พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา


ระหว่าง พ.ศ. 2499-2501 กรมศิลปากรได้ดำเนินการขุดแต่งและบูรณะโบราณสถานต่างๆ ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ทำให้พบพระบรมสารีริกธาตุ เครื่องราชูปโภคทองคำ พระพุทธรูป พระพิมพ์ และโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุอื่นๆ กรมศิลปากรจึงได้สร้างพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติขึ้นเพื่อเก็บรักษาและจัดแสดงโบราณวัตถุอันล้ำค่าดังกล่าว โดยใช้เงินจากการบริจาคของประชาชนที่ได้พระพิมพ์กรุวัดราชบูรณะเป็นการตอบแทน และให้ชื่อว่า "พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา" เพื่อเทิดพระเกียรติและเป็นพระบรมราชานุสรณ์แด่สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) ผู้ทรงสถาปนาวัดราชบูรณะ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ  เสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบพิธีเปิดเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2504 ต่อมากรมศิลปากรได้ปรับปรุงกิจการพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา โดยการสร้างและการรับมอบอาคารเพิ่มเติมอีก 2 หลัง คือ อาคารจัดแสดง 2 เมื่อ พ.ศ. 2513 และอาคารเรือนไทย เมื่อ พ.ศ. 2527

ที่อยู่:
108 หมู่ 2 ถนนโรจนะ ตำบลประตูชัย อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13000
โทรศัพท์:
0-3524-1587
โทรสาร:
035-244570
วันและเวลาทำการ:
วันพุธ-วันอาทิตย์ 9.00-16.00 น.
ค่าเข้าชม:
ชาวไทย 10 บาท ชาวต่างประเทศ 30 บาท นักเรียนนักศึกษาในเครื่องแบบ ภิกษุสามเณรและนักบวชในศาสนาต่างๆ ไม่เสียค่าธรรมเนียมเข้าชม
ปีที่ก่อตั้ง:
2504
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

เจ้าสามพระยา พิพิธภัณฑ์เครื่องทองกรุงศรีอยุธยา

ชื่อผู้แต่ง: สมศิริ ยิ้มเมือง | ปีที่พิมพ์: 2, 12 (ธ.ค.36)หน้า63-68

ที่มา: สยามอารยะ

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

พิพิธภัณฑ์เจ้าสามพระยาเล่าเรื่องพระยาโบราณราชธานินทร์ พหูสูตอยุธยาศึกษา

ชื่อผู้แต่ง: ปรีดี พิศภูมิวิถี | ปีที่พิมพ์: 23 มีนาคม 2554

ที่มา: มติชนรายวัน

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

ตื่นตาไปกับสมบัติชาติที่ “พิพิธภัณฑ์ฯเจ้าสามพระยา”

ชื่อผู้แต่ง: หนุ่มลูกทุ่ง | ปีที่พิมพ์: 1 มีนาคม 2554

ที่มา: ผู้จัดการ

แหล่งค้นคว้า:

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555


ไม่มีข้อมูล

รีวิวของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา สร้างขึ้นเนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ  เสด็จพระราชดำเนินมาทอดพระเนตรโบราณวัตถุที่พบจากกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อวันที่ 23พฤศจิกายน พ.ศ. 2500 ทรงมีพระราชปรารภกับรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการและอธิบดีกรมศิลปากรในสมัยนั้นว่า “ โบราณวัตถุ และศิลปวัตถุที่พบในกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะนี้ สมควรจะได้มีพิพิธภัณฑสถานเก็บรักษา และตั้งแสดงให้ประชาชนในจังหวัดพระนครศรีอยุธยานี้ หาควรนำไปเก็บรักษา และตั้งแสดง ณ ที่อื่นไม่”  กรมศิลปากรจึงได้สร้างพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา ขึ้นเพื่อเก็บรักษาจัดแสดงโบราณวัตถุที่พบจากกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ และโบราณวัตถุพบในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา  อาคารก่อสร้างด้วยเงินบริจาคจากประชาชน  ซึ่งผู้บริจาคได้รับพระพิมพ์ที่พบจากกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะเป็นการสมนาคุณ  ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระนามสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) ผู้ทรงสร้างพระปรางค์วัดราชบูรณะเป็นนามพิพิธภัณฑ์
 
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ  เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ.2504
 
ไม่ควรพลาดชมการแสดงเครื่องทองที่พบในกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ เมื่อพุทธศักราช 2500 และเครื่องทองที่พบในกรุพระปรางค์วัดมหาธาตุ นอกจากนี้ ยังมีโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ที่ได้จากการขุดแต่งและบูรณะโบราณสถานในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้แก่ พระพุทธรูปศิลปะทวาราวดี ศิลปะลพบุรี และอยุธยา ที่ค้นพบในกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ วัดมหาธาตุและวัดพระราม อีกทั้งการศึกษาเปรียบเทียบโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุที่พบในประเทศไทยสมัยต่างๆ ตลอดจนหมู่เรือนไทยภาคกลาง จัดแสดงศิลปะพื้นบ้าน เครื่องมือเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันของคนไทยสมัยก่อน 
 
ข้อมูลจาก : 
สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ.“เที่ยว ท่อง ย่ำ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ”  : สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม.กรุงเทพฯ,มปป. หน้า 32-33.
http://www.thailandmuseum.com/chawsampraya/history.htm
ชื่อผู้แต่ง:
-

ตื่นตาไปกับสมบัติชาติที่ “พิพิธภัณฑ์ฯเจ้าสามพระยา”

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าจังหวัดพระนครศรีอยุธยาเมืองเก่าของเราแต่ก่อนนั้น มากมายไปด้วยโบราณสถานและโบราณวัตถุที่สำคัญ ที่เป็นร่องรอยอารยธรรมที่เคยเจริญรุ่งเรืองเป็นอย่างมาก ใครที่มาเยือนยังอยุธยาก็จะต้องมาชมซากโบราณต่างๆที่ยังคงเก็บรักษาไว้เป็นอย่างดี หนึ่งในสถานที่ที่จัดเป็นหนึ่งในวัดที่ใหญ่และมีความเก่าแก่มากที่สุดในพระนครศรีอยุธยาก็คือที่ “วัดราชบูรณะ” ตำบลท่าวาสุกรี จ.พระนครศรีอยุธยา
ชื่อผู้แต่ง:
-

ชื่อผู้แต่ง:
-