พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว


มหาวิทยาลัยศิลปากร บูรณะพระตำหนักชาลีมงคลอาสน์และพระตำหนักมารีราชรัตบัลลังก์ พระราชวังสนามจันทร์ เพื่อเป็นสถานที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์ โดยจัดแสดงพระราชประวัติ ตลอดจนพระราชกรณียกิจและพระปรีชาญาณต่าง ๆ ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ภายในตกแต่งให้มีลักษณะการใช้สอยและบรรยากาศใกล้เคียงกับอดีต ในห้องที่เคยเป็นห้องทรงพระอักษร ห้องบรรทม และห้องสรง ชั้นล่างทิศตะวันตกเป็นห้องรอเฝ้า และเคยใช้เป็นสำนักงานชั่วคราวในการออกหนังสือพิมพ์ดุสิตสมิตรายสัปดาห์

ที่อยู่:
พระราชวังสนามจันทร์ อ.เมือง จ.นครปฐม 73000
โทรศัพท์:
0-3424-2649
วันและเวลาทำการ:
เปิดอังคาร-พฤหัสบดี-เสาร์ 09.00-16.00 น.
ค่าเข้าชม:
ไม่เก็บค่าเข้าชม
จัดการโดย:

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

กรมศิลป์บูรณะพระราชวังสนามจันทน์ สถานที่พระราชสมภพสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 12/19/2545

ที่มา: กรุงเทพธุรกิจ

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

นายรอบรู้ นักเดินทาง นครปฐม

ชื่อผู้แต่ง: อนุรัตน์ วัฒนาวงศ์สว่าง | ปีที่พิมพ์: 2544

ที่มา: กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สารคดี

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555


ไม่มีข้อมูล

รีวิวของพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

มหาวิทยาลัยศิลปากร บูรณะพระตำหนักชาลีมงคลอาสน์และพระตำหนักมารีราชรัตบัลลังก์ พระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม เพื่อเป็นสถานที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยจัดแสดงพระราชประวัติ ตลอดจนพระราชกรณียกิจและพระปรีชาญาณต่างๆ ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
 
พระตำหนักชาลีมงคลอาสน์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สร้างใน พ.ศ. 2451 เดิมชื่อ "พระตำหนักเหล" ม.จ.อิทธิเทพสรร กฤดากร ทรงออกแบบให้มีลักษณะคล้ายปราสาทขนาดย่อม สถาปัตยกรรมแบบเรอเนซองส์ (Renaissance) ของฝรั่งเศสผสมผสานกับแบบฮาล์ฟทิมเบอร์ (Half timber) พระตำหนักแห่งนี้เคยเป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวในฐานะที่ทรงเป็นผู้บังคับบัญชาการเสือป่า เมื่อมีการซ้อมรบเสือป่า ณ พระราชวังสนามจันทร์ ด้านหน้าพระตำหนักเป็นที่ประดิษฐานของอนุสาวรีย์ย่าเหล สุนัขแสนรู้ตัวโปรดของพระองค์
 
ภายในตกแต่งให้มีลักษณะการใช้สอยและบรรยากาศใกล้เคียงกับอดีต ในห้องที่เคยเป็นห้องทรงพระอักษร ห้องบรรทม และห้องสรง ชั้นล่างทิศตะวันตกเป็นห้องรอเฝ้าและเคยใช้เป็นสำนักงานชั่วคราวในการออกหนังสือพิมพ์ดุสิตสมิตรายสัปดาห์
 
พระตำหนังมารีราชรัตบัลลังค์ สร้างขึ้นคู้กับพระตำหนักชาลีมงคลอาสน์ โดย ม.จ.อิทธิเทพสรร กฤดากร ทรงออกแบบให้มีสถาปัตยกรรมแบบนีโอคลาสสิกของตะวันตกมีฉนวนทางเดินทำเป็นสะพานจากชั้นบนด้านหลังของพระตำหนักชาลีฯ ข้ามคูน้ำเชื่อมกับชั้นบนด้านหน้าของพระตำหนักมารีฯ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้สร้างพระตำหนักกลุ่มนี้ในปี พ.ศ.2459 โดยทรงได้รับแรงบันดาลพระราชหฤทัยจากบทละครเรื่อง My friend Jarlet ของ Arnold Golsworthy และE.B. Norman ชื่อ Jarlet ผู้เสียสละชีวิตเพื่อลูกและเพื่อนในบทละครเรื่องนี้ยังเป็นที่มาของชื่อ "ย่าเหล" อีกด้วย พระตำหนักแห่งนี้จัดแสดงข้อมูลภาพถ่าย และข้อมูลเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจรวมทั้งพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทั้งบทละคร งานแปลบทความหนังสือพิมพ์ สารคดีบทภาพยนตร์ ฯลฯ
 
ข้อมูลจาก : 
1. แปลน รีดเดอร์ส. 100 พิพิธภัณฑ์กรุงเทพฯ-ปริมณฑล: โลกกว้างอยู่ไม่ไกล. กรุงเทพฯ : แปลนพริ้นติ้งแอนด์พับลิงชิ่ง, 2546. หน้า 146.
2. http://www.su.ac.th/html_organizations/museum.asp
ชื่อผู้แต่ง:
-