ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม ร.ร.ราชินีบูรณะ


โรงเรียนราชินีบูรณะ ถือกำเนิดเมื่อปี พ.ศ. 2457 ถือเป็นโรงเรียนสตรีแห่งแรกในมณฑลนครไชยศรี ซึ่งสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้บูรณะโรงเรียนนี้ขึ้น โรงเรียนแบ่งออกเป็นสองวิทยาเขต ชื่อว่า เขตศรีพัชรินทร์ และเขตสินธุรวี แยกพื้นที่ระหว่างมัธยมต้นและมัธยมปลาย การมีโรงเรียนสตรีในระดับภูมิภาคนั้นเป็นการขยายโอกาสให้ผู้หญิงได้รับการศึกษามากขึ้น มีทางเลือกในการดำเนินชีวิตและการทำมาหากินมากขึ้น กุลธิดาของข้าราชการและคหบดีในเมืองหัวจำนวนมากได้รับโอกาสให้เข้ามาศึกษาในโรงเรียนแห่งนี้ ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมของโรงเรียนราชินีบูรณะตั้งอยู่ในอาคารเรียนหลังเก่า ภายในจัดแสดงภาพถ่ายเก่า และอุปกรณ์การเรียนการสอนในอดีตของโรงเรียนที่ยังเก็บไว้ เช่น โต๊ะเรียน โต๊ะครูใหญ่ แบบเรียน เรื่องราวความทรงจำของนักเรียนและครูอาจารย์ ฯลฯ

ที่อยู่:
โรงเรียนราชินีบูรณะ ถ.หน้าพระ อ.เมือง จ.นครปฐม 73000
โทรศัพท์:
0-3425-8345, 0-3425-8456
วันและเวลาทำการ:
เปิดวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 8.30 - 16.30 น.
ค่าเข้าชม:
ไม่เสียค่าเข้าชม
เว็บไซต์:
จัดการโดย:

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

ไม่มีข้อมูล

รีวิวของศูนย์ศิลปวัฒนธรรม "ราชินีบูรณะ"

โรงเรียนราชินีบูรณะ ถือกำเนิดเมื่อปี พ.ศ. 2457 เจ้าพระยาศรีวิชัย ต.สมุหเทศาภิบาล มณฑลนครชัยศรีได้ขอครูสตรีจากกระทรวงธรรมการ เพื่อจัดตั้งโรงเรียนสตรีประจำจังหวัดขึ้นครูคนแรกของโรงเรียน คือ ครูไปล่ สายันตนะ โดยเช่าห้องแถวริมถนนซ้ายพระ ของพระคลังข้างที่ 2 ห้อง เป็นโรงเรียน เปิดสอนครั้งแรกเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2457 มีนักเรียนทั้งหมด 7 คน ต่อมาโรงเรียนถูกไฟไหม้ จึงย้ายมาตั้งใหม่ที่เรือนข้างที่พักกองเสือป่า(ใกล้ห้องสมุดประชาชน) มีนักเรียน 36 คน ต่อมาพระยามหาอำมาตย์ อุปราชภาคตะวันตก และสมุหเทศาภิบาลนครชัยศรีเห็นความจำเป็นจะต้องตั้งโรงเรียนถาวรขึ้น จึงมอบให้คุณหญิงทองอยู่ (ภรรยา) ซึ่งเป็นข้าหลวงคนสนิทของสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินาถ เข้าเฝ้าขอพระราชทานเงินเพื่อสร้างโรงเรียนหญิงประจำมณฑลขึ้น โปรดเกล้าฯ พระราชทานเงิน 25,000 บาท สร้างโรงเรียนราชินีบูรณะ ผู้ควบคุมการก่อสร้าง คือ พระพุธเกษตรานุรักษ์ พัศดีเรือนจำนครปฐม สร้าง ณ ที่ ถนนราชมรรคา ตำบลพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม สร้างเสร็จเรียบร้อยและเปิดให้นักเรียนเข้าเรียนได้ เมื่อ วันที่ 30 พฤษภาคม 2461
 
วันที่ 10 มิถุนายน 2462 สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ(พระพันปีหลวง) ได้พระราชทานพระบรมฉายาลักษณ์ขนาดใหญ่ และโปรดเกล้าให้ กรมหมื่นพิทยาลาภพฤฒิยากร เป็นผู้แทนพระองค์มาเปิดโรงเรียน พร้อมกับ พระราชทานนามว่า "ราชินีบูรณะ" สภาพโรงเรียนเป็นตึก 2 ชั้น มีห้องเรียน 6 ห้อง
 
เนื่องจากนักเรียนมีเพิ่มมากขึ้นทุกปี ดังนั้น ใน พ.ศ.2477 พระยาพิพิธอำพลวิมลภักดี ผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม จึงได้ริเริ่มสร้างอาคารเรียนเป็นเรือนไม้ชั้นเดียว ใต้ถุนสูงขึ้น เปิดใช้เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2478 ชื่อว่า "เรือนพิพิธอำพลบูรณะ" ต่อมา พ.ศ.2497 ได้ใช้เงินบำรุงการศึกษาต่อเติม ชั้นล่างขึ้นอีก 5 ห้อง รวมเป็น 10 ห้องเรียน และได้ซื้อที่ดินเพิ่มด้านตะวันออก อีก 1 ไร่ 25 ตารางวา เป็นเงิน 45,000 บาท โดยได้รับพระราชทานเงินจากสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เป็นเงิน 3,500 บาท รวมกับเงินบริจาคของศิษย์ทุกรุ่น โรงเรียนจึงได้จัดสร้างอาคารเรียนเพิ่มขึ้น และโรงเรียนขยายมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งจำนวนอาคารเรียน และเด็กนักเรียน
 
กล่าวได้ว่าโรงเรียนราชินีบูรณะ เป็นโรงเรียนสตรีแห่งแรกในมณฑลนครไชยศรี   ซึ่งสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้บูรณะโรงเรียนนี้ขึ้น    ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมของโรงเรียนราชินีบูรณะตั้งอยู่ในอาคารเก่า      
 
การมีโรงเรียนสตรีในระดับภูมิภาคนั้น เป็นการขยายโอกาสให้ผู้หญิงได้รับการศึกษามากขึ้น  มีทางเลือกในการดำเนินชีวิตและการทำมาหากินมากขึ้น   กุลธิดาของข้าราชการและคหบดีในหัวเมืองเป็นจำนวนมาก ได้รับโอกาสให้เข้ามาศึกษาในโรงเรียนแห่งนี้   
 
ในพิพิธภัณฑ์จัดแสดงภาพถ่ายเก่า และอุปกรณ์การเรียนการสอนในอดีตของโรงเรียนที่ยังเก็บไว้ เช่น โต๊ะเรียน โต๊ะครูใหญ่ แบบเรียน ฯลฯ เรื่องราวความทรงจำของนักเรียนและครูอาจารย์ เหมือนจะพาเราย้อนกลับไปในช่วงเวลาในอดีตของโรงเรียน
 
ข้อมูลจาก: 
หนังสือประกอบงานเทศกาลพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น 2553
เว็บไซต์โรงเรียนราชินีบูรณะ http://www.rn.ac.th
ชื่อผู้แต่ง:
-