โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 2/28/2548
ที่มา: ผู้จัดการรายวัน
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: สุภิตร อนุศาสน์ | ปีที่พิมพ์: -
ที่มา: ลพบุรี: ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมสถาบันราชภัฏเทพสตรี
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 16, 6 (เม.ย. 2538) ; หน้า 32, 34.
ที่มา: ศิลปวัฒนธรรม
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: วิชญดา ทองแดง | ปีที่พิมพ์: 31,4 (ต.ค.-ธ.ค. 2548) : หน้า 112
ที่มา: เมืองโบราณ
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: วิชญดา ทองแดง | ปีที่พิมพ์:
ที่มา: วารสารเมืองโบราณ
แหล่งค้นคว้า:
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยทีมงานและสมาชิก
รีวิวของพิพิธภัณฑ์หนังใหญ่วัดสว่างอารมณ์
ตัวหนังใหญ่ของวัดสว่างอารมณ์ปัจจุบันมีกว่า 300 ตัว โดยสามารถนำไปแสดงได้ถึง 4 ศึก คือ ศึกใหญ่หรือศึกทศกัณฑ์ ศึกอินทรชิตหรือศึกนาคบาต ศึกวิรุณจำบัง และศึกพระมงกุฎ-บุตรลบ การแสดงหนังใหญ่ของวัดสว่างอารมณ์ปัจจุบันใช้เยาวชนเป็นผู้เชิด โดยมีการฝึกฝนเยาวชนในโรงเรียนวัดสว่างอารมณ์เพื่อสืบต่อการแสดงหนังใหญ่ไม่ให้สูญหาย รุ่นแรกมีเยาวชนสนใจกว่า 15 คน แต่เมื่อจบการศึกษาก็ไม่ได้กลับมาเล่นอีก ทำให้ทางวัดต้องฝึกเด็กรุ่นใหม่เข้ามาเพิ่มเติมอยู่เสมอ ๆ โดยส่วนใหญ่เป็นเด็กวัยประถมศึกษา แม้การเชิดหนังใหญ่จะไม่ใช่เรื่องง่าย ด้วยต้องใช้ทั้งเวลา สมาธิ และพละกำลัง หนังใหญ่บางตัวอาจมีน้ำหนักมากกว่าคนเชิดเสียอีก แต่ความมุ่งมั่นของเด็ก ๆ ก็ยังมีอยู่อย่างเต็มเปี่ยม อย่างไรก็ดีเยาวชนรุ่นแรกที่ยังหลงเหลือและเข้ามาคลุกคลีและพร้อมจะสืบสานการแสดงต่อไปคือพงศ์พิพัฒน์ สาจันทร์ อายุ 19 ปี ซึ่งกลายเป็นกำลังสำคัญในการดูแลช่วยฝึกฝนน้อง ๆ ในคณะด้วย ความพิเศษของคณะหนังใหญ่วัดสว่างอารมณ์ที่ต่างจากคณะอื่นคือ นำเยาวชนมาร่วมในการพากษ์ด้วย ในขณะที่คณะอื่นเยาวชนเป็นเพียงแต่ผู้เชิดเท่านั้น คณะหนังใหญ่วัดสว่างอารมณ์ยังคงรวมตัวอย่างเหนียวแน่น มีการจัดการไหว้ครูหรือครอบครูในช่วงเดือนเมษายนของทุกปี
สำหรับพิพิธภัณฑ์หนังใหญ่วัดสว่างอารมณ์ ก่อตั้งขึ้นในปี 2545 โดยใช้พื้นที่ชั้นบนของศาลาการเปรียญจัดแสดงตัวหนังใหญ่ โดยนำหนังใหญ่มาตรึงบนผืนผ้าขนาดใหญ่สีขาวที่สร้างเป็นตู้ไม้พร้อมหลอดไฟส่องสว่างอยู่ภายในเพื่อให้เห็นลวดลายของหนังใหญ่ได้ชัดเจนและสวยงาม โดยหนังใหญ่ที่จัดแสดงนี้เป็นหนังใหญ่ชุดเก่าแก่ที่ไม่ได้นำมาเชิดแล้ว อีกส่วนหนึ่งก็จัดเก็บเป็นคลังโดยขึงตัวหนังไว้กับกรอบไม้แล้วแขวนไว้บนราว ซึ่งผู้ชมก็สามารถเลื่อนกรอบไม้เพื่อดูตัวหนังที่จัดเก็บไว้ได้เช่นกัน
ภูมิปัญญาการแกะตัวหนังใหญ่ของวัดสว่างอารมณ์ยังไม่ได้เลือนหายไปแต่อย่างใด ปัจจุบันยังมีผู้สืบทอดช่างแกะสลักตัวหนังอยู่ ลวดลายส่วนหนึ่งเป็นการลอกลายจากหนังชุดเก่าที่มีอยู่เดิม และบางส่วนได้ออกแบบลวดลายใหม่แต่ยังคงไว้ซึ่งลักษณะ ความงาม และความหมายของตัวหนังแต่ละตัวเอาไว้ หนังใหญ่ที่ยังคงมีชีวิตและเชิดเล่นกันอยู่ในประเทศไทยปัจจุบันเหลือเพียงสามคณะเท่านั้น คือที่วัดบ้านดอน จังหวัดระยอง วัดขนอน จังหวัดราชบุรี และวัดสว่างอารมณ์ จังหวัดสิงห์บุรี ผู้สนใจที่ต้องการชมมหรสพหลวงชั้นครูเช่นนี้ต้องติดต่อล่วงหน้าก่อนจะได้รับความสะดวกกว่า
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสื่อออนไลน์
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยบล็อก
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสารานุกรมไทย
ศิลปะและการแสดง รามเกียรติ์ หนังใหญ่ มหรสพ การไหว้ครู
ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมไทยพวน วัดกุฎีทอง
จ. สิงห์บุรี
พิพิธภัณฑ์สโตนมิวเซี่ยม วัดบุดดา
จ. สิงห์บุรี
พิพิธภัณฑ์หลวงพ่อแพ
จ. สิงห์บุรี