พิพิธภัณฑ์แห่งนี้จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ.2545 ไม่ได้เก็บค่าเข้าชม มีค่าสมัครเป็นสมาชิก เพียงปีละ 10 บาท สามารถมาร่วมกิจกรรมที่นี่ได้ กิจกรรมที่จัดในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้จะจัดแบ่งเป็นซุ้ม ทั้งหมด 12 ซุ้ม ได้แก่ 1)ห้องนิ่มน้อย 2) รถบิด 3) ห้องสตูดิโอ 4) หน้าผา 5) กิจกรรมตุ๊กตา 6) หน้ากาก 7) ตู้เกม 8)บ้านเอียง 9) ไดโนเสาร์ 10) ฉลาดซื้อ 11) ซุ้มไม้ไผ่ 12) ห้องรถไฟ เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้กิจกรรมในชีวิตประจำวันสามารถนำไปใช้ในสิ่งที่เรียนรู้จากที่นี่ไปประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวันได้
ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 4/18/2545
ที่มา: เดลินิวส์
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 22/12/2547 หน้า 24
ที่มา: ไทยรัฐ
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยทีมงานและสมาชิก
รีวิวของพิพิธภัณฑ์เด็กเกียกกาย
พิพิธภัณฑ์สวนเด็กเกียกกาย ก่อกำเนิดจากการพยายามจำลองพิพิธภัณฑ์เด็กที่สวนจตุจักรมาไว้บนพื้นที่ของกระทรวงกลาโหมเดิมที่โอนให้แก่กรุงเทพมหานครฯ จากนั้นกทม.ก็ได้จัดการพื้นที่ตรงนี้มาจัดเป็นสวนสาธารณะ พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร เขตดุสิต และพิพิธภัณฑ์สวนเด็กเกียกกายพิพิธภัณฑ์แห่งนี้จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ.2545 เมื่อได้รับโอนที่ดินมาจากกระทรวงกลาโหมแล้วนั้น กทม.ได้ให้เขตดุสิตเป็นผู้ดูแล ทางเขตฯจึงให้กองนันทนาการเข้ามาบริหารจัดการพื้นที่แห่งนี้ การจัดพิพิธภัณฑ์แห่งนี้มีวัตถุประสงค์คือ เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้กิจกรรมในชีวิตประจำวันสามารถนำไปใช้ในสิ่งที่เรียนรู้จากที่นี่ไปประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวันได้
บรรยากาศวันที่เราไปเยี่ยมชมนั้นค่อนข้างเงียบเหงาเพราะว่าเป็นวันธรรมดาที่เด็กๆ กลุ่มเป้าหมายหรือเรียกว่าลูกค้าของที่พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ไปเรียนหนังสือกัน และจะเริ่มพลุกพล่านกันอีกครั้งก็ช่วงเย็นของวัน แต่ถ้าอยากมาเห็นพิพิธภัณฑ์มีชีวิตชีวาอีกครั้งต้องมาวันเสาร์ – อาทิตย์
พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ไม่ได้เก็บค่าเข้าชม แต่ชักชวนให้เด็กๆ ที่มาทำกิจกรรมที่นี่สมัครเป็นสมาชิก ปีละเพียง 10 บาท แล้วสามารถมาร่วมกิจกรรมที่นี่ได้ กิจกรรมส่วนใหญ่อาทิ เรียนดนตรีไทย ศิลปะป้องกันตัว นาฏศิลป์ เรียนเต้น กีฬาเช่นฟุตบอล เป็นต้น
งบประมาณสนับสนุนการบริหารจัดการของที่พิพิธภัณฑ์แห่งนี้นั้น ได้รับจาก กทม. ส่วนใหญ่จะเป็นค่าตอบแทนให้แก่อาสาสมัครที่เข้ามาช่วยดูแลกิจกรรมต่างๆ ของพิพิธภัณฑ์ ก่อนหน้านี้พิพิธภัณฑ์เคยได้รับการสนับสนุนงบจากบริษัทดัชมิลค์ แต่บริษัทก็ระงับไปเนื่องจากปัญหาด้านเศรษฐกิจ
กิจกรรมที่จัดในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้จะจัดแบ่งเป็นซุ้ม ทั้งหมด 12 ซุ้ม ได้แก่ 1)ห้องนิ่มน้อย 2) รถบิด 3) ห้องสตูดิโอ 4) หน้าผา 5) กิจกรรมตุ๊กตา 6) หน้ากาก 7) ตู้เกม 8)บ้านเอียง 9) ไดโนเสาร์ 10) ฉลาดซื้อ 11) ซุ้มไม้ไผ่ 12) ห้องรถไฟ ในทุกๆ ซุ้มต้องมีเจ้าหน้าที่ดูแล เพราะทุกอย่างสามารถเกิดอันตรายได้ ส่วนห้องดนตรี มีการจัดเวลาเรียนไว้ ส่วนมากเป็นเสาร์อาทิตย์
ในทุกส่วนจัดแสดงนั้นทางพิพิธภัณฑ์พยายามให้ความรู้และฝึกทักษะด้านต่างๆ ให้กับเด็กๆ เช่น ซุ้มรถบิด มีวัตถุประสงค์เพื่อฝึกและเสริมความยืดหยุ่นและกล้ามเนื้อแก่เด็ก นอกจากนี้ยังกิจกรรมประเภทอื่นๆ ให้กับผู้ใหญ่ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ปกครองสามารถเข้ามาร่วมใช้บริการระหว่างที่รอบุตรหลานทำกิจกรรม เช่น ลีลาศ ฟิตเนส แอโรบิค สอนประดิษฐ์ดอกไม้จากผ้าใยบัว สอนทำอาหาร
ข้อมูลจาก: สำรวจภาคสนามวันที่ 25 ธันวาคม 2550
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสื่อออนไลน์
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยบล็อก
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสารานุกรมไทย
ของเล่น เด็ก
อาคารพิพิธภัณฑ์ ภปร. วัดบวรนิเวศวิหาร
จ. กรุงเทพมหานคร
บ้านหมอหวาน
จ. กรุงเทพมหานคร
พิพิธภัณฑ์อู่เรือหลวงเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา
จ. กรุงเทพมหานคร