อุทยานประวัติศาสตร์กองบิน 53


ที่อยู่:
กองบังคับการกองบิน 5 ตำบลเกาะหลัก อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
โทรศัพท์:
0-9065-7138
วันและเวลาทำการ:
เปิดเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ 08.00-16.00 น.
ค่าเข้าชม:
ผู้ใหญ่20 บาท เด็ก 10 บาท ชาวต่างชาติ 30 บาท
เว็บไซต์:
จัดการโดย:
ไม่มีข้อมูล

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

ไม่มีข้อมูล

เที่ยวเขตทหาร "กองบิน 53" ย้อนตำนานสมรภูมิรบ

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 5/27/2548

ที่มา: ผู้จัดการรายวัน

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555


ไม่มีข้อมูล

รีวิวของอุทยานประวัติศาสตร์กองบิน 53

เช้ามืดของวันที่ 8 ธันวาคม 2484 ขณะที่คนไทยกำลังหลับใหลในนิทรารมย์ กลางอ่าวไทยบริเวณน่านน้ำหน้าเขาล้อมหมวก ในเมืองประจวบนั้น เรืออากาศตรีศรีศักดิ์ สุจริตธรรมและกลุ่มทหารไทยกลุ่มหนึ่งกำลังจะออกเรือไปจับปลาในช่วงเช้าอย่างที่เคยทำกันมาตลอด ต้องรีบกลับเข้าฝั่งอย่างรวดเร็วเพราะพบการเคลื่อนไหวอยู่บนพื้นน้ำ บริเวณอ่าวมะนาว เพ่งมองออกไปก็พบกับหมู่เรือท้องแบนของทหารญี่ปุ่น 3 ลำ ลำเลียงทหารญี่ปุ่นจำนวนมาก กำลังจะเข้ามายังชายหาด เห็นดังนั้น เรืออากาศตรีศรีศักดิ์ จึงรีบรายงานเหตุการณ์ที่พบให้ผู้บังคับบัญชาทราบ จากนั้นเหตุการณ์ก็โกลหล ทหารประจำกองบินน้อยที่ 5 ได้ทำการต่อต้านการเข้ายึดพื้นที่ของทหารญี่ปุ่นอยู่จนถึงวันที่ 9 ธันวาคม 2484 เวลา 11 นาฬิกา ร้อยตำรวจโทสงบ พบปราณี ที่เป็นผู้นำสารจากจอมพลป.พิบูลสงครามมาให้แก่ผู้บังคับการกองบินน้อยถูกยิงเสียชีวิตจากเหตุการณ์ปะทะครั้งนี้ จนทางจังหวัดต้องส่งบุรุษไปรษณีย์ว่ายน้ำจากอ่าวประจวบมาขึ้นที่เขาล้อมหมวก นำส่งสารให้ผู้บังคับการกองบินน้อยที่ 5 ให้หยุดยิงและนำมาซึ่งการเจรจาหยุดยิง และเซ็นสัญญาสงบศึกกับนายทหารผู้บังคับการของกองทัพญี่ปุ่น ในอีก 33 ชั่วโมงต่อมา สรุปแล้วความเสียหายที่เกิดขึ้นทหารอากาศไทยเสียชีวิตไป 38นาย ตำรวจ 1 นาย ยุวชนทหาร 1 นาย และสุภาพสตรี 1 ท่าน รวมทั้งสิ้น 42 ท่าน ส่วนฝ่ายญี่ปุ่นสูญเสีย 417 ราย รายละเอียดของการปะทะที่เกิดขึ้น ความสูญเสียในบริเวณต่างๆ และพื้นที่ที่กลายเป็นสนามของการปะทะ ได้ถูกบรรจุอยู่ในการนำเสนอของพิพิธภัณฑ์อุทยานประวัติศาสตร์กองบิน 53

พุทธศักราช 2465จุดเริ่มต้นของกองบิน 5 เริ่มจากร้อยเอกหลวงอมร ศักดาวุฒิและร้อยเอกตาบ ทัตตานนท์ ได้ขออนุญาตกระทรวงกลาโหมตั้งกองบินใหญ่ที่ 1 สังกัดทหารบก มาตั้งอยู่ที่บริเวณนี้ และย้ายไปตั้งอยู่ที่ลพบุรีเพียงชั่วระยะเวลา 2 ปี ก็ย้ายกลับมายังอ่าวมะนาวอีกครั้งใน ปี พ.ศ.2468 และเปลี่ยนชื่อจาก กองบินใหญ่ที่ 1 เป็นโรงเรียนการยิงปืน จากนั้นก็เปลี่ยนมาอีกหลายครั้งตามการเปลี่ยนแปลงต้นสังกัดจากกองทัพบก มาเป็นกองทัพอากาศ พอถึงปี พ.ศ.2535 ก็เปลี่ยนมาเป็นกองบินที่ 53 แต่ใครหลายคนก็ยังคงเรียกกองบินที่ 5 อันนี้คือความซับซ้อนของหน่วยงานในกองทัพ ซึ่งเป็นเรื่องภายในแต่ในความทรงจำของประชาชนทั่วไปก็คือ กองบิน 53 หรือกองบิน 5 จังหวัดประจวบฯ ชาวประจวบหลายคนเมื่อจะเข้ามาทำธุระหรือว่าเข้ามาในกองบิน ก็บอกกันง่ายๆ ว่าไป “อ่าวมะนาว” นั่นเอง

หลังจากเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่ 2 และสงครามมหาเอเชียบูรพาจบลง ในปี พ.ศ. 2489 ด้วยการยอมแพ้อย่างราบคาบของกองทัพลูกพระอาทิตย์ กองบิน 53 ก็ได้ปฎิบัติหน้าที่หน่วยการบินอย่างแข็งขันมาตลอด แต่ประวัติศาสตร์หน้าหนึ่งของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวันที่ 8 ธันวาคม 2484 นั้น ยังตราตรึงในจิตใจและความทรงจำของชาวประจวบและนายทหารที่ประจำการอยู่ที่นี่ไม่รู้ลืม ทุกๆวันที่ 8 ธันวาคม ของทุกปีจนถึงปีปัจจุบันนี้ จะมีพิธีการวางพวงมาลาเพื่อรำลึกถึงความสูญเสียและการเสียสละของผู้กล้าทั้ง 42 ท่าน ณ บริเวณลานอนุสาวรีย์วีรชน ซึ่งความน่าสนใจของอนุสาวรีย์นี้จัดสร้างเป็นรูปนายทหารอากาศถือธงชาติไทย ขาซ้ายก้าวมาข้างหน้าในท่าเตรียมพร้อมวิ่ง โดยยืนอยู่บนใบพัดของเครื่องบิน และทางกองบินได้เชิญ พันเรืออากาศโทศรีศักดิ์ สุจริตธรรมผู้อยู่ในเหตุการณ์วันที่ 8 ธันวาคม นั้นมาร่วมเล่าเหตุการณ์ให้ฟังทุกๆปี ถือได้ว่าท่านเป็นปูชนียบุคคลที่ทางกองบินให้ความเคารพนับถือเป็นอย่างยิ่ง

อุทยานประวัติศาสตร์เปิดตัวในปี พ.ศ.2546 โดยใช้อาคารสโมสรนายทหารและอาคารพักเรือนแถวของนายทหารชั้นสัญญาบัตรในสมัยนั้น มาปรับปรุงและดัดแปลงให้เป็นห้องจัดแสดง

อาคารแรกดัดแปลงจากอาคารสโมสรนายทหารสัญญาบัตร แบ่งออกเป็น 6 ส่วน ส่วนแรกได้แก่ห้องโถงนิทรรศการนำเสนอภาพวิวัฒนาการของกองทัพอากาศไทย เริ่มตั้งแต่ในสมัยรัชกาลที่ 6 ที่ได้ส่งทหารไปเรียนการบินมาจากฝรั่งเศสและขับเครื่องบินที่ซื้อมาจากฝรั่งเศสกลับมายังเมืองไทย ถือได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของกองทัพอากาศไทย จนมาถึงการก่อตั้งของกองบินน้อยที่ 5 อ่าวมะนาวนี้ และพัฒนาการต่าง ๆได้ลำดับเหตุการณ์สำคัญๆที่เกิดขึ้น จนถึงปัจจุบัน ในส่วนหนึ่งได้กล่าวถึงเครื่องบินรุ่นต่างๆ ที่เคยใช้ในกองทัพอากาศไทย เดินเข้ามาในห้องโถงอีกส่วนหนึ่งจะมีแผนภาพจำลองพื้นที่ทั้งหมดของกองบินน้อยที่ 5 ตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง และมีห้องฉายภาพมัลติมีเดีย เกี่ยวกับเหตุการณ์ประวัติศาสตร์การยกพลขึ้นบกของกองทัพทหารญี่ปุ่นในวันที่ 8 ธันวาคม 2484 ณ อ่าวมะนาว ส่วนต่อมาจัดเป็นห้องสำนักงานของพิพิธภัณฑ์ และห้องน้ำ อีกส่วนที่ก่อนนี้เคยจัดเป็นห้องขายของที่ระลึกในปัจจุบันได้ดัดแปลงเป็นห้องจัดแสดงเกี่ยวกับหอยตลับ เป็นหอยที่พบได้มากในเขตชายหาดจังหวัดประจวบคีรีขันธ์และในปัจจุบันมีโครงการของสมเด็จพระบรมราชินีนาถในการอนุรักษ์หอบตลับที่กองบินดูแลรับผิดชอบอยู่ ในทุกๆปีก็จะมีวันปล่อยหอยตลับกลับสู่ชายหาด ในส่วนของการจัดแสดงนิทรรศการก็จะให้ความรู้เกี่ยวกับหอยตลับและสายพันธุ์ต่างๆที่พบในประเทศไทย และสายพันธุ์ที่มีอยู่

เมื่อเราออกจากอาคารจัดแสดงที่ 1 แล้วจะพบกับแผ่นหินทรายแกะสลักเหตุการณ์เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2484 โดยหินที่ใช้นำมาจากจังหวัดสระบุรี และให้ทหารที่มีฝีมือของกองบินเป็นคนแกะสลักเป็นเรื่องราวและเป็นส่วนสำคัญในการจัดแสดงทั้งหมดของบริเวณอุทยานประวัติศาสตร์ด้วย ถัดไปด้านข้างหมู่อาคารที่หันหน้าออกสู่ทะเล ที่สีฟ้าสดใส คืออาคารจัดแสดงที่ 2 ที่ดัดแปลงมาจากเรือนพักของทหารสัญญาบัตรที่มีอยู่ในสมัยปีพ.ศ. 2484 มาเป็นอาคารจัดแสดง เรียกว่า อาคารประวัติศาสตร์สงคราม แบ่งพื้นที่ใช้สอยทั้งหมดเป็น 9 ส่วน ได้แก่ 1.ทางเข้า 2. ประชาสัมพันธ์ 3.อุบัติการณ์และศึกใหญ่ในสงครามโลกครั้งที่ 2 ในส่วนนี้จะเล่าเรื่องของการเกิดขึ้นของสงครามโลกครั้งที่ 2 ว่าเริ่มจากความขัดแย้งในยุโรป จนเกิดเป็นสงครามโดยแบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย คือฝ่ายอักษะมีเยอรมันและอิตาลีร่วมมือกันและฝ่ายสัมพันธมิตรมีอังกฤษและฝรั่งเศสร่วมมือกัน การสงครามเกิดขึ้ยหลายพื้นที่ทั่วยุโรปและประเทศอาณานิคม ในขณะที่ยุโรปกำลังขาดความสงบนั้น ในเอเชียเองญี่ปุ่นก็เริ่มกระจายกำลังออกสู่พื้นที่ต่างๆ เกือบทุกประเทศในเอเชียทั้งจีน เกาหลี อินโดนีเซีย ไทย ลาว เวียดนาม สิงค์โปร์ มาเลเซียและพยายามที่จะเข้าสู่พม่าให้ได้ จึงเกิดสงครามในซีกโลกตะวันออกบ้างเรียกว่า สงครามมหาเอเชียบูรพา

4.ชีวิตทหารไทยในไฟสงคราม ในช่วงที่เกิดสงครามขึ้นทั่วโลกนั้น ชีวิตทหารไทยที่ประจำการอยู่ที่อ่าวมะนาวนั้นก็ยังคงปฏิบัติหน้าที่อยู่อย่างเข้มแข็ง แม้ว่ายังไม่เกิดการรบพุ่งใดๆ แต่ก็พยายามเงี่ยหูฟังข่าวตลอดเวลา ความเป็นอยู่ของทหารไทยก็สื่อออกมาเป็นภาพจำลองของการอยู่การกินของครอบครัวทหารในห้องเรือนแถวนี้ ในห้องถัดมาห้องที่ 5.การเจรจาขอผ่านแดน เป็นการเสนอเรื่องราวที่เกิดขึ้นตั้งแต่เช้ามืดของวันที่ 8 ธันวาคม 2484 ในขณะที่กรุงเทพพระมหานครนั้นกำลังมีงานรื่นเริงเฉลิมฉลองรัฐธรรมนูญอยู่ มีทั้งเครื่องไฟสวยงามและการประกวดสาวงาม นางสาวสยาม ในพื้นที่อื่นๆ ของประเทศทหารญี่ปุ่นที่แฝงตัวมาอยู่ในคราบของช่างถ่ายภาพ หมอฟัน มาขายของฯลฯ ก็กลายสภาพเป็นนายทหารสายลับที่เข้ามาสืบข่าวพากองทัพทหารญี่ปุ่น ยกพลขึ้นบกในบริเวณอ่าวไทยถึง 7 จุด ตั้งแต่ชายฝั่งประจวบ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา และปัตตานี ในช่วงเวลาที่คนไทยกำลังหลับใหล การต่อสู้ต่อต้านของทหารไทยต่อทหารญี่ปุ่นเกิดขึ้นในทันทีที่รู้ตัว จนช่วงเวลา 13.00 น. ของวันที่ 9 ธันวาคม 2484 จึงได้มีการหยุดยิงเพราะมีคำสั่งมาจากจอมพล ป.พิบูลสงคราม ให้หยุดการต่อสู้ หลังจากนั้นก็มีการเจรจากับแม่ทพนายทหารญี่ปุ่น ในห้องนี้จะจัดภาพไว้สองข้างทางเดินเป็นการเปรียบเทียบให้เห็น 2 เหตุการณ์ 2 สถานที่ ในวันเวลาเดียวกัน ในส่วนที่ 6.เกียรติภูมิผู้กล้า เป็นห้องที่มีการบรรยายพร้อมจำลองสภาพเหตุการณ์จริงให้ผู้เข้าชมได้ทราบว่า ในเช้าของวันที่ 8 ธันวาคม2484 นั้นเกิดอะไรขึ้นบ้าง มีร่องรอยของกระสุนที่ถูกยิงสวนมาจากท้องทะเลโดยทหารญี่ปุ่นระหว่างการต่อสู้ก่อนมีการเจรจาหยุดยิงและเสนอภาพของความสูญเสียให้เห็นว่าสงครามทำให้เกิดความเสียหายและความเจ็บปวดแก่ประชาชนทุกชนชาติไม่ว่าที่ไหนก็ตาม

ส่วนสุดท้ายของการจัดแสดงในอาคารนี้ คือห้องที่ 7. สู่สันติภาพ ห้องนี้ใช้สีขาวเป็นสื่อนำสายตาไปยังจอภาพและวิทยากรก็จะเล่าให้ฟังถึงการต้องสูญเสียกำลังคน และผู้กล้าที่เข้ามาช่วยปกป้องแผ่นดินไทยจากเหตุการณ์ในวันที่ 8 ธันวาคม 2484 ทั้ง 39 ชีวิต และไว้อาลัยให้กับผู้ที่สละชีวิต บางคนที่ในปัจจุบันนี้ก็ยังมีชีวิตอยู่ในทุกวันที่ 8 ธันวาคม ของทุกปีที่มีงานรำลึกถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก็จะกลับมาร่วมกิจกรรมและเล่าเหตุการณ์ให้ทุกคนได้ฟังอีกครั้ง จากนั้นก็เป็น ทางออก และ ห้องน้ำ

นอกเหนือจากอาคารทั้ง 2 หลัง ที่จัดนำเสนอเรื่องราวต่างๆ ไว้ บริเวณด้านหลังของอาคารประวัติศาสตร์สงครามนั้นก็ยังจัดแสดงเครื่องบินรุ่นต่างๆ ที่เคยใช้งานในกองทัพ แต่ได้ปลดประจำการไปแล้ว จัดแสดงอยู่ด้วย

นอกจากจุดน่าสนใจที่ได้กล้าวไปแล้วก็ยังมี อนุสรณ์แห่งการเสียสละอีก 2 จุด คือ อนุสาวรียรายนามผู้เสียชีวิตเพื่อไว้อาลัยแก่ผู้กล้าทั้ง 39 ท่าน จัดทำด้วยแผ่นหินจำนวน 39 ชื่อ วางเรียงลดหลั่นกันเป็นแท่งสูงขึ้นไปด้านบน และอีกจุดคือ ศาลเพียงตาบริเวณด้านหน้าชายหาดที่จำลองรูปทรงจากเรือนแถวที่เป็นอาคารประวัติศาสตร์สงคราม ให้เป็นหลังเล็กลงและเป็นที่เคารพสักการะแก่ทหารในกองบินทุกคนด้วย

กิจกรรมที่เกิดขึ้นในกองบินที่ 53 นี้ ไม่ใช่เพียงการเข้าชมอุทยานประวัติศาสตร์แห่งนี้เท่านั้น แต่ยังมีกิจกรรมที่ต้องใช้พละกำลังและความอดทนประกอบด้วยคือการเดินขึ้นเขาล้อมหมวกเพื่อชมวิวเมืองสามอ่าวของประจวบคีรีขันธ์ ได้แก่ อ่าวประจวบ อ่าวมะนาวและอ่าวน้อย สวยงามเป็นอย่างยิ่ง

ผู้เข้าชม ณ อุทยานประวัติศาสตร์กองบิน 53 นี้ จะมีหลากหลายทั้งนักท่องเที่ยวที่ผ่านมาและแวะเข้ามาเที่ยวชมพิพิธภัณฑ์และขึ้นเข้าล้อมหมวก กลุ่มนายทหารที่มาเยี่ยมชมกองบิน กลุ่มเด็กนักเรียนจากโรงเรียนในเขตจังหวัดประจวบคีรีขันธ์และใกล้เคียง ปีหนึ่งก็หลายพันคน หากมีการติดต่อล่วงหน้าก็จะจัดเจ้าหน้าที่นำชมให้ สำหรับในอนาคตนั้นกำลังจะขยายอาคารจัดแสดงไปยังบ้านพักนายทหารอีกหนึ่งหลังที่อยู่ในบริเวณเดียวกัน แต่ยังอยู่ในช่วงของการเตรียมในเรื่องของงบประมาณและการวางแผนจัดแสดง
 
อ้างอิง
Website ที่เกี่ยวข้อง http://www.prachuaptown.com/travel/prachuap/wing5.php
 
ชื่อผู้แต่ง:
-