พระที่นั่งวิมานเมฆ เป็นพระที่นั่งที่สร้างด้วยไม้สักทองที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีลักษณะสถาปัตยกรรมที่งดงามประณีตและได้รับอิทธิพลการก่อสร้างแบบตะวันตก องค์พระที่นั่งเป็นรูปอักษรตัวแอลในภาษาอังกฤษ พระที่นั่งวิมานเมฆเปิดเป็นพิพิธภัณฑ์มีห้องจัดแสดงรวมทั้งสิ้น 31 ห้อง การจัดแสดงบางห้องยังคงลักษณะบรรยากาศในอดีตไว้ พิพิธภัณฑ์อยู่ในความดูแลของสำนักพระราชวัง รวมทั้งหมู่พระตำหนักของพระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายในด้วย หมายเหตุ: ปัจจุบันพระที่นั่งวิมานเมฆและพิพิธภัณฑ์ในพระราชวังสวนดุสิต อยู่ในระหว่างการบูรณะซ่อมแซม
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 23/5/2548
ที่มา:
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 20/5/2548
ที่มา: ผู้จัดการรายวัน
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 22/5/2547
ที่มา: เดลินิวส์
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: ธงทอง จันทรางศุ | ปีที่พิมพ์: 2526
ที่มา: กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อักษรสัมพันธ์
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: นันทพร ชื่นกระโทก | ปีที่พิมพ์: 23/5/2548
ที่มา: มติชนรายวัน
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: รัชนีกร แสงไสย์ | ปีที่พิมพ์: 22,2(ก.พ.2548)หน้า 66-70
ที่มา: กินรี
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยทีมงานและสมาชิก
รีวิวของพิพิธภัณฑ์พระที่นั่งวิมานเมฆและพิพิธภัณฑ์ในพระราชวังสวนดุสิต
เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เสด็จพระราชดำเนินกลับจากประพาสทวีปยุโรปในปีพ.ศ. 2440 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดซื้อที่สวนและนาระหว่างคลองผดุงกรุงเกษมจรดคลองสามเสนด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ เพื่อจัดสร้างเป็นอุทยานสถานและพระราชทานนามอุทยานสถานแห่งนี้ว่า "สวนดุสิต"พระที่นั่งถาวรองค์แรกที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นภายในสวนดุสิตคือ "พระที่นั่งวิมานเมฆ" โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อปีพ.ศ. 2443 โดยมีพระบรมราชโองการให้รื้อย้ายพระที่นั่งมันธาตุรัตนโรจน์ จากพระจุฑาธุชราชฐาน ณ เกาะสีชัง มาปลูกสร้างขึ้นใหม่ มีสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ทรงกำกับการออกแบบ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการเฉลิมพระที่นั่งเมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2444 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จแปรพระราชฐานจากพระบรมมหาราชวังมาประทับเป็นการถาวร ณ พระที่นั่งวิมานเมฆ เป็นเวลาถึง 5 ปี จนการก่อสร้างพระที่นั่งอัมพรสถานเสร็จสมบูรณ์ในปีพ.ศ. 2449 จึงทรงย้ายไปประทับที่พระที่นั่งอัมพรสถาน
เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 2453 พระที่นั่งวิมานเมฆก็ปิดร้างลงเพราะเจ้านายฝ่ายในต้องเสด็จกลับมาประทับในพระบรมมหาราชวังตามราชประเพณี ในปี พ.ศ. 2468 ปลายรัชกาลที่ 6 พระองค์ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิ์ศจีพระวรราชชายาเสด็จมาประทับ ณ พระที่นั่งวิมานเมฆ และเมื่อรัชกาลที่ 6 เสด็จสวรรคต สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิ์ศจีได้ทรงย้ายไปประทับที่พระตำหนักในสวนหงส์ นับตั้งแต่นั้นมาพระที่นั่งวิมานเมฆก็มิได้ใช้เป็นพระราชฐานที่ประทับของเจ้านายพระองค์ใดอีก ได้แต่ปิดร้างและทรุดโทรมตามกาลเวลา
ในรัชกาลที่ 7 แม้ว่าได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการบูรณะซ่อมแซมหลายครั้ง เช่น การซ่อมเปลี่ยนสายไฟไฟ้าภายในองค์พระที่นั่ง การซ่อมเสามุขศาลาท่าน้ำเป็นต้น แต่ในที่สุด ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2475 เป็นต้นมา พระที่นั่งวิมานเมฆก็ใช้เป็นเพียงสถานที่เก็บราชพัสดุของสำนักพระราชวังตลอดมาถึง 50 ปี
จนปี พ.ศ. 2525 สมัยสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ได้ทรงขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว บูรณะซ่อมแซมเพื่อจัดเป็นพิพิธภัณฑ์เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระที่นั่งวิมานเมฆ เป็นพระที่นั่งที่สร้างด้วยไม้สักทองที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีลักษณะสถาปัตยกรรมที่งดงามประณีตและได้รับอิทธิพลการก่อสร้างแบบตะวันตก องค์พระที่นั่งเป็นรูปอักษรตัวแอลในภาษาอังกฤษ คือสร้างเป็นรูปสองแฉกตั้งฉากกัน เป็นอาคาร 3 ชั้น เฉพาะส่วนที่ประทับซึ่งเรียกว่า "แปดเหลี่ยม" มี 4 ชั้น ชั้นล่างสุดก่ออิฐถือปูน ชั้นถัดขึ้นไปสร้างด้วยไม้สักทองทั้งหมด มีห้องจัดแสดงรวมทั้งสิ้น 31 ห้อง การจัดแสดงบางห้องยังคงลักษณะบรรยากาศในอดีตไว้ เช่น หมู่ห้องพระบรรทม ท้องพระโรงและห้องสรง เป็นต้น บางห้องจัดแสดงศิลปวัตถุแยกตามประเภทเช่น ห้องจัดแสดงเครื่องเงิน ห้องจัดแสดงเครื่องกระเบื้องลายคราม ห้องจัดแสดงเครื่องแก้วเจียระไน และห้องจัดแสดงเครื่องงา เป็นต้น
ข้อมูลจาก: แผ่นพับประชาสัมพันธ์พระราชวังดุสิต
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสื่อออนไลน์
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยบล็อก
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสารานุกรมไทย
ประวัติศาสตร์และโบราณคดี รัชกาลที่ 5 งานอนุรักษ์สถาปัตยกรรม พระตำหนัก ตำหนัก พระราชวัง วิมานเมฆ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระพุทธเจ้าหลวง ไม้สัก วังสวนดุสิต
หอศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร
จ. กรุงเทพมหานคร
สถาบันคึกฤทธิ์
จ. กรุงเทพมหานคร
บ้านอาจารย์ฝรั่ง
จ. กรุงเทพมหานคร