แหล่งโบราณคดีบ้านดอนตาเพชร ถือเป็นแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ยุคเหล็ก ที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศไทย มีการพบหลักฐานทางโบราณคดีและมีการดำเนินงานเกี่ยวกับแหล่งโบราณคดีแห่งนี้ตั้งแต่ปี 2518 ทางกรมศิลปากรได้เข้ามาขุดค้นแหล่งโบราณคดีบ้านดอนตาเพชรจำนวน 4 ครั้งคือ ในปี พ.ศ. 2518-2519, พ.ศ. 2523-2524, พ.ศ. 2527-2528 และ พ.ศ. 2543 นักโบราณคดีชาวอังกฤษที่เข้ามาร่วมขุดค้นได้กำหนดอายุไว้ว่าอยู่ในช่วงประมาณ 2,400 หรือ 2,300 ปีที่ผ่านมา พิพิธภัณฑ์เป็นอาคารชั้นเดียวเล็ก ๆ ที่สร้างคร่อมหลุมขุดค้นเดิมที่อยู่ตรงกลางของอาคาร ผู้ชมสามารถเดินชมได้โดยรอบทั้งสี่ด้าน สำหรับโบราณวัตถุชิ้นสำคัญที่ขุดพบ อาทิ เครื่องประดับรูปสิงโตหินคาร์เนเลียน ลูกปัดหินคาร์เนเลี่ยนฝังสี ทัพพีสำริดรูปนกยูง เครื่องประดับรูปสัตว์สองหัว (ต่างหูแบบ ลิง-ลิง-โอ) มีเพียงภาพถ่ายจัดแสดงไว้เท่านั้น ของจริงนั้นถูกเก็บรักษาไว้ที่กรุงเทพฯ โบราณวัตถุจริงที่นำมาจัดแสดงจึงเป็นของจำพวก ใบหอกเหล็ก ชิ้นส่วนเครื่องมือเหล็ก ขวานเหล็กมีบ้อง ขันสำริด กำไลข้อมือ ข้อเท้าสำริด แวดินเผา หินดุ เศษภาชนะดินเผาลายเชือกทาบ นิทรรศการทั้งหมดมีป้ายคำบรรยายทั้งภาษาไทยและอังกฤษ
ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 16/09/2545
ที่มา: กรุงเทพธุรกิจ
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 9/27/2543
ที่มา: เดลินิวส์
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: ศรีศักร วัลลิโภดม | ปีที่พิมพ์: ปีที่ 23 ฉบับ 8 (มิ.ย. 2545)
ที่มา: ศิลปวัฒนธรรม
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: กรมศิลปากร | ปีที่พิมพ์: 2543
ที่มา: กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร (เอกสารเย็บเล่ม)
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: ชิน อยู่ดี | ปีที่พิมพ์: 4, 4 (ก.ค.-ก.ย. 2521) ; หน้า 7-16
ที่มา: เมืองโบราณ
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: พิรุณ พรมไพร | ปีที่พิมพ์: 2 เมษายน 2554
ที่มา: มติชนรายวัน
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: นุดี รุ่งสว่าง | ปีที่พิมพ์: 2554;2011
ที่มา: โครงการวิจัยการพัฒนาพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการศึกษาเชิงสร้างสรรค์ ภายใต้โครงการศิลปากรพัฒนาเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 ตุลาคม 2558
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยทีมงานและสมาชิก
รีวิวของพิพิธภัณฑ์บ้านดอนตาเพชร
แหล่งโบราณคดีบ้านดอนตาเพชร ถือเป็นแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ยุคเหล็ก ที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศไทย มีการพบหลักฐานทางโบราณคดีและมีการดำเนินงานเกี่ยวกับแหล่งโบราณคดีแห่งนี้ตั้งแต่ปี 2518 โดยเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2518 เมื่อทางโรงเรียนสาลวนาราม ได้ให้นักเรียนช่วยกันขุดหลุมเพื่อปักเสารั้วของโรงเรียนด้านตะวันตก ได้พบโบราณวัตถุจำนวนมาก เช่น ใบหอก แหลน หัวธนู ขวาน และภาชนะสำริด รวมกันเป็นจำนวนกว่า 100 ชิ้น โบราณวัตถุดังกล่าวถูกนำไปเก็บรักษาไว้ที่อำเภอพนมทวน โรงเรียนวัดสาลวนาราม และวัดสาลวนาราม ต่อมากรมศิลปากรขอรับโบราณวัตถุทั้งหมดไปเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ซึ่งทางกรมศิลปากรได้เข้ามาขุดค้นแหล่งโบราณคดีบ้านดอนตาเพชรจำนวน 4 ครั้งคือ ในปี พ.ศ. 2518-2519, พ.ศ. 2523-2524, พ.ศ. 2527-2528 และ พ.ศ. 2543 นักโบราณคดีชาวอังกฤษที่เข้ามาร่วมขุดค้นได้กำหนดอายุไว้ว่าอยู่ในช่วงประมาณ 2,400 หรือ 2,300 ปีที่ผ่านมาโบราณวัตถุที่ขุดได้จากแหล่งโบราณคดีบ้านดอนตาเพชร เป็นหลักฐานยืนยันได้ว่ามีการติดต่อทางการค้าและการแลกเปลี่ยนระหว่างอินเดียและประเทศไทย อาทิ ลูกปัดเอทชบีดส์ (atche beads) ที่เป็นรูปแบบอิทธิพลอินเดียโดยตรง ลูกปัดหินคาร์เนเลียนและอาเกต ภาชนะสำริดที่มีส่วนผลมของดีบุกในเปอร์เซ็นต์สูงและใช้วิธีการหล่อแทนที่ขี้ผึ้งคล้ายกับที่พบในอินเดีย ด้ามทัพพีสำริดรูปนกยูงซึ่งนกยูงจัดเป็นสัตว์พื้นเมืองของอินเดีย เป็นต้น นอกจากนี้มีหลักฐานต่าง ๆ ที่แสดงว่าแหล่งโบราณคดีบ้านดอนตาเพชรมีความสัมพันธ์กับแหล่งโบราณคดีอื่นในสมัยเดียวกันในบริเวณใกล้เคียง เช่น แหล่งโบราณคดีในจังหวัดกาญจนบุรี สุพรรณบุรี ราชบุรี แสดงถึงการเป็นกลุ่มชุมชนยุคเหล็กในสังคมเกษตรกรรม
ในปี พ.ศ.2543 ได้มีการทำงานที่ต่อเนื่อง ด้วยความร่วมมือระหว่างสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ และกรมศิลปากร จัดทำโครงการศึกษาและพัฒนาแหล่งโบราณคดีบ้านดอนตาเพชรเพิ่มเติม โดยจัดให้มีการเสวนาระหว่างนักวิชาการ ผู้นำท้องถิ่น และชาวบ้านในพื้นที่ เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาแหล่งโบราณคดีบ้านดอนตาเพชร ในครั้งนั้นได้มีแนวคิดร่วมกันจัดสร้างศูนย์ข้อมูลและจัดแสดงเกี่ยวกับแหล่งโบราณคดีบ้านดอนตาเพชรขึ้นในพื้นที่โรงเรียนวัดสาลวนาราม ในที่สุดนำมาซึ่งการสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์บ้านดอนตาเพชร เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2544 และมีพิธีเปิดเมื่อวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2545
พิพิธภัณฑ์เป็นอาคารชั้นเดียวเล็ก ๆ ที่สร้างคร่อมหลุมขุดค้นเดิมที่อยู่ตรงกลางของอาคาร ผู้ชมสามารถเดินชมได้โดยรอบทั้งสี่ด้าน เพื่อความเข้าใจเกี่ยวกับแหล่งโบราณคดีนี้มากขึ้น ทางพิพิธภัณฑ์ได้จัดทำวิดีทัศน์แนะนำเกี่ยวกับแหล่งโบราณคดีบ้านดอนตาเพชรให้ได้ชมก่อน
หลังจากนั้นผู้ชมสามารถเดินชมรอบ ๆ หลุมขุดค้น และนิทรรศการที่แสดงประวัติการค้นพบ และการดำเนินงานทางโบราณคดีที่ผ่านมา สำหรับโบราณวัตถุชิ้นสำคัญที่ขุดพบ อาทิ เครื่องประดับรูปสิงโตหินคาร์เนเลียน ลูกปัดหินคาร์เนเลี่ยนฝังสี ทัพพีสำริดรูปนกยูง เครื่องประดับรูปสัตว์สองหัว(ต่างหูแบบ ลิง-ลิง-โอ) มีเพียงภาพถ่ายจัดแสดงไว้เท่านั้น ของจริงนั้นถูกเก็บรักษาไว้ที่กรุงเทพฯ โบราณวัตถุจริงที่นำมาจัดแสดงจึงเป็นของจำพวก ใบหอกเหล็ก ชิ้นส่วนเครื่องมือเหล็ก ขวานเหล็กมีบ้อง ขันสำริด กำไลข้อมือ ข้อเท้าสำริด แวดินเผา หินดุ เศษภาชนะดินเผาลายเชือกทาบ นิทรรศการทั้งหมดมีป้ายคำบรรยายทั้งภาษาไทยและอังกฤษ
ผู้ชมเมื่อชมนิทรรศการทั้งหมดแล้ว อาจจะจินตนาการไม่ถูกว่าผู้คนโบราณแห่งบ้านดอนตาเพชร มีชีวิตความเป็นอยู่อย่างไร ทางพิพิธภัณฑ์จึงพยายามประมวลข้อมูลและหลักฐานที่พบแล้วจัดทำหุ่นจำลองสภาพชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชนแหล่งโบราณคดีบ้านดอนตาเพชรเอาไว้ คือ มีบ้านลักษณะยกพื้นสูง หลังคามุงหญ้าหรือแฝก ฝาบ้านคล้ายขัดแตะ มีลานบ้านขนาดใหญ่ ที่ผู้คนทั้งผู้ใหญ่และเด็ก ต่างทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้แก่ การเลี้ยงสัตว์(ควาย) การปั้นภาชนะดินเผา การผลิตเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำการโลหะ การฝังศพ มีภาพวาดภูมิประเทศของดอนตาเพชรเป็นฉากหลัง ซึ่งผู้ชมหลายคนอาจจะร้องอ๋อ ว่าความเป็นอยู่ของคนโบราณที่นี่เป็นอย่างนี้นี่เอง หรือผู้ชมบางคนอาจจะคิดต่อหรือตั้งคำถามได้อีกว่าวิถีชีวิตของคนสมัยก่อนประวัติศาสตร์เป็นแบบนี้จริงหรือเปล่า?
ข้อมูลจาก:
การสำรวจภาคสนามวันที่ 21 พฤษภาคม 2548
เอกสารประกอบการประชุมเสวนาการพัฒนาเชิงอนุรักษ์ แหล่งโบราณคดีบ้านดอนตาเพชร วันที่ 16 กันยายน 2543 โดยศิลปากร ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ.
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสื่อออนไลน์
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยบล็อก
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสารานุกรมไทย
เครื่องปั้นดินเผา แหล่งโบราณคดี ลูกปัด สำริด
อุทยานประวัติศาสตร์ปราสาทเมืองสิงห์
จ. กาญจนบุรี
ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดกาญจนบุรี
จ. กาญจนบุรี
หอศิลป์และพิพิธภัณฑ์สงครามโลกครั้งที่ 2
จ. กาญจนบุรี