-culture.net/suphanduri/contentall.php?m_id=193 [Accessed  01/09/2010]
http://thai-culture.net/suphanduri/contentall.php?m_id= 182 [Accessed  01/09/2010]
แผ่นพับประชาสัมพันธ์หอเกียรติยศฯพณฯบรรหาร  ศิลปอาชา  นายกรัฐมนตรีคนที่ 21
ชื่อผู้แต่ง:
-