พิพิธภัณฑ์เปลือกหอย ผึ้งนางโฮมสเตย์


ที่อยู่:
ผึ้งนางโฮมสเตย์ ต.บางน้ำผึ้ง อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ
โทรศัพท์:
02-4613810-1, 081-4003097
วันและเวลาทำการ:
เปิดทุกวัน กรุณานัดหมายล่วงหน้า
ค่าเข้าชม:
ไม่เสียค่าเข้าชม
เว็บไซต์:
จัดการโดย:
ไม่มีข้อมูล

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

ไม่มีข้อมูล

พิพิธภัณฑ์เปลือกหอย

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: ปีที่ 58 ฉบับที่ 5 (22-28 ตุลาคม 2553)หน้า 50

ที่มา: สยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

จากทะเลสู่พิพิธภัณฑ์เปลือกหอย ความฝันของสมนึก ปัทมคันธิน

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: ปีที่19ฉบับที่ 7 พ.ค. 2541

ที่มา: ศิลปวัฒนธรรม

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

พิพิธภัณฑ์หอย

ชื่อผู้แต่ง: ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ | ปีที่พิมพ์: Nov-47

ที่มา: อนุสาร อ.ส.ท.

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

สังข์สุวรรณภูมิหลังสึนามิ

ชื่อผู้แต่ง: นิพัทธ์พร เพ็งแก้ว | ปีที่พิมพ์: 7/11/2548

ที่มา: มติชนรายวัน

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

เรื่องราวของนักสะสมเปลือกหอย แห่งราไวย์

ชื่อผู้แต่ง: กุลธิดา สามะพุทธิ | ปีที่พิมพ์: ปีที่ 15 เดือนกรกฏาคม 2542, 59-69.

ที่มา: สารคดี

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

พิพิธภัณฑ์หอยพันล้าน

ชื่อผู้แต่ง: วลีพร ชินพิเศษ | ปีที่พิมพ์: 26-12-2540

ที่มา: ผู้จัดการรายวัน

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555


ไม่มีข้อมูล

รีวิวของพิพิธภัณฑ์เปลือกหอย ผึ้งนางโฮมสเตย์

พิพิธภัณฑ์เปลือกหอยตั้งอยู่ในผึ้งนางโฮมสเตย์ เป็นพิพิธภัณฑ์ส่วนบุคคลของคุณฉวี ศิริประวัติกุล เจ้าของโฮมสเตย์ อาคารจัดแสดงสร้างขึ้นใหม่พร้อมๆ กับโฮมสเตย์ประมาณ 5ปีก่อน ลักษณะอาคารอยู่ด้านหน้าของโฮมสเตย์เป็นเรือนไทยไม้ใต้ถุนสูง ที่ใต้ถุนจัดเป็นพื้นที่รับรองแขกที่มาพัก และเคาน์เตอร์สำหรับติดต่อเข้าพัก ตัวเรือนนั้นเจ้าของซื้อมาและสั่งทำเพิ่มเติม ด้านบนประกอบด้วยส่วนนอกชาน (ระเบียงบ้าน) มีหลังคาคลุม และในตัวเรือนประกอบด้วย 2ห้อง คือห้องโถงด้านนอกเมื่อผ่านประตูเข้าไป และห้องด้านในที่มีประตูกั้นอีกชั้นหนึ่ง
 
วัตถุจัดแสดง         
การสะสมมีพื้นฐานมาจากความชอบและใจรักเกี่ยวกับเปลือกหอยของคุณฉวี และประสบการณ์ส่วนตัวที่ชอบเดินทางท่องเที่ยวทำให้วัตถุหลายชิ้นมาจากยุโรปหรือต่างประเทศ และสุดท้ายคือวัตถุจากในท้องถิ่นโดยการงมขึ้นมาได้จากแม่น้ำเจ้าพระยา ใกล้กับปากแม่น้ำแล้วถูกนำมาเสนอขายให้กับคุณฉวี วัตถุที่จัดแสดงอยู่ สามารถแบ่งประเภทได้เป็น ประเภท คือ  

1. เปลือกหอยทะเล มีหลากหลายขนาดและชนิด ส่วนใหญ่จะเป็นชิ้นที่มีความสมบูรณ์ และมีเพียงบางชิ้นที่ถูกแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ (ฉลุลวดลาย) ในตู้จัดแสดงเปลือกหอยมีป้ายประกาศรับรองคุณภาพมาตรฐานผลิตภัณฑ์ที่ทำจากเปลือกหอย จากการสัมภาษณ์ได้ความว่าหลานของคุณฉวีเป็นผู้ผลิตสินค้าที่ทำจากเปลือกหอย อาทิ ช้อนแกะสลักจากเปลือกหอย ตะลุ่มไม้ประดับมุก เป็นต้น ทำให้เปลือกหอยในการจัดแสดงบางส่วนได้มาจากการสั่งซื้อเข้ามาพร้อมๆ กับการทำผลิตภัณฑ์ และช่องทางซื้อส่วนใหญ่มาจากระนองที่รับทั้งเปลือกหอยในประเทศและต่างประเทศ     
         
2. ภาชนะดินเผา เครื่องถ้วยเคลือบ และเครื่องทองเหลือง มีที่มาที่หลากหลาย ประเภทแรก ภาชนะดินเผาที่งมขึ้นมาได้จากแม่น้ำเจ้าพระยาช่วงที่ใกล้กับชุมชนบางน้ำผึ้ง มีบางส่วนที่ชาวบ้านนำมาเสนอขาย ประเภทที่สอง เครื่องถ้วยและภาชนะทองเหลือง ที่เป็นมรดกตกทอดมาจากบรรพบุรุษ ประเภทที่สาม เครื่องถ้วยเคลือบเขียนสี ที่สั่งซื้อมาจากต่างประเทศ ยุโรป จีน และผลิตในไทย (เขียนลายน้ำทองและ) ชุดช้อนส้อมทองเหลือที่ผลิตในประเทศ     
 
3.เครื่องแก้ว มีจำนวนมากและจัดแสดงไว้ในตู้คือชุดเครื่องแก้วจากยุโรป ที่ได้จากการเดินทางไปเที่ยวยุโรปหลายครั้งของคุณฉวี และซื้อส่งกลับมาทางเรือ              
 
4.ตุ๊กตา และของเล่นเด็ก มีจัดแสดงอยู่เพียง 2ตู้ เป็นวัตถุแทนความทรงจำของคุณฉวีเอง กล่าวคือ ในส่วน ของเล่นเด็กและรองเท้า คุณเสนอ (น้องชายคุณฉวี) เล่าว่าเป็นของลูกคุณฉวีเองเมื่อคราวเดินทางไปเที่ยวที่ยุโรปด้วยกัน เมื่อลูกโตแล้วคุณฉวีก็ยังเก็บของใช้และของเล่นบางส่วนไว้เป็นที่ระลึกและนำมาจัดแสดงไว้     
        
5.จิปาถะ อาทิ เงินตรา ก้อนแร่ ตุ๊กตารูปเคารพ (นางอัปสรทำเลียนแบบศิลปะนครวัด) เครื่องประดับบ้าน เก้าอี้ตัดผมโบราณ และกระป๋อง/ขวดแก้วบรรจุน้ำอัดลม เป็นต้น            
 
วัตถุส่วนใหญ่อยู่ในสภาพที่ดีอาจมีฝุ่นจับอยู่บ้างแต่มีการดูแลรักษาทำความสะอาดพิพิธภัณฑ์อยู่อย่างสม่ำเสมอ และจัดแยกวัตถุอย่างเป็นหมวดหมู่แม้จะไม่มีป้ายคำบรรยายแต่ก็พอมองเห็นประเภทชัดเจน
 
ห้องจัดแสดงแบ่งออกเป็น 3 ส่วน
 
1.ส่วนนอกชาน เป็นพื้นที่เปิดโล่งมีหลังคาคลุม จัดแสดงข้าวของความทรงจำเป็นตู้จัดแสดงของใช้และของเล่นลูกของคุณฉวี ตุ๊กตาที่ระลึก กระป๋องและขวดบรรจุน้ำอัดลม อีกมุมหนึ่งจัดแสดงภาชนะดินเผาที่ถูกนำมาเสนอขายและที่งมได้จากแม่น้ำเจ้าพระยา เครื่องทองเหลืองที่เป็นมรดกตกทอดในครอบครัว และเครื่องแก้วที่คุณฉวีซื้อจากยุโรปเมื่อเดินทางไปเที่ยว
 
2.ห้องด้านใน (ชั้นแรก) เป็นส่วนโถงที่ใหญ่ที่สุดของพื้นที่จัดแสดง ประกอบด้วยตู้และชั้นแสดง เปลือกหอย มีบางส่วนที่บรรจุไว้ในถุงพลาสติก (เข้าใจว่าเพื่อป้องกันฝุ่น) เครื่องถ้วยเขียนสี ลายน้ำทอง เคลือบ ทั้งจากในประเทศและต่างประเทศ เงินตราแบบต่างๆ ก้อนแร่ มีการจัดวัตถุต่างๆ เข้าตามหมวดหมู่ แต่น่าเสียดายที่ไม่มีคำบรรยายของแต่ละชั้นจึงไม่ทราบที่มาหรือจุดประสงค์ในการจัดแสดง
 
3.ห้องชั้นในสุด มีขนาดค่อนข้างเล็ก และมืดเนื่องด้วยลักษณะอาคารที่เป็นเรือนไทยแบบดั้งเดิม ห้องด้านในจึงมีหน้าต่างเพียงบานเดียวที่สามารถเปิดให้แสงเข้ามาได้ ประกอบกับมีตุ๊กตา (รูปเคารพ) ที่มีการวางดอกไม้บูชาอยู่ด้านหน้าทำให้เกิดบรรยากาศที่แตกต่างไปจากห้องด้านนอกอยู่มาก ภายในห้องจัดแสดงวัตถุที่หลากหลายทั้งโต๊ะเครื่องแป้ง ที่วางข้าวของกระจุกกระจิก อาทิ ถาดวางนาฬิกา โคมไฟ ขวดแก้ว เป็นต้น และตู้จัดแสดงเครื่องถ้วยชาม (ชามตราไก่, ชามจากจีน) และขวดแก้วขนาดเล็กจำนวนมาก

การเดินทาง     
การเดินทางด้วยรถยนต์สามารถเลือกใช้ได้หลายเส้นทาง หากมาจากทางด่วนพิเศษสายเฉลิมมหานคร ลงที่ถนนสุขสวัสดิ์มุ่งหน้าไปสมุทรปราการ ระยะทางไปประมาณ 1.5กิโลเมตรเลี้ยวซ้ายเข้าถนนวงแหวนอุตสาหกรรม จนถึงช่วงที่จะยกระดับสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา จะลอดใต้สะพาน (ไม่ขึ้นสะพาน) เพื่อเข้าสู่ถนนเพชรหึงษ์มุ่งหน้าสู่ตลาดน้ำบางน้ำผึ้ง วิ่งไปตามถนนเพชรหึงษ์จนกระทั่งถึงซอยที่ 26ทางด้านขวามือบริเวณปากซอยมีป้ายเขียนว่าวัดบางน้ำผึ้ง เลี้ยวขวาไปตามซอย จนกระทั่งผ่านซอยด้านซ้ายมือที่มีป้ายวัดบางน้ำผึ้งไปประมาณ 300เมตร ด้านขวามือจะมีซอยชื่อซอยบัวผึ้งพัฒนา 2(ยิ่งอำนวย) และป้ายผึ้งนางโฮมสเตย์ เลี้ยวขวาเข้าซอยไปประมาณ 200เมตร จะพบกับผึ้งนางโฮมสเตย์ 

อุดมลักษณ์ ฮุ่นตระกูล / เขียน
สำรวจภาคสนาม วันที่ 17 กันยายน 2555

ชื่อผู้แต่ง:
-