พิพิธภัณฑ์วัดกำแพงแสน


สืบเนื่องจากพระปลัดสุวัฒน์ สุชีโว เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน เป็นพระนักพัฒนา ท่านส่งเสริมงานด้านการศึกษาและปฏิสังขรณ์ศาสนสถานภายในวัด งานที่นับว่าเป็นการอนุรักษ์มรดกท้องถิ่นกำแพงแสนคือ ท่านได้เริ่มรวบรวมโบราณวัตถุต่าง ๆ ในท้องถิ่นและจัดตั้งพิพิธภัณฑ์วัดกำแพงแสนขึ้น ซึ่งประกอบด้วยโบราณวัตถุหลากหลายประเภท ทั้งเป็นโบราณวัตถุในท้องถิ่น คือ โบราณวัตถุสมัยทวารวดี และโบราณวัตถุอื่น ๆที่ผู้มีจิตศรัทธานำมาถวาย พิพิธภัณฑ์วัดกำแพงแสนจัดแสดงสิ่งของต่าง ๆ ไว้ในศาลาเอนกประสงค์ ซึ่งเป็นอาคารชั้นเดียว โดยจัดแสดงวัตถุไว้ในตู้กระจก ของที่จัดแสดงได้แก่ โบราณวัตถุสมัยทวารวดีจากเมืองโบราณกำแพงแสน ประกอบไปด้วยเศษประติมากรรมปูนปั้น และชิ้นส่วนสถาปัตยกรรม ภาชนะดินเผาสมัยต่างๆ ประกอบด้วยภาชนะดินเผาหลายสมัย เช่น สมัยบ้านเชียง หรือ เครื่องถ้วยต่างๆ เครื่องใช้ต่างๆ ในครัวเรือน เช่น เครื่องจักสาน และเครื่องทองเหลือง พระพุทธรูปและพระพิมพ์ เป็นของหลายยุคหลายสมัย เปลือกหอยทะเล เป็นเปลือกหอยขนาดใหญ่สวยงาม ซึ่งได้มาจากการขุดบ่อดินในบริเวณชุมชนกำแพงแสน

ที่อยู่:
วัดกำแพงแสน ต.ห้วยหมอนทอง อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม 73140
วันและเวลาทำการ:
เปิดทุกวัน
ค่าเข้าชม:
ไม่เก็บค่าเข้าชม
ปีที่ก่อตั้ง:
2538
จัดการโดย:

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

ไม่มีข้อมูล

รีวิวของพิพิธภัณฑ์วัดกำแพงแสน

วัดกำแพงแสน เป็นวัดราษฎร์ สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย วัดมีเนื้อที่ 29 ไร่ ที่ตั้งของวัดอยู่ทางทิศตะวันตกของเมืองกำแพงแสนโบราณ โดยอยู่ห่างจากเมืองกำแพงแสนโบราณราว 1 กิโลเมตร ใกล้กับวัดประมาณ 100 เมตร เป็นที่ตั้งของวัดร้าง ซึ่งยังไม่มีการศึกษาว่าสร้างขึ้นในสมัยใด สำหรับวัดกำแพงแสนนั้นไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยใด แต่จากคำบอกเล่าของชาวบ้านเล่ากันว่า วัดมีอายุประมาณ 200 ปี อย่างไรก็ดีจากเอกสารที่จัดทำโดยวัดกำแพงแสนอีกชุดหนึ่งได้กล่าวว่า วัดกำแพงแสนสร้างขึ้นในราว พ.ศ. 2366 โดยอ้างตามหลักฐานของอำเภอ นอกจากนี้ยังให้ข้อมูลว่า ในครั้งนั้นมีการสร้างพระอุโบสถหลังแรกขึ้น แต่ต่อมาในปี พ.ศ. 2490 เจ้าอาวาสในขณะนั้นคือ พระครูสุกิจธรรมสร(หลวงพ่อสว่าง) ได้ย้ายวัดกำแพงแสนมาตั้งยังที่ใหม่ ใกล้คลองท่าสารบางปลา ซึ่งเป็นที่ตั้งวัดกำแพงแสนในปัจจุบัน
 
สืบเนื่องจากพระปลัดสุวัฒน์ สุชีโว เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน เป็นพระนักพัฒนา ท่านส่งเสริมงานด้านการศึกษาและปฏิสังขรณ์ศาสนสถานภายในวัด งานที่นับว่าเป็นการอนุรักษ์มรดกท้องถิ่นกำแพงแสนคือ ท่านได้เริ่มรวบรวมโบราณวัตถุต่าง ๆ ในท้องถิ่นและจัดตั้งพิพิธภัณฑ์วัดกำแพงแสนขึ้น ซึ่งประกอบด้วยโบราณวัตถุหลากหลายประเภท ทั้งเป็นโบราณวัตถุในท้องถิ่น คือ โบราณวัตถุสมัยทวารวดี และโบราณวัตถุอื่น ๆที่ผู้มีจิตศรัทธานำมาถวาย 
 
พิพิธภัณฑ์วัดกำแพงแสนจัดแสดงสิ่งของต่าง ๆ ไว้ในศาลาเอนกประสงค์ ซึ่งเป็นอาคารชั้นเดียว โดยจัดแสดงวัตถุไว้ในตู้กระจก ของที่จัดแสดงได้แก่ โบราณวัตถุสมัยทวารวดีจากเมืองโบราณกำแพงแสน ประกอบไปด้วยเศษประติมากรรมปูนปั้น และชิ้นส่วนสถาปัตยกรรม  ภาชนะดินเผาสมัยต่างๆ ประกอบด้วยภาชนะดินเผาหลายสมัย เช่น สมัยบ้านเชียง หรือ เครื่องถ้วยต่างๆ  เครื่องใช้ต่างๆ ในครัวเรือน เช่น เครื่องจักสาน และเครื่องทองเหลือง พระพุทธรูปและพระพิมพ์ เป็นของหลายยุคหลายสมัย เปลือกหอยทะเล เป็นเปลือกหอยขนาดใหญ่สวยงาม ซึ่งได้มาจากการขุดบ่อดินในบริเวณชุมชนกำแพงแสน  
 
ข้อมูลจาก: 
สำรวจภาคสนามวันที่ 6 มิถุนายน 2548
ตรงใจ หุตางกูร. ข้อมูลพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นในจังหวัดนครปฐม ปี พ.ศ. 2546 ฉบับเนื้อหาโดยสังเขป. ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (เอกสารอัดสำเนา), 2546.
ชื่อผู้แต่ง:
-