โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
ชื่อผู้แต่ง: หม่อมหลวงสันติสุข กฤดากร | ปีที่พิมพ์: 2554;2011
ที่มา: โครงการวิจัยการพัฒนาพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการศึกษาเชิงสร้างสรรค์ ภายใต้โครงการศิลปากรพัฒนาเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 12 ตุลาคม 2558
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยทีมงานและสมาชิก
บ้านพิพิธภัณฑ์ ม.จ.สิทธิพร กฤดากร
เมื่อพูดถึงคำว่าบางเบิด หลายท่านคุ้นเคยกับคำนี้ในนามชื่อของสายพันธุ์แตงโมที่เคยได้รับความนิยมในสมัยหนึ่ง เป็นแตงโมที่หวานกรอบอร่อยและผลใหญ่ แตงโมสายพันธุ์นี้ค่อยๆ หายไปจากบ้านเราพร้อมๆ กับคำว่าบางเบิดได้ค่อยๆ เลือนไปจากความทรงจำ หากอยากทราบที่มาของแตงโมบางเบิดและความเป็นมาที่แฝงอยู่ ต้องมาชมบ้านพิพิธภัณฑ์ ม.จ.สิทธิพร กฤดากร ที่สถานีวิจัยสิทธิพรกฤดากร บ้านบางเบิด อ.บางสะพานน้อย จ.ประจวบคีรีขันธ์แห่งนี้เมื่อพ.ศ. 2463 หม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร ชนชั้นสูงของไทย ซึ่งท่านได้เรียนจบจากประเทศอังกฤษและกลับมารับราชการที่ประเทศไทยใช้ชีวิตในเมืองกรุง ท่านได้เสกสมรสกับเจ้าศรีพรหมมา พระราชธิดาของเจ้าเมืองน่านซึ่งเป็นชนชั้นสูงและเคยเดินทางไปต่างประเทศเช่นกัน ขณะนั้น ม.จ.สิทธิกร กฤดากร 37 ปี ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมฝิ่น ขณะที่ชีวิตกำลังรุ่งโรจน์นั้นเอง ท่านได้ตัดสินใจละทิ้งความสะดวกสบายและตำแหน่งหน้าที่ทั้งหมด ไปเริ่มต้นทำการเกษตรแผนใหม่ที่ฟาร์มบางเบิด อ.บางสะพานน้อย จ.ประจวบคีรีขันธ์ ด้วยอายุเพียง 37 พาหม่อมศรีพรหมมาและลูก 2 คน พร้อมคนรับใช้ 2 คนมาใช้ชีวิตแบบการเกษตรที่หมู่บ้านชายทะเลแห่งนี้
ม.จ.สิทธิพร กฤดากรได้ทดลองทำการเกษตรแผนใหม่ที่คนไทยขณะนั้นยังไม่รู้จัก เพราะการเกษตรของคนไทยขณะนั้นก็คือการทำนาในที่ราบลุ่มน้ำขัง และมีสินค้าการเกษตรที่สำคัญอย่างเดียวคือข้าว การที่ท่านทำการเกษตรแผนใหม่แบบครบวงจร เลี้ยงสัตว์ ทำไร่ แบบมีความรู้ทางวิทยาศาสตร์เข้ามาช่วย แม้ในขณะนั้นจะดูแปลกสำหรับคนที่ทิ้งชีวิตสุขสบาย เพื่อไปลำบากตรากตรำทำไร่ แต่การตัดสินใจเปลี่ยนชีวิตครั้งนั้นของท่านก็ได้ประจักษ์แก่คนรุ่นใหม่ใน แง่คุณค่าชีวิตและผลงาน จนหม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร ได้รับการยกย่องให้เป็น “บิดาแห่งการเกษตรแผนใหม่” เจ้าของคำพูดที่ว่า “เงินทองเป็นมายา ข้าวปลาเป็นของจริง” ซึ่งคอยเตือนใจชาวไทยไม่ให้หลงระเริงกับตัวเลขทางเศรษฐกินเงินทอง แต่ให้หันมาทำการเกษตรที่ยั่งยืนและให้คุณค่ากับชีวิตมากกว่า ฟาร์มบางเบิดนั้นได้เริ่มต้นเมื่อพ.ศ. 2463 และใน พ.ศ. 2502 ม.จ.สิทธิ พร กฤดากร ท่านได้ขายฟาร์มให้กับจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เพื่อให้สานต่อที่แห่งนี้ให้กลายเป็นสถานีทดลองการเกษตรต่อไป แต่ก็ไม่เป็นดังที่คาดไว้ เมื่อจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ถึงแก่อสัญกรรม ที่ดินแห่งนี้จึงตกเป็นของราชพัสดุ คำว่าฟาร์มบางเบิดจึงหายไปจากความทรงจำ และเมื่อ พ.ศ. 2532 หนังสือพิมพ์สยามรัฐได้ตีพิมพ์บทความกระตุ้นให้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ทำ สถานีวิจัยบนพื้นที่เดิมของฟาร์มบางเบิด หลังจากนั้นก็เกิดความเคลื่อนไหว หาสถานที่และจัดตั้งเป็นสถานีวิจัยสิทธิพรกฤดากรขึ้น และทำอนุสรณ์สถานของม.จ.สิทธิพร กฤดากร เปิดอย่างเป็นทางการเมื่อ วันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2543
บริเวณที่กำหนดไว้เพื่อสร้างอนุสรณ์สถาน ม.จ.สิทธิพร กฤดากร อยู่ในสถานีวิจัยฯ ต.ทรายทอง อ.บางสะพานน้อย จ.ประจวบคีรีขันธ์ ในพื้นที่ 50 ไร่ จากพื้นที่สถานีวิจัยทั้งหมด 385 ไร่ ในส่วนอนุสรณ์สถานแบ่งเป็น 4 ส่วนคือ 1. อนุสาวรีย์ ม.จ.สิทธิพร กฤดากร 2. เขตตำหนักเดิม 3.ส่วนอาคารพิพิธภัณฑ์ 4. แปลงสาธิตการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์
ก่อนที่เราจะเข้าชมบ้านพิพิธภัณฑ์หม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร ควรแวะทำความเคารพแด่อนุสาวรีย์ของท่านเสียก่อน เป็นรูปปั้นโลหะของชายมีอายุที่แวดล้อมไปด้วยผลิตผลทางการเกษตร เช่นแตงโม หมู และไก่ ที่ท่านเป็นผู้ริเริ่มนำพันธุ์จากต่างประเทศมาเลี้ยง อนุสาวรีย์แห่งนี้จึงเป็นเหมือนตัวแทนที่บ่งบอกผลงานทางการเกษตรของท่านให้ คนรุ่นหลังได้รับรู้ จากนั้นก็ตามทางเดินรั้วสีขาว ข้างทางมีทั้งดอกไม้และพืชผลที่สถานีวิจัยได้นำมาทดลองปลูกในรุ่นหลังๆ มองไปสุดทางก็จะเป็นอาคารสีขาวยกพื้นสูงสามชั้น นั่นคือบ้านพิพิธภัณฑ์หม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร
บ้านสีขาวหลังนี้รูปทรงสร้างเลียนแบบตำหนักบางเบิดหลังเดิมที่ได้มีการบันทึกรูป ถ่ายไว้ แต่สร้างแบบถาวรแข็งแรง ต่างจากตำหนักเดิมที่สร้างด้วยไม้และมุงหลังคาจากเมื่อกาลเวลาผ่านไปก็ผุพัง ลง จนกระทั่งมหาวิทยาลัยเกษตรได้เข้ามาปรับปรุงพื้นที่ ค้นหารากฐานอาคารเดิมจนเจอ ปัจจุบันได้มีการขุดแต่งและเปิดให้เห็นพื้นที่เดิมที่เห็นเด่นชัดคือแนวฐาน เสา
อาคารพิพิธภัณฑ์มีสามชั้นรวมชั้นใต้ถุนด้วย ชั้นแรก แสดงความเป็นมาของพื้นที่ฟาร์มบางเบิดตั้งแต่ยุคแรกที่ ม.จ.สิทธิพร กฤดากร เริ่มมาทำฟาร์ม ความตั้งใจของท่าน การทดลองทั้งปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ บริเวณนี้ได้จัดแสดงเครื่องไถดินขนาดใหญ่กว่าปกติ ซึ่งมีภาพแสดงให้ชมว่าสมัยนั้น ม.จ.สิทธิพร ท่านได้คิดเปรียบเทียบแล้วว่าการทำการเกษตรด้วยเครื่องจักรนั้นเร็วแต่สิ้น เปลือง ทั้งค่าน้ำมันและดูแลรักษา จึงหันกลับมาใช้แรงงานสัตว์และคราดขนาดใหญ่ยักษ์นี้เอาไว้เทียมช้างในการไถ พรวนดิน มีเครื่องตะบันหรือเครื่องสูบน้ำจากแรงไหลของน้ำในยุคสมัยเดียวกันมาจัดแสดง ไว้สองเครื่อง จำลองสภาพชีวิตของท่านว่าต้องไปดึงน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติมาใช้ อีกส่วนมีป้ายอธิบายโครงการสร้างอนุสรณ์สถานที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ริ เริ่มเข้ามาทำจนถึงปัจจุบัน
ชั้นสองจัดแสดงเกี่ยวกับผลงานและชีวประวัติของท่าน ม.จ.สิทธิพร กฤดากร ตั้งแต่กำเนิด การศึกษา การสมรส งาน และการพลิกเปลี่ยนมาทำการเกษตร ของใช้ส่วนตัวของท่านและสมุดทรงงาน ที่มีข้อสังเกตุว่าหากเป็นจดหมายหรือหนังสือที่เขียนที่ฟาร์มบางเบิดจะมี สัญลักษณ์นกกระแตแต้แวดและตัวหนังสือ บบ (บางเบิด) เพราะในทุ่งเลี้ยงสัตว์จะมีนกชนิดนี้อยู่มากและส่งเสียงร้องอยู่ทั่วไป ท่านเป็นนักคิดนักเขียนที่ไม่ยอมหยุดนิ่ง แม้ท่านจะเคยต้องโทษทางการเมืองในปี พ.ศ.2476-2487 ติดคุกที่บางขวาง เกาะเต่า เกาะตะรุเตาในกรณีกบฎบวรเดช แต่ท่านก็ยังเขียนตำราจากในคุกได้ เมื่อพ้นโทษมาท่านก็ได้กลับมาทำงานทางด้านการเกษตรต่อหนังสือเกี่ยวกับการ เกษตรของท่านที่รู้จักกันก็เช่น กสิกรรมบนดอน กสิกร แต่งานทั้งหมดของท่านไม่อาจจะสำเร็จได้ถ้าไม่ได้คู่ชีวิตที่ดีอย่างหม่อมศรี พรหมา ที่คอยสนับสนุนความคิดของท่านมาตลอดชีวิตจึงมีส่วนจัดแสดงประวัติของหม่อม ศรีพรหมา กฤดากร ด้วย
ม.จ.สิทธิพร กฤดากรเสียสละตนศึกษาและพัฒนาการเกษตรของไทยเรื่อยมา จนได้รับรางวัลรามอนแมกไซไซด้านการบริการสาธารณะ สาขาพัฒนาการเกษตรแผนใหม่ในปี พ.ศ. 2510 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์สาขากสิกรรมและ สัตวบาล อีกทั้งรางวัลต่างๆ อีกมากมาย ท่านสิ้นชีพิตักษัยเมื่อ 22 มิถุนายน 2514 อายุ 88 ชันษา ส่วนหม่อมศรีพรหมาถึงแก่อนิจกรรมเมื่อ 25 กันยายน 2521
ชั้นสองมีห้องเล็กๆ ที่แสดงความเป็นมาของการสร้างพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ด้วย โดยมีภาพถ่ายเก่าบรรยากาศการใช้ชีวิตในฟาร์มบางเบิด และภาพสเก็ตที่ใช้เปรียบเทียบเพื่อหารากฐานอาคารเดิม ใช้ควบคู่กับความทรงจำจากทายาทของท่าน หลักฐานที่สำคัญต้นไม้ใกล้ตำหนักเดิมก็คือต้นลั่นทม และต้นนุ่น เมื่อหาต้นไม้สองต้นนี้เจอจึงเริ่มขุดหารากฐานอาคาร จนพบในที่สุด และหากมองจากหน้าต่างห้องจัดแสดงนี้ลงไปจะเห็นพื้นที่เดิมของพระตำหนักซึ่ง อยู่ด้านข้างนั่นเอง และมองไกลออกไปตามช่องเขา จะเห็นทะเลจากหน้าต่างด้านนี้ นอกจากนี้ยังมีรูปปั้นจำลองก่อนหล่อของจริงจัดแสดงในห้องนี้อีกด้วย
ชั้นสามในอนาคตส่วนหนึ่งจะจัดทำเป็นห้องดูดาวแต่ยังไม่สำเร็จ อีกส่วนหนึ่งจัดแสดงผลงานของสถานีวิจัยสิทธิพรกฤดากร ทั้งเรื่องปาล์มน้ำมัน และเพาะพันธุ์ปูม้าเพื่อการอนุรักษ์ หากใครต้องการเข้าชมบ้านพิพิธภัณฑ์หม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร และอนุสรณ์สถาน สามารถเข้าชมได้ในวันและเวลาราชการ ควรติดต่อขอวิทยากรนำชมล่วงหน้าจากสถานีวิจัยสิทธิพรกฤดากร อ.บางสะพานน้อย จ.ประจวบคีรีขันธ์
มัณฑนา ชอุ่มผล /เขียน
ข้อมูลจาก: สำรวจภาคสนาม วันที่ 27 กรกฎาคม 2554
รีวิวของบ้านพิพิธภัณฑ์ ม.จ.สิทธิพร กฤดากร
สถานีวิจัยสิทธิพรกฤดากร ตั้งอยู่บนพื้นที่ซึ่งเคยเป็นฟาร์มบางเบิดของหม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร นักบุกเบิกการเกษตร ผู้อุทิศชีพเพื่อเกษตรกรรมและเกษตรกรไทย ในระหว่างปี พ. ศ.2463 - 2502 พระองค์ได้ทรงทำการเกษตรแบบไร่นาสวนผสมขึ้นที่ฟาร์มบางเบิด เพื่อเป็นแบบอย่างและเป็นทางเลือกสำหรับอาชีพของชนชั้นกลางรุ่นใหม่ ต่อมาพื้นที่ดังกล่าวได้ตกเป็นที่ราชพัสดุ และให้เกษตรกรเช่าใช้ประโยชน์ปัจจุบันสถานีวิจัยสิทธิพรกฤดากร มีพื้นที่รวมทั้งสิ้น 452 ไร่ 77.6 ตารางวา แบ่งเป็น2 แปลงคือ พื้นที่ตั้งสถานีวิจัยสิทธิพรกฤดากร มีเนื้อที่ 444 ไร่ 1 งาน 68.7 ตารางวา เป็นสถานที่ก่อสร้างอนุสรณ์สถานหม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร สถานที่ก่อสร้างอาคารต่างๆ แปลงทดลองระบบเกษตรที่เหมาะสมสำหรับภาคใต้โดยเฉพาะพืชเศรษฐกิจ คือ ปาล์ม น้ำมัน และยางพารา และพื้นที่โครงการวิจัยด้านการประมง มีเนื้อที่ 7 ไร่ 3 งาน 8.9 ตารางวา เป็นที่ตั้งอาคารปฏิบัติการประมง ซึ่งทำงานวิจัยด้านการเพาะเลี้ยงปูม้าหรือปูทะเลเพื่อปล่อยกลับสู่ธรรมชาติ เป็นหลัก
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้รับอนุมัติให้ใช้ที่ดินดังกล่าวเป็นที่ตั้งสถานีวิจัยเพื่อสืบสานเจตนารมณ์ของท่านในการทดลอง ค้นคว้า ศึกษาหาวิธีทำการเกษตรที่เหมาะสมให้แก่เกษตรกรไทยต่อไป นอกจากการตั้งชื่อสถานีวิจัยตามพระนามของม.จ.สิทธิพร กฤดากร แล้วมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ยังเห็นสมควรให้จัดสร้างอนุสรณ์สถานเพื่อเตือนใจอนุชนให้รำลึกถึงบิดาแห่งการเกษตรแผนใหม่อีกด้วย โดยอนุสรณ์สถานดังกล่าวจะประกอบด้วยอนุสาวรีย์ ตำหนักเดิม และพิพิธภัณฑ์ โดยจัดแสดงเอกสาร ภาพถ่าย สิ่งของเครื่องใช้ ที่เนื่องด้วยชีวิตและงานของม.จ.สิทธิพร กฤดากร ผู้สนใจสามารถเข้าชม นิทรรศการเรื่อง ชีวิตและงานของ ม.จ.สิทธิพร กฤดากร ซึ่งจัดแสดงไว้ ณ อาคารสำนักงาน ในสถานีวิจัยฯ ได้ระหว่างวันจันทร์-วันเสาร์ เวลา 8.00-17.00 น.
เรียบเรียงจาก:
http://www.aerdi.ku.ac.th/department/sittiporn/Webpage/index.htm [accessed 20081031] http://www.ku.ac.th/org/oamc/sitx.htm [accessed 20081031]
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสื่อออนไลน์
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยบล็อก
ตามรอยบาทปราชญ์เกษตร ที่ฟาร์มบางเบิด
ตามรอยบาทปราชญ์เกษตร มจ. สิทธิพร กฤษดากร เจ้าของอมตวาจา "เงินทองเป็นของมายา ข้าวปลาเป็นของจริง" เจ้านายผู้ทรงเล็งเห็นความสำคัญของการเกษตรซึ่งเป็นแหล่งปากท้องและแหล่งสร้างอาหารที่สำคัญของโลก ทรงละทิ้งตำแหน่งหน้าที่ตลอดจนความสะดวกสบายในวังเพื่อมาทรงบุกเบิกงานด้านเกษตรกรรม เพื่อทรงวางพื้นฐานและพัฒนาองค์ความรู้ด้านการเกษตรแก่ลูกหลานชาวไทยแนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสารานุกรมไทย
บุคคลสำคัญ การเกษตร ฟาร์มบางเบิด หม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร
พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดนาห้วย
จ. ประจวบคีรีขันธ์
ศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. ทับสะแก (พลังคิด ดี)
จ. ประจวบคีรีขันธ์
พิพิธภัณฑ์กุยบุรี
จ. ประจวบคีรีขันธ์