พิพิธภัณฑ์สงคราม อักษะ และเชลยศึก


พิพิธภัณฑ์สงคราม อักษะและเชลยศึก มีชื่อภาษาอังกฤษว่า THE JEATH WAR MUSEUM ต่อมาเป็นที่รู้จักกันว่า WAR MUSEUM หรือ พิพิธภัณฑ์สงคราม เป็นที่เก็บรวบรวมเอกสาร หลักฐาน ภาพเขียน ภาพถ่าย ตลอดจนเครื่องใช้สอยต่างๆ อันเนื่องมาจากเหตุการณ์สร้างทางรถไฟสายมรณะกาญจนบุรี- พม่า ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยชื่อของพิพิธภัณฑ์ตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่เชลยศึกจากประเทศเหล่านั้นๆ ที่ต้องสังเวยชีวิต เพราะการสร้างทางรถไฟสายนี้กว่า 16,000 คน จนกระทั่งทางรถไฟสายนี้ได้รับการขนานนามจากบรรดาเชลยศึกว่า THE DEATH RAIL WAY หรือ “ทางรถไฟสายมรณะ” คำว่า JEATH เป็นคำย่อของคำว่า Japan (J) คือ ญี่ปุ่น ในฐานะกองทัพควบคุมเชลยศึกสงครามสร้างทางรถไฟ England (E) คือ อังกฤษ Australia, America (A) คือ ออสเตรเลียและอเมริกา Thailand (T) คือ ไทย ในฐานะเจ้าของประเทศ และ Holland (H) คือ ประเทศฮอลแลนด์

ที่อยู่:
วัดไชยชุมพลชนะสงคราม ต.บ้านใต้ อ.เมือง จ.กาญจนบุรี 71000
โทรศัพท์:
0-3451-1263
วันและเวลาทำการ:
เปิดทุกวัน 08.00-17.00 น.
ค่าเข้าชม:
คนไทย 10 บาท ชาวต่างประเทศ 30 บาท
เว็บไซต์:
ปีที่ก่อตั้ง:
2520
ของเด่น:
รูปภาพประวัติศาสตร์, เครื่องมือที่เชลบศึกถวาย
จัดการโดย:

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

อนุสรณ์เชลยศึกในสงครามโลกครั้งที่ 2 พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นที่วัดใต้

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: ปีที5ฉบับที่1 พ.ย.2526

ที่มา: ศิลปวัฒนธรรม

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

พิพิธภัณฑ์วัดใต้ บาดแผลแห่งสงคราม

ชื่อผู้แต่ง: สมศิริ ยิ้มเมือง,นพดล สุวรรณวีรากร | ปีที่พิมพ์: 2, 17 (พ.ค.37)หน้า91-94

ที่มา: สยามอารยะ

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555


ไม่มีข้อมูล

รีวิวของพิพิธภัณฑ์สงคราม อักษะ และเชลยศึก

พิพิธภัณฑ์สงคราม อักษะ และเชลยศึก ตั้งอยู่ภายในวัดไชยชุมพลชนะสงคราม จัดตั้งขึ้นโดยเจ้าคุณพระเทพปัญญาสุธี เจ้าอาวาสวัดไชยชุมพลชนะสงครามและเจ้าคณะจังหวัดกาญจนบุรี โดยเปิดให้เข้าชมในวันที่ 24 กรกฎาคม 2520 

เหตุที่ใช้ชื่อว่าพิพิธภัณฑ์สงคราม อักษะ และเชลยศึก หรือที่ชาวต่างประเทศรู้จักในนามพิพิธภัณฑ์สงคราม (War Museum) เนื่องจากพิพิธภัณฑ์แห่งนี้จัดแสดงวัตถุ เรื่องราว เกี่ยวกับเหตุการณ์การสร้างทางรถไฟสายมรณะ กาญจนบุรี-พม่า ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยคำว่า JEATH ซึ่งเป็นชื่อของพิพิธภัณฑ์ในภาษาอังกฤษนั้นมาจากคำย่อ Japan(J) England(E) Australia และ America (A) Thailand(T) และ Holland(H) เนื่องจากในการสร้างทางรถไฟสายนี้ กองทัพญี่ปุ่นได้เกณฑ์เชลยศึกชาวออสเตรเลีย อังกฤษ เนเธอร์แลนด์ เกือบ 30,000 คน และคนงานท้องถิ่นจากประเทศจีน สิงคโปร์ มาเลเซีย อินเดีย อินโดนีเซีย อีกเกือบ 100,000 คน ให้มาทำงานก่อสร้างทางรถไฟสายนี้อย่างเร่งรีบ เชลยศึกและคนงานต้องสังเวยชีวิตให้กับการสร้างทางรถไฟสายนี้เป็นจำนวนมาก

พิพิธภัณฑ์แห่งนี้จึงจัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นรำลึกและเป็นเกียรติให้กับเชลยศึกจากประเทศเหล่านั้นที่ต้องเสียชีวิตไป โดยพิพิธภัณฑ์มีอาคารจัดแสดงหลัก 2 อาคาร อาคารหลังแรก เป็นอาคารที่จำลองที่พักของพวกเชลยศึก เป็นอาคารไม้ไผ่หลังคามุงจาก ฝาขัดแตะด้วยไม้รวก ด้านในยกพื้นขึ้นกึ่งหนึ่งปูด้วยฟากไม้ไผ่ ซึ่งใช้เป็นที่นอนสำหรับเชลย ตามผนังและเสาของอาคาร จัดแสดงภาพถ่าย ภาพข่าวจากหนังสือพิมพ์ทั้งไทยและต่างประเทศ ภาพวาดสีน้ำโดยอดีตเชลยศึก ที่แสดงให้เห็นถึงชีวิตความเป็นอยู่ของเชลย ภาพสเก็ตเกี่ยวกับการสร้างสะพานและสภาพของเชลยศึก โดยอดีตหมอศัลยกรรมของกองทัพออสเตรเลีย จดหมายของพวกเชลยศึก โปสการ์ดของนายทหารญี่ปุ่น ที่ลูกหลานนำมามอบให้ ทั้งนี้ภาพถ่ายบางส่วนถ่ายโดยคุณบุญผ่อง สิริเวชชะพันธุ์ และเชลยศึกในสมัยนั้น โดยมีคำบรรยายใต้ภาพเป็นภาษาอังกฤษ

ส่วนอาคารหลังที่สอง เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนชั้นเดียว ใช้จัดแสดงเครื่องใช้ไม้สอยของเชลยศึกและของพวกกองทัพญี่ปุ่น อาทิ หมวกทหาร ปืน ลูกระเบิด ค้อนตอกหมุดรางรถไฟ ขวดเหล้าสาเกญี่ปุ่น เป็นต้น ทั้งนี้ผนังด้านข้างจัดแสดงภาพถ่ายของเชลยศึกที่รอดชีวิตจากสงคราม และได้มาเยี่ยมเยือนพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ เพื่อรำลึกถึงความโหดร้ายของสงครามที่พวกเขาไม่เคยลืม

ข้อมูลจาก: 
1. การสำรวจโดยศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2548
2. แผ่นพับประชาสัมพันธ์พิพิธภัณฑ์สงคราม อักษะ และเชลยศึก วัดไชยขุมพลชนะสงคราม
ชื่อผู้แต่ง:
-