พิพิธภัณฑ์ทางรถไฟไทย-พม่า ตั้งอยู่ใกล้กับสุสานทหารสัมพันธมิตรดอนรัก เป็นพิพิธภัณฑ์เอกชน อยู่ภายใต้การบริหารจัดการของบริษัท ทีบีอาร์ซี จำกัด จัดแสดงเรื่องราวของการสร้างทางรถไฟสายไทย- พม่า โดยเริ่มจากสถานีชุมทางหนองปลาดุก อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี ไปยังสถานีธันบูซายัต ประเทศพม่า ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ภายในพิพิธภัณฑ์แสดงข้อมูลการสร้างทางรถไฟ การวางแผนการก่อสร้าง เส้นทางลำเลียงคนงาน (เชลยศึก) สภาพความเป็นอยู่และการดำเนินชีวิตของเชลยศึก การสิ้นสุดทางรถไฟ แบบจำลองเส้นทางรถไฟ การตัดภูเขาเพื่อสร้างทางรถไฟ ค่ายพักเชลยศึก และหุ่นเชลยศึกขนาดเท่าตัวจริง
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
ชื่อผู้แต่ง: Kazuo Tamayama | ปีที่พิมพ์: -
ที่มา: The World War ll Remembrance Group
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: Rod Beattie | ปีที่พิมพ์: /2548
ที่มา: Image Maker Co.,Ltd.
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: ชุมพล ธีรลดานนท์ | ปีที่พิมพ์: 25,292(ม.ค.2551)หน้า68-70
ที่มา: ผู้จัดการรายเดือน
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยทีมงานและสมาชิก
รีวิวของพิพิธภัณฑ์ทางรถไฟไทย-พม่า
เมื่อกล่าวถึงทางรถไฟสายมรณะ หลายท่านคงนึกถึงจังหวัดกาญจนบุรี เส้นทางรถไฟที่ก่อสร้างจากพม่าสู่เมืองไทยด้วยระยะทาง 415 กิโลเมตร และความตายที่คร่าชีวิตทหารฝ่ายสัมพันธมิตรนับพันในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 บาดแผลในประวัติศาสตร์อาจจะมิได้ฝังแน่นในความสำนึกของคนรุ่นใหม่มากนัก แต่ประจักษ์พยานเช่นทางรถไฟและสุสานที่ฝังร่างเหล่าทหารในอำเภอเมืองกาญจนบุรี พึงเตือนให้เราระลึกถึงความสูญเสียจากสงคราม อย่างไรก็ตาม จะมีใครนึกต่อไปไหมว่า เหตุใดทางรถไฟเส้นนี้ถึงมีความสำคัญกับกองทัพญี่ปุ่นในช่วงเวลาของสงครามดังกล่าว การวางแผน การคำนวณทางวิศวกรรม การก่อสร้าง และชีวิตของผู้คนที่เข้ามาเกี่ยวข้องทั้งฝ่ายญี่ปุ่นและชาติตะวันตก เหล่านี้ล้วนเป็นคำถามที่ได้รับการไขคำตอบที่ พิพิธภัณฑ์ทางรถไฟไทย-พม่า หรือ Thai-Burmese Railway Centreพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ตั้งอยู่ไม่ไกลจากสุสานสงครามดอนรักหรือที่รู้จักกันในนามสุสานสงครามกาญจนบุรี ประกอบด้วยอาคาร 2 ชั้น โดยมีเรื่องราวการจัดแสดงทั้งหมด 9 ส่วน ได้แก่
นำเรื่อง เป็นการอธิบายบริบททางประวัติศาสตร์ กองทัพญี่ปุ่นที่รุกเข้ามาในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิค การยึดครองประเทศพม่า และแผนการสร้างรถไปจากไทยสู่พม่า
การออกแบบและการก่อสร้าง กล่าวถึงการออกแบบทางสถาปัตยกรรมและงานวิศวกรรมก่อสร้าง วัสดุอุปกรณ์ รวมถึงการเกณฑ์แรงงานคน ในส่วนนี้ วัตถุจัดแสดงที่รวบรวมมาจากทางรถไฟจะสะท้อนให้เห็นถึงการก่อสร้างที่ใช้แรงงานคน และปราศจากเครื่องจักรขนาดใหญ่
ภูมิศาสตร์ทางรถไฟ นำเสนอด้วยแบบจำลองเส้นทางรถไฟที่ทอดผ่านจากหนองปลาดุกในประเทศไทยถึง Thanbuyuzayat ในพม่า และวีดิทัศน์ที่แสดงให้เห็นถึงการก่อสร้างทางรถไฟ
ชีวิตในค่าย สะท้อนสภาพชีวิตของคนในค่ายที่จะต้องทุกข์ทนกับการขาดอาหาร และความตายที่เพิ่มมากขึ้นไม่เว้นแต่ละวัน
การเยียวยารักษา บอกเล่าผ่านฉากจำลองการรักษาพยาบาลที่ประยุกต์ใช้สิ่งรอบตัวเป็นเรื่องมือในการรักษาตามอัตภาพ
ต้นทุน แสดงให้เห็นถึงจำนวนผู้เสียชีวิต ผู้เป็นเสมือนต้นทุนของการก่อสร้าง รวมถึงการวิเคราะห์สาเหตุของการตาย จุดที่น่าสนใจคือ การนำเสนอจำนวนผู้ตายด้วยหมุดรางรถไฟ หมุดหนึ่งเล่มมีค่าเท่ากับวิญญาณ 500 ชีวิตที่ได้จากโลกนี้ไป
ทางรถไฟเมื่อเปิดใช้งาน อธิบายถึงการใช้ทางรถไฟในระยะเวลาอันสั้น เพื่อขนยุทโธปกรณ์และคนจากพม่า ก่อนที่จะถูกทำลายในระยะต่อมา
ระเบิดกัมมันตภาพรังสีและการทำลายรางรถไฟ เรื่องราวเดินทางมาถึงจุดสิ้นสุดสงครามด้วยการตอบโต้ของฝ่ายสัมพันธมิตร การทำลายทางรถไฟเพื่อตัดเส้นทางการลำเลียง และการทิ้งระเบิดกัมมันตภาพรังสี 2 ลูกในประเทศญี่ปุ่น อันถือเป็นการหยุดยั้งการแผ่อำนาจของทหารญี่ปุ่นในเอเชียแปซิฟิค
ภายหลังสงคราม มุ่งมองไปที่ประสบการณ์ของผู้คนภายหลังจากการได้รับอิสรภาพ การค้นหาศพผู้เสียชีวิต และการสร้างสุสานให้กับเหล่าทหารผู้ตายในระหว่างสงคราม
เรื่องราวที่บอกเล่านี้เดินทางมาถึงจุดสิ้นสุดของการเปิดให้ผู้ชมได้มองออกไปนอกอาคารพิพิธภัณฑ์ นั่นคือ "สุสานสงครามกาญจนบุรี" แผนผังที่อธิบายลักษณะการฝั่งศพทหารตามประเทศช่วยให้ผู้ชมได้เห็นถึงชีวิตที่พลัดพรากจากประเทศบ้านเกิด และต้องหยุดการเดินทางลงด้วยอำนาจและความขัดแย้งของสงคราม
ข้อมูลจาก:
1. การสำรวจโดยศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2548
2. แผ่นพับประชาสัมพันธ์พิพิธภัณฑ์ทางรถไฟไทย-พม่า
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสื่อออนไลน์
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยบล็อก
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสารานุกรมไทย
การทหารและสงคราม เครื่องจักร สงครามโลกครั้งที่ 2 ทางรถไฟ
อุทยานประวัติศาสตร์ปราสาทเมืองสิงห์
จ. กาญจนบุรี
พิพิธภัณฑ์วัดทุ่งลาดหญ้า
จ. กาญจนบุรี
พิพิธภัณฑ์สถานีตำรวจภูธรอำเภอพนมทวน
จ. กาญจนบุรี