พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน


พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สร้างพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน เป็นพระราชฐานที่ประทับฤดูร้อน ณ ตำบลห้วยทรายเหนือ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี การสร้างพระราชนิเวศน์มฤคทายวันเพื่อเตรียมความพร้อมที่จะรับเสด็จในการแปรพระราชฐานในฤดูร้อน เมื่อปี 2467 เมื่อการก่อสร้างพระราชนิเวศน์เสร็จสิ้นพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานนามพระราชนิเวศน์แห่งนี้ว่า "มฤคทายวัน" พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงแปรพระราชฐานประทับเป็นครั้งแรกเมื่อปี 2467 (วันที่ 22 เมษายน-13 กรกฎาคม) และเสด็จประทับพักผ่อนพระราชอิริยาบถช่วงฤดูร้อน เป็นครั้งที่ 2 เมื่อปี 2468 (วันที่ 12 เมษายน-20 มิถุนายน) พระราชนิเวศน์มฤคทายวันถูกทิ้งร้างประมาณ 40 ปีเศษ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดนใช้เป็นที่ตั้งศูนย์ฝึกการต่อต้านปราบปรามการก่อความไม่สงบ ได้แก่ กองกำกับการที่ 1 กองบังคับฝึกพิเศษกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน ในปี 2523 หน่วยราชการนี้ได้นามพระราชทานว่า "ค่ายพระรามหก" เมื่อ 2524 พระราชนิเวศน์มฤคทายวันขึ้นทะเบียนโบราณสถาน ตามประกาศกรมศิลปากร เรื่องขึ้นทะเบียนโบราณสถาน ประกาศ ณ วันที่ 2 กันยายน 2524 และประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 98 ตอนที่ 177 หน้าที่ 3672 ลงวันที่ 27 ตุลาคม 2524 มีพื้นที่ประมาณ 31 ไร่ 1 งาน 63.5 ตารางวา

ที่อยู่:
1281 ถนนเพชรเกษม (ค่ายพระราม 6) ตำบลชะอำ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี อำเภอชะอำ 76120
โทรศัพท์:
032 508 444
วันและเวลาทำการ:
เปิดจันทร์-ศุกร์ 08.30-16.00 น.และเสาร์-อาทิตย์ 08.30-16.30 น.ไม่เว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์
ค่าเข้าชม:
ผู้ใหญ่ 30บาท ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ เด็กอายุ10-14ปี 15 บาท
เว็บไซต์:
อีเมล:
mrigadayavanpalace@gmail.com
ปีที่ก่อตั้ง:
2535
ของเด่น:
พระราชนิเวศน์ ที่ประทับ ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกฏเกล้าเจ้าอยู่หัว

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

เยี่ยมชม "พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน" พระราชวังแห่งความรักและความหวัง

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 6/10/2548

ที่มา: ผู้จัดการรายวัน

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน สัมผัสวรรณคดีมีชีวิต

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 07/12/2551

ที่มา: มติชนรายวัน

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555


ไม่มีข้อมูล

รีวิวของพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน

พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน สร้างขึ้นโดยพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อเป็นที่ประทับระหว่างเสด็จแปรพระราชฐานในช่วงฤดูร้อน เนื่องจากในช่วงนั้นทรงพระประชวร แพทย์หลวงจึงถวายคำแนะนำให้เสด็จไปประทับ ณ สถานที่ตากอากาศชายทะเล ดังนั้นจึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้นาย อี. ฟอร์โน (E. Forno) และนายแอร์โกเล มันเฟรดี (Ercole Manfredi) สถาปนิกชาวอิตาลีออกแบบตามแนวความคิดของพระองค์ท่าน ซึ่งได้ทรงร่างแผนผังด้วยพระองค์เองพระราชทานให้สถาปนิกนำไปออกแบบรายละเอียด และได้ดำเนินการก่อสร้างในปี พ.ศ. 2466 - 2467
 
พระราชนิเวศน์แห่งนี้ ประกอบด้วยพระที่นั่ง 3 หมู่ ได้แก่ หมู่พระที่นั่งสุนทรพิมาน เป็นส่วนของฝ่ายใน ตั้งอยู่ทางทิศใต้ หมู่พระที่นั่งพิศาลสาคร เป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งอยู่ ณ ส่วนกลาง และสโมสรเสวกามาตย์ เป็นอาคารโถง มี 2 ชั้น ใช้เป็นโรงละครและท้องพระโรง พระที่นั่งเหล่านี้เชื่อมต่อถึงกันด้วยสะพานไม้มีหลังคาคลุม สำหรับตัวอาคารเป็นอาคารยกพื้นสูง สร้างด้วยไม้สักทอง ตอม่อเป็นเสาคอนกรีต หลังคามุงกระเบื้องว่าวโดยรวมมีลักษณะโปร่ง เบา เหมาะกับภูมิอากาศ และบรรยากาศของชายทะเล
 
ความพิเศษอีกอย่างหนึ่งของพระราชนิเวศน์ฯ คือมีการออกแบบเพื่อกันมด เพราะบริเวณนี้มีมดดำชุกชุม สถาปนิกจึงได้ออกแบบให้ที่โคนเสาทุกต้น และที่แนวผนังส่วนที่ติดพื้นดิน ทำเป็นขอบปูนยกสูงขึ้นโดยรอบ เพื่อเป็นที่ใส่น้ำกันมดขึ้นอาคารดังกล่าว
 
อาคารอีกหลังหนึ่งที่มีความสำคัญและเกี่ยวข้องกับพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน คือบ้านเจ้าพระยารามราฆพ ซึ่งเป็นบ้านที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเป็นที่พักของเจ้าพระยารามราฆพ (ม.ล. เฟื้อ พึ่งบุญ) ซึ่งดำรงตำแหน่งสมุหราชองครักษ์และเป็นมหาดเล็กหัวหน้าห้องพระบรรทม ลักษณะเป็นอาคารยกพื้นสูงมีระเบียงกว้าง ผนังก่ออิฐโชว์แนวอาคารนี้แยกออกไปจากบริเวณพระราชนิเวศน์ฯ แต่สามารถมองเห็นกันได้ และติดต่อกันโดยใช้สัญญานโคมไฟสี ซึ่งชักบนเสาเหนือศาลาลงสรง ถ้าเป็นไฟสีเหลืองหมายความว่ากำลังแต่งพระองค์ ถ้าเป็นไฟสีเขียวหมายถึงเสด็จเข้าโต๊ะเสวยพระกระยาหารค่ำแล้ว
 
ปัจจุบันพระราชนิเวศน์มฤคทายวันได้เปิดเป็นพิพิธภัณฑ์ ในความดูแลของกองกำกับการ 1 กองบังคับการฝึกพิเศษ ของกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยมีการอนุรักษ์อาคารให้อยู่ในสภาพคงเดิมและภายในยังคงไว้ซึ่งบรรยากาศแบบเดิม
 
ข้อมูลจาก : สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์. 174 มรดกสถาปัตยกรรมในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พลับบลิชชิ่งจำกัด (มหาชน), 2547.
ชื่อผู้แต่ง:
-