พิพิธภัณฑ์ลุ่มน้ำป่าสัก เป็นส่วนหนึ่งในโครงการแก้ไขและพัฒนาผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ก่อตั้งขึ้นจากงบประมาณที่กันออกมาจากงบประมาณการสร้างเขื่อนป่าสักของกรมชลประทาน ภายใต้การดูแลจัดการของกรมชลประทานร่วมกับกรมศิลปากร จัดเป็นพิพิธภัณฑ์เฉพาะเรื่อง ที่แสดงเนื้อหาความรู้ด้านธรรมชาติ และวัฒนธรรมในพื้นที่กักเก็บน้ำเขื่อนป่าสักอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยการจัดแสดงแบ่งออกเป็น 6 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 แสดงเรื่อง "การชลประทานในประเทศไทย" เสนอเรื่องราวเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจของรัชกาลที่ 9 ด้านการชลประทานในประเทศไทย ประวัติความเป็นมาการการชลประทานของโลกและของประเทศไทย ส่วนที่ 2 เรื่อง "ย้อนรอยอารยธรรม" นำเสนอเรื่องประวัติศาสตร์และโบราณคดีของพื้นที่ ส่วนที่ 3 จัดแสดงเรื่อง "วัฒนธรรมท้องถิ่น" เป็นเรื่องราวที่เกี่ยวข้อง คือชาวไทยเบิ้ง ส่วนที่ 4 จัดแสดงเรื่อง "ภูมิศาสตร์" ซึ่งจะมีข้อมูลเกี่ยวกับสภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศ แหล่งน้ำลำธารที่เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำป่าสัก ส่วนที่ 5 เรื่อง "ทรัพยากรธรรมชาติ" อันแสดงถึงความอุดมของพื้นที่ ส่วนสุดท้ายเป็นห้องฉายวิดีโอสรุปข้อมูลสาระ เพื่อให้ผู้ชมได้ทบทวนเรื่องที่ท่านได้ชมมาแล้วทั้งหมด
ชื่อผู้แต่ง: ภูธร ภูมะธน | ปีที่พิมพ์: 2548;2005
ที่มา: กรุงเทพฯ: บริษัทเอ.เอส.พี ดีไซน์ พริ้นติ้ง จำกัด
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 07 มีนาคม 2557
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยทีมงานและสมาชิก
รีวิวของพิพิธภัณฑ์ลุ่มน้ำป่าสัก
ส่วนที่ 1 เป็นจุดเริ่มต้นการเข้าชมพิพิธภัณฑ์ แสดงเรื่อง "การชลประทานในประเทศไทย" เสนอเรื่องราวเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พระมหากษัตริย์ผู้สร้างคุณูปการด้านการชลประทานในประเทศไทยและพระราชดำริเกี่ยวกับการพิพิธภัณฑ์ลุ่มน้ำป่าสัก นอกจากนี้ยังเป็นข้อมูลเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาการการชลประทานของโลกและของประเทศไทย
ส่วนที่ 2 จัดแสดงเรื่อง "ย้อนรอยอารยธรรม" เริ่มจากการย้อนอดีตไปรู้จักกับมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลายอันมีหลักฐานว่าเป็นผู้ได้เข้ามาอาศัยอยู่ในพื้นที่กักเก็บน้ำเขื่อนป่าสักในอดีต จนมีพัฒนาการสืบเนื่องมาในสมัยกึ่งก่อนประวัติศาสตร์ สมัยทวารวดี สมัยลพบุรี สมัยอยุธยา และสมัยรัตนโกสินทร์ ตามลำดับ
ส่วนที่ 3 จัดแสดงเรื่อง "วัฒนธรรมท้องถิ่น" เป็นเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มคนที่เข้ามาอยู่อาศัยในพื้นที่กักเก็บน้ำแม่น้ำป่าสัก คือชาวไทยเบิ้ง ซึ่งเป็นกลุ่มชนที่อพยพมาจากเมืองเวียงจันทน์ ประเทศลาว ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 โดยได้ตั้งหลักแหล่งกระจายกันอยู่ในพื้นที่จังหวัดในภาคอีสานของประเทศไทย เช่น นครราชสีมา ชัยภูมิ และบางส่วนได้อพยพเข้ามาตั้งหลักปักฐานในพื้นที่ตำบลโคกสลุง และตำบลมะนาวหวาน อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี
ส่วนที่ 4 จัดแสดงเรื่อง "ภูมิศาสตร์" ซึ่งจะมีข้อมูลเกี่ยวกับสภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศ แหล่งน้ำลำธารที่เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำป่าสัก และพื้นที่ที่แม่น้ำป่าสักได้ไหลมาหล่อเลี้ยงพื้นที่ต่างๆ จนมาบรรจบกับแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งปัจจัยเหล่านี้เอื้อประโยชน์ต่อการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ในอดีต โดยแสดงให้เห็นถึงความเหมาะสมที่สุดในการคัดเลือกพื้นที่ก่อสร้างเขื่อนกักเก็บน้ำแม่น้ำป่าสัก ที่บ้านแก่งเสือเต้น ตำบลหนองบัว อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี
ส่วนที่ 5 จัดแสดงเรื่อง "ทรัพยากรธรรมชาติ" อันแสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ครั้งอดีต ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้มนุษย์เลือกพื้นที่แห่งนี้สำหรับการตั้งถิ่นฐานและมีหลักฐานการอยู่อาศัยสืบเนื่องกันมายาวนานนับพันปีมาแล้ว
ส่วนที่ 6 พื้นที่ส่วนสุดท้ายจัดแสดงเรื่อง "ป่าสักวันนี้" ลักษณะการจัดแสดงเป็นห้องประชุม ที่นำข้อมูลเนื้อหาสาระต่างๆที่ได้รับชมมาแล้วทั้งหมด สรุปนำเสนอด้วยเทคนิค "สไลด์มัลติวิชั่น" เพื่อให้ผู้ชมได้ทบทวนเรื่องที่ท่านได้ชมมาแล้วทั้งหมด
ระหว่างทางเดินมาสู่ส่วนที่ 6 มีนิทรรศการจัดแสดงทัศนคติต่าง ๆ ที่มีต่อโครงการพัฒนาลุ่มน้ำป่าสักอันเนื่องมาจากพระราชดำริด้วย ่อย่างไรก็ตาม ภายหลังจากที่พิพิธภัณฑ์ลุ่มน้ำป่าสักก่อสร้างแล้วเสร็จและได้เปิดให้เข้าชมในปี พ.ศ.2542 พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ยังคงอยู่ภายใต้การดูแลและดำเนินงานโดยกรมศิลปากร ต่อมาทางกรมศิลปากรซึ่งมีบุคลากรจำกัด ไม่สามารถรับภาระดูแลพิพิธภัณฑ์ต่อไปได้ จึงได้มีการโอนหน่วยงานพิพิธภัณฑ์กลับคืนมาอยู่ในการดูแลของกรมชลประทานจนถึงปัจจุบัน
การเดินทาง
รถไฟ
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสื่อออนไลน์
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยบล็อก
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสารานุกรมไทย
ไทยเบิ้ง โครงการพัฒนาลุ่มน้ำป่าสักอันเนื่องมาจากพระราชดำริ การชลประทาน แม่น้ำป่าสัก
พิพิธภัณฑ์เรือพื้นบ้าน วัดยาง ณ รังสี
จ. ลพบุรี
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์
จ. ลพบุรี
พิพิธภัณฑ์ไทยพวน บ้านทราย
จ. ลพบุรี