พิพิธภัณฑ์ภาพยนตร์ไทยแห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศ สถานที่จัดแสดงวัตถุสิ่งเกี่ยวเนื่องกับภาพยนตร์อันทรงคุณค่า ซึ่งหอภาพยนตร์ได้เก็บรักษาและรวบรวมไว้นับตั้งแต่ก่อตั้ง เพื่อให้สาธารณชนได้เรียนรู้ ศึกษา และค้นคว้าประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ไทย ผ่านประสบการณ์การเยี่ยมชมหลักฐานวัตถุ อันแสดงถึงความมั่งคั่งทางภูมิปัญญาของคนไทยที่ได้ริเริ่ม บุกเบิก และสร้างสรรค์งานภาพยนตร์ ตามบริบททางสังคมแต่ละยุคสมัยตลอดระยะเวลากว่าร้อยปี นำมาจัดแสดงใน 3 หัวเรื่อง คือ นิทรรศการหนึ่งศตวรรษภาพยนตร์ไทย หอเกียรติยศ และนิทรรศการขบวนการผลิตภาพยนตร์ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน อาคารพิพิธภัณฑ์สร้างเลียนแบบโรงถ่ายหนังศรีกรุง ซึ่งเป็นโรงถ่ายภาพยนตร์เสียงที่ได้มาตรฐานแห่งแรกของไทย แต่ถูกรื้อทิ้งไปเมื่อปี พ.ศ. 2508 นอกจากนี้ยังมี “เมืองมายา” นิทรรศการกลางแจ้งที่รวมฉากสถานที่ที่เป็นหมุดหมายสำคัญในประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ไทยและภาพยนตร์โลกไว้ อาทิ โรงหนังตังค์แดง โรงหนังถาวรแห่งแรกของโลกที่แทรกตัวอยู่ในตึกรามซึ่งดัดแปลงจากห้องแถวหลายๆห้องทำเป็นโรงมหรสพเก็บค่าเข้าชมในราคาถูก ร้านถ้ำมอง Kinetoscope ร้านดูหนังแบบถ้ำมองของโทมัส เอดิสัน นักประดิษฐ์เอกของโลกที่นำภาพยนตร์ใส่ตู้ให้หยอดเหรียญส่องดูทีละคน
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
ชื่อผู้แต่ง: ชานนท์ อุยี่ | ปีที่พิมพ์: 2542
ที่มา: สถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร
แหล่งค้นคว้า: มหาวิทยาลัยศิลปากร
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: ทีมการศึกษา | ปีที่พิมพ์: 6/19/2547
ที่มา: เดลินิวส์
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: ธนาคารกรุงเทพ ศูนย์สังคีตศิลป์สัญจร | ปีที่พิมพ์: 7/17/2547
ที่มา: ฉลองผ้าป่าสมามัคคี เพื่อหาทุนสร้างพิพิธภัณฑ์ภาพยนตร์ไทย
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: ฝ่ายหอภาพยนตร์แห่งชาติ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร | ปีที่พิมพ์: 2547
ที่มา: หนังเล็ก(ตะลุง)-หนังใหญ่ หนังไทย-ภาพยนตร์. พิมพ์เนื่องในวาระฉลองผ้าป่าสามัคคีเพื่อหาทุนสร้างพิพิธภัณฑ์ภาพยนตร์ไทย ณ โรงละครแห่งชาติ วันศุกร์ที่ 17 ก.ย. 2547
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 15/02/2552
ที่มา: ASTVผู้จัดการรายวัน
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 3 มิถุนายน 2553
ที่มา: กรุงเทพธุรกิจ
แหล่งค้นคว้า:
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: หนุ่มลูกทุ่ง | ปีที่พิมพ์: 21 กันยายน 2553
ที่มา: ผู้จัดการ
แหล่งค้นคว้า:
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: ธัชชัย วงศ์กิจรุ่งเรือง | ปีที่พิมพ์: ตุลาคม - ธันวาคม 2558;October - December 2015
ที่มา: วารสารวัฒนธรรม
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 22 เมษายน 2559
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยทีมงานและสมาชิก
รีวิวของพิพิธภัณฑ์ภาพยนตร์ไทย
อาคารพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ สร้างเลียนแบบโรงถ่ายหนังศรีกรุง ซึ่งเป็นโรงถ่ายภาพยนตร์เสียงที่ได้มาตรฐานแห่งแรกของไทย แต่ถูกรื้อทิ้งไปเมื่อปี 2508 ไม้ตะขาบ หรือเสลท รูปแบบต่าง ๆ ทั้งเสลทที่ใหญ่ที่สุด เสลทกระดานชนวน รวมถึงเสลททรงกลมหนึ่งเดียวในโลกของโรงถ่ายหนังศรีกรุง ได้จัดแสดงไว้บริเวณทางเข้าด้านหน้าของพิพิธภัณฑ์
แฟนพันธุ์แท้หนังไทยต้องร้องอ๋อ เมื่อเดินเข้ามาบริเวณโถงชั้นล่าง ที่จำลองฉากหนังไทยที่มีชื่อเสียง อาทิ ฉากใต้ถุนที่แม่นาคเอามือล้วงเก็บลูกมะนาว ฉากป้ายรถเมล์จากภาพยนตร์เรื่องกล่อง ฉากห้องพักนางเอกในเรื่องตลก 69 ฉากเคาน์เตอร์โรงแรมเรื่องโรงแรมนรก เป็นต้น รวมไปถึงของใช้ประกอบฉากต่าง ๆ อาทิ กล้องจากเรื่องชัตเตอร์ เสื้อผ้าจากเรื่องสุดเสน่หา ระฆังโรงเรียนจากเรื่องครูบ้านนอก ประตูแท็กซี่จากเรื่องทองพูน โคกโพ หุ่นมิตร ชัยบัญชา ในขณะโหนบันไดในฉากเรื่องอินทรีทอง เหล่านี้เป็นสัญลักษณ์ในหนังที่ผู้ชมจำได้ และเมื่อนำมาจัดแสดงจึงมีพลังอย่างน่าประหลาด นอกจากนี้ยังมีภาพถ่ายของรัตน์ เปสตันยี นักสร้างภาพยนตร์ไทยมือรางวัลรุ่นแรก ๆ คู่กับอัลเฟรด ฮิตช์คอร์ก บรมครูผู้กำกับและนักสร้างภาพยนตร์ของฮอลลีวู้ด
เมื่อเดินขึ้นสู่ชั้นสอง บริเวณบันไดทางขึ้นประดับไปด้วย แผ่นเสียงจากภาพยนตร์ไทยเรื่องต่าง ๆ กีตาร์จากเรื่องวัยระเริง และรางวัลต่าง ๆ ของคนบันเทิง ชั้นบนของอาคารจัดแสดงนิทรรศการหนึ่งศตวรรษประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ไทย โดยนำเสนอเรื่องราวตั้งแต่การเล่นภาพเงาของไทย คือ หนังตะลุง หนังใหญ่ เครื่องเล่นภาพจากต่างประเทศที่เข้ามาในไทย อาทิ Thaumatrope ตู้ภาพยนตร์ที่หยอดเหรียญดูทีละคน มุมจัดแสดงเรื่องย่อหนังยุคอดีตเล่มละ 5-10 สตางค์ ที่ครั้งหนึ่งเป็นสนามบ่มเพาะศรีบูรพาและยาขอบ นักเขียนชื่อดังของไทยในเวลาต่อมา ผู้ชมยังได้ชมกล้องถ่ายหนังรุ่นต่าง ๆ เครื่องบันทึกเสียงหนังเร่ ภาคเหนือ เครื่องฉายหนังจากฝรั่งเศส เครื่องถ่ายแอมิเมชั่น และเครื่องตัดต่อ
กว่าจะเป็นภาพยนตร์ให้เราได้ดูสักเรื่องหนึ่ง ภาพยนตร์ต้องผ่านขั้นตอนมากมายอย่างที่เราคาดไม่ถึง พิพิธภัณฑ์แห่งนี้จัดแสดงให้เห็นวิธีการผลิตภาพยนตร์เริ่มตั้งแต่ขั้นก่อนถ่ายทำ เราได้เห็นโต๊ะทำงานของคุณาวุฒิ ตารางนัดคิวนักแสดง เครื่องแต่งตัวจากเรื่องข้างหลังภาพ เมื่อเข้าสู่ขั้นตอนการถ่ายทำ มีการจำลองการถ่ายทำเรื่องสวรรค์มืด แท่นถ่ายทำหนังการ์ตูนเรื่องสุดสาครของปยุต เงากระจ่าง กล้องถ่ายของปยุต เงากระจ่างเรื่องเหตุมหัศจรรย์ กล้องตัวแรกของเปี๊ยก โปสเตอร์ รวมถึงมุมแต่งหน้านักแสดง เป็นต้น ขั้นตอนหลังการถ่ายทำ เป็นขั้นสุดท้าย มีการจัดแสดงทั้งเครื่องล้างฟิล์ม เครื่องมิกซ์เสียง เครื่องตอกซับไตเติ้ล กระเป๋าหนังใส่ม้วนภาพยนตร์แบบต่าง ๆ พร้อมจำลองหน้าร้านของสายหนังต่างจังหวัด ตัวกลางส่งหนังออกฉายสู่สายตาผู้ชมตามต่างจังหวัดต่อไป
เมื่อมาพิพิธภัณฑ์แห่งนี้แล้ว ผู้ชมต้องได้ชมภาพยนตร์อย่างแน่นอน พวกเราเข้าแถวซื้อตั๋ว(แบบหลอก ๆ) ที่หน้าโรงหนังอลังการ ในระหว่างรอฉาย พวกเราเพลิดเพลินไปกับการเดินชมรอยพิมพ์ลายนิ้วมือของบรรดาดาวค้างฟ้าที่ลานดารา ชมตู้ใส่ใบปิดโปสเตอร์ของโรงภาพยนตร์เฉลิมไทย เมื่อได้เวลาหนังฉาย ก็เตรียมจับจองที่นั่ง ซึ่งเป็นเก้าอี้ไม้พับแถวยาวที่ทางพิพิธภัณฑ์ได้มาจากโรงหนังเก่าที่ระยอง ด้านในมีอุปกรณ์พากษ์เสียง ทั้งกะลามะพร้าว เม็ดทรายกับสังกะสี บรรยากาศหวนให้นึกถึงโรงหนังต่างจังหวัดเมื่อหลายสิบปีก่อน ครั้งนี้พิเศษกว่าการดูหนังที่ผ่านมา เมื่อหนังจบเรามีโอกาสเข้าไปดูในห้องฉาย แถมยังได้เข้าชมห้องผู้จัดการโรงหนัง ได้เห็นสมุดบัญชียอดรายได้ของโรงภาพยนตร์เฉลิมกรุง พวกเราออกจาก "โรงหนังอลังการ" ด้วยความเบิกบานใจพร้อมความรู้เกี่ยวกับหนังไทยอีกมากมาย แล้วคุณล่ะดูหนังไทยครั้งสุดท้ายเมื่อไร
ข้อมูลจาก:
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสื่อออนไลน์
ตะลึง!พบศพแม่นาค ในเส้นทางย้อนอดีตหนามเตย ที่ “พิพิธภัณฑ์หนังไทย”
ช่วงนี้กระแสหนังไทยมาแรง โดยเฉพาะหนังรักชวนสวีทที่ดูจะถูกใจวัยรุ่นและคู่รักจำนวนมาก ทั้ง“กวน มึน โฮ” ที่ โกย เงิน จัง ได้ตังค์ไปตั้งกว่า 100 ล้านแล้ว หรืออย่าง“สิ่งเล็ก เล็ก ที่เรียกว่ารัก” นี่ก็มาแบบเนิบๆใช้กระแสบอกต่อ ฟันเงินไปเหนาะๆเข้าสู่หลักเกือบร้อยล้าน ยังไงๆก็ขอให้คนในวงการภาพยนตร์ไทย รักษาคุณภาพในการทำหนังไว้ด้วย อย่าสักแต่ทำหนังประเภทตลกหยาบโลน ตุ๊ดแต๋วบ้าบอ และหนังผีปัญญาอ่อน ออกมาฉายมากๆ เลย เพราะมันนอกจากฉุดวงการหนังไทยให้สาละวันเตี้ยลงแล้ว ยังบั่นทอนกำลังใจของคนที่สร้างหนังไทยดีๆ ด้วย ทั้งนี้วงการอุตสหกรรภาพยนตร์ไทยนั้น ถือกำเนิดมาในบ้านเรานานโขกว่า 100 ปีแล้ว ซึ่งด้วยความอยากรู้ความเป็นมาของวงการหนังไทย ฉากนี้ฉันจึงเปลี่ยนแนวจากการเข้าโรงหนัง ไปเที่ยวยัง“พิพิธภัณฑ์ภาพยนตร์ไทย”แทนแนะนำพิพิธภัณฑ์โดยบล็อก
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสารานุกรมไทย
ศิลปะและการแสดง โดม สุขวงศ์ โรงภาพยนตร์ อุปกรณ์การถ่ายทำภาพยนตร์ อุตสาหกรรมความบันเทิง โรงหนัง หอภาพยนตร์
พิพิธภัณฑ์วิถีชีวิตไทยทรงดำบ้านหัวถนน
จ. นครปฐม
พิพิธภัณฑ์สงฆ์วัดเทียนดัด
จ. นครปฐม
พิพิธภัณฑ์มณฑปพระครูสถาพรพุทธมนต์ (หลวงพ่อสำเนียง อยู่สถาพร)
จ. นครปฐม